5 เรื่องควรรู้ก่อนพา ร้านอาหารจดทะเบียน เป็นบริษัท

ธุรกิจร้านอาหาร เป็นหนึ่งในการลงทุนยอดฮิตที่คนเรามักจะนึกถึงกันเป็นอันดับแรก ซึ่งข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าช่วงเดือนพฤษภาคมปี 2561 ระบุว่ามีการ จดทะเบียน ธุรกิจใหม่ทั่วประเทศจำนวน 5,865 ราย

ในจำนวนนี้มี 163 หรือราย เป็นการ จดทะเบียน ของภัตตาคารและร้านอาหารต่าง ๆ ซึ่งก็อาจทำให้เราเกิดคำถามในใจ ว่า “ร้านอาหารทำไมต้องจดทะเบียน” ถ้าคิดทำแบบนามบุคคลต่อไป ไม่ต้องยุ่งยาก ไม่ต้องวุ่นวาย ขายได้เท่าไหร่ กำไรแค่ไหนก็ไม่ต้องสนใจ

ทั้งนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มองว่าการที่ร้านอาหารบางร้านจดทะเบียน บางร้านเลือกไม่จดทะเบียน ก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและความต้องการของแต่ละคน เราเคยเขียนหัวข้อว่าหัวนักธุรกิจต่างกับหัวพ่อค้าอย่างไร

เรื่องนี้ก็ใกล้เคียงกันคนที่จดทะเบียนคือคิดแบบนักธุรกิจส่วนคนไม่จดก็อาจไม่ใช่เรื่องผิดเพราะเป็นการคิดแบบหัวพ่อค้า แต่เพื่อให้เข้าใจและมองเห็นภาพมากขึ้น เราจะลองอธิบายภาพรวมอีกทีว่า ร้านอาหารจดทะเบียน กับไม่จดทะเบียน แตกต่างกันตรงไหน

หากเป็นการขายอาหารในนามบุคคลธรรมดา เวลาออกใบเสร็จรับเงินต่างๆ ก็ใช้ชื่อเราเจ้าของร้านเป็นหลัก ข้อดีคือ คล่องตัวไม่ต้องมีขั้นตอนยุ่งยาก การทำบัญชีก็แบบง่ายๆ

ไม่ต้องจัดทำงบการเงินเพื่อนำส่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและลดจำนวนแบบฟอร์มทางภาษีที่ต้องยื่นระหว่างเดือน แต่หากตัดสินใจจดทะเบียนร้านอาหารขึ้นมา ก็จะมีความสลับซับซ้อนในการทำบัญชีที่ต้องมีแยกย่อยมากขึ้น แต่สิ่งที่จะได้รับคือเสียภาษีน้อยกว่าแบบบุคคลธรรมดา

และในเมื่อมีข้อดี-ข้อเสียที่เฉลี่ยๆ กันไปแบบนี้ ถ้ายังนึกไม่ออกว่าจะจดทะเบียนหรือไม่จดทะเบียนดีกว่ากัน ลองมาพิจารณาตามเหตุผลเหล่านี้ประกอบด้วย

1.ทำแล้วคุ้มหรือไม่คุ้ม

ร้านอาหารจดทะเบียน

ไม่มีใครรู้ดีเท่ากับเจ้าของกิจการแน่นอนหากมั่นใจว่ามีรายได้หักลบกลบหนี้ทุกอย่างแล้วเหลือมากพอจะมาใช้กับเรื่องจดทะเบียนได้ด้วย แนะนำว่าควรทำเพื่อโอกาสในการเติบโตที่มากขึ้นแต่ถ้ามีรายได้แบบขายวันต่อวัน ได้บ้างไม่ได้บ้าง

หรือคำนวณแล้วรายได้ไม่พอรายจ่ายหากมาเพิ่มค่าใช้จ่ายเรื่องนี้อีกคงแย่กว่าเดิมแบบนี้ก็ไม่แนะนำเพราะไม่คุ้มซึ่งค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ที่เพิ่มขึ้นในการจดทะเบียนคือ

  1. ค่าจดทะเบียนบริษัท ขั้นตอนนี้หากทำเอกสารไปยื่นเอง ค่าธรรมเนียมที่ทางกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเก็บก็จะอยู่ที่ประมาณ 5,000-6,000 บาท สำหรับทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท แต่หลายคนไม่อยากวุ่นวายก็เลือกใช้บริการของบริษัทบัญชีรับทำแทนก็มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมอีกประมาณ 3,000-5,000 บาท/เดือน
  2. ค่าจ้างพนักงานบัญชี หรือจะจ้างสำนักงานบัญชีทำบัญชีเป็นรายเดือนก็ได้ ค่าใช้จ่ายมากน้อยขึ้นอยู่กับประเภท และขนาดของธุรกิจ
  3. ค่าจัดทำงบการเงินตอนสิ้นปี สำหรับกิจการที่เติบโตจะมีค่าใช้จ่ายประมาณปีละ 20,000 บาท ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับความยากง่ายของแต่ละธุรกิจด้วย

2.ต้องมีหุ้นส่วนในการทำธุรกิจ

w6

เมื่อจดทะเบียนกิจการมักจะต้องมีการเติบโตเพื่อให้รองรับกับตลาด ซึ่งการบริหารงานคนเดียวเงินทุนของคนคนเดียวหากไม่รวยจริงก็คงเสริมศักยภาพทางธุรกิจได้ยาก โดยปกติควรมีผู้ถือหุ้นอย่างน้อย 2-3 คน เพื่อจะได้มีเงินทุนมาช่วยในการทำธุรกิจหลังการจดทะเบียนให้ดียิ่งขึ้น

3.เรื่องเอกสารจะยุ่งยากมากขึ้น

w4

เอกสารที่จะเกิดขึ้นในแต่ละเดือน เช่น การออกใบหัก ณ ที่จ่าย ,การยื่นแบบภาษีที่มีตั้งแต่ ภงด.3 และ ภงด.53 ( เป็นภาษีหัก ณ ที่จ่ายเหมือนกันแต่ต่างกันที่ค่าบริการเป็นการจ่ายให้บุคคลหรือนิติบุคคล)

แต่ส่วนใหญ่พอมีความยุ่งยากเรื่องบัญชีมากขึ้น ก็จะมีการจ้างบริษัทบัญชีเข้ามาดูแล เพราะดีกว่าเสียค่าปรับเนื่องจากยื่นไม่ครบหรือเลยกำหนดจากที่ระบุไว้

4.พร้อมยกระดับตัวเองและปรับเปลี่ยนความคิด

w3

เมื่อการจดทะเบียนคือทำให้ธุรกิจมีความเป็นรูปเป็นร่าง สัมพันธ์กับบัญชีรายรับ รายจ่าย จากที่ปกติซื้อของเป็นค่าใช้จ่ายส่วนตัวเองลงบัญชีธรรมดา

แต่ในรูปแบบบริษัทต้องจดว่าเป็นสินทรัพย์คอยตัดค่าเสื่อมแต่ละปี ตามจำนวนปีที่กำหนด หลายคนรู้สึกขัดออกขัดใจ เพราะต้องเก็บข้อมูลที่ละเอียดมากขึ้นกว่าแต่ก่อน อันนี้ต้องเตรียมใจไว้ด้วยเช่นกัน

5.มั่นใจว่าธุรกิจเราจะเติบโตได้ดีพอ

w5

คล้ายกันกับข้อแรกที่ให้คิดว่าคุ้มหรือไม่คุ้ม ในข้อนั้นเราบอกถึงค่าใช้จ่ายส่วนต่างๆ อันจะเกิดหลังจดทะเบียนบริษัท แต่ก่อนจะคิดว่าคุ้มไม่คุ้มเราต้องมาดูก่อนว่า ตอนนี้เราพร้อมแค่ไหนหากจะก้าวไปถึงจุดนั้น

ทุกธุรกิจต้องการก้าวไปข้างหน้าแต่ก็ใช่ว่าจะเดินหน้าแบบไม่คิดถึงอนาคต หากวันนี้ธุรกิจเราเพิ่งตั้งตัว ร้านค้า ร้านอาหาร เรายังมีคนรู้จักไม่เยอะ แทนที่จะคิดไปถึงเรื่องจดทะเบียน ควรเอาเวลามาคิดบริหารธุรกิจให้อยู่ตัวและอยู่รอดก่อนดีกว่า หากถึงจุดหนึ่งที่แข็งแรงพอก็ให้เริ่มมองสเตปที่ 2 คือถึงเวลาหรือยังที่จะจดทะเบียนบริษัท

เหตุผลที่แท้จริงซึ่งเคลือบแฝงอยู่ในการจดทะเบียนบริษัทนั้นนอกจากเป็นการเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับคู่ค้าของเรา เนื่องจากมีระบบที่ตรวจสอบได้ มีหลักฐานการซื้อที่เป็นมาตรฐาน

อีกเรื่องสำคัญมากคือตัวเลขของผลการดำเนินงาน เป็นหลักฐานที่ดีในการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน ซึ่งมีสินเชื่อหลายแห่งที่พร้อมปล่อยกู้หากธุรกิจนั้นตรงตามเงื่อนไขที่ธนาคารกำหนด เท่ากับเมื่อธุรกิจมีทุนก็ใช้ต่อยอดได้มากขึ้น โอกาสที่ทำกำไรก็มีมากขึ้นเช่นกัน


ท่านใดสนใจอยากให้ร่างสัญญาแฟรนไชส์โดยถูกต้องตามหลักกฎหมายแจ้งความประสงค์ได้ที่
โทร : 02-1019187, Line : @thaifranchise

2

SMEs Tips

  1. ทำแล้วคุ้มหรือไม่คุ้ม
  2. ต้องมีหุ้นส่วนในการทำธุรกิจ
  3. เรื่องเอกสารจะยุ่งยากมากขึ้น
  4. พร้อมยกระดับตัวเองและปรับเปลี่ยนความคิด
  5. มั่นใจว่าธุรกิจเราจะเติบโตได้ดีพอ

อ้างอิงจาก https://bit.ly/2QnzAfI

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด