4 ขั้นตอนต้องรู้! SME มีประวัติค้างชำระ กู้อย่างไรให้ผ่าน

หนี้ NPL ถือเป็นของแสลงของธุรกิจไทย ผู้ประกอบการ SME ไม่อยากให้เกิดขึ้นกับตัวเองมากนัก เพราะจะส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือทางการเงินอย่างมาก หากผู้ประกอบการมีหนี้การค้างชำระเกิน 90 วัน หรือจ่ายไม่ตรงเวลา นอกจากจะส่งผลต่อการขอกู้ในอนาคตแล้ว ยังทำให้โอกาสที่สถาบันการเงินจะอนุมัติยากกว่าคนที่มีประวัติชำระตรงเวลา

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะพาท่านผู้ประกอบการ SME ไปดูวิธีการขอกู้เงินจากธนาคารให้ผ่าน หากคุณเคยมีประวัติค้างชำระอยู่ โดยอ้างอิงข้อมูลจากธนาคารกสิกรไทย มาดูพร้อมกันเลยครับว่า ต้องทำอย่างไรบ้าง

1.เข้าไปเจรจากับเจ้าหนี้ให้เร็ว

กู้อย่างไรให้ผ่าน

เพื่อเข้าสู่การเจรจาแก้ไข เนื่องจากการค้างจ่ายหนี้หรือการชำระไม่ตรงเวลานั้น อาจเกิดขึ้นโดยไม่เจตนา เช่น เกิดเหตุการณ์ไฟไหม้ โรงงานได้รับความเสียหาย ผลิตสินค้าไม่ทัน จึงสูญเสียรายได้ ทำให้ไม่มีเงินมาจ่ายหนี้ตามกำหนด

หากเกิดปัญหาขึ้นมาแล้ว สิ่งแรกที่ต้องทำคือ เจรจาหาทางออกร่วมกับสถาบันการเงินที่เป็นเจ้าหนี้ของคุณ เพื่อแก้ปัญหา โดยการเข้าไปเจรจากับเจ้าหนี้ ยิ่งเร็วเท่าไหร่ก็ยิ่งดี เพราะอาจช่วยกันแก้ปัญหาได้ก่อนที่คุณจะกลายเป็นหนี้ NPL หรือหากเป็นไปแล้ว

ก็ยังสามารถเจรจากันได้ ที่มักเรียกกันว่าการประนอมหนี้ ได้แก่ การยืดระยะเวลาการจ่ายหนี้ออกไปด้วยการลดจำนวนเงินที่ต้องผ่อนชำระในแต่ละเดือนลง การขายทรัพย์เพื่อชำระหนี้บางส่วน หรืออื่นๆ แล้วแต่กรณีไป

2. มุ่งมั่นและตั้งใจในการแก้ไขปัญหา

hh55

เพราะจะทำให้ธนาคารเห็นในความมุ่งมั่นและตั้งใจแก้ปัญหาหนี้ของคุณ เพราะความมุ่งมันและตั้งใจในการแก้ปัญหาเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ธนาคารนำมาพิจารณาให้สินเชื่อ ธนาคารจะดูที่ความตั้งใจในการชำระหนี้เป็นหลัก

หากคุณไม่ย่อท้อ พยายามทำทุกทาง เพื่อให้การแก้ไขหนี้ประสบความสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นการให้ความร่วมมือในการจ่ายหนี้ หรือการปฏิบัติตามเงื่อนไขการผ่อนชำระอย่างเคร่งครัด สิ่งนี้จะสะท้อนความตั้งใจในการแก้ปัญหาของคุณได้อย่างชัดเจน

3. ผ่อนให้ตรงเวลา เพื่อสร้างประวัติใหม่

hh57

เพราะประวัติการผิดนัดชำระหนี้ เป็นปัจจัยหนึ่งที่ธนาคารจะนำไปพิจารณาอนุมัติสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการ ตรงนี้ผู้ประกอบการจะต้องใช้เวลาพอสมควรในการพิสูจน์ตัวเอง ไม่ใช่ว่าผ่อนเป็นปกติดีอยู่ 2-3 เดือนก็จะไปขอกู้ เพราะธนาคารยังไม่มั่นใจความสามารถในการชำระเงินของคุณ

ดังนั้น ผู้ประกอบการควรพยายามสร้างประวัติขึ้นมาใหม่ให้ดีเป็นเวลาอย่างน้อย 12 เดือน เพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่าฐานะทางการเงินของคุณกลับมาเป็นปกติแล้ว

4. เร่งเคลียร์หนี้ให้จบโดยเร็ว

hh56

เก็บหลักฐานอย่าให้หาย หากคุณสามารถเคลียร์หนี้ก้อนนี้ได้หมดแล้ว สถาบันการเงินที่เป็นเจ้าหนี้จะออกหลักฐานยืนยันมาให้ ซึ่งคุณจะต้องเก็บรักษาไว้ให้ดี เพื่อใช้แสดงกับธนาคารที่คุณไปขอกู้ว่า คุณสามารถจบหนี้ที่มีปัญหาได้แล้วจริงๆ

จะเห็นได้ว่า ในโลกของธุรกิจ เชื่อว่าไม่มีผู้ปะกอบการคนใด อยากจะมีประวัติหนี้ค้างชำระธนาคาร แต่เมื่อไหร่ที่เกิดปัญหาดังกล่าวขึ้นมาจริงๆ คุณควรรีบไปคุยกับเจ้าหนี้ เพื่อหาทางออกร่วมกันให้เร็ว เพราะอาจลุกลามจนกลายเป็น NPL ได้

อ่านบทความ SME อื่นๆ goo.gl/D89SWB


Tips

  1. เข้าไปเจรจากับเจ้าหนี้ให้เร็ว
  2. มุ่งมั่นและตั้งใจในการแก้ไขปัญหา
  3. ผ่อนให้ตรงเวลา เพื่อสร้างประวัติใหม่
  4. เร่งเคลียร์หนี้ให้จบโดยเร็ว

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช