Digital Wallet 1หมื่นบาท ใช้ร้านแฟรนไชส์ แบรนด์ไหนได้บ้าง

“ Digital Wallet 1หมื่นบาท ถึงมือประชาชนแน่ ” เป็นคำยืนยันล่าสุดจากนายกรัฐมนตรี ที่กำหนดว่าโครงการนี้จะเริ่มต้นได้ภายในไตรมาสที่ 4 ของปี 2567

เงื่อนไขของโครงการนี้ส่วนใหญ่ยังคงคอนเซปต์เดิมจากที่เคยรู้ๆกันมาคือ

  • ผู้ได้สิทธิในโครงการนี้จำนวน 50 ล้านคน
  • เป็นคนไทยอายุตั้งแต่ 16 ปีขึ้นไป ณ เดือนที่มีการลงทะเบียน
  • เป็นผู้ที่มีเงินได้พึงประเมินไม่เกิน 840,000 บาทต่อปีภาษี
  • มีเงินฝากกับธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินรวมกันไม่เกิน 500,000 บาท

Digital Wallet 1หมื่นบาท

ภาพจาก www.facebook.com/pheuthaiparty

และเงินหมื่นที่คนส่วนใหญ่กำลังจะได้ในปลายปีนี้ก็ใช่ว่าจะเอาไปทำอะไรได้ทุกอย่าง มีเงื่อนไขที่ระบุชัดเจนว่า

  1. ประชาชนจะสามารถใช้ซื้อสินค้า อาหาร เครื่องดื่ม สินค้าอุปโภคบริโภคได้เท่านั้น
  2. ไม่สามารถใช้กับบริการได้
  3. ไม่สามารถใช้ซื้อสินค้าออนไลน์ได้
  4. ไม่สามารถซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ผลิตภัณฑ์ยาสูบ กัญชา กระท่อม พืชกระท่อม และผลิตภัณฑ์จากกัญชาและพืชกระท่อม
  5. ไม่สามารถนำไปซื้อบัตรกำนัล บัตรเงินสด ทองคำ เพชร พลอย อัญมณีได้
  6. ไม่สามารถนำไปชำระหนี้ได้
  7. ไม่สามารถจ่ายค่าเรียน ค่าเทอม ได้
  8. ไม่สามารถนำไปจ่ายค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ หรือซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงและก๊าซธรรมชาติได้
  9. แลกเป็นเงินสดไม่ได้ แลกเปลี่ยนในตลาดต่างๆ ไม่ได้

ถ้าไปดูข้อมูลที่ประกาศออกมาล่าสุดโครงการนี้ได้กำหนดการใช้จ่ายไว้เป็น 2 กลุ่มหลักๆ คือ

  1. กลุ่มแรก ระหว่างประชาชนกับร้านค้า ใช้จ่ายเชิงพื้นที่ในระดับอำเภอ (878 อำเภอ) โดยกำหนดให้ใช้จ่ายกับร้านค้าขนาดเล็กที่ตามที่กระทรวงพาณิชย์กำหนดเท่านั้น
  2. กลุ่มที่สอง ระหว่างร้านค้ากับร้านค้า ไม่กำหนดเงื่อนไขการใช้จ่ายเชิงพื้นที่ระหว่างร้านค้ากับร้านค้าในระดับอำเภอ และขนาดของร้านค้าการใช้จ่ายเงินสามารถใช้จ่ายได้หลายรอบ

เราจะมาโฟกัสที่คำว่า “ร้านค้าขนาดเล็ก” ซึ่งนาย จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช.กระทรวงการคลังกล่าวว่า “เบื้องต้นร้านสะดวกซื้อลงมาถือว่าเป็นร้านขนาดเล็ก เพราะต้องการให้เงินกระจายอยู่ในชุมชน ส่วนแมคโคร ห้างค้าปลีกค้าส่งขนาดใหญ่ ซุปเปอร์มาร์เก็ต และห้างสรรพสินค้าไม่รวม ไม่นับ ซึ่งร้านสะดวกซื้อนี้จะรวมทั้งแบบสแตนอโลน และแบบที่ตั้งอยู่ในสถานีบริการน้ำมันด้วย

นั่นหมายความว่าแฟรนไชส์ที่จะได้ประโยชน์จากเงิน Digital Wallet 1หมื่นบาทนี้จะอยู่ในกลุ่มแฟรนไชส์อาหาร , แฟรนไชส์เครื่องดื่ม , แฟรนไชส์เบเกอรี่ , รวมถึงแฟรนไชส์ค้าปลีก โดยเฉพาะบรรดาแฟรนไชส์ที่เป็นแบบสแตนอโลน , ร้านริมทาง

ซึ่งก็มีหลายแบรนด์ยกตัวอย่าง เช่น ชายสี่บะหมี่เกี๊ยว , ลูกชิ้นทิพย์ , ธงไชย ผัดไทย , ไจแอ้น ลูกชิ้นปลาระเบิด , ธุรกิจห้าดาว , สเต็กเด็กแนว , นาเนีย สเต็ก , ซัน ชาเฟ่ , มารุชา , โมโม่เชค , ฟินิกซ์ชา , เดรี่ชา , อากิโกะที , นิค แฟรนไชส์ชานมไข่มุก , โคโค่ วอร์ค , อาจุมม่าคาเฟ่ , ฮ็อป ชาเฟ่ , 7–Eleven , ท็อปส์ เดลี่ , นพรัตน์ 20 ฯลฯ

จากข้อมูลของโครงการนี้ระบุว่าจะมีเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจกว่า 5 แสนล้านบาทส่งผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจประมาณ 1.2% – 1.8% และนับจากตอนนี้ก็ยังพอมีเวลาอีกพอสมควรในการคิดไอเดียการขายเพื่อดึงเม็ดเงินมหาศาลนี้มาอยู่กับแบรนด์ได้มากที่สุด ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับกลยุทธ์การตลาดของแต่ละแบรนด์เป็นสำคัญด้วย

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด