Ray Kroc ผู้ปั้นแฟรนไชส์ McDonald’s เปลี่ยนอะไรบนโลกใบนี้!

ประวัติความสำเร็จ ของ Ray Kroc น่าศึกษาและน่าสนใจอย่างยิ่ง เพราะกว่าที่เขาจะไปซื้อร้านฟาสต์ฟู้ดเล็กๆ ที่ชื่อ McDonald’s แล้วมาพัฒนาจนมันกลายเป็นแบรนด์ที่ยิ่งใหญ่ได้ในภายหลังนั้น

อายุก็ปาเข้าไป 52 แล้ว ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านั้นเขาก็ไม่ได้ประสบความสำเร็จสูงมากมายอะไรในฐานะนักธุรกิจ แล้วทำไมวันนี้เขาถึงยิ่งใหญ่ไปทั่วโลก

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะนำเสนอชีวประวัติของ Ray Kroc บุคคลที่ได้ขึ้นชื่อว่า เป็นผู้ที่เข้ามาเปลี่ยนให้คนอเมริกันออกไปรับประทานอาหารนอกบ้านมากขึ้น และเป็นผู้สร้างแบรนด์แฟรนไชส์ฟาสต์ฟู้ด “แมคโดนัลด์” อันดับ 1 ของโลก

กำเนิด Ray Kroc

vv1

ภาพจาก https://goo.gl/moy95U

Ray Kroc เกิดในครอบครัวชาวเช็กในเมืองชิคาโก รัฐอิลลินอยด์ ปี พ.ศ. 2445 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 เขาได้รับการฝึกให้เป็นพนักงานขับรถพยาบาล ร่วมกับ Jerry Mathew จนกระทั่งสงครามสิ้นสุดในปี พ.ศ. 2493 เขาได้ลองทำการค้าหลายประเภท รวมถึงพนักงานขายถ้วยกระดาษ และ นักเปียโน

วัยเด็กเขาเป็นคนที่แสดงถึงความมุ่งมั่นและความมั่นใจออกมาให้เห็นเด่นชัด เป็นคนที่ฉลาดและขยัน อีกความสามารถหนึ่งคือการเชี่ยวชาญในการโต้วาที ถือเป็นสิ่งเดียวที่เขาชอบที่โรงเรียน พร้อมทักษะในการพูดชักชวนผู้อื่นให้คล้อยตามอย่างง่ายดาย

จุดประกายนักขายมือทอง

vv10

ภาพจาก https://goo.gl/2wz8ih

ขณะศึกษาอยู่ระดับมัธยมสัญชาตญาณนักขายก็เริ่มฉายแววขึ้น จากการหารายได้พิเศษที่ร้านขายของชำ ไปจนถึงขายน้ำมะนาวหน้าบ้าน เมื่ออายุ 14 เขากับเพื่อนได้ขายแผ่นเพลงภายใต้ชื่อ Ray Kroc Music Emporium

โดยที่เขาเล่นเปียโน แต่ก็ต้องยกเลิกภายในเวลาไม่กี่เดือน จากนั้นได้ทำงานขายน้ำอัดลมที่ร้านของลุง เป็นการเพิ่มพูนความชำนาญด้านการขาย เขาได้เรียนรู้ว่ารอยยิ้มบวกกับความกระตือรือร้นช่วยให้ลูกค้าซื้อสินค้ามากกว่าการตั้งใจขายอย่างจริงจัง

เริ่มต้นงานขายถ้วยกระดาษ

vv5

ภาพจาก https://goo.gl/rQMRfm

จุดเปลี่ยนสำคัญครั้งหนึ่งในชีวิตคือการที่เขาได้พบกับ Ethel ทั้งคู่ตัดสินใจที่จะแต่งงานกัน แต่พ่อของเขากลับไม่เห็นด้วย และพยายามบอกให้เขาหางานที่มั่นคงทำให้ได้ก่อน แต่พอหลังจากนั้น 2-3 วันต่อมา Ray Kroc สมัครเข้าทำงาน ขายถ้วยกระดาษที่ Lily-Tulip Cup Company เพราะเขามองว่าถ้วยกระดาษจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมการกินของชาวอเมริกันแน่ๆ

แม้ว่าช่วงแรกจะประสบปัญหาในการขายถ้วยกระดาษ เพราะว่าลูกค้าที่เป็นเจ้าของร้านอาหารส่วนใหญ่ ไม่อยากสิ้นเปลืองและเพิ่มภาระให้ตัวเองมากขึ้น แต่ Ray Kroc ก็ใช้ทักษะการขายที่ยอดเยี่ยมโน้มน้าวลูกค้าได้

ทิ้งความมั่นคง สู่ชีวิตเซลล์แมน

vv4

ภาพจาก https://goo.gl/fy7kGp

หลังจาก 17 ปี ที่เขาขายถ้วยกระดาษ จนกลายเป็นระดับผู้บริหารของ Lily-Tulip Cup Company เขาก็ได้ตัดสินใจทิ้งความมั่นคงทุกอย่างในมือเมื่อเจอกับโอกาสใหม่ในชีวิต ที่มาในรูปของเครื่องปั่นมิลค์เชคที่สามารถปั่นได้ครั้งละ 5 แก้ว

Ray Kroc ตระเวนขายเจ้า “Multi – Mixer” นี้ ให้กับร้านขายเครื่องดื่ม และร้านขายนมไปทั่วประเทศ เขายืนยันว่า “เขารักมัน” แม้ว่าหน้าตามันจะน่าเกลียดมากก็ตาม

เจอกับแมคโดนัลด์ครั้งแรก

Ray Kroc สามารถขายได้ถึง 8,000 เครื่องต่อปีในช่วงฮอตๆ แต่ต่อมายอดขายก็ค่อยๆ ลดลง ขนาดว่าแค่จะขายให้ได้ซักเครื่องนึงยังยาก แต่แล้วอยู่ดีๆ ก็มี Order สั่งเข้ามาถึง 8 เครื่องจากเจ้าเดียว ร้านแบบไหนกันที่ต้องการทำมิลค์เชคครั้งละ 40 แก้วRay Kroc ไม่รอช้าที่จะไปดูให้เห็นกับตาตัวเองถึง ซาน เบอร์นาดิโน แคลิฟอร์เนีย

แต่ร้าน McDonald’s ที่เขาไปเห็นนั้นแตกต่างออกไป มันเป็นแค่ร้านเล็กๆ ที่ไม่มีพนักงานเสิร์ฟแม้แต่คนเดียว รายการอาหารก็มีแค่แฮมเบอร์เกอร์ เฟรนช์ฟรายด์ และเครื่องดื่มไม่กี่อย่าง กับผู้คนต่อแถวยาวเหยียดโดยที่แต่ละคิวใช้เวลาไม่เกิน 30 วินาที แค่คุณเดินไปซื้อแล้วถือออกมานั่งกินตรงไหนก็ได้ที่ต้องการ

Ray Kroc ไม่เคยเห็นอะไรแบบนี้มาก่อน McDonald’s ไม่ต้องเสียเวลามาบริการลูกค้า พวกเขาจึงเต็มที่ไปกับคุณภาพของอาหาร สุดยอดของระบบการจัดการ ความเร็ว ทุกอย่างเกิดขึ้นในร้านเล็กๆ นั่น

สำหรับเขาแล้ว McDonald’s เป็นมากกว่าร้านอาหารธรรมดา แต่มันคือศูนย์รวมและที่พบปะของผู้คน ทุกเพศ ทุกวัย ทุกชนชั้น ไม่ต่างจากโบสถ์ที่เขาเคยไปเล่นเปียโนตอนเด็กๆ เขามองเห็นวัฒนธรรมอเมริกันแบบใหม่ขึ้นในหัวเป็นที่เรียบร้อย

พูดคุยเพื่อจีบแมคโดนัลด์

vv3

ภาพจาก https://goo.gl/9Hh2Xs

Ray Kroc ไม่รอช้าที่จะเข้าไปคุยกับ Dick และ Mac McDonald สองพี่น้องสุดมหัศจรรย์ เขาทำสิ่งที่ถนัดนั่นคือพยายามเกลี้ยกล่อมให้ทั้งคู่ขายแฟรนไชส์ แต่ Dick และ Mac บอกว่าพวกเขาเคยลองทำแล้ว แต่มันไม่เวิร์ค การขยายกิจการทำให้ควบคุมคุณภาพได้ยาก และพวกเขาทนไม่ได้ที่จะมีคนทำร้านห่วยๆ ในชื่อ McDonald’s

Ray Kroc เข้าใจในจุดนี้ดี ซึ่งเขาก็เห็นด้วยในเรื่องของคุณภาพ เพราะมันคือสิ่งเขาถึงประทับใจ McDonald’s ตั้งแต่แรกเห็น เขาบอกกับ Dick และ Mac ว่าถนนทุกเส้นในอเมริกามีสัญลักษณ์ที่คุ้นเคย 2 อย่าง คือ ไม้กางเขน กับ ธงชาติ แต่ภาพในหัวของเขาตอนนั้น มีเพิ่มมาอีกอย่าง นั่นคือ โครงสร้างวงโค้งสีทองของ McDonald’s มันคือวัฒนธรรมใหม่ล่าสุดของสหรัฐอเมริกา

แมคโดนัลด์สู่กระบวนการขายแฟรนไชส์

vv8

ภาพจาก https://goo.gl/AT1xnC

ในที่สุด Dick และ Mac ก็ใจอ่อน พวกเขาร่างสัญญากับ Ray Kroc อย่างรัดกุม โดยผู้ที่จะเปิดกิจการในชื่อ McDonald’s จะต้องดำเนินงานตามแผนการของพวกเขาอย่างเคร่งครัด ทั้งเรื่องสัญลักษณ์และรายการอาหารและไม่สามารถทำการอื่นใดได้เลย หากไม่ได้รับการเซ็นยินยอมจากพวกเขาเป็นลายลักษณ์อักษร

Ray Kroc จะได้ส่วนแบ่ง 1.9% ของยอดขายรวมทั้งหมด และจะต้องหักออกมา 0.5% ให้กับ Dick และ Mac ในขณะที่ Ray Kroc ดีใจสุดชีวิต หลายๆ คนรอบตัวเขากลับส่ายหน้า เพราะกำลังงงว่าเขากำลังตัดสินใจทำอะไรลงไปกันแน่ หรือมันเป็นอาการของคนวัยทองที่เข้าไปซื้อแฟรนไชส์ ร้านอาหารที่ขายแฮมเบอร์เกอร์อันละ 15 เซ็นต์

Ray Kroc เริ่มสร้าง McDonald’s ของเขา ที่ Des Plaines ห่างจากบ้านเขาเพียงขับรถ 7 นาที ซึ่งเขาก็เจอปัญหาจุกจิกเต็มไปหมด ตั้งแต่ลักษณะพื้นที่ที่ต่างจากที่ซาน เบอร์นาดิโน รสชาติของเฟรนช์ฟรายด์ที่ทำออกมาไม่เหมือนกับของดั้งเดิม รวมถึงการจะต้องอยู่ภายใต้การควบคุมอย่างเคร่งครัด

การทำงานในช่วงแรกจึงเป็นไปอย่างยากลำบาก เขาต้องนำเงินจาก Prince Castle Sales มาหมุน และก่อนไปทำงานเขาจะมาที่ McDonald’s ก่อน เพื่อช่วยเก็บกวาดสถานที่ให้เรียบร้อยก่อนถึงเวลาเปิดร้าน

เขาไม่เคยรังเกียจที่จะต้องเก็บขยะหรือทำความสะอาดร้านแม้แต่น้อย Ray Kroc จริงจังเรื่องรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้มาก ซึ่งต่อมาก็ได้กลายเป็นต้นแบบของผู้จัดการ McDonald’s สาขาอื่นๆ อีกด้วย

แฟรนไชส์แมคโดนัลด์สาขาแรก

vv9

ภาพจาก https://goo.gl/PtsMWk

McDonald’s ของ Ray Kroc เปิดกิจการในวันที่ 15 เมษายน 1955 มันก็มีทีท่าไปได้สวย เขายังคงหาลูกค้าให้มาซื้อแฟรนไชส์อย่างต่อเนื่อง และแม้ว่าจะขยายสาขาได้อย่างรวดเร็ว แต่รายได้จาก McDonald’s ก็ยังไม่ทำเงินมากเท่าไหร่ เพราะยังมีค่าใช้จ่ายในส่วนต่างๆ หลายส่วน รวมถึงผลประกอบการ 0.5% ที่ต้องแบ่งให้ Dick และ Mac ด้วย

Ray Kroc จึงต้องเพิ่มกลยุทธ์เพื่อสร้างรายได้จากเดิมที่มีอยู่ 2 ทางหลักๆ คือ จากสัญญาร้าน McDonald’s ของตัวเอง และจากการขาย Multi – Mixer ของ Prince Castle Sales เขาก็ได้มองหาลู่ทางจากการทำธุรกิจที่ดิน ที่จะเปิดให้เช่าสำหรับผู้ที่จะมาสร้าง McDonald’s สาขาใหม่ๆ ซึ่งก็จะกลายเป็นรายได้หลายต่อวนกลับมาที่ตัวเขาอีกนั่นเอง

เป็นเจ้าของแมคโดนัลด์ด้วยเงิน 2.7 ล้านดอลลาร์

vv11

ภาพจาก https://goo.gl/e72Lp9

Ray Kroc มองว่า Dick และ Mac เป็นตัวถ่วง ทำให้ธุรกิจของเขาพัฒนาไปช้ากว่าที่ควรจะเป็น เขาต้องการเป็นอิสระจากสองพี่น้องให้เร็วที่สุด และโอกาสของ Ray Kroc ก็มาถึง เมื่อ Dick และ Mac เริ่มพูดถึงการเกษียณตัวเอง เขาจึงถามสองพี่น้องแบบไม่อ้อมค้อมว่าต้องการเท่าไหร่ ต่อมา Ray Kroc จึงได้คำตอบทางโทรศัพท์ ว่าเขาต้องจ่ายเงินเป็นจำนวน 2.7 ล้านดอลลาร์

Ray Kroc จึงต้องหาเงินมาหมุนและหาทางกู้เงินยกใหญ่ เพื่อที่จะได้ทุกอย่างรวมถึงชื่อ McDonald’s มาเป็นของตัวเอง จากการคำนวณรายได้ในขณะนั้นซึ่งเป็นปี 1961 เขาต้องใช้เวลาราว 30 ปี กว่าจะใช้หนี้ได้หมด แต่พอเอาเข้าจริงๆ การขยายกิจการอย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องอยู่ในอำนาจของ Dick และ Mac ทำให้เขาเคลียร์หนี้สินทั้งหมดได้ในเวลาแค่ 6 ปีเท่านั้น

หลังจากนั้น Dick และ Mac ยังคงทำกิจการร้านของพวกเขาในซาน เบอร์นาดิโน ต่อไป แต่ก็ต้องเปลี่ยนชื่อเป็น The Big M เพราะไม่สามารถใช้ชื่อ McDonald’s ได้ ซึ่ง Ray Kroc ก็แสบไม่เบา เพราะได้ไปเปิด McDonald’s ใกล้ๆ จนในที่สุด The Big M ของสองพี่น้องก็ต้องปิดตัวลงไป

ต่อมาไม่นานแมคโดนัลด์ก็มีการขยายตลาดไปยังประเทศอื่นๆ ทั่วโลก และในปี 2546 บริษัทมีสาขามากกว่า 31,000 แห่งใน 119 ประเทศทั่วโลก มีการรับใช้ประชาชนประมาณ 47 ล้านคนต่อวัน และมียอดขายสูงถึง 17 พันล้านดอลลาร์

ปัจจุบัน McDonald’s เป็นแฟรนไชส์ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดที่ใหญ่ที่สุดในโลกของสหรัฐอเมริกา ด้วยจำนวนเครือข่ายร้านสาขามากกว่า 36,000 แห่งทั่วโลก บริการลูกค้ามากกว่า 70 ล้านคนต่อวัน โดยขายเบอร์เกอร์จำนวน 75 ชิ้นทุกๆ วินาที

McDonald’s ได้ลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ พร้อมเก็บค่าเช่าจากเหล่าผู้ซื้อแฟรนไชส์อีกด้วย ทำให้ McDonald’s กลายเป็นบริษัทอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ของโลก โดยมูลค่าธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของ McDonald’s ในปัจจุบันสูงถึง 30,000 ล้านดอลลาร์ถือว่านอกจากฟันกำไรจากการขายแฟรนไชส์แล้ว ยังเก็บค่าเช่าเป็นกอบเป็นกำอีกด้วย

เป็นเจ้าของทีมเบสบอล San Diego Padres

vv13

ภาพจาก https://goo.gl/yhGCbq

Kroc ได้รับการประกาศจากวารสาร TIME ให้เป็นหนึ่งในร้อย บุคคลที่มีอิทธิพลและเป็นยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมอาหารของโลก และมีทรัพย์สินในระหว่างที่เขายังมีชีวิตอยู่ถึง 500 ล้านเหรียญสหรัฐ

นอกจากนี้เขายังเป็นเจ้าของทีมเบสบอล San Diego Padres ตั้งแต่ปี ค.ศ.1974 หลังจากที่เขาเกษียณจากการเป็นผู้บริหาร McDonald’s Corporation กระทั่งเสียชีวิตในปี ค.ศ.1984 เนื่องจากโรคหัวใจ ที่ รพ. Scripps Memorial ในเมือง San Diego California


คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

 

อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ goo.gl/Vc8bqh
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี แบรนด์อื่นๆ เปิดร้าน goo.gl/C5uxcd

อ้างอิงข้อมูล

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช