3 วิธีการวางแผนด้านการเงินไม่ให้ Startup สะดุด

ยุคปัจจุบันเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รัฐบาลจึงให้ความสำคัญต่อการส่งเสริม สตาร์ทอัพ เมล็ดพันธุ์ใหม่ของไทยให้เข้มแข็ง โดยรัฐบาลได้เน้นการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาพัฒนานักรบทางเศรษฐกิจสายพันธุ์ใหม่ ( New Economic Warrior) จากปัจจุบันสตาร์ทอัพอยู่ระหว่างการพัฒนาแนวคิดประมาณ 8,000 ราย 

จนเกิดสตาร์ทอัพศักยภาพกว่า 1,500 ราย มีการเติบโต 1.5 เท่า และเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในปีต่อๆ ไป ผ่านการสนับสนุนจากรัฐบาลในการตั้งกองทุนร่วมลงทุนในสตาร์ทอัพวงเงิน 10,000 ล้านบาท ทำให้ภาคเอกชนสนใจเข้ามาลงทุนไม่ต่ำกว่า 10,000 ล้านบาท พร้อมลงทุนในธุรกิจสตาร์ทอัพ การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 5 ปี สำหรับสตาร์ทอัพ และยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี สำหรับธุรกิจ Co working space

จึงไม่แปลกที่ Start Up จะเป็นโมเดลธุรกิจที่มาแรงแห่งยุค เพราะธุรกิจแนวนี้มักมีการเติบโตแบบก้าวกระโดด ปัจจัยหลักๆ เพราะโลกปัจจุบันเป็นยุคดิจิตอล ทำให้แนวคิดไอเดียที่มีอยู่ได้รับการต่อยอด และตอบโจทย์ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้ดีขึ้น

แต่อย่างไรก็ตาม ยังมี Startup จำนวนมากที่โมเดลธุรกิจก็ดี ทีมงานก็เก่ง แผนการตลาดก็เยี่ยม แต่กลับล้มไม่เป็นท่า สาเหตุก็เพราะ ไม่ได้มีการวางแผนด้านการเงิน

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com ขอนำเสนอวิธีการวางแผนด้านการเงินสำหรับ Start Up ในการดำเนินธุรกิจไม่ให้สะดุด จากธนาคารไทยพาณิชย์ มาดูพร้อมๆ กันเลยครับ

1.เงินทุน

สตาร์ทอัพ

คิดจะเริ่มธุรกิจต้องมีเงินทุนก้อนแรก สิ่งที่ต้องคิด คือ เงินก้อนแรกจะต้องใช้เงินเท่าไร จะเอาเงินมาจากไหน และเพียงพอหรือไม่ ซึ่งในช่วงเริ่มต้น Startup ส่วนใหญ่มักจะใช้เงินส่วนตัว แต่ก็ต้องไม่ลืมหาเงินทุนสำรองรองรับเหตุการณ์ไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ต้องวางแผนว่าจะหามาจากแหล่งไหนได้อีก จะใช้เงินส่วนตัวเพิ่ม จะระดมทุนจากคนรู้จัก

จากนักลงทุน หรือจะกู้ธนาคาร เราต้องวางแผนเตรียมเงินให้เพียงพอกับทุกกิจกรรมทางที่จะเกิดขึ้น ควรทำทั้งแผนการใช้เงินทุนระยะสั้น กลาง และยาว โดยจัดสัดส่วนให้เหมาะสมตามต้นทุนเงินทุนของแหล่งต่างๆ

2. สภาพคล่อง

ll2

ถ้ามีสภาพคล่องดีธุรกิจจะราบรื่น ดังนั้น จะทำธุรกิจต้องเตรียมเงินสดในมือให้พร้อมสำหรับใช้หนี้ต่างๆ ได้ตรงตามกำหนดเวลา ถึงแม้ธุรกิจจะมีรายได้มาก ตัวเลขกำไรเยอะ แต่ขาดสภาพคล่องไม่มีเงินสดเหลือเลย ก็มักจะเจอกับปัญหาร้ายแรงตามมา เช่น ถ้าจะซื้อของแล้วต้องการจ่ายเงินช้า ก็อาจต้องยอมซื้อในราคาที่แพงขึ้นทำให้ต้นทุนสูง

จะขายของก็ต้องขายราคาถูกลง เพราะอยากได้เงินสดมาหมุน ไร้อำนาจต่อรองกับคู่ค้า หรือพอขาดเงินสดแล้วจ่ายหนี้ไม่ตรงตามเวลา Credit ก็เสีย ดังนั้น จำไว้ว่าในการทำธุรกิจสภาพคล่อง หรือเงินสด คือ พระเจ้า

3. กระแสเงินสด

ll3

ธุรกิจที่ดีต้องบริหารจัดการให้กระแสเงินสดในแต่ละช่วงเวลา ให้มีการไหลเข้ามากกว่าไหลออก การวางแผนกระแสเงินสดจะเก็บข้อมูลว่า เงินเข้ากับเงินออกมาจากเรื่องอะไร จำนวนเท่าไหร่ และเงินเข้าเงินออกตอนไหน

ตัวอย่างกิจกรรมที่จะมีเงินไหลเข้า เช่น ลูกค้าจ่ายเงินค่าสินค้า ได้รับเงินเพิ่มทุน ได้รับสินเชื่อจากธนาคาร ตัวอย่างของกิจกรรมที่มีเงินไหลออก เช่น ต้องไปจ่ายค่าสินค้า จ่ายดอกเบี้ย จ่ายเสียภาษี ซื้อที่ดิน จ่ายค่าอุปกรณ์สำนักงาน เป็นต้น

พอเราเห็นภาพรวมการไหลเข้าไหลออกของเงินจากกิจกรรมทั้งหมดที่จะเกิดขึ้นแล้ว เราก็จะสามารถตัดสินใจบริหารเงินในกิจกรรมอื่นเพิ่มเติม ให้สอดคล้องกับจังหวะการไหลเข้าออกของกระแสเงินสดเดิมได้ เช่น เมื่อไหร่จะตัดสินใจขยายกิจการ เมื่อไหร่จะเพิ่มทุน จะกู้เงินเพิ่ม หรือจ่ายหนี้ และเมื่อไหร่จ่ายปันผล เป็นต้น

ทั้งหมดเป็น 3 วิธีการบริหารจัดการ และวางแผนด้านการเงินสำหรับ Start Up ในการดำเนินธุรกิจไม่ให้สะดุด ซึ่งที่ผ่านมาปัญหาส่วนใหญ่ที่ Start Up มีแผนธุรกิจที่ดี แต่ทำไปได้สักพัก ก็ล้มไม่เป็นท่า เพราะไม่รู้จักวางแผนด้านการเงินให้ดีครับ

อ่านบทความ SMEs goo.gl/hSrCHK


Tips

  1. มีเงินทุนก่อนเริ่มต้นธุรกิจ
  2. รู้จักบริหารสภาพคล่องทางเงิน
  3. บริหารกระแสเงินสด รายรับ-รายจ่าย ต้องสมดุลกัน 

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก www.scb.co.th/th/tips/own-business/startup

plann01

ท่านใดสนใจอยากให้ร่างสัญญาแฟรนไชส์โดยถูกต้องตามหลักกฎหมายแจ้งความประสงค์ได้ที่
โทร : 02-1019187, Line : @thaifranchise

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช