ทำไมแฟรนไชส์ลงทุนต่ำ มีโอกาสเจ๊งสูง!

ปัจจุบันต้องยอมรับว่า ธุรกิจแฟรนไชส์ เป็นอีกรูปแบบการดำเนินธุรกิจหนึ่ง ที่เจ้าของกิจการ เจ้าของธุรกิจหลายๆ คนกระโดดเข้ามาทำ เพราะเห็นว่าขยายสาขาได้อย่างรวดเร็ว ไม่ต้องเสียเงินลงทุนจำนวนมาก

ขณะที่คนอยากมีธุรกิจของตัวเอง มองเพียงว่าแค่มีเงินลงทุนก็สามารถเปิดร้าน หรือเป็นเจ้าของกิจการได้แล้ว ใครที่คิดแบบนี้ก็มีส่วนถูกอยู่บ้าง แต่ไม่ทั้งหมด

เพราะที่ผ่านมา แม้ว่าจะมีธุรกิจแฟรนไชส์เกิดขึ้น หรือเพิ่มจำนวนมากขึ้น แต่ก็มีธุรกิจแฟรนไชส์หลายๆ แบรนด์ ปิดตัวลงไปหลังจากขายได้ไม่นาน ยิ่งเป็นธุรกิจแฟรนไชส์ที่ใช้เงินลงทุนต่ำ

ค่าแฟรนไชส์ไม่ถึงหลักแสนบาท แล้วอยากรู้หรือไม่ว่า เหตุผลหรือว่าทำไม? ธุรกิจแฟรนไชส์ลงทุนต่ำ โอกาสเจ๊งจึงมีสูง! วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะเล่าให้ฟัง

2

โดยส่วนใหญ่แล้ว แฟรนไชส์ลงทุนต่ำ ราคาหลักหมื่น หลักพัน มีโอกาสเจ๊ง โดยปัญหาสำคัญมาจาก กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซี ที่ไม่มีคุณภาพมาตรฐานเข้ามาเป็นสมาชิก เห็นคนซื้อแฟรนไชส์จ่ายเงินค่าแฟรนไชส์เข้ามา แฟรนไชส์ซอร์ก็รีบขายเลย โดยไม่ดูให้ดีว่า คนซื้อแฟรนไชส์เหล่านั้น เหมาะสมที่จะเป็นเจ้าของธุรกิจที่ติดป้ายแบรนด์ของตัวเองหรือไม่

พอคนซื้อแฟรนไชส์มีจำนวนเยอะขึ้น สาขามีมากมาย กระจัดกระจายทั่วทุกพื้นที่ สุดท้ายแฟรนไชส์ซอร์ไม่สามารถดูแลสาขาแฟรนไชส์ได้อย่างทั่วถึง ส่งของ ส่งวัตถุดิบไม่ทันบ้าง จนเกิดปัญหาข้อผิดพลาดที่เกิดจากการบริหาร และควบคุมสาขา

3

ปัญหาที่เกิดขึ้นข้างต้น สาเหตุหลักๆ มาจากการขยายกิจการ หรือสาขาเร็วเกินไป แม้ว่าการเติบโตเป็นเรื่องดี แต่ต้องไม่เร็วไปและไม่รีบร้อนจนเกินไป เหมือนเราโตเกินความสามารถของธุรกิจ หรือโตเกินขอบข่ายของการบริหารจัดการ เวลามีใครสักคนเปิดร้านสักร้าน เริ่มขายดี จะเริ่มมีคนถามกันว่า ขยายร้านเปิดสาขาไหม รวมไปถึงบางคนขายแฟรนไชส์เลย

เรื่องแฟรนไชส์มีคนเข้าใจผิดพอสมควร ลองนึกภาพ 7-Eleven, KFC เมืองนอก ที่มีระบบในการบริหารจัดการทุกสิ่งทุกอย่างชัดเจน ไม่ใช่แค่การใช้ชื่อเดียวกัน หรือแค่สูตรเดียวกัน เพราะแฟรนไชส์จริงๆ คือระบบการตลาด การดำเนินงาน และการเงิน

จริงๆ แล้วแฟรนไชส์ซอร์ ต้องมีระบบการบริหารจัดการสาขาที่ดี ไม่ใช่เอาแต่เพียงเก็บค่าแฟรนไชส์แรกเข้าอย่างเดียว แล้วไม่ทำอะไรให้เลย คอยแต่จะขายสินค้าวัตถุดิบให้ เพราะจริงๆ แล้วค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์แรกเข้า หรือค่าแฟรนไชส์นั้น ไม่ใช่เครื่องมือของแฟรนไชส์ซอร์ในการหารายได้ แต่เป็นค่าใช้จ่ายในการทำงาน เพื่อที่จะให้เกิดร้านสาขาในระบบดีๆ เพิ่มขึ้น

5

ดังนั้น กำไรของธุรกิจแฟรนไชส์ อยู่ที่การวางระบบให้สาขาแฟรนไชส์ซีสามารถสร้างกำไร มียอดขายสูงขึ้น เพื่อที่จะให้แฟรนไชส์ซีจ่ายเงินส่วนแบ่งในการบริหารกลับเข้ามา หรือเรียกว่า Royalty Fee นั่นคือ กำไรของธุรกิจแฟรนไชส์ของจริง

ถ้าเน้นแฟรนไชส์แบรนด์ไหน เน้นการขายสินค้า การให้เช่าป้าย หรือการขายสูตรลับ บางทีเจ้าของแฟรนไชส์จะต้องคิดใหม่ ทำใหม่ เพราะการสร้างระบบแฟรนไชส์ต้องบริหารให้สาขาอยู่รอด มีกำไร อย่าคิดเพียงเอาตัวรอดไปชั่วคราว จะไม่ยั่งยืน

สอดคล้องกับ ดร.พีระพงษ์ กิติเวชโภคาวัฒน์ ประธานที่ปรึกษา บริษัท บิสิเนส โค้ช แอนด์ คอนซัลติ้ง จำกัด ได้ระบุไว้ในงานสัมมนา พบว่าจากงานวิจัย “ธุรกิจแฟรนไชส์ที่ลงทุนต่ำกว่า 1 แสนบาท จะล้มเหลวไม่เกิน 3 ปีแรกที่ลงทุน”

6

เพราะแฟรนไชส์เหล่านี้ เก็บค่าธรรมเนียมแรกเข้าครั้งเดียวจบ หลักพัน หลักหมื่น เสร็จแล้วขายของ ขายวัตถุดิบ ไม่ส่งเสริมการขาย การตลาดในวันเปิดร้าน หรือสร้างกระแสให้ร้านสาขาแฟรนไชส์ซี ยิ่งอยู่ไกลก็ต้องมีค่าเครื่องบิน ค่าโรงแรม ค่าอาหาร ค่าเช่ารถ ค่าแรง ทีมงาน และอื่นๆ แล้วคุณคิดว่าค่าแฟรนไชส์แรกเข้าที่แฟรนไชส์ซอร์ได้รับหลักพัน หลักหมื่น จะเพียงพอหรือ

แฟรนไชส์ที่ลงทุนสูงๆ ค่าแฟรนไชส์แรกเข้าหลักแสนขึ้นไปจนถึงหลักล้านบาท จะคิดค่าแฟรนไชส์จากค่าใช้จ่ายในส่วนเหล่านี้ด้วย รวมถึงการทำการตลาดต่อเนื่องให้กับร้านค้า การจัดการตลาดที่เป็นการจัดทำการตลาดทางตรง

การจัดเตรียมเอกสารส่งทางจดหมาย จัดอย่างไร จำนวนเท่าไร การจัดพิมพ์ และการจัดส่ง เรื่องแบบนี้ไม่ได้มาฟรีๆ ต่างก็มีค่าใช้จ่าย ทั้งการออกแบบทีมงานที่รับผิดชอบ แม้จะทำเป็นภาพรวม แต่ผลที่เกิดขึ้นนั้น เป็นเรื่องที่ต้องคิดเป็นค่าใช้จ่ายไว้แล้วกับแฟรนไชส์ซี

7

ดังนั้น จะเห็นว่าแฟรนไชส์ที่ลงทุนต่ำ เก็บค่าแฟรนไชส์แรกเข้าครั้งเดียวจบ ไม่เก็บเปอร์เซ็นต์ของยอดขายในแต่ละเดือนจากแฟรนไชส์ซี จะไม่สามารถบริหารจัดการในเรื่องเหล่านี้ ได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์แบบ บางรายขายแล้วขายเลย ก็มีให้เห็นกัน


คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

01

อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ goo.gl/XCVDFu
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี แบรนด์อื่นๆ เปิดร้าน goo.gl/Uz9Nej

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3x5GXsn

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช