SWOT Analysis ในธุรกิจแฟรนไชส์!

เชื่อหรือไม่ว่า ยุคนี้ไม่ว่าเราจะมองไปทางไหน ซ้ายหรือขวา ก็เห็นแต่ร้านแฟรนไชส์เปิดเต็มไปหมด โดยเฉพาะแฟรนไชส์เกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่ม เบเกอรี่ ค้าปลีก รวมถึงแฟรนไชส์การให้บริการ ตรงนี้สะท้อนให้เห็นถึงกระแสฮิตว่า “ธุรกิจแฟรนไชส์” กำลังเป็นธุรกิจที่กำลังได้รับความนิยม ของผู้ที่อยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง ผู้ที่ไม่อยากเป็นลูกจ้างคนอื่นแล้ว

แต่กระนั้น ธุรกิจแฟรนไชส์ก็ใช่ว่าจะดีไปเสียหมด เพราะไม่มีสิ่งใดในโลกที่ได้มาง่ายดาย ยิ่งในโลกของธุรกิจด้วยแล้ว ในการจะตัดสินใจเลือกซื้อแฟรนไชส์ให้ประสบความสำเร็จได้นั้น จึงควรศึกษาถึงรายละเอียดของระบบธุรกิจแฟรนไชส์ให้ดีเสียก่อน เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ ก่อนจะตัดสินใจลงทุน เพราะธุรกิจแฟรนไชส์แต่ละประเภท ต่างมีจุดเด่น จุดด้อย มีทั้งโอกาส และความท้ายด้วยกันทั้งนั้น

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะนำเสนอ SWOT (จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาศ และอุปสรรค ความท้าย ของธุรกิจแฟรนไชส์ เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้สนใจอยากขายแฟรนไชส์ และผู้สนใจอยากลงทุนแฟรนไชส์ครับ

จุดแข็งธุรกิจแฟรนไชส์ (S)

1.สำเร็จรูป

44

ภาพจาก แฟรนไชส์ โออิชิ ดงบุริ

ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะได้รับสิทธิมากมายเกี่ยวกับการสร้างธุรกิจนั้นๆ ชนิดที่เรียกว่ามาพร้อมความสำเร็จ เหมือนบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ที่เมื่อคุณได้มาเพียงแค่แกะซองเทบะหมี่ เครื่องปรุงลงน้ำร้อน รอเวลาสุกก็รับประทานได้เลย

คุณจะได้ทราบสูตรสำเร็จในการบริหารจัดการธุรกิจ ตั้งแต่ระบบการจัดการ การบัญชี การขาย ขั้นตอนการบริการ การควบคุมคลังสินค้าในรูปของคู่มือการปฏิบัติงาน เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน นอกจากนี้ ยังได้รับสิทธิ ในการขอความช่วยเหลือในด้านต่างๆ เช่น การพิจารณาเลือกพื้นที่ประกอบการ การจัดเตรียมแผนผังและรายละเอียดของสถานที่ การฝึกอบรมให้ความรู้ การจัดหาเครื่องมืออุปกรณ์ การจัดการคลังสินค้าและวัตถุดิบ การตลาดและการโฆษณาประชาสัมพันธ์

นับตั้งแต่ก้าวแรกที่คุณสนใจและตัดสินใจซื้อแฟรนไชส์นั้น จนกระทั่งถึงวันที่เปิดดำเนินการธุรกิจ ยิ่งไปกว่านั้นยังได้รับประโยชน์จากการจดทะเบียนการค้า เครื่องหมายการค้า ความลับเกี่ยวกับกรรมวิธี และสูตรการผลิตต่างๆ ทางการค้าร่วมด้วย ยังมีที่ปรึกษาสำเร็จรูปมาพร้อมเลย โดยผู้ซื้อสิทธิจะได้รับบริการฝึกอบรม การให้คำปรึกษา การสนับสนุนและช่วยแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ โดยก่อนที่จะเปิดกิจการ เจ้าของแฟรนไชส์จะดำเนินการช่วยเตรียมการด้านต่างๆ

โดยเฉพาะการฝึกอบรมพนักงาน เพื่อให้สามารถดำเนินการได้ทันที นอกจากนั้น ยังมีการติดตามให้คำปรึกษาแก่ผู้ซื้อสิทธิเป็นระยะๆ รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือด้านต่างๆ ในกรณีที่เกิดปัญหาขึ้นระหว่างการดำเนินธุรกิจ ระหว่างกานดำเนินธุรกิจแฟรนไชส์ยังได้รับผลทางด้านกิจกรรมทางการตลาด การโฆษณาและประชาสัมพันธ์ ที่ทางเจ้าของแฟรนไชส์จัดทำขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งผลทางด้านการวิจัยและพัฒนา เพื่อปรับปรุงสินค้าและบริการให้ทันสมัยอยู่เสมอ

2.ไม่เสียเวลา

43

ภาพจาก แฟรนไชส์ ปังไม่สิ้น กลิ่นน้ำนม

เนื่องจากแฟรนไชส์ส่วนใหญ่ มีชื่อเสียงและภาพลักษณ์ดี เป็นที่ยอมรับจากกลุ่มลูกค้าเป้าหมายอยู่แล้ว ทำให้การเปิดร้านแฟรนไชส์ขึ้นมาใหม่ สามารถดึงดูดลูกค้าให้เข้ามาซื้อสินค้าหรือใช้บริการได้ทันที

ไม่ต้องไปเสียเวลาลองผิดลองถูก และเริ่มต้นใหม่ ตั้งแต่การผลิตสินค้า เลือกทำเล การบริหารจัดการสินค้าในสต็อก หรือแม้แต่การบริหารเงินทุนหมุนเวียนของธุรกิจใหม่ ถือเป็นสิ่งที่ทำได้ยากมากสำหรับธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้นจากศูนย์

3.ความเสี่ยงต่ำ

42

ภาพจาก แฟรนไชส์ กีฟว มี โกโก้

โลโก้ หรือแบรนด์แฟรนไชส์เป็นที่รู้จักอยู่แล้ว เมื่อซื้อแฟรนไชส์มาแล้ว ก็จะได้รับธุรกิจที่มีชื่อเสียง เป็นที่ยอมรับของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายดีอยู่แล้ว ไม่ต้องเสี่ยงกับปัญหาหลักๆ ในช่วงเริ่มประกอบธุรกิจ ธุรกิจแฟรนไชส์ ที่ได้ผ่านการทดสอบตลาดและประสบผลสำเร็จเรียบร้อยแล้ว ยังช่วยลดความเสี่ยงต่อการถูกปฏิเสธจากสถาบันการเงินหรือธนาคาร เมื่อยามที่ต้องการเงินทุนมาหมุนเวียนในธุรกิจอีกด้วย

ปัจจุบันเราจะเห็นได้ว่ามีหลากหลายธนาคาร ที่เริ่มเล็งกลุ่มเป้าหมายมายังลูกค้าที่กำลังจะทำแฟรนไชส์ เพราะธุรกิจ SME เหล่านี้ จะเจริญเติบโตและขยายต่อยอดไปสู่การขายแฟรนไชส์ ดังนั้น ธนาคารก็จะมีความเชื่อถือ มีความมั่นใจในระดับหนึ่งว่า ธุรกิจเหล่านี้มีโอกาสจะเจ๊งน้อยกว่าธุรกิจหน้าใหม่นั่นเอง


จุดอ่อนธุรกิจแฟรนไชส์ (W)

1.คาดเดากำไรไม่ได้

13

แม้ว่าแบรนด์หรือสินค้าแฟรนไชส์จะเป็นที่รู้จักแล้ว แต่ไม่ได้หมายความว่าจะสร้างกำไรได้งอกงาม เหมือนเช่นเจ้าของแฟรนไชส์ ที่เคยทำได้มาก่อน ขณะที่บางคนซื้อไปแต่ไม่ประสบความสำเร็จ หรือแฟรนไชส์บางแบรนด์เปิดในทำเลแห่งหนึ่ง มีการเจริญเติบโตมีความก้าวหน้า แต่เมื่อมาเปิดอีกทำเลแห่งหนึ่ง อาจจะต้องประสบกับความล้มเหลว ตรงนี้จะเห็นได้แม้ว่า แฟรนไชส์ที่ซื้อมาจะเป็นแบรนด์ที่ดี

แต่หลักสำคัญที่ต้องคำนึงถึง ก็คือ กลุ่มเป้าหมายและการแข่งขันในแต่ละพื้นที่ เนื่องจากแต่ละพื้นที่มีกลุ่มเป้าหมายและการแข่งขันที่แตกต่างกัน ตรงนี้ผู้ซื้อสิทธิจะต้องคำนึงถึง ฉะนั้นก่อนที่จะดำเนินการเพื่อซื้อแฟรนไชส์ ผู้ซื้อสิทธิ์จะต้องคำนึงว่าแฟรนไชส์แบรนด์ที่กำลังจะซื้อเหมาะกับตนเองหรือเปล่า ทั้งเรื่องของสินค้า บริการการดำเนินการ และแฟรนไชส์แบรนด์ดังกล่าวเหมาะกับทำเลที่ตนเองมีอยู่หรือเปล่า ถ้าไม่เหมาะต้องทำอย่างไรจะหาพื้นที่ใหม่หรือว่า จะเปลี่ยนแฟรนไชส์อันนี้ต้องดูต่อไป

2.ลงทุนมาก

4

จำนวนเงินที่ลงทุนแฟรนไชส์อาจมากกว่า เพราะต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก แม้ว่าในการลงทุนจัดหาอุปกรณ์ เครื่องจักร วัสดุต่างๆ จะได้สิทธิซื้อในราคาที่ต่ำกว่า การซื้อขายอาจเป็นการซื้อขายในรูปแบบของการซื้อแบบยกเซต โดยมากจะได้อุปกรณ์ วัสดุเหมารวมอยู่ก่อนแล้ว เป็นการประหยัดต้นทุน ไม่ต้องไปซื้ออุปกรณ์แยกส่วน และยังลดความยุ่งยากในการจัดหาวัสดุอุปกรณ์อีกด้วย

แต่เมื่อพิจารณาไปยังค่าใช้จ่ายที่ ผู้ซื้อสิทธิ์จะต้องเสียไปก่อนล่วงหน้า เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิ์ในการประกอบกิจการ เช่น เจ้าของสิทธิ์จะเรียกเก็บ ค่า Royalty ค่าโฆษณา และค่าใช้จ่ายอื่นๆ อีกเท่าไร ระหว่างการดำเนินธุรกิจ เจ้าของสิทธิ์จะเรียกเก็บ ค่าฝึกอบรม หรือ ค่าธรรมเนียมอื่นๆ อีกหรือไม่

ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานประจำเดือน มีอะไรอีกบ้างและเป็นจำนวนเท่าใด เมื่อรวมค่าใช้จ่ายหลากหลายเหล่านี้เข้าด้วยกัน ก็จะพบว่าเป็นจำนวนเงินที่สูง ดังนั้น เงินจำนวนนี้จะคุ้มค่าต่อการลงทุน ก็ต่อเมื่อแฟรนไชส์ที่คุณซื้อมาได้รับผลตอบแทนที่สูงเช่นกัน อย่างไรก็ตามนับว่าเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากที่ผู้ซื้อสิทธิ์จะต้องศึกษาอย่างรอบคอบ ก่อนตัดสินใจเซ็นสัญญาที่เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายใดๆ

3.ขาดอิสระ

1

ผู้ซื้อแฟรนไชส์ควรตระหนักอยู่เสมอว่า เมื่อดำเนินธุรกิจไปได้สักพัก อาจจะไม่มีความเป็นอิสระเหมือนกับที่คาดหวังเอาไว้เพราะเมื่อเกิดปัญหาขึ้น หากจะต้องแก้ไขหรือการดำเนินงาน ก็ยังคงจะต้องบริหารจัดการและปฏิบัติการตามมาตรฐานของเจ้าของสิทธิที่กำหนดไว้ จะคิดต่าง หรือบริหารจัดการด้วยวิธีอื่น นอกเหนือไปจากที่กำหนดไว้ไม่ได้ ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะถูกจำกัดด้านความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ไม่มีสิทธิ์มีเสียงกับการบริหารของเจ้าของแฟรนไชส์

อาจจะขาดความคล่องตัวไปบ้าง ในแง่ของคนซื้อแฟรนไชส์ เพราะต้องปฏิบัติตามสัญญาที่ระบุไว้อย่างละเอียด ยิ่งไปกว่านั้น ข้อกำหนดหรือสัญญาบางอย่าง อาจจะทำให้ผู้ซื้อสิทธิรู้สึกไม่เป็นธรรมได้ในภายหลัง เช่น ราคาค่าวัตถุดิบ ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ตลอดจนการเปิดสาขาใหม่ในพื้นที่ใกล้เคียงกัน เป็นต้น


โอกาสธุรกิจแฟรนไชส์ (O)

1.ความเชื่อมั่นของนักลงทุน

32

ความเชื่อมั่นด้านเศรษฐกิจ และการจับจ่ายเริ่มฟื้นตัว ถือเป็นปัจจัยบวกต่อการขยายตัวของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย โดยเฉพาะแฟรนไชส์ขนาดใหญ่ที่ต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก เพราะหากนักลงทุนมีความเชื่อมั่นมากขึ้น

จะทำให้การที่จะตัดสินใจลงทุนแฟรนไชส์ขนาดใหญ่เพิ่มขึ้น อีกทั้งการเกิดขึ้นของแฟรนไชส์ไทย ก็น่าจะมีจำนวนมากขึ้น และมีธุรกิจแฟรนไชส์หลากหลายประเภทให้เลือกลงทุนมากขึ้นด้วย เนื่องจากเจ้าของธุรกิจสนใจนำธุรกิจเข้ามาในระบบแฟรนไชส์มากขึ้น

2.การขยายแฟรนไชส์ไปต่างจังหวัด

9

แต่ก่อนเราจะเห็นธุรกิจแฟรนไชส์กระจุกตัวอยู่เฉพาะพื้นที่กรุงเทพฯ เท่านั้น แต่ด้วยความเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจและชุมชนเมืองได้ขยายไปสู่ต่างจังหวัดมากขึ้น จึงทำให้นักลงทุนในต่างจังหวัดสนใจซื้อแฟรนไชส์ไปประกอบธุรกิจมากขึ้น ที่สำคัญธุรกิจในต่างจังหวัดก็มีศักยภาพในการเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์เพิ่มขึ้นเช่นกัน

โดยที่ผ่านมากรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ได้มีนโนบายนำธุรกิจแฟรนไชส์กว่า 100 แบรนด์ บุกตลาด สร้างอาชีพให้กับนักลงทุนในต่างจังหวัดอย่างต่อเนื่อง อาทิ ชลบุรี ระยอง ภูเก็ต สงขลา เชียงใหม่ พิษณุโลก จึงเป็นโอกาสของธุรกิจแฟรนไชส์จากเดิมที่กระจุกตัวในกรุงเทพฯ ขยายตัวสู่ต่างจังหวัดที่มีจำนวนประชากรมาก ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว

3.การขยายแฟรนไชส์ไปต่างประเทศ

41

ภาพจาก แฟรนไชส์บอมเบอร์ด๊อก

ที่ผ่านมาได้มีหน่วยงานภาครัฐได้นำพาธุรกิจแฟรนไชส์ไทยหลายๆ แบรนด์ ขยายตลาดในต่างประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มประเทศอาเซียนที่ศักยภาพด้านกำลังซื้อ กำลังเพิ่มสูงขึ้นในกลุ่มคนชั้นกลาง โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านทั้งเวียดนาม เมียนมา สปป.ลาว และกัมพูชา เพราะสินค้าและบริการของไทย เป็นที่รู้จักและได้รับความยอมรับค่อนข้างสูง โดยแฟรนไชส์ที่สนใจลงทุน อาทิ อาหาร เครื่องดื่ม เบเกอรี่ การศึกษา กีฬา ความงามและสุขภาพ

แต่ทั้งนี้ การขยายแฟรนไชส์ไทยเข้าไปในประเทศเพื่อนบ้าน อาจต้องหาพันธมิตรธุรกิจ ซึ่งเป็นนักลงทุนท้องถิ่นในการซื้อสิทธิ์แฟรนไชส์ หรือนักลงทุนไทยที่มีความเชี่ยวชาญตลาดประเทศเพื่อนบ้าน อาจเห็นโอกาสจึงลงทุนซื้อสิทธิ์แฟรนไชส์ เพื่อเข้าไปตั้งสาขาในประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งต้องพิจารณากฎหมายของแต่ละประเทศด้วย


อุปสรรคและความท้าทายธุรกิจแฟรนไชส์ (T)

1.การแข่งขันธุรกิจแฟรนไชส์มีมากขึ้น

31

ปัจจุบันต้องยอมรับว่าผู้ประกอบการธุรกิจของไทย ให้ความสนใจสร้างธุรกิจของตัวเองเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์มากขึ้น เพราะสามารถขยายสาขาได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งเสียงบประมาณด้านการลงทุนน้อยกว่าการขยายสาขาด้วยตัวเอง

เห็นได้จากคนรุ่นใหม่ ที่อยากเป็นเจ้าของกิจการ รวมถึงอยากเริ่มต้นธุรกิจได้ทันที ด้วยการซื้อแฟรนไชส์ เพราะมีโอกาสประสบความสำเร็จสูง ยิ่งความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจดีขึ้น จึงทำให้คนเห็นโอกาสและตัดสินใจลงทุนเร็วขึ้น เมื่อมีผู้คนหันมาลงทุนแฟรนไชส์กันมากขึ้น ก็มีโอกาสที่ธุรกิจแฟรนไชส์ในเมืองไทยแข่งขันกันเองสูง ยังมีแฟรนไชส์ต่างประเทศอีกด้วย

2.การสนับสนุนจากเจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์

33

ปัจจุบันความท้าทายของระบบแฟรนไชส์ไทย ก็คือ หลังจากที่มีผู้สนใจลงทุนธุรกิจแฟรนไชส์จำนวนมาก ในขณะที่เจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์ ยังไม่สามารถสร้างแบรนด์แฟรนไชส์ให้แข็งแกร่ง มีมาตรฐานได้ เวลามีคนมาซื้อแฟรนไชส์ ก็ขายไป

ทั้งๆ ที่แบรนด์แฟรนไชส์ของตัวเองยังไม่มีระบบการจัดการที่ดี เมื่อมีคนซื้อแฟรนไชส์จำนวนมาก ก็อาจเกิดปัญหาด้านการดูแลและสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์ไม่ดีพอ จึงทำให้เปิดปัญหาต่างๆ ตามมา สุดท้ายแฟรนไชส์ก็เจ๊ง

3.ความคาดหวังในความสำเร็จทางธุรกิจ

40

ภาพจาก แฟรนไชส์ ฟาสเดลิเวอรี่

เนื่องจากปัจจุบันคนรุ่นใหม่ สนใจเป็นเจ้าของกิจการในรูปแบบแฟรนไชส์ค่อนข้างมาก อาจเป็นเพราะคนรุ่นใหม่บางส่วนส่วน อาจมีความคาดหวังทางด้านผลตอบแทนและความสำเร็จที่รวดเร็ว แต่ลืมคิดไปว่า บางครั้งมีหลายปัจจัยที่อาจทำให้ธุรกิจแฟรนไชส์ที่ซื้อมาไม่ประสบความสำเร็จ แม้ว่าเจ้าของแฟรนไชส์จะระบุระยะเวลาการคืนทุนที่ชัดเจน

โดยความท้าทายของแฟรนไชส์ ก็คือ อยู่ในทำเลที่ไม่เหมาะสม พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป กำลังซื้อลดลง การแข่งขันของธุรกิจแฟรนไชส์ประเภทเดียวกันพื้นที่เดียวกัน หรือเลือกธุรกิจที่ไม่เหมาะสมกับตัวเอง เลือกธุรกิจเพียงแค่ใช้เงินลงทุนจำนวนน้อย ปัจจัยเหล่านี้มักจะทำให้รายได้และระยะเวลาคืนทุนไม่เป็นไปตามเป้าหมาย

ทั้งหมดเป็นจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคของธุรกิจแฟรนไชส์ย แม้ว่าตลาดแฟรนไชส์ในเมืองไทยจะมีการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังมีความท้ายอยู่อีกมาก ทั้งจากตัวผู้ประกอบการแฟรนไชส์ ผู้ลงทุนแฟรนไชส์ที่คาดหวังว่าซื้อแฟรนไชส์จะประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว อีกทั้งสภาพการแข่งขันของธุรกิจแฟรนไชส์ที่มีจำนวนมากขึ้น ดังนั้นผู้ประกอบการแฟรนไชส์ไทยจำเป็นต้องเร่งสร้างแฟรนไชส์ให้มาตรฐานที่แข็งแกร่ง


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3nac420

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช