5 เคล็ดลับสร้างรากฐานให้ลูก เป็นเจ้าของธุรกิจที่สำเร็จ

สังเกตหรือเปล่าว่า นักธุรกิจ หรือผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จในปัจจุบัน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ส่วนใหญ่จะได้รับการฝึกฝน อบรม ปลูกฝัง และถ่ายทอดการทำธุรกิจจากพ่อแม่มาตั้งแต่ยังเป็นเด็กๆ เพราะเด็กจะจดจำในสิ่งที่พ่อแม่ทำได้ง่าย

ซึ่งสอดคล้องกับสุภาษิตที่ว่า “ไม่อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก” ดังนั้น พ่อแม่ผู้ปกครองถ้าอยากให้ลูกของตัวเองก้าวสู่การเป็นเจ้าของธุรกิจ จำเป็นที่จะต้องสร้างรากฐานการเป็นผู้ประกอบการตั้งแต่ยังเป็นเด็ก จะได้ผลดีทีสุด

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะพาคุณไปดูเคล็ดลับบางส่วนในการวางรากฐานให้เด็ก เพื่อก้าวสู่การเป็นผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จในอนาคต จะเป็นประโยชน์ต่อบรรดาพ่อแม่ผู้ปกครอง ที่อยากให้บุตรหลานของตัวเองเติบโตขึ้นมาเป็นผู้ประกอบการธุรกิจใหญ่โต การจุดประกายความคิดตั้งแต่ยังเป็นเด็ก จะทำได้ง่ายและดีที่สุด

1.สอนเทคนิคการแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพ

นักธุรกิจ

ภาพจาก goo.gl/M8iiqx

จะเห็นได้ว่า เด็กไม่ว่าจะอยู่ในช่วงอายุเท่าใด จะต้องเคยประสบปัญหาในชีวิตประจำวันมาก่อนทั้งนั้น ในขณะที่คุณอาจมองว่าปัญหาเหล่านั้นดูจะเป็นเพียงแค่เรื่องเล็กน้อย แต่ปัญหาเหล่านั้นอยู่ตรงหน้าของเขาหรือเธอ อาจเป็นอุปสรรค์ที่พวกเขาจะต้องก้าวข้ามเพื่อให้เกิดการพัฒนาต่อไป

หากลูกของคุณมีแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่ไม่สามารถเอาชนะได้ ควรให้ความสนใจต่อเขา และดูว่ามีสิ่งใดที่คุณทำได้บ้างในข้อผิดพลาด แทนที่จะแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาโดยตรง ส่งเสริมให้เกิดนิสัยของการพิจารณา โดยการดำเนินการประชุมระดมความคิดเล็กๆ ที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมโดยทั้งสองฝ่าย

ช่วยเหลือพวกเขาในการระบุว่าปัญหาคืออะไร และสอบถามพวกเขาว่า คิดว่าอะไรคือวิธีแก้ไข ที่สามารถนำมาใช้ได้ ส่งเสริมให้ชั่งน้ำหนักข้อดีและข้อเสียอย่างมีเหตุผลและยุติธรรม และเลือกทางเลือกที่ดีที่สุด ในการตัดสินใจตอนสุดท้าย

2. ส่งเสริมให้พวกเขาเป็นผู้เล่นในทีม

q8

ภาพจาก goo.gl/QP3NwK

เมื่อลูกๆ โตพอแล้ว ส่งเสริมพวกเขาให้เข้าร่วมสังคม หรือทีมกีฬาของโรงเรียน หรือกลุ่มที่สนใจเพื่อให้พวกเขารู้จักการทำงานร่วมกับผู้อื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเล่นกีฬา สามารถถือเป็นห้องเรียนสำหรับผู้ประกอบการที่ดีที่สุด

เด็กๆ ที่เคยผ่านการเล่นกีฬาแบบทีมมาแล้ว จะได้เรียนรู้วิธีการจัดการกับความพ่ายแพ้ และวิธีการที่จะเอาชนะความทุกข์ทรมานของความพ่ายแพ้ การตั้งสมมติฐานว่าต้องอยู่ในฐานะของผู้นำ หรือการส่งเสริมทีมกีฬายังช่วยให้เด็กๆ ได้เรียนรู้เกี่ยวกับภาวะผู้นำและการสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้อื่น

เช่นเดียวกับการดำเนินการตามส่วนของตนเองอย่างขยันขันแข็ง เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จของทีม ดังนั้น การทำงานเป็นทีมและความพ่ายแพ้ หรือความถดถอย เป็นบทเรียนที่สำคัญสำหรับความพยายามของผู้ประกอบการในอนาคต

3. สร้างแรงจูงใจในการทำภารกิจเล็กๆ น้อยๆ ภายในบ้าน

q9

ภาพจาก goo.gl/CpK0c3

ในโลกแห่งความพึงพอใจที่เกิดขึ้นได้ง่ายในปัจจุบัน เด็กบางคนอาจขัดขืนในแนวความคิดของการทำงาน เพื่อรับรางวัล สถานการณ์หรือโครงสร้างของธรรมชาติเช่นนี้ จะรู้โดยการแสดงออกด้วยการแก้ต่างและการร้องไห้ พร้อมกับจ้องมองความหวังที่มีจุดมุ่งหมายที่จะเรียกความเห็นอกเห็นใจ การตอบสนองในเชิงบวกจากผู้ปกครอง

อย่ายอมแพ้ มอบหมายหน้าที่ให้ลูกๆ ได้ทำงานเป็นกิจวัตร โดยหลีกเลี่ยงภารกิจที่ต้องใช้เวลานาน ขณะที่งานเหล่านี้อาจจะไม่ได้ให้พวกเขามีโอกาสที่จะฝึกฝนทักษะทางเทคนิคของพวกเขา

แต่จะช่วยทำให้พวกเขาเข้าใจได้ว่าจำเป็นจะต้องอดทนและพยายาม หรือทำงานบางอย่างเพื่อให้ทุกสิ่งทุกอย่างโดยรวมเป็นไปอย่างราบรื่น

4. อย่าเพิกเฉยต่อคำถาม “ทำไม”

q10

ภาพจาก goo.gl/ueld39

เมื่อใดก็ตามที่ลูกของคุณเกิดความสงสัย อยากรู้อยากเห็น ถามคุณว่าทำไม ทำไม และทำไม คุณก็อย่าแสดงอาการเบื่อออกมาให้ลูกได้เห็น ถึงแม้ว่าคุณอาจจะต้องการความสงบและเงียบ

เพื่อเป็นการเสริมสร้างความคิดแบบผู้ประกอบการ กระตุ้นให้ลูกของคุณที่จะคิดต่อไปข้างหน้า ให้ถามคำถามว่า “ทำไม” และไม่หยุดที่จะหาคำตอบนั้น

ตัวอย่างเช่น คุณอาจจะนำอุปกรณ์ใดกลับมาที่บ้าน และให้ลูกได้เห็นโดยไม่อธิบายวิธีใช้หรือวัตถุประสงค์ที่นำมา จะช่วยส่งเสริมให้พวกเขาคุ้นเคยกับมันและคิดด้วยตัวเอง หากเด็กยอมแพ้และเบื่อ บางทีคุณอาจจะใช้การให้รางวัลมาเป็นตัวช่วยให้พวกเขาสนใจต่อไป

5. อย่าทำให้การพูดคุยเรื่องเงินเป็นเรื่องต้องห้าม

q11

ภาพจาก goo.gl/kTFVUy

พ่อแม่ควรให้การสนทนาเรื่องเงินเป็นแบบเปิด ในครอบครัวส่วนใหญ่เด็กมักถูกแยกออกจากการพูดคุยกันเรื่องเงิน หรือบางครั้งเด็กได้รับรู้ในช่วงเวลาของการขาดแคลน หรือความยากลำบาก ในสถานการณ์เช่นนี้ เด็กๆ จะเรียนรู้ที่จะเชื่อมโยงความคิดกับเงินด้วยความกังวล และจะทำให้เรื่องเงินกลายเป็นหัวข้อที่ตึงเครียด

หากคุณต้องการฝึกฝนเด็กๆ ให้เติบโตขึ้นแบบเผชิญกับความเสี่ยงอย่างชาญฉลาด ควรหลีกเลี่ยงในการให้เด็กๆ อยู่ในสถานการณ์ที่เป็นกังวล ในสถานการณ์เหล่านี้ จะทำให้เด็กต้องเป็นเบี้ยล่าง เมื่อถึงการจัดทำงบประมาณ การเจรจาต่อรอง และการดูแลสภาพชีวิตการเงินของพวกเขา

ดังนั้น เพื่อเป็นการสร้างให้เกิดความคิดเชิงบวก คุณพ่อหรือคุณแม่สามารถแบ่งปันข่าวที่เกี่ยวข้องกับการงานของครอบครัวได้ เช่น อาจจะพูดคุยกับเกี่ยวเงินได้ที่ได้รับจากงานที่ทำ การคาดการณ์ และพูดคุยเกี่ยวกับวิธีการที่รายได้สนับสนุนครอบครัว และค่าใช้จ่ายต่างๆ (อาหาร ค่าผ่อนบ้าน ค่าใช้จ่ายในการทัศนศึกษา เบี้ยเลี้ยง เป็นต้น)

ให้เด็กมีส่วนร่วมใน “การประชุมธุรกิจครอบครัว” ที่ประเมินค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้น และภาระผูกพันในการลำดับความสำคัญของความจำเป็น และความต้องการทางการเงินของแต่ละคน วิธีนี้ เด็กๆ จะได้รับการส่งเสริมให้กลายเป็นผู้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจทางการเงิน แทนที่จะรู้สึกว่าเป็นเหยื่อจากการตัดสินใจของผู้ปกครอง

ทั้งหมดถือเป็นเคล็ดลับในการสร้างรากฐานให้กับเด็ก ในการก้าวไปเป็นผู้ประกอบการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในอนาคต พ่อแม่ผู้ปกครองสามารถนำไปปรับใช้ในการดำชีวิตประจำวันได้ พยายามปลูกฝัง อบรม พร้อมทั้งถ่ายทอดความรู้ให้เกิดกระบวนการคิดแก่เด็ก แม้เด็กจะไม่อยากเป็นเจ้าของธุรกิจ อย่างน้อยก็สามารถเป็นผู้นำในการตัดสินใจที่ดีได้

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช