Economy of Scale มีผลต่อธุรกิจแฟรนไชส์อย่างไร

ต้นทุนของบริษัท โดยรวมที่ต่ำกว่าคู่แข่ง ทำให้บริษัทที่มีความได้เปรียบจาก Economy of Scale (EOS) สามารถตั้งราคาขายที่มีความได้เปรียบคู่แข่งมากขึ้น (ลดราคาขายลง) ยิ่งทำให้ทิ้งห่างบริษัทคู่แข่งเข้าไปอีก

ต่อให้บริษัทที่คิดจะเข้ามาแข่ง มีเงินทุนพอๆ กัน ก็ไม่ใช่จะชนะได้ง่ายๆ หรือถ้าต้องการเอาชนะก็จะต้องใช้เงินลงทุนสูงมาก ไม่ค่อยคุ้มค่าที่จะเข้ามาแข่งขัน

ดังนั้น ตราบใดที่บริษัทยังมีสินค้าที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้ การมีข้อได้เปรียบด้าน EOS จะเป็นเกราะป้องกันในการแข่งขันจากทั้งคู่แข่งหน้าเก่าและหน้าใหม่ บริษัทเช่นนี้จะเป็นบริษัทที่ยิ่งโต ยิ่งแข็งแกร่ง

คำถามที่ว่า แล้ว Economy of Scale (EOS) จะสร้างความได้เปรียบ และมีผลต่อธุรกิจในระบบแฟรนไชส์ อย่างไร วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะหาข้อมูลมานำเสนอให้ทราบกันครับ

ระบบแฟรนไชส์ที่สมบูรณ์แบบ ช่วยลดต้นทุนได้มาก

ต้นทุนของบริษัท

ในระบบแฟรนไชส์ที่สามารถทำให้เกิดการเติบโต คือ เรื่องของการขยายด้วยจำนวน ในทางการตลาดจะเรียกว่า การสร้างภาพลักษณ์ คือ การสร้างธุรกิจที่สร้างตรายี่ห้อ ด้วยจำนวนของสาขาที่ขยายออกไป ทำให้ผู้บริโภครับรู้ถึงแบรนด์นั้นๆ

เพราะระบบแฟรนไชส์ คือ กลยุทธ์การต่อยอด จุดสำคัญของระบบแฟรนส์ คือ การสร้างจำนวน หรือเรียกว่า Economy of Scale ธุรกิจไหนที่สามารถสร้างระบบแฟรนไชส์สมบูณ์แบบ จะสามารถลดต้นทุนจากการบริหารจัดการจำนวนมากได้

j2

เพราะหัวใจหลักของระบบแฟรนไชส์ คือ การมุ่งสู่จำนวน เพื่อลดต้นทุนตัวเอง กระบวนของการสร้าง Economy of Scale จะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อ จำนวนหรือสาขาถูกวางเป็นมาตรฐานเดียวกันหมด

เพราะว่าระบบแฟรนไชส์ต้องการจำนวน ถ้าทุกสาขาเป็นมาตรฐานเดียวกัน จะช่วยลดต้นทุนการทำธุรกิจต่ำลงไป นั่นคือประโยชน์ของแฟรนไชส์ ที่มุ่งสู่ Economy of Scale

Economy of Scale เพิ่มจำนวนแฟรนไชส์ เพิ่มอำนาจต่อรองในตลาด

j5

โดยทั่วไปแล้ว การบริหารงานในรูปแบบของระบบเฟรนไชส์ สามารถสร้างผลประโยชน์ให้กับเจ้าของสิทธิ หรือแฟรนไชส์ซอร์ ในการมีช่องทางในการจำหน่ายสินค้าออกไปได้ง่ายขึ้น เนื่องจากสามารถผลักภาระ ในส่วนของต้นทุนอาคารสถานที่ ต้นทุนของค่าจ้างแรงงาน และต้นทุนการบริหารจัดการทางด้านการตลาดให้กับผู้ซื้อสิทธิ

นอกจากนี้ การที่มีจำนวนของผู้ซื้อสิทธิเพิ่มขึ้น ยังเป็นการสร้างประโยชน์ให้แก่เจ้าของสิทธิ จากการประหยัดต่อขนาด (Economy of Scale) อันเกิดจากการที่เจ้าของสิทธิมีต้นทุนเฉลี่ย (Average Cost) ในการผลิตลดลง จากการที่มีสาขาจำนวนมากขึ้น เพื่อกระจายสินค้าและบริการ โดยที่ไม่ต้องลงทุนเพิ่ม

ดังนั้น เมื่อวิเคราะห์ถึงระบบแฟรนไชส์ค้าปลีก จะเห็นได้ว่า แฟรนไชส์ค้าปลีกสามารถที่จะกระจายสาขาได้มากขึ้นเท่าไร เจ้าของสิทธิก็จะได้รับส่วนแบ่งตลาดมากขึ้น บางครั้งอาจนำไปสู่การการผูกขาดตลาดให้กับเจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ได้นั่นเอง

ธุรกิจแฟรนไชส์ที่ได้เปรียบจาก Economy of Scale

j6

ปัจจุบันมีธุรกิจแฟรนไชส์กลุ่มบริการหลายประเภท ที่ได้เปรียบจากขนาด เช่น ธุรกิจค้าปลีก ร้านอาหารประเภท Chain Restaurant หรือโรงพยาบาล ซึ่งบริษัทใดจะได้ประโยชน์ของ EOS เพิ่มขึ้นในภาพรวมนั้น ก็จะต้องมีจำนวนสาขามากพอ

มียอดขายต่อสาขาเพิ่มขึ้น เพราะทำให้บริษัทแบ่งกันใช้ทรัพยากรส่วนกลางได้ดีขึ้น เช่น ระบบ IT ระบบ Logistics รวมทั้งอำนาจต่อรองในการสั่งซื้อสินค้า เป็นต้น ถึงจะทำให้บริษัทขนาดใหญ่ในธุรกิจเหล่านี้ มีความได้เปรียบจาก EOS ค่อนข้างมาก

ตัวอย่างบริษัทที่จะได้ประโยชน์ของ EOS ได้แก่ ร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven ที่มีสาขาจำนวนมาก จะช่วยให้ต้นทุนการขนส่งต่ำกว่าคู่แข่ง เพราะการขนของเที่ยวเดียว สามารถขนส่งได้หลายสาขา ทำให้มีอำนาจต่อรองกับ Supplier ที่สูงมาก

j8

เนื่องจากบรรดา Supplier ทั้งหลายย่อม ต้องการจะนำสินค้าของตัวเองมาวางขาย ยิ่งทำให้บริษัทมีโอกาสเลือกสินค้าที่ดีที่สุดมาวางขาย ช่วยให้การใช้พื้นที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จะช่วยดึงดูดให้ลูกค้าเข้ามาใช้บริการมากขึ้นอีก

หรือร้านอาหารที่มีจำนวนสาขามาก นอกจากจะมีต้นทุนการซื้อและขนส่งวัตถุดิบที่ต่ำแล้ว การมีจำนวนสาขามาก ก็ยังทำให้บริษัทคุ้มค่าที่จะลงทุนระบบ IT ซึ่งจะช่วยให้ระดับ Inventories ลดต่ำลง ส่งผลให้ควบคุมคุณภาพสินค้าได้ดีขึ้น ยิ่งทำให้ลูกค้าเกิดความเชื่อมั่นว่า ถ้าเข้าไปใช้บริการแล้วจะไม่ผิดหวัง

เราจะเห็นว่าธุรกิจบริการที่มีความได้เปรียบด้าน EOS นั้น นอกจากจะลดต้นทุนได้แล้ว ยังจะสนับสนุนด้านการให้บริการที่มีคุณภาพไปด้วย บริษัทที่คิดจะเข้ามาแข่งจะต้องมีแนวคิดที่แตกต่างออกไปมากๆ ไม่สามารถแข่งขันตรงๆ ได้

อยากเป็นผู้ชนะใน Economy of scale ต้องมี “จุดเด่น”

j7

จากข้างต้น หลายคนอาจคิดว่า การประหยัดขนาด หรือ Economy of scale (EOS) คือ ปัจจัยหลัก ที่ตัดสินแพ้ชนะ บริษัทไหนขยายสาขาได้มากกว่า จะได้เปรียบ แข็งแกร่ง กำไรมากกว่า เพราะ EOS คือ การผลิตสินค้าจำนวนมากมหาศาล แต่ต้นทุนต่อหน่วยเกือบคงที่ ยิ่งผลิตจำนวนมาก ราคาต่อหน่วยยิ่งต่ำ จึงต้นทุนถูก ได้เปรียบ ชนะคู่แข่งได้

แต่หลักคิดนี้ ถูกสั่นคลอนอย่างรุนแรง ยกตัวอย่างเมื่อช่วงปี 2558 Tesco บริษัทค้าปลีกยักษ์ใหญ่ ซึ่งได้เปรียบเรื่อง EOS เป็นอันดับต้นของโลก ขาดทุนยับเยินกว่า 5 พันล้านปอนด์ช่วงไตรมาสแรกของปี มี market share หรือ ส่วนแบ่งการตลาดดำดิ่ง ลด ตกต่ำลง สะท้อนว่า EOS ซึ่งเคยเป็นจุดเด่น ไม่ได้ทำให้ Tesco เหนือกว่าคู่แข่งอีกต่อไป

แล้วทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ก็คือ จุดอ่อนของ EOS คือ ปริมาณมาก แต่ไม่มี “จุดเด่น” และ “ความแตกต่าง” ที่ชัดเจน แต่ถ้าหลายๆ บริษัทที่เล็กกว่า สามารถสร้าง “จุดเด่น” ที่แตกต่างและดีกว่า Tesco จึงไล่บี้และอัดปลาใหญ่ได้อย่างเห็นได้ชัด

ยิ่งธุรกิจในระบบแฟรนไชส์ด้วยแล้ว หากบริษัทไหน ธุรกิจไหน ที่มุ่งเน้นการสร้างจำนวน หรือการขยายสาขาให้มากที่สุด เพื่อจะได้เปรียบในตลาด แต่ลืมไปว่าระบบภายในต่างๆ ของบริษัทยังไม่เป็นมาตรฐาน มุ่งเอาเงินจากแฟรนไชส์ซีอย่างเดียว แต่ยังไม่มีระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีที่ชัดเจน ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน สุดท้ายก็อาจต้องเจ๊งในที่สุดครับ

ที่สำคัญหัวใจของระบบแฟรนไชส์นั้น เจ้าของแฟรนไชส์หากต้องการมุ่งสู่ Economy of scale ไม่ควรมุ่งปริมาณอย่างเดียว แต่ต้องโฟกัส และสร้างจุดเด่นของตัวเองให้ชัดเจน แตกต่างด้วยครับ


คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

01

อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ goo.gl/jDrcgF
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี แบรนด์อื่นๆ เปิดร้าน goo.gl/udSndU

อ้างอิงข้อมูลจาก

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3jn2icX

01565898888

ท่านใดสนใจอยากให้สร้างระบบแฟรนไชส์ แจ้งความประสงค์ได้ที่
โทร : 02-1019187, Line : @thaifranchise

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช