Step by Step ข้อควรรู้ก่อนเปิด ธุรกิจร้านขายยา

ปัจจัย 4 ของมนุษย์ที่เรียกว่าจะขาดกันไม่ได้นอกจากอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ก็ยังมี ยา รักษาโรคที่แม้ว่าหลายคนบอกว่าไม่ต้องการแต่นี่ก็คือสิ่งสำคัญที่จะขาดหายไปจากชีวิตเราไม่ได้เช่นกัน

ยิ่งยุคสมัยนี้โรคภัยไข้เจ็บมีมากขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งร่างกายคนเราอ่อนแอมากเท่าไหร่ธุรกิจนี้ก็ดูเหมือนจะโตวันโตคืน และทิศทางก็ดูท่าว่าจะสดใสมากๆเพราะเป็นสินค้าที่ไม่ต้องโฆษณา เมื่อถึงเวลาก็มีคนมาถามหากันเองด้วยเหตุนี้ธุรกิจร้านขายยาจึงเป็นทางเลือกที่ใครหลายคนคิดว่าน่าจะเป็นช่องทางของการสร้างอาชีพที่ดีมาก

ธุรกิจร้านขายยา

www.ThaiSMEsCenter.com จึงได้รวบรวมเอาเทคนิคและวิธีการของธุรกิจการเปิดร้านขายยามานำเสนอให้ทุกท่านได้ทราบจะได้รู้ลำดับก่อนหลังว่าถ้าคิดจะทำธุรกิจนี้ต้องมีการเตรียมตัวอย่างไรกันบ้าง

พื้นฐานสำคัญสำหรับคนที่อยากเปิดธุรกิจร้านขายยา

1.เงินลงทุน จะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับขนาดของร้าน และปริมาณยาที่นำเข้ามา หรือบางครั้งอาจต้องรวมเรื่องค่าเช่า การจัดร้าน ค่าจ้างพนักงาน (ในกรณีที่เราไม่ได้เป็นเภสัชกรเอง)

เท่าที่สอบถามมาบางรายใช้เงินทุนถึง150,000 บาทสำหรับจัดร้าน และจัดยามาลงที่ร้านเลือกเอาเฉพาะที่น่าจะขายได้ประมาณ 30,000 บาท และเมื่อเริ่มขายก็ต้องมีการสั่งยาเข้ามาเรื่อยๆ ไม่ต่ำกว่าครั้งละ10,000 บาท ดังนั้นเรื่องเงินทุนหมุนเวียนเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับคนที่อยากเปิดธุรกิจร้านขายยาครั้งแรก

ธุรกิจร้านขายยา

2.เภสัชกร ในกรณีที่ผู้ลงทุนไม่มีใบวิชาชีพนี้ด้วยตัวเองต้องจ้างเภสัชกรมาประจำร้านซึ่งตามกฏหมายในช่วงเวลาเปิดดำเนินการจะต้องมีเภสัชกรประจำร้านเสมอ แต่ส่วนใหญ่ร้านยาจะขอเปิดดำเนินการ ตั้งแต่ 06.00น.-24.00 น.

นั้นหมายความว่าเจ้าของร้านต้องจ้างเภสัชกรมาประจำร้านหมุนเวียนกันอย่างน้อย 2 คน อัตราค่าจ้างของเภสัชกรยิ่งอายุงานมากค่าจ้างยิ่งสูงเฉลี่ยประมาณ 20,000 บาท บางร้านอาจมีการจ่ายค่าคอมมิชชั่นจากยอดขายเพิ่มเติมให้อีกด้วย

3. ความเป็นมืออาชีพ เพราะคำว่า ร้านยาไม่ธุรกิจเน้นการขายอย่างเดียว ร้านยามีเสน่ห์ตรงที่เป็นธุรกิจที่ได้ช่วยเหลือชุมชนอย่างใกล้ชิด ดังนั้นยาบางชนิดที่จ่ายไปจะต้องเกิดผลดีกับลูกค้ามากที่สุดและเราควรมีหลักเกณฑ์ในการเลือกยาที่ดีเป็นยาที่มีคุณภาพและใช้ได้ผลกับผู้ต้องการแท้จริง

4. ต้องมีเพื่อนร่วมธุรกิจ เพื่อให้เราก้าวทันวงการนี้และมีข้อมูลทางธุรกิจที่ดีพอ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการกำหนดทิศทางของร้าน โดยเฉพาะบริษัทยา ตัวแทนจำหน่าย ที่เราควรสร้างความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดเข้าไว้

ธุรกิจร้านขายยา

ก่อนจะเปิดร้านขายยาก็ต้องมีการขออนุญาตอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

มาดู 4 ขั้นตอนเบื้องต้นของการขออนุญาตเปิดร้านขายยาอย่างถูกกฎหมาย มีหลักใหญ่ใจความสำคัญอะไรกันบ้าง ตามไปดูเลย

  1. ติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอรับแบบคำขออนุญาติขายยา ซึ่งคุณจะได้รับคู่มือและเอกสารแจงรายละเอียดว่าคุณต้องเตรียมอะไรบ้างและใช้เอกสารอะไรบ้าง
  2. ไปจดทะเบียนพาณิชย์ เพราะต้องใช้ประกอบกับการยื่นขออนุญาตขายยาที่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
  3. จัดเตรียมเอกสารตามคู่มือที่ได้รับจาก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และจัดเตรียมสถานที่ตามที่คู่มือระบุ และจัดทำป้ายตามข้อบังคับต่างๆให้เรียบร้อย
  4. ยื่นเอกสารที่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดและรับวันนัดตรวจสถานที่ ถ้าสถานที่คุณ ผ่านเกณฑ์พิจารณาคือมีการจัดวางรูปแบบของร้านตามที่กำหนด ยาในร้านถูกต้องตามกฏหมาย ป้ายสำคัญต่างๆ มีการจัดวางตามคอนเซปที่กำหนดถ้าผ่านเกณฑ์เหล่านี้ ไม่เกิน 3-5วัน ก็จะได้ใบอนุญาตสามารถเปิดขายยาได้ทันที

เทคนิคการทำธุรกิจร้านขายยาให้เติบโตได้ไว

ธุรกิจร้านขายยา

สิ่งที่ต้องเรียนรู้อย่างแรกคือการจัดหมวดหมู่ของยาให้เป็นระเบียบเรียบร้อยแต่ในกฏหมายก็กำหนดชัดเจนว่าควรแยกประเภทของยาแต่ละชนิดออกจากกัน แต่ในการทำธุรกิจควรเพิ่มเทคนิคการจัดวางให้ดูน่าสนใจ เห็นแล้วรู้สึกว่าสบายตามากกว่าที่เข้ามาแล้วเจอแต่ร้านที่ไม่มีระเบียบ

และการเลือกยาก็เป็นสิ่งสำคัญ ยาที่ควรจะมีติดร้านคือกลุ่มยาแก้ปวด ลดไข้ ยาบำรุง หรืออาจเพิ่มความน่าสนใจของร้านด้วยการเอาพวกอาหารเสริมและอุปกรณ์สำหรับคนป่วยเช่น ไม้เท้า ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ ฯลฯ มาเป็นทางเลือกให้ร้านดูมีความหลากหลายมากขึ้น

ต้นทุนกำไรของธุรกิจร้านขายยา

kk15

ใครหลายคนอาจจะมองว่าธุรกิจนี้มีกำไรสูงมากบางที่ไม่มีคู่แข่งในบริเวณใกล้ๆ ก็ยิ่งทำให้คิดว่าต้องได้กำไรมหาศาลแน่ๆ แต่ความเป็นจริงการเปิดร้านขายยาในปัจจุบันแทบทุกที่กำไรที่ได้แค่ประมาณ 30-40% ไม่ถึง 50% หรือ 100 % เช่นสมัยก่อน

นั้นเพราะกฎหมายที่เข้มงวดขึ้น ต้นทุนการผลิตยาที่สูงขึ้น สวนทางกับรายได้ของคนทั่วไป แต่ถึงอย่างไรถ้าบริหารจัดการดีๆ ธุรกิจนี้ก็ยังสร้างรายได้ที่ดีพอสมควร

จากข้อมูลเบื้องต้นที่เราสอบถามมาเจ้าของร้านยาหลายท่านพูดคล้ายกันว่ากำไรที่ได้มีประมาณ 35 % จึงต้องตั้งเป้าว่าในแต่ละเดือนจะต้องมียอดขายไม่ต่ำกว่า 90,000 บาทเพราะมีต้นทุนอยู่ประมาณ 70,000 บาท เป็นค่าซื้อยาเข้าร้านสัปดาห์ละประมาณ 15,000 บาท ค่าจ้างเภสัชกร รวมกับค่าจิปาถะอื่นๆ ถ้าขายน้อยกว่านี้ก็ต้องมีทุนสำรองที่ดีเพื่อให้ธุรกิจยังคล่องตัวได้เหมือนเดิม

kk16

ทั้งนี้ปัจจัยด้านทำเลมีผลต่อธุรกิจค่อนข้างมาก ทำเลที่ดีย่อมนำมาสู่ผลกำไรที่ดี แนะนำว่าแหล่งชุมชน ใกล้หมู่บ้าน หอพัก คอนโด หรือตามแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ เป็นสถานที่ที่น่าลงทุนยิ่งนักถ้าใครมีที่ดินไม่ต้องเช่าในทำเลเช่นนี้แนะนำว่าการเปิดร้านขายยาเป็นช่องทางอาชีพที่ทำกำไรให้ได้ในระยะยาวเช่นกัน

ถ้าใครยังไม่แน่ใจว่าตัวเองเหมาะหรือมีความพร้อมมากพอที่จะเปิดธุรกิจขายยาได้หรือไม่มาลองหาคำตอบกับแบบทดสอบความพร้อมการเปิดร้านขายยาเพื่อสร้างความมั่นใจก่อนลงมือทำกันต่อไป แบบทดสอบความพร้อม เปิดร้านขายยา


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด