7 กลยุทธ์เพิ่มยอดขายร้านอาหาร Street Food

อาหารริมถนน ( Street Food ) เป็นอาหารพร้อมรับประทานหรือดื่ม ขายข้างถนน สถานที่สาธารณะต่างๆ รวมถึงตรอกซอกซอยใหญ่ๆ ส่วนใหญ่จะเห็นในเมืองใหญ่ แหล่งท่องเที่ยวตามย่าน ตามเมืองต่างๆ 

ร้านอาหารเหล่านี้มักจะมาจากซุ้มขายอาหาร รถเข็นอาหาร หรือรถบรรทุกอาหาร ตั้งหรือจอดเรียงรายตามข้างถนน อาหารข้างถนนส่วนใหญ่ยังแบ่งเป็นอาหารที่รับประทานด้วยนิ้วมือ อาหารจานด่วน ราคาจะถูกกว่าอาหารในภัตตาคาร

โดยในช่วง 2-3 มานี้ ธุรกิจร้านอาหาร Street Food เติบโตขึ้นอย่างมาก จนกระทั่งสื่อต่างประเทศยกให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองหลวงที่มี Street Food ดีที่สุด และทุกวันนี้ประชาชนไม่ว่าจะต่างชาติหรือคนไทยหันมานิยมซื้ออาหารข้างถนนมากขึ้น เพราะอาหารราคาสมเหตุสมผลและรสชาติอร่อย ไม่ยุ่งยาก มีความรวดเร็ว หาซื้อได้ง่าย

ทั้งนี้ ร้านอาหาร Street Food ในแต่ละประเทศก็จะมีลักษณะอาหารข้างถนนที่แตกต่างกันไป ตามแต่วัฒนธรรมของแต่ละประเทศ อย่างในประเทศไทยก็จะมีอาหารที่เป็นเอกลักษณ์ประจำชาติไทย เกาหลีก็มี ฮ่องกง จีน มาเลเซีย เป็นต้น

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะขอนำเสนอ 7 กลยุทธ์การเพิ่มยอดขายให้กับร้านอาหาร Street Food สำหรับผู้ประกอบการร้านอาหาร พ่อค้าแม่ค้าที่กำลังหาช่องทางสร้างรายได้จากการขายอาหาร Street Food ตามย่าน ตามเมืองต่างๆ โดยในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยว ก็จะมีส่วนช่วยดึงดูดลูกค้าได้เป็นอย่างดี มาดูกันว่ามีเทคนิคเพิ่มยอดขายอย่างไร

1. Differentiate Strategy การสร้างความแตกต่าง

Street Food

แม้จะเป็นร้านอาหารริมทาง แต่ก็ใช่ว่าจะทำอะไรแบบไหนมาขายก็ได้ สำหรับเถ้าแก่เงินล้าน พวกเขาเลือกที่จะ “แตกต่าง” ฉีกตัวเองจากร้านพื้นๆ ข้างถนน มาโดดเด่นด้วย เครื่องปรุง วัตถุดิบ และส่วนประกอบของอาหารที่แตกต่าง กระทั่งรูปแบบการนำเสนอ ตลอดจนการจัดแต่งจานอาหาร ก็เป็น “จุดขาย” ไม่เหมือน ไม่ซ้ำ

เรียกได้ว่าถ้าเจ้าของร้านมีการใส่ไอเดีย เพิ่มความคิดสร้างสรรค์ ก็สามารถทำให้ร้านธรรมดาๆ เป็นที่สนใจขึ้นมาได้ และหลายรายก็สามารถตั้งราคาได้สูงขึ้นจากคำๆ นี้ ที่สำคัญแตกต่างต้องมีคุณภาพด้วยนะครับ

2. Price Strategy การตั้งราคา

l10

สำหรับร้านอาหารริมทาง พวกเขาไม่ได้ขายแต่ของถูก แต่มีราคาขายที่หลากหลายมากๆ ได้มีผู้วิจัยไล่ออกมาเป็น 4 กลุ่ม ตั้งแต่ อิ่มคุ้มค่าราคาถูกใจ อิ่มระดับภัตตาคารราคากันเอง อิ่มคุ้มค่าราคาหลากหลาย และ อิ่มคงที่ราคาคงทน

ลองดูตัวอย่าง “หมูทอดเจ๊จง” ชื่อดัง ที่ขายเพียงจานละ 24 บาท แถมยังซื้อใจลูกค้าด้วยการให้เติมข้าวได้ไม่อั้น น้ำจิ้มเต็มที่ ผักสดก็ฟรี แถมยังมีโปรโมชั่นมากระตุ้นใจลูกค้าอยู่เรื่อยๆ เรียกว่า ทั้งคุ้ม ทั้งโดน ในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้

3. Location and Atmosphere ทำเลและบรรยากาศร้าน

l12

แม้จะเป็นร้านริมทางที่สร้างเม็ดเงินในกระเป๋า หลักหมื่นหลักแสนต่อวันได้ ก็ต้องเลือกทำเลที่ดี เดินทางสะดวก อยู่ในแหล่งชุมชน เรียกว่ายิ่งใกล้ที่พัก หรือสำนักงาน ก็ยิ่งเป็นแต้มต่อ เพราะแค่ทำ “อาหารพื้นๆ” คนก็ตามมากินกันไม่หวาดไม่ไหว แต่ที่สำคัญต้องจัดหน้าร้านให้สะดุดตา เมนูและป้ายราคาชัดเจน ครัวหน้าร้านต้องจัดเต็ม สะอาด ได้มาตรฐาน

เช่นตัวอย่างร้านในทำเลทอง “ข้าวมันไก่ประตูน้ำ (โกอ่าง)” ที่ตั้งอยู่พิกัดถนนเพชรบุรี แยกประตูน้ำ ขายอาหารราคาเบาๆ ตั้งแต่จานละ 40-60 บาท แต่เปิดยาวถึง 21 ชั่วโมง คือ ตั้งแต่ 6 โมงเช้า จนถึงตีสาม การอยู่ในทำเลทอง มีผู้คนพลุกพล่าน แม้แต่ขาเที่ยวเลิกดึกก็ยังแวะเติมอิ่มได้ที่นี่ จนมีรายได้หลักแสนต่อวัน

4. Service Quality คุณภาพบริการ

l13

อยากดูเซียนเขาทำงาน ต้องไปดูที่ร้าน “ข้าวผัดปูเมืองทอง” ระบบงานที่นี่คุณภาพมาตรฐานจริงๆ โดยพนักงานทุกคนแบ่งหน้าที่กันชัดเจน เรียกว่าคนปรุง ปรุงไป คนผัดก็ผัดไป ใครรับผิดชอบอะไรก็ทำแค่นั้น ใครไปทานที่นี่เลยไม่ต้องกลัวว่าจะช้า

เพราะว่าพวกเขามืออาชีพมากๆ ขณะที่เจ้าของร้านก็ฝึกอบรมพนักงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้รักษามาตรฐานที่ดีไว้ แม้เวลาเปลี่ยนมาตรฐานและการบริการต้องไม่เปลี่ยน มีมาตรฐานและคงการบริการที่ดีไว้ให้ได้

5. Cleaning สะอาด ปราศจากกลิ่นและคราบ

l14

ความสะอาดของร้านอาหารข้างทาง คือ สิ่งที่บอกตัวตนข้างใน แม้จะเป็นจุดที่ลูกค้ามองไม่เห็น อย่างจุดทำอาหารยิ่งต้องใส่ใจเป็นเท่าตัว เพราะถ้านอกร้านยังสกปรกอยู่ทุกมุม ก็ไม่แปลกที่ลูกค้าจะจินตนาการไกลไปถึงจุดต่างๆ ที่มองไม่เห็น

บ่อยครั้งที่เรามักพบว่าร้านข้างทางส่วนใหญ่ไม่รักษาความสะอาด อีกทั้งยังมีกลิ่นไม่พึงประสงค์มากมายหลายระดับ ดังนั้น หากร้านข้างถนนของคุณสะอาด เอี่ยมกว่าร้านข้างเคียง ก็ไม่ยากที่จะเรียกเงินจากลูกค้ามาเคียงข้างได้

6. Delicious อร่อย

l16

ผู้บริโภคที่แวะเวียนไปซื้ออาหารที่ร้านใดร้านหนึ่งเป็นประจำก็เพราะว่า “อร่อย” ถ้าราคาถูกด้วยแล้ว ไม่ต้องพูดถึง ร้านอาหาร Street Food ของคุณ ลูกค้าต่อคิวยาวเหยียดแน่นอน ถ้ารสชาติอาหารที่ทำออกมาแล้วไม่อร่อย

เชื่อว่าลูกค้าซื้อกินครั้งแรก ก็จะไม่มีครั้งที่สองแน่นอน มิหนำซ้ำยังบอกต่อเพื่อนคนอื่นๆ อีกด้วย ดังนั้น ร้านอาหารริมถนนจำเป็นต้องทำอาหารให้มีรสชาติอร่อย แตกต่าง สะอาด มีมาตรฐาน ถึงจะเรียกลูกค้าได้เป็นอย่างดี

7. Communication Strategy การสื่อสารทางการตลาด

l11

ถ้าเป็นแม่ค้าสมัยกรุงศรีอยุธยา จะขายอย่างไรก็คงไม่มีใครว่า แต่กับแม่ค้ายุคนี้ ที่สื่อ Social Media ล้อมหน้าล้อมหลัง จะทำไม่รู้ไม่ชี้เอาแต่ก้มหน้าก้มตาขายไม่ได้ครับ คุณลองตั้งคำถามกับตัวเองว่า “ทำอย่างไรให้ร้านคุณเป็นที่รู้จัก” ของผู้บริโภครวมถึงคนทั่วไปอย่างกว้างขวาง

โดยจะด้วยการปากต่อปาก การเล่าเรื่องราว ประวัติร้าน ที่มาของสินค้า หรือกระทั่งทำอย่างไรให้ร้านติดกระแสในชั่วข้ามคืน ดังนั้น การสื่อสารทางการตลาดไปยังกลุ่มลูกค้าเป้าหมายถือว่าสำคัญอย่างมาก สำหรับเจ้าของกิจการร้านอาหารในยุคปัจจุบันนี้

ทั้งหมดเป็น 7 กลยุทธ์สร้างยอดขายให้กับร้านอาหาร Street Food ไม่ว่าว่าคุณจะอยู่ในเมืองไหน ย่านไหน ประเทศอะไร ก็สามารถนำเอากลยุทธ์ทำร้านอาหาร Street Food ดังกล่าวข้างต้น ไปปรับใช้เป็นรูปแบบแนวทางในการทำธุรกิจได้ครับ


Tips

  1. Differentiate Strategy การสร้างความแตกต่าง
  2. Price Strategy การตั้งราคา
  3. Location and Atmosphere ทำเลและบรรยากาศร้าน
  4. Service Quality คุณภาพบริการ
  5. Cleaning สะอาด ปราศจากกลิ่นและคราบ
  6. Delicious อร่อย
  7. Communication Strategy การสื่อสารทางการตลาด

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช