Core Competency ในธุรกิจแฟรนไชส์

Core Competency สมรรถนะหรือความสามารถหลักของธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นพื้นฐานของความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ ความชำนาญพิเศษ รวมถึงความสามารถบุคลากรในการทำงานด้านต่างๆ เมื่อเปรียบเทียบกับบริษัทอื่นๆ ในอุตสาหกรรมเดียวกัน

ปัจจุบันจะเห็นได้ว่าบริษัทเอกชนชั้นนำได้มีการนำแนวคิดสมรรถนะเป็นเครื่องมือในการบริหารงานมากขึ้น ที่สำคัญในต่างประเทศได้ให้การยอมรับว่าเป็นเครื่องมือการทำงานสมัยใหม่ที่หลายๆ องค์กรได้ให้การยอมรับ

สำหรับความสามารถหลัก คือ แนวคิดทฤษฎีการจัดการที่นำเสนอโดย C.K. Prahalad และ Gary Hamel สามารถกำหนดได้ว่าเป็นการผสมผสานที่กลมกลืนกันของทรัพยากรและทักษะต่างๆ ที่สร้างความโดดเด่นให้กับบริษัทต่างๆ

ถ้าถามว่า Core Competency ในธุรกิจแฟรนไชส์เป็นอย่างไร แตกต่างจากองค์กรหรือธุรกิจทั่วๆ ไปอย่างไร วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อมูลมานำเสนอให้ทราบครับ

Core Competency ในธุรกิจแฟรนไชส์

Core Competency

  1. ขยายธุรกิจและสร้างการเติบโตได้อย่างรวดเร็ว เช่น แฟรนไชส์ร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven ต้นกำเนิดในสหรัฐอเมริกามีการขยายสาขาแฟรนไชส์ไปทั่วโลกกว่า 81,887 สาขาในปัจจุบัน ขณะที่ในไทยขยายแฟรนไชส์ไปแล้วกว่า 13,433 สาขา
  2. มาตรฐานสินค้าและบริการเหมือนกันทุกสาขา ไม่ว่าเราจะสั่งสั่งบิ๊กแมคหรือแมคนักเก็ตไก่จากแฟรนไชส์ฟาสต์ฟู้ดแมคโดนัลด์สาขาใดก็ตาม ก็จะได้รับสินค้าและบริการเหมือนกันทุกสาขาทั่วโลก
  3. ชื่อตราสินค้า ยี่ห้อ ชื่อเสียงเป็นที่รู้จักมาก่อน แฟรนไชส์ธุรกิจห้าดาวมีสาขามากกว่า 9,000 สาขาทั้งในไทยและต่างประเทศ เพราะนักลงทุนเชื่อมั่นในตราสินคร้า ยี่ห้อ มีชื่อเสียงรู้จักทั่วประเทศ เพราะอยู่ในเครือซีพี
  4. ถ่ายทอดและได้รับการความช่วยเหลือด้าน know-how ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการทำงานต่างๆ ภายในร้าน รวมถึงการฝึกอบรมจนสามารถปฏิบัติและบริหารจัดการร้านแฟรนไชส์ตามแบบฉบับของแฟรนไชส์เป็นทุกขั้นตอน
  5. ลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการเริ่มต้นธุรกิจ ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะมีความเสี่ยงน้อยกว่าการสร้างธุรกิจด้วยตัวเองในช่วงเริ่มต้น ไม่ว่าจะเป็นด้านเงินลงทุนที่อาจจะมีต้นทุนบานปลายกว่าจะนำเสนอสินค้าและบริการให้เป็นรู้จักได้
  6. สามารถขยายกิจการโดยไม่ต้องเพิ่มเงินทุนเอง เจ้าของแฟรนไชส์จะมีต้นทุนในด้านการขยายกิจการหรือขยายสาขาต่ำลงมากกว่าขยายสาขาเอง เพราะใช้เงินลงทุนของผู้ซื้อแฟรนไชส์ในการออกแบบตกแต่งร้านรวมถึงซื้อสินค้าวัตถุดิบ
  7. มีอำนาจต่อรองในการจัดซื้อสินค้าและวัตถุดิบ เมื่อมีผู้ซื้อแฟรนไขส์หรือแฟรนไชส์จำนวนมาก จะทำให้เจ้าของแฟรนไชส์สามารถผลิตหรือสั่งซื้อสินค้าและวัตถุดิบจากซัพพลายเออร์ในราคาต่ำลงจากการซื้อทีละมากๆ

Core Competency เจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ (แฟรนไชส์ซอร์)

1.ทักษะการบริหาร

ไม่ใช่แค่ วางแผน กำหนดกิจกรรม สั่งการ และควบคุมการทำงานเท่านั้น เจ้าของแฟรนไชส์ที่ดีจำเป็นต้องมีทักษะในการบริหารงานด้วย ทักษะในการบริหารงานคือความสามารถ ความชำนาญการของผู้บริหารในการจัดการเครือข่ายแฟรนไชส์อย่างมีระบบ และบรรลุผลตามเป้าหมายที่ตั้งไว้โดยผ่านการใช้ทรัพยากรทั้ง คน เงิน และเครื่องจักรอย่างมีประสิทธิภาพ

2.ทักษะการขายแฟรนไชส์

คนที่จะขายแฟรนไชส์ต้องมีทักษะในเรื่องของการเจรจาและการขายแฟรนไชส์ รวมถึงการนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ให้แก่นักลงทุน และจะต้องรู้จักการปิดขายแฟรนไชส์ด้วยเช่นเดียวกัน ตลอดจนมีการสร้างระบบการคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์ที่เป็นมาตรฐาน เพราะผู้ซื้อแฟรนไชส์จะเป็นเครือข่ายของแฟรนไชส์ในการสร้างการเติบโตให้กับธุรกิจ

3.ทักษะบริหารจัดการเงิน

หากคุณต้องการที่จะบริหารธุรกิจของคุณให้มีประสิทธิภาพนั้น คุณจำเป็นต้องจัดการด้านการเงินก่อน หากคุณไม่มีความรู้ด้านนี้ นั่นแสดงว่าคุณมีอุปสรรคในธุรกิจแฟรนไชส์ของคุณอย่างแน่นอน โดยเฉพาะเรื่องของการเงินทุนหมุนเวียน

4.ทักษะการวางแผนตลาด

แฟรนไชส์ซอร์ต้องสามารถแสดงแผนการตลาดที่จะสนับสนุนให้ธุรกิจเติบโต และช่วยให้แฟรนไชส์ซีมีรายได้เพิ่มขึ้น เพราะค่าการตลาดที่แฟรนไชส์ซอร์เรียกเก็บจากแฟรนไชส์ซีนั้นจะถูกใช้ไปกับกลยุทธ์การตลาดต่างๆ อย่างเป็นระบบแบบแผน ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่เคยทำแล้วประสบความสำเร็จ และนำเสนอแผนการตลาดใหม่ๆ ในอนาคต

5.ทักษะความเป็นผู้นำ

กล้าตัดสินใจในเรื่องแนวทางการทำธุรกิจ เช่น เมื่อเกิดการระบาดโควิด-19 ร้านในห้างเปิดให้บริการไม่ได้ แต่ค่าเช่าต้องจ่าย ก็ต้องกล้าเจรจากับเจ้าของห้างเพื่อลดค่าเช่า หรือกล้าที่จะปรับรูปแบบร้านให้เล็กลง เพื่อขายได้ง่ายขึ้น เป็นต้น

6.มีความรู้เรื่องกฎหมาย

สิ่งที่ต้องทำอีกเมื่อจะขายแฟรนไชส์ ก็คือ การทำสัญญาแฟรนไชส์ การทำเอกสารและสื่ออื่นๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์ การทำการตลาดสรรหาแฟรนไชส์ซี การคัดเลือกแฟรนไชส์ การสรรหาทำเลเปิดร้าน การสร้างร้าน และการอบรม ซึ่งขั้นตอนนี้เจ้าของธุรกิจต้องรู้เรื่องกฎหมาย หรือหาที่ปรึกษาด้านกฎหมายแฟรนไชส์เข้ามาช่วยเหลือ

7.มีความรู้เรื่องเทคโนโลยี

ต้องพัฒนาระบบสารสนเทศ หรือระบบไอทีของตนเองอย่างต่อเนื่องให้มีความรวดเร็ว ปลอดภัยและแม่นยำ ซึ่งสามารถใช้ติดต่อประสานงานกับแฟรนไชส์ซี และใช้ตรวจสอบผลการทำงานเพื่อดูแลสนับสนุน เช่นข้อมูลด้านยอดขาย ข้อมูลการสั่งซื้อสินค้า ข้อมูลการตลาดเป็นต้น ทั้งนี้ระบบดังกล่าวควรใช้ตรวจสอบข้อมูลภายในของแฟรนไชส์ซอร์เองได้ด้วย

8.มีทักษะด้านการวิเคราะห์

ก่อนที่คิดขายแฟรนไชส์ ต้องมีการวิเคราะห์ตลาดและผู้บริโภค ทำเลเปิดร้าน รวมถึงประเมินความเป็นไปได้ของธุรกิจตัวเองว่า พร้อมหรือยังและอยู่ในระดับใด ไม่เป็นสินค้ากระแส ซึ่งการขายแฟรนไชส์โดยที่ยังไม่พร้อม จะไม่สำเร็จ และจะเกิดปัญหามากมายตามมา จนต้องกลับไปสู่จุดเริ่มต้นใหม่ หรือเลิกไปเลย อย่างที่เคยเกิดขึ้นบ่อยครั้ง

Core Competency ผู้ซื้อแฟรนไชส์ (แฟรนไชส์ซี)

1.ทักษะการบริหาร

แฟรนไชส์แม้เป็นระบบธุรกิจที่ประสบความสำเร็จมาแล้ว มีการถ่ายทอดกระบวนการ ขั้นตอนการทำงานต่างๆ ภายในร้านให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ทั้งหมด จนเปิดร้านได้ แต่ก็ใช่ว่าคุณจะประสบความสำเร็จ มียอดขายเหมือนกันกับร้านต้นแบบ คุณจำเป็นต้องมีความสามารถในการบริหารจัดการร้าน บริหารจัดการทีมงาน การให้บริการเพื่อดึงดูดลูกค้าด้วย รวมถึงการศึกษาพฤติกรรมของลูกค้าด้วยว่า ลูกค้าชอบหรือไม่ชอบอะไร สินค้าอะไรที่ขายดี ขายไม่ดี เรียกว่าดูทุกอย่างในร้าน

2.ทักษะการขายของ

เป็นทักษะที่มีความสำคัญสำหรับคนที่จะซื้อแฟรนไชส์ ถ้าคุณไม่มีทักษะการขาย หรือขายของไม่เป็น ดึงดูดลูกค้าเข้าร้านไม่ได้ ธุรกิจก็มีสิทธิ์เจ๊งได้เช่นเดียวกัน ดังนั้น ทักษะการขายมีความสำคัญในการทำธุรกิจหรือเปิดร้านแฟรนไชส์

3.ทักษะการหาทำเล

ทำเลถือเป็นหัวใจสำคัญของการทำธุรกิจ โดยเฉพาะทำเลในการเปิดร้านแฟรนไชส์ ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหาร เครื่องดื่มต่างๆ ถ้าทำเลที่ตั้งของร้านเข้าถึงได้ยาก ก็จะทำให้ลูกค้าไม่เดินทางไปใช้บริการ เพราะไปลำบาก สังเกตหรือไม่ว่า ทำไมทำเล 7-Eleven อยู่ตามแหล่งชุมชน และริมถนนหนทางต่างๆ เพราะต้องการให้กลุ่มลูกค้าตามชุมชน และกลุ่มเดินทางเข้าถึงได้ง่าย แม้ว่าหลายๆ แบรนด์แฟรนไชส์จะหาทำเลให้ แต่อย่างน้อยผู้ซื้อแฟรนไชส์ต้องวิเคราะห์ทำเลที่มีศักยภาพเป็นเช่นกัน

4.ทักษะการบริหารเงิน

เงินทุนหมุนเวียนมีความสำคัญอย่างมากในการช่วยประคับประคองธุรกิจให้อยู่รอดในช่วง 2-3 เดือนแรกของเปิดร้าน ซึ่งอย่างน้อยคุณต้องมีเงินทุนหมุนเวียนอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 5 เดือน ในการเป็นค้าใช้จ่ายต่างๆ ในร้าน เพราะแม้ธุรกิจแฟรนไชส์ที่คุณซื้อมาเปิดจะมีชื่อเสียง แต่อย่าลืมว่าแต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกัน อาจเจออุปสรรคต่างๆ ในการทำธุรกิจได้

5.ทักษะทำงานเป็นทีม

ธุรกิจแฟรนไชส์เป็นการทำงานร่วมกันของแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซี ถ้าหากคุณซื้อแฟรนไชส์มาเปิด ไม่อยากทำตามกฎ ทำตามข้อกำหนด หรือรูปแบบของแฟรนไชส์ซอร์กำหนดไว้ คุณก็ไม่สามารถทำธุรกิจได้ เพราะระบบแฟรนไชส์ใครที่เป็นแฟรนไชส์ซีจะต้องทำตามระบบของแฟรนไชส์ซอร์วางเอาไว้ เพื่อธุรกิจได้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ดังนั้น ผู้ซื้อแฟรนไชส์ต้องทำงานร่วมกันกับทีมงานบริษัทแม่ หรือทำงานร่วมกันกับแฟรนไชส์ซอร์ ที่จะต้องมีการปรึกษาหารือกันอยู่เสมอ

6.ทักษะในการตัดสินใจ

เป็นธรรมดาที่แฟรนไชส์ซอร์จะให้การสนับสนุนและให้คำแนะนำแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ แต่แฟรนไชส์ซีที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดนั้น ต้องสามารถตัดสินใจในเรื่องสำคัญได้ด้วยตนเอง แฟรนไชส์ซอร์ไม่ใช่เจ้านายของแฟรนไชส์ซี ที่จะต้องไปขอให้แฟรนไชส์ซอร์ช่วยเหลือตลอดเวลา ต้องแก้ปัญหาด้วยตัวเองได้ ต้องมีแรงจูงใจในตนเอง และสามารถหาแนวทางแก้ไขเพื่อให้ธุรกิจของคุณดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น แฟรนไชส์ซีที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด ต้องใช้แนวทางสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหา พวกเขาสามารถเอาชนะความท้าทาย

7.ทักษะแสดงความคิดเห็น

แม้ว่าแฟรนไชส์ซียินดีที่จะปฏิบัติตามคำแนะนำของแฟรนไชส์ซอร์ แต่แฟรนไชส์ซีที่ดีต้องไม่กลัวที่จะพูดและเสนอแนะแนวทางการดำเนินธุรกิจแก่แฟรนไชส์ซอร์ เพื่อเพิ่มยอดขายให้กับร้าน มีแนวคิดสำหรับพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ในอีกด้านหนึ่งแฟรนไชส์ซีที่ประสบความสำเร็จสูงสุด ยินดีที่จะรับข้อเสนอแนะและแนวคิดที่แฟรนไชส์ซอร์ แต่ใช่ว่าแฟรนไชส์ซอร์จะเชี่ยวชาญในทุกด้าน เหมือนกรณีแมคโดนัลด์ ที่ผู้ก่อตั้งหรือแฟรนไชส์ซอร์จะได้รับข้อเสนอแนะที่ดีจากแฟรนไชส์ซี

8.ทักษะของความเป็นผู้นำ

แฟรนไชส์ซีที่จะประสบความสำเร็จ ต้องมีทักษะความเป็นผู้นำ รู้จักสร้างแรงบันดาลใจให้กับพนักงาน รู้จักการบริหารทีมงาน เพื่อขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ความสำเร็จ แฟรนไชส์ซีต้องกระตุ้นการทำงานให้กับพนักงาน ทำให้เกิดความร่วมมือในองค์กร กล้าเปลี่ยนแปลง รู้จักเรียนรู้ เป็นหัวหน้าที่เข้าถึงง่าย พร้อมให้คำปรึกษา และเปิดโอกาสแฟรนไชส์ซี

ปัจจุบันทุกธุรกิจหรือแม้แต่แฟรนไชส์จำเป็นต้องมุ่งเพิ่มความสามารถหลัก หรือ Core Competency ของตนให้สูงสุดในทุกด้าน รวมถึงการจัดการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ การตลาด หรือจัดการทรัพยากรมนุษย์ การสนับสนุนและการจัดการเชิงกลยุทธ์ วิธีการแบบองค์รวมนี้จะช่วยให้บริษัทสามารถเติบโตและประสบความสำเร็จในระยะยาวได้ 

 

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

 

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3kiq5x0


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช