8 ขั้นตอนเฟ้นหาธุรกิจแฟรนไชส์มาลงทุน

ปัจจุบันเห็นได้ว่า มีธุรกิจแฟรนไชส์เกิดขึ้นมากมาย ผู้ประกอบการแฟรนไชส์หลายท่านมี การสร้างแบรนด์ มีการสร้างระบบที่ดีให้มีมาตรฐาน แต่ก็ยังมีหลายท่านที่ยังเป็นผู้ประกอบการแฟรนไชส์ที่เพิ่งเกิดใหม่ ยังไม่มีระบบการบริหาจัดการแฟรนไชส์ที่เป็นมาตรฐานมากนัก ถ้าเราเป็นผู้ที่คิดจะซื้อแฟรนไชส์ เริ่มต้นธุรกิจใหม่ด้วยระบบแฟรนไชส์นั้น

การเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่ถูก ก็เหมือนดั่งคู่สามีภรรยาที่ครองรักกันยาวนาน อยู่ด้วยกันไปจนวันตาย แต่ถ้าเลือกไม่ถูกก็ต้องทะเลาะเบาะแว้ง กระทั่งมีการอย่าร้างกันในที่สุด ดังนั้น หากคิดจะเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์ ต้องรู้จักเลือกแฟรนไชส์ รู้จักหาธุรกิจแฟรนไชส์ที่ดี เป็นที่ถูกใจของเรา เพื่อการบริหารธุรกิจจะได้มีความยั่งยืน เคียงคู่เจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะพาผู้ที่กำลังมองหาแฟรนไชส์ ผู้อยากเริ่มต้นธุรกิจที่ประสบความสำเร็จมาแล้ว ไปดูขั้นตอนในการหาแฟรนไชส์ให้โดนใจ แบบจัดเต็ม ซื้อมาแล้วไม่ผิดหวังแน่ หากลองทำตามขั้นตอนข้างล่างนี้ครับ

1.กำหนดเป้าหมาย

การสร้างแบรนด์

อย่างแรกเราต้องรู้และถามตัวเองก่อนว่า ทำไมถึงอยากลงทุนธุรกิจแฟรนไชส์ ดีกว่าธุรกิจประเภทอื่นอย่างไร เมื่อซื้อธุรกิจแฟรนไชส์มาแล้วจะบริหารธุรกิจไปยาวนานแค่ไหน กี่ปี

กำหนดแผนธุรกิจระยะสั้น ระยะยาว รวมถึงตั้งเป้าหมายการเก็บเงินในแต่ละปี จะมีเงินมากน้อยแค่ไหน เพราะการเป็นเจ้าของธุรกิจมีความเป็นอิสระ จะมีรายได้มากกว่าการทำงานประจำอยู่แล้ว เมื่อเรารู้แล้วว่า เป้าหมายในการซื้อแฟรนไชส์เป็นอย่างไร ก็เดินตามทางเพื่อให้ถึงเป้าหมายต่อไป

2.ต้องเข้าใจธุรกิจแฟรนไชส์

71

คำว่าแฟรนไชส์ (Franchise) เป็นธุรกิจสายกลางระหว่างลูกจ้างและเจ้าของ เพราะว่าคนที่ทำธุรกิจกับแฟรนไชส์นั้น เราเป็นเจ้าของเต็มตัว แต่เราใช้สิทธิของแฟรนไชส์ซอร์ (Franchisor) ในเรื่องของแบรนด์ และ Know How

และเราก็จ่ายเงินค่าใช้สิทธิตรงนั้นไป เมื่อหมดอายุสัญญาแล้ว เราก็ต้องคืนแบรนด์โลโก้ หรือคืนสิทธิต่างๆ ให้กับแฟรนไชส์ซอร์กลับไป เพราะฉะนั้น เมื่อซื้อแฟรนไชส์มาแล้วเราก็จะทำงานเป็นแบบเจ้าของ เพราะถ้าถามว่า เราเป็นเจ้าของเต็มตัวหรือไม่ ก็ไม่เชิงทีเดียวนัก

เราจะเป็นลูกจ้างเต็มตัวหรือไม่ มันก็ไม่ใช่แบบนั้นเลย เพราะเรามีอิสระเป็นเจ้านายของตัวเอง แล้วเราก็จะต้องทำการลงทุนและลงแรงบริหารธุรกิจให้ประสบความสำเร็จเองด้วย จำเป็นต้องเสียสละเวลา ความสุขต่างๆ ไป

3.ชอบธุรกิจประเภทไหน

79

บางคนชอบทำธุรกิจดอกไม้ ชอบขายอาหาร ชอบเสริมสวย ชอบสปา ชอบเบเกอรี่ ถ้าหากเราได้ทำในสิ่งที่เรารักหรือชอบนั้นจะได้ผลดี ดังนั้น วิธีที่จะดูว่าเราชอบธุรกิจอะไรนั้น ยกตัวอย่างเช่น เวลาว่างเราชอบทำอะไรที่ทำแล้วมีความสุข บางคนบอกว่าชอบอ่านหนังสือ ชอบทำอาหาร ชอบนวด ฯลฯ

หรืออีกตัวอย่าง คือ งานอดิเรก เราชอบทำอะไร เพราะหลายคนทำงานอดิเรกจนเกิดเป็นอาชีพได้ เช่น ทำคุกกี้ทานกันเองในบ้าน แจกเพื่อนบ้าน จนตอนหลังวางขายหน้าหมู่บ้านและเริ่มกระจายไปอีกหลายหมู่บ้าน เป็นต้น นี่ก็คืองานอดิเรกที่สามารถกลายเป็นอาชีพได้ หรือแม้กระทั่งงานที่เราใฝ่ฝันไว้ตั้งแต่เกิด งานที่เราทำแล้วมีความสุข

เพราะฉะนั้น เราต้องตอบตัวเองให้ได้ก่อน เพราะถ้าเกิดเราเป็นคนที่มีนิสัยรักสวยรักงาม ชอบเดินเฉิดฉาย ชอบแสดงออกแต่ไม่ชอบที่จะลงคลุก และถ้าเราเป็นอย่างนั้น ธุรกิจอาหารอาจจะไม่เหมาะกับเรา เราอาจจะเหมาะที่จะทำร้านเสริมสวยอย่างนี้เป็นต้น เพราะฉะนั้น ถ้าเลือกทำธุรกิจที่เกิดจากที่เราชอบได้นั้นก็จะดี

4.รู้ว่าชอบธุรกิจอะไรแล้ว ทำไมถึงจะต้องซื้อแฟรนไชส์

74

เมื่อรู้ว่าเราชอบทำธุรกิจอะไรแล้ว เราอาจจะเปิดร้านขายเอง เช่น เปิดร้านซักอบรีด ร้านสปา หรือแม้แต่ร้านขายกาแฟเราก็สามารถเปิดเองได้ แต่ทำไมเราถึงต้องซื้อแฟรนไชส์ เราก็ถามตัวเองว่าเราต้องการได้ ความรู้ไหม ต้องการ Know How ไหม

เพราะหลายคนอาจบอกว่าทำเองเหนื่อยหน่อย แต่ก็ถือเป็นความภูมิใจ หากเป็นเช่นนั้นก็เดินเส้นทางเจ้าของเลยไม่ต้องเดินเส้นทางแฟรนไชส์ แต่อีกหลายคนก็บอกไม่อยากเริ่มต้นเรียนรู้ใหม่ ไม่ต้องการที่จะนับหนึ่ง ต้องการซื้อ Know How มา

ดังนั้นเราต้องตอบโจทย์ให้ได้ว่า ทำไมถึงต้องซื้อแฟรนไชส์ หรือบางคนอาจจะบอกว่าต้องการทีมงานสนับสนุน เพราะถ้าเกิดทำธุรกิจคนเดียวภายใต้การแข่งขันสูง ไม่รอดแน่ จึงต้องการทีมสนับสนุนที่มีประสบการณ์

หรือบางคนอาจบอกว่า ธุรกิจที่มีการแข่งขันสูงต้องการเรื่องแบรนด์มาช่วย หรือต้องการการสนับสนุนในขอบเขตที่กว้างขึ้น อย่างเช่น ธุรกิจซัก อบ รีด ซึ่งจะต้องลงทุนซื้อเครื่องจักรมาเองก็คงจะไม่ไหว หรือบางคนอาจบอกว่า ไม่อยากลองผิดลองถูกด้วยตัวเอง

5.ต้องศึกษาแฟรนไชส์ซอร์ด้วยความใจเย็น

81

ในช่วงของการศึกษานั้นก็เหมือนการดูใจกัน ซึ่งจะมีอยู่ 3 ขั้น ดังนี้ ขั้นแรกก็คือ หาแบรนด์ที่เหมาะ เช่น ถ้าเราต้องการทำธุรกิจร้านกาแฟ ในตอนนี้มีแบรนด์ร้านกาแฟเกิดขึ้นมากมายเป็นหลายร้าน เราก็สามารถเอาหลายสิบร้านนั้น มาศึกษาได้หมดเลยว่า ธุรกิจเขาเป็นอย่างไร มีจุดอ่อน จุดแข็งอย่างไร และอันไหนที่เหมาะกับธุรกิจของเราในสถานที่ที่เราต้องการ

ขั้นที่สอง ต้องศึกษาเงื่อนไขการทำธุรกิจแฟรนไชส์ เช่น เรื่องของหลักการตลาด การวางแผนธุรกิจ การทำโปรโมชั่น แผนการพัฒนาเรื่องคนเป็นอย่างไร รวมทั้งศึกษาเงื่อนไขที่แฟรนไชส์วอร์จะทำกับเรา และเงื่อนไขต่างๆ โดยนำเอาแต่ละแบรนด์มาเปรียบเทียบกัน

ที่สำคัญ ควรจะขอรายชื่อของแฟรนไชส์ซี แล้วโทรคุยกับแฟรนไชส์ซีเหล่านั้น ถามถึงความพร้อมของแต่ละแบรนด์ โดยโทรคุยกับหลายๆ ราย เพื่อดูว่าคนที่เป็นแฟรนไชส์ซี ก่อนหน้านั้น มีความประทับใจและพอใจมากน้อยแค่ไหน

73

ถ้าแฟรนไชส์ซอร์รายไหนไม่ยอมบอก เราต้องสงสัยไว้ก่อนเลยว่า ทำไมมีดีแล้วถึงปกปิด แต่ถ้าธุรกิจแฟรนไชส์ของเขาดี เขาจะเปิดเผยหมดและกล้าบอกให้ด้วยความจริงใจ อีกประการหนึ่งก็คือ ขอคุยกับเบอร์หนึ่งของบริษัทเพื่อรู้ถึงนโยบาย แผนธุรกิจและแนวคิด เพราะการที่เราเข้าสู่ธุรกิจแฟรนไชส์ เราจะต้องทำสัญญาระยะยาวกับเขา

ถ้าเกิดว่าเรายังไม่รู้ว่าเบอร์หนึ่งคือผู้บริหารธุรกิจแฟรนไชส์คิดอย่างไร เพราะลูกทีมเขาสามารถจะเปลี่ยนเข้าออกได้ แต่เบอร์หนึ่งจะเป็นหลักให้เรา เพราะเป็นคนที่กำหนดนโยบายและทิศทาง และเรื่องนี้มันจะสอดคล้องกับระยะเวลาการลงทุน ส่วนคำถามที่จะต้องถามกับเจ้าของแฟรนไชส์ คือ ถ้าเลิกก่อนอายุสัญญาต้องทำอย่างไร ถ้าหมดสัญญาจะต่อใหม่อย่างไร

ขั้นที่สาม ควรเป็นการลงทุนในระยะยาว ไม่ใช่เป็นการดูว่า ถูกแล้วค่อยตัดสินใจเลือกแบรนด์ เพราะคำว่าแบรนด์นั้นจะต้องเป็นแบรนด์ที่มีประสบการณ์และมีความสำเร็จอยู่ในอดีต เช่น ถ้าคุณจะลงทุนกับแบรนด์ร้านกาแฟแบล็คแคนยอน ซึ่งเป็นการลงทุนระยะยาว การจ่ายเงินอาจจะสูงหน่อย แต่เป็นการลงทุนที่คุ้มค่า ดีกว่าที่จะลงทุนในแบรนด์ที่เกิดใหม่

6.ให้ลงมือเจรจาต่อรอง

76

เงื่อนไขของการเจรจาจะมีอยู่ 2 เรื่อง คือ เจรจาทุกเรื่องที่เป็นตัวเลข และทุกเรื่องที่ไม่ใช่ตัวเลข คำว่าทุกเรื่องที่เป็นตัวเลขนั้นหมายถึงทุกอย่างที่เป็นตัวเงิน ไม่ว่าจะเป็นระยะเวลา เปอร์เซ็นต์ของค่าธรรมเนียม ราคาสินค้าและ Credit Term

ส่วนเงื่อนไขที่ไม่ใช่ตัวเลข ก็สามารถเจรจาได้หมด เช่น เรื่องของแบบฟอร์มต่างๆ เรื่องของการ Support ว่าจะให้คนนั้นคนนี้เข้ามาคุยกรณีที่มีปัญหาหรือมีข้อซักถามใดๆ เป็นต้น

กล่าวคือให้เจรจาในทุกเรื่อง อีกประการที่สำคัญในการเจรจาต่อรอง เราควรใช้เหตุผลในการเจรจาต่อรอง เราไม่ควรแสดงถึงความอยากได้

เพราะจะตกเป็นรองทันที เราขออะไรเขาก็จะไม่ให้ แต่ถ้าเราลองที่จะเป็นเจ้าสาวที่มีเสน่ห์ มีฟอร์มนิดๆ ก็จะทำให้ฝ่ายชายรู้สึกว่าเรานั้นมีคุณค่า และอยากได้เรา เพราะเราทำงานท่ามกลางหลักการและเหตุผล

7.เตรียมตัวเปิดร้าน

77

เราต้องหาคนมาและส่งไปอบรมกับแฟรนไชส์ซอร์ อาจเป็นตัวเราเองก็ได้ เมื่ออบรมเสร็จแล้ว เราก็จะต้องมีอบรมเสริมเพื่อปรับระบบให้เข้ากับสถานที่ตั้งร้าน ให้เข้ากับตัวเราซึ่งเป็นหัวหน้างาน

ที่สำคัญก็อย่าลืมที่จะทำการศึกษาเรื่องของ Operation Manual หรือคู่มือการปฏิบัติการแฟรนไชส์ มีการเซ็นต์เรื่องของสัญญา ในส่วนของโปรโมชั่นของการเปิดร้าน เป็นต้น เพราะฉะนั้นเรื่องของการเตรียมตัวนั้น เราจะต้องศึกษาให้ดีอย่างละเอียดถี่ถ้วน อาจต้องมีทนายมาช่วยด้วย

8.การทำงานร่วมกับแฟรนไชส์ซอร์

78

เรื่องนี้มีความสำคัญ แฟรนไชส์ซอร์หลายรายเปิดร้านเสร็จแล้ว ก็ให้เราช่วยตัวเองทุกเรื่อง ซึ่งก็มีอยู่จริงและไม่จริง ในส่วนจริงก็คือ เราเป็นเจ้าของร้านแล้ว เราต้องช่วยเหลือตัวเองในการทำการตลาด และบริหารจัดการในร้านภายในพื้นที่ของเราเอง

แต่ในเรื่องการสนับสนุนจากภาพรวม ไม่ว่าจะเป็นการทำการตลาด ประชาสัมพันธ์ การอบรม การแก้ปัญหาต่างๆ ฯลฯ เราก็จะต้องได้รับการสนับสนุนในภาพรวมจากทางแฟรนไชส์ซอร์ด้วย

ได้เห็นขั้นตอนการเฟ้นหาธุรกิจแฟรนไชส์มาลงทุน แบบจัดเต็มกันไปแล้ว ผู้ที่กำลังมองหาธุรกิจแฟรนไชส์ลองนำไปศึกษา และนำไปปฏิบัติตามขั้นตอนข้างบน ทั้ง 8 ขั้นตอน รับรองว่า คุณจะได้แฟรนไชส์ที่ชอบ และถูกใจ ซึ่งจะทำให้คุณบริหารธุรกิจแฟรนไชส์ที่ซื้อมาอย่างมีความสุข และประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางเอาไว้


ท่านใดสนใจอยากให้ร่างสัญญาแฟรนไชส์โดยถูกต้องตามหลักกฎหมายแจ้งความประสงค์ได้ที่
โทร : 02-1019187, Line : @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3dDnCHF
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3jitplO

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช