15 แบรนด์ระดับโลกที่ก้าวผ่านขอบเหวได้หวุดหวิด

ทุกธุรกิจ ย่อมต้องมีเส้นทางของตัวเอง การที่เรามองเห็นความสำเร็จในวันนี้แท้ที่จริงครั้งหนึ่งอาจเคยเจอปัญหาถึงขั้นเสี่ยงล้มละลาย แต่แบรนด์ระดับโลกเขามีวิธีการฝ่าฝันวิกฤตินี้อย่างไร www.ThaiSMEsCenter.com ยกตัวอย่างมาให้เห็นภาพเข้าใจกัน 15 แบรนด์

1. Best Buy

ทุกธุรกิจ

ภาพจาก goo.gl/yTrB3a , goo.gl/Hq3Rpn

Best Buy ธุรกิจค้าปลีกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ของสหรัฐอเมริกา ในยุครุ่งเรืองของ Best Buy มีการเติบโตและขยายสาขาทั้งในและต่างประเทศจำนวนมาก จนกระทั่งในปี 2012 เกิดวิกฤติทำให้ Best Buy ต้องปิดสาขากว่า 250 แห่งในอเมริกา

แม้จะมีความพยายามในการจัดทำแผนปฏิรูปองค์กรขึ้นใหม่แต่ก็ดูเหมือนว่าจะไม่เป็นผล เหตุผลที่ทำให้ Best Buy ดิ้นต่อไม่ได้ก็จากการเข้ามาของ Apple และ อีคอมเมิร์ซรายใหญ่อย่าง Amazon

อย่างไรก็ตามการสั่งปิดร้านมือถือของ Best Buy จะกระทบรายได้ของบริษัทประมาณ 1% และจะมีผลในสหรัฐอเมริกาเท่านั้น ส่วนร้านมือถือของ Best Buy ในแคนาดากว่า 52 แห่ง จะยังไม่ได้รับผลกระทบในครั้งนี้

2. Jack in the Box

52

ภาพจาก goo.gl/1f9KYT

ในปี 1993 จากการระบาดของเชื้อ E. coli แฮมเบอร์เกอร์ของ Jack in the Box ได้รับผลกระทบเต็มๆ นี่คือปรากฏการอาหารเป็นพิษครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์ของอเมริกา ยอดขายของ Jack in the Box ลดลงกว่า 22% กำไรในแต่ละไตรมาสก็ลดลงอย่ารวดเร็ว

ทาง CEO ไม่รอให้เรื่องบานปลายมากกว่านี้ กลยุทธ์สำคัญคือการเสนอช่วยเหลือเหยื่อผู้ติดเชื้อโดยเป็นการช่วยเหลือค่าใช้จ่ายในการรักษา และสร้างภาพลักษณ์ให้ต่อเนื่องด้วยการยกกระดับการเตรียมอาหารให้มีความปลอดภัยแบบเห็นชัดเจน

รวมถึงการอัดแคมเปญโฆษณาที่ยาวนานเพื่อเรียกความเชื่อมั่นผู้บริโภคให้กลับมา ในปี 1995 ผลประกอบการเริ่มเห็นผลหุ้นของ Jack in the Boxพุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ $ 102.68 ตลอดเวลาเนื่องจากการขยายตัวของแฟรนไชส์เชิงรุกและการสร้างแบรนด์ใหม่ที่เริ่มขึ้นในปี 2004

3. Chrysler

53

ภาพจาก facebook.com/Chrysler

ไครสเลอร์ก่อตั้งบริษัทในปี 1925 และจากนั้นในปี 1998 ก็ได้ตกลงร่วมมือเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับทางเดมเลอร์ เอจีของเยอรมนีโดยใช้ชื่อบริษัทใหม่ว่าเดมเลอร์ไครสเลอร์ ก่อนที่ทางเดมเลอร์ เอจีจะขายหุ้นจำนวนกว่า 80% ที่ถืออยู่ใน ไครสเลอร์ ออกไปให้กับทาง เซอร์เบอรุส แคปิตอล แมนเนจเมนท์ ในวันที่ 14 พฤษภาคม 2007 และมีการเปลี่ยนชื่อเป็นไครสเลอร์ แอลแอลซีในเวลาต่อมา

จากปัญหาที่รุ่มเร้าไครสเลอร์ตัดสินใจขอยื่นล้มละลายและดำเนินการจับมือกับเฟียตแบรนด์รถจากยุโรป ซึ่งการตัดสินใจในครั้งนี้ของไครสเลอร์ได้รับคำชื่นชมอย่างมากจากประธานาธิบดีบารัก โอบามา

และเขากล่าวว่าเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องแล้ว เพราะจะช่วยทำให้ไครสเลอร์สามารถรักษาตำแหน่งงานประมาณ 30,000 อัตราเอาไว้ได้ และการตัดสินใจครั้งนี้ถือแป็นครั้งแรกที่เกิดขึ้นกับบริษัทรถยนต์รายใหญ่ของสหรัฐ อเมริกา

4. AIG

54

ภาพจาก goo.gl/XUmd9G

ในช่วงหนึ่งนักลงทุนทั่วโลกต่างจับตาผลกระทบปัญหาสภาพคล่องทางการเงินของ American International Group (AIG) ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของบริษัทประกันชีวิต อเมริกันอินเตอร์เนชั่นแนล แอสชัวรันส์ (เอไอเอ) ที่มีเครือข่ายอยู่ทั่วโลก เพราะอาจล้มทั้งยืนตามบริษัท เลห์แมน บราเธอร์ส อิงค์ สถาบันการเงินเก่าแก่อายุ 158 ปี ของสหรัฐ

ด้วยเหตุนี้ธนาคารกลางสหรัฐ (US Federal Reserve : FED) ได้ตัดสินใจปล่อยวงเงินกู้ฉุกเฉินมูลค่า 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์ ให้กับเอไอจี แลกกับการถือหุ้น 79.9% โดยมีเป้าหมายที่จะช่วยเหลือบริษัทประกันแห่งนี้ให้รอดพ้นจากการล้มละลายซึ่งอาจสร้างเสียหายอย่างร้ายแรงต่อเศรษฐกิจอเมริกาไปด้วย

5. Marvel

55

ภาพจาก goo.gl/4Xbw9h

Marvel Comic เป็นสำนักพิมพ์ที่ก่อตั้งเมื่อปี 1961 ตีพิมพ์คอมมิคชุด Superhero ที่โด่งดังในอเมริกามากว่า 60 ปี มีช่วงเวลาที่รุ่งเรืองในยุค 80s ในปี 1989 Marvel ถูกซื้อโดย Ronald R. Perelman บริษัทถูกนำเข้าตลาดหุ้น

และต่อยอดธุรกิจจากผลิตหนังสือการ์ตูนไปสู่การของเล่น และของสะสม ในยุค 90s ที่เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐ กำลังซื้อหดหาย สินค้าค้างสต็อก บริษัทต้องเผชิญกับภาวะขาดทุน การเพิกถอนหุ้น และจบลงด้วยการยื่นขอล้มละลายในปี 1996

สิ่งที่ทำให้ Marvel กลับมาได้อีกครั้งคือ ‘ภาพยนตร์’ หลังจากยื่นขอล้มละลาย Marvel ได้ควบรวมกับ Toybiz และเปลี่ยนโมเดลธุรกิจเป็นการขายลิขสิทธิ์ Superhero แทน โดยก่อตั้ง Marvel Studios ขึ้น จัดหาผู้กำกับ นักแสดง และคนเขียนบท มัดรวมกันเป็นแพ็คเกจและเสนอขายให้บริษัทอื่นสร้างเป็นภาพยนตร์ แต่วิธีนี้ก็ทำให้มีรายได้เพียงเล็กน้อย

นำมาสู่การตัดสินใจสร้างหนังเอง Marvel เดิมพันครั้งใหญ่ด้วยการนำลิขสิทธิ์ Thor และ Captain America ไปค้ำประกันกับ Merrill Lynch เพื่อนำเงินมาสร้างหนัง 10 เรื่อง ในเวลา 7 ปี การเดิมพันครั้งนี้ประสบความสำเร็จอย่างงดงามภายใต้ชื่อของ Iron Man ภาพยนตร์ที่สร้างเป็นเรื่องแรก

6. U.S. Airline industry (อุตสาหกรรมการบินในสหรัฐอเมริกา)

56

ภาพจาก goo.gl/nULyfd

ช่วงกลางของยุค 2000s อุตสาหกรรมการบินในอเมริกาต้องเผชิญกับปัญหาขาดทุนอย่างรุนแรง หลังจากการยื่นขอล้มละลายของสายการบินใหญ่ ๆ อย่าง United Airlines และ U.S. Airways ในปี 2005 Delta Air lines ก็มีจุดจบที่ไม่ต่างกัน

ส่วนสาเหตุที่สายการบินถูกยิงร่วงกันระนาวก็มาจากราคาของเชื้อเพลิงที่พุ่งสูงขึ้นจนบริษัทจ่ายไม่ไหว บวกกับคู่แข่งจำนวนมากซึ่งเป็นสายการบิน low-cost ขนาดเล็กที่ก้าวเข้ามาแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดไปไม่น้อย

ในปี 2016 ผลสำรวจจาก Gallup polls รายงานว่า ร้อยละ 35 ของผู้บริโภคในสหรัฐฯ มีทัศนคติที่ ‘ค่อนข้างลบ’ ต่ออุตสาหกรรมการบินในอเมริกา โดยอาจจะมาจากค่าตั๋วเครื่องบิน หรือความประทับใจจากการใช้บริการก็แล้วแต่ ทัศนคติแบบนั้นยังไม่ได้ดีขึ้นสักเท่าไหร่ และถึงแม้ตอนนี้จะกลับมาได้แต่ก็ถือว่าสถานการณ์ยังไม่ได้ดีขึ้นมากนัก

7. Converse

57

ภาพจาก goo.gl/NpuqKp

บริษัท Converse Rubber Shoe Company ก่อตั้งขึ้นในปี 1908 โดยเริ่มผลิตรองเท้ายางธรรมดาออกขาย ก่อนจะเปลี่ยนมาเป็นการผลิตรองเท้ากีฬาครั้งแรกในปี 1915 จุดเปลี่ยนครั้งใหญ่เกิดขึ้นเมื่อนักบาสเก็ตบอลชื่อดัง Charles H. “Chuck” Taylor

เข้ามาเป็น Brand Ambassador ให้กับ Converse และใส่รองเท้ารุ่น All-Star ในทุก ๆ การแข่งขัน Converse All-Star จึงประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก และเป็นที่นิยมในหมู่นักกีฬาบาสเก็ตบอล รวมถึงวัยรุ่นในสมัยนั้น

จนกระทั่งในยุค 80s เริ่มมีการหลั่งไหลเข้ามาของแบรนด์คู่แข่งไม่ว่าจะเป็น Puma, Adidas และ Nike ที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีรองเท้าที่ทันสมัยยิ่งกว่า Converse ต้องสูญเสียส่วนแบ่งทางการตลาดไปเป็นอย่างมาก บวกกับการตัดสินใจที่ผิดพลาดด้านการบริหาร ในที่สุดบริษัทต้องล้มละลายลงในปี 2001

Converse กลับมาผงาดอีกครั้งด้วยมือของแบรนด์ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นคู่แข่งกันอย่าง Nike ที่เข้ามาซื้อกิจการทั้งหมดในปี 2003 ด้วยเงินจำนวนถึง 305 ล้านเหรียญสหรัฐ ภายใต้การบริหารของ Nike Converse ถูกรีแบรนด์ขึ้นมาใหม่

และสายการผลิตถูกย้ายไปยังประเทศในแถบเอเชียทำให้ต้นทุนต่ำลง ในปี 2003 พวกเขาสามารถทำยอดขายได้ถึง 200 ล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งยังพุ่งสูงเกือบ 2 พันล้านเหรียญในปี 2016 และแม้จะมีคอลเล็กชันใหม่ ๆ ออกมามากมาย

8. Starbucks

u1

ภาพจาก goo.gl/dbXzfv

คงไม่มีใครอยากจะเชื่อเลยว่า Starbucks จะเคยเผชิญกับวิกฤติทางการเงินอย่างรุนแรงในปี 2008 สาเหตุมาจากวิกฤตการเงินครั้งใหญ่ของสหรัฐอเมริกา เมื่อผู้บริโภคต้องลดค่าใช้จ่ายเพื่อรับมือกับราคาน้ำมัน

และค่าครองชีพที่สูงขึ้น กาแฟจึงกลายเป็นสิ่งไม่จำเป็นสำหรับชีวิตไป นำไปสู่การยุบสาขา และค่าชดเชยการเลิกจ้างพนักงานเป็นจำนวนมาก ผลกำไรของบริษัทเคยร่วงหนักถึง 96% ในไตรมาส 4 CEO ของบริษัทจึงออกมาประกาศพับแผนการขยายสาขาเพิ่มเติมอีก 40,000 สาขา เพื่อพยุงค่าใช้จ่ายขององค์กร

แต่หลังจากวิกฤติอยู่พักใหญ่ Howard Schultz ผู้ก่อตั้งของ Starbucks ที่สั่งปรับปรุงการดำเนินงาน และแก้ไขปัญหาที่สะสม เริ่มจากปิดสาขาในอเมริกาที่ไม่ทำกำไรถึง 676 สาขา ทำให้สามารถลดค่าใช้จ่ายได้สูงถึง 370 ล้านเหรียญใน 9 เดือนและพยายามนำเอาภาพลักษณ์เก่าที่มีมนต์ขลังของ Starbucks กลับคืนมา

โดยหันมาให้ความสนใจกับรสชาติ และบรรยากาศของร้าน ลงทุนกับการโฆษณา รวมถึงขยายสายผลิตภัณฑ์ในลักษณะของกาแฟสำเร็จรูป ทำให้ผลการดำเนินงานของ Starbucks ถือว่าดีขึ้นเป็นลำดับ

9. Six Flags

u2

ภาพจาก goo.gl/gejM8e

ในขณะที่สวนสนุกของ Six Flags Entertainment ยังคงดำเนินต่อไปแต่ในปี 2009 พบว่าบริษัท มีหนี้ 2.4 พันล้านเหรียญนำไปสู่การขอยื่นล้มละลาย และการปรับปรุงโครงสร้างหนี้

โดย CEO คนใหม่อย่าง Daniel Snyder ได้เข้ามาดำเนินกลยุทธ์ดึงเอกลักษณ์ของสวนสนุกด้วยตัวละครยอดฮิตที่เด็กๆนิยม เพื่อดึงดูดลูกค้าคือกลุ่มเด็กๆและครอบครัวให้เข้ามาใช้บริการมากขึ้น

สาเหตุของรายได้ถดถอยส่วนหนึ่งเกิดจากภาวะทางเศรษฐกิจในสหรัฐที่ทำให้ประชาชนใช้จ่ายเพื่อความบันเทิงน้อยลง แต่จากการปรับปรุงของ Six Flags ทำให้ในปี 2016 มียอดผู้เข้ามาใช้บริการในสวนสนุกถึง 30 ล้านครั้งได้เป็นครั้งแรก รวมถึงบรรดาผู้ถือหุ้นเองก็ได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้นถึงร้อยละ 14

10. Ally Financial

u3

ภาพจาก goo.gl/images/a7hCXB

เป็น บริษัท โฮลดิ้งที่ จัดตั้งขึ้นใน เดลาแวร์ และมีสำนักงานใหญ่ใน ดีทรอยต์รัฐมิชิแกน บริษัท ให้บริการทางการเงินรวมถึง ธนาคารออนไลน์สินเชื่อ รถยนต์สินเชื่อ ธุรกิจ ประกันภัยรถยนต์ สินเชื่อ บัตรเครดิต และบริการ บริษัท นายหน้า เคยมีปัญหากับการมีหนี้สูงถึง 12 พันล้านดอลลาร์ และเสี่ยงต่อการล้มละลาย โดยสาเหตุส่วนใหญ่มาจากการปล่อยกู้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ทำให้ธุรกิจได้รับผลกระทบรุนแรง

และจากการเปลี่ยนกลยุทธ์ธุรกิจบางอย่างเช่นการขายหุ้นของ Ally ให้กับรัฐบาลเข้ามาช่วยเหลือกว่า 2.4 พันล้านดอลลาร์ และขายสินทรัพย์บางอย่างเพื่อนำเงินเข้ามาพยุงฐานะทางธุรกิจ ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2017 ทำให้ Ally มีกำไรสุทธิ 214 ล้านดอลลาร์ และปัจจุบันกลายเป็นธนาคารออนไลน์ที่ดีที่สุดจากการสำรวจของ GOBankingRates

11. Betsey Johnson

u5

ภาพจาก goo.gl/CMF7N5

นี่ไม่ใช่แบรนด์แต่ Betsey Johnson คือนักออกแบบแฟชั่นที่มีชื่อเสียงในอเมริกา ผลงานการออกแบบของ Betsey ได้รับการยกย่องว่าไม่ธรรมดา อย่างไรก็ตามเส้นทางที่สวยหรูก็ดูจะมีปัญหาเช่นกัน

หลังจากที่ Betsey Johnson ได้ขายสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของแบรนด์ให้กับ Steve Madden และจากการขาดสภาพคล่องก็ทำให้ แฟชั่น Betsey Johnson ถูกยื่นฟ้องล้มละลายในปี 2012 ต้องเลิกจ้างพนักงานในธุรกิจตัวเองกว่า 350 คน

แต่ชีวิตหลังล้มละลาย Betsey Johnson ยังสนุกกับการออกแบบและได้ร่วมมือกับ Urban Outfitters ในปี 2014 ทำการผลิตสินค้ารุ่นใหม่ออกมาไม่ว่าจะเป็นชุดเจ้าสาว ชุดราตรี ชุดชั้นในสตรี เสื้อผ้า แว่นตาเด็ก ก่อร้างสร้างตัวขึ้นมาได้อีกครั้งในปี 2016 Betsey Johnson มียอดขายสุทธิมากกว่า 1.4 พันล้านเหรียญสหรัฐและมีกำไรสุทธิ 121 ล้านดอลลาร์

12. Ashley Stewart

u6

ภาพจาก goo.gl/images/GrcqfX

เป็น บริษัท เสื้อผ้าและ แบรนด์ไลฟ์สไตล์ ของผู้หญิงอเมริกัน ขนาดใหญ่ ก่อตั้งขึ้นในปี1991 ชื่อ Ashley Stewart มาจากแนวคิดของผู้ก่อตั้งอย่าง Laura Ashley และ Martha Stewart บริษัทเติบโตอย่างยิ่งใหญ่มีร้านค้ากว่า 89 แห่งใน 22 รัฐทั่วอเมริกา แต่จากการเดินเนินงานที่ผิดพลาด ส่งผลให้บริษัทประสบกับปัญหาสภาพคล่องถึงกับถูกจ่อฟ้องล้มละลาย

นำไปสู่กลยุทธ์การปรับองค์กรใหม่ด้วยการปรับลดพนักงานและปิดสาขากว่า 100 แห่ง และใช้เทคโนโลยีมาวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้าเพื่อผลิตสินค้าที่ตรงความต้องการมากขึ้น ด้วยกลยุทธ์ใหม่นี้ทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้นสุทธิ 80% และกลายเป็นแบรนด์แฟชั่นที่เป็นที่นิยมอันดับต้นๆ ของโลก

13. Burberry

u4

ภาพจาก goo.gl/MGMY4n

แบรนด์กระเป๋าและร่มชื่อดังสัญชาติอังกฤษ ต้องประสบปัญหาอย่างหนักจนเกือบล้มละลายในช่วงกลางของยุค 2000s สาเหตุจากการรั่วไหลของข้อมูล สินค้าลอกเลียนแบบที่ใช้สี และลวดลายยอดนิยมของ Burberry ถูกผลิตขายกันเกลื่อนไปทั่วโลก

สินค้าจากแบรนด์เนมกลายสภาพเป็นของโหลๆ ที่ใครก็เดินถือกันขวักไขว่ Burberry สูญเสียเงินจำนวนมหาศาลเพื่อจัดการกับการละเมิดลิขสิทธิ์ในครั้งนี้จนฐานะทางการเงินของบริษัทเข้าข่ายล้มละลาย และต้องขายกิจการให้คนอื่นเอาไปบริหารต่อในที่สุด

Angela Ahrendts ผู้เป็น CEO คนใหม่ก้าวเข้ามากอบกู้ Burberry โดยทุ่มแรงกายแรงใจทั้งหมดในการฟื้นฟูตลาด และเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ Burberry จากแบรนด์เสื้อผ้าผู้ดี ให้กลายเป็นแบรนด์แฟชั่นระดับสูงที่ ในเวลาเพียง 5 ปี ให้ Burberry ก็กลับกลับมาด้วยยอดขายและผลกำไรที่สูงเป็นสองเท่า

14. Adidas

u7

ภาพจาก goo.gl/HEHKEF

เป็นแบรนด์รองเท้าสายพันธ์เยอรมันที่ก่อตั้งเมื่อปี 1924 โดยสองพี่น้อง Dassler ก่อนที่ในปี 1949 พี่ชายจะแยกไปทำแบรนด์อื่น ส่วนน้องชายเปลี่ยนชื่อบริษัทเดิมเป็น Adidas ในปี 1987 หลัง Adolf (Adi) Dassler ผู้ก่อตั้งเสียชีวิตไป

ลูกชายคือ Horst Dassler พยายามรับช่วงต่อแทน แต่ไม่ได้รับความไว้วางใจจากบอร์ดบริหาร สถานการณ์บริษัทที่มีการเปลี่ยนตัวผู้บริหารระดับสูงหลายครั้ง และกลยุทธ์การตลาดที่ไม่แน่นอน ทำให้ผลประกอบการออกมาแย่ บริษัทขาดทุนจนเกือบล้มละลายในปี 1992

Adidas กลับมาผงาดได้ด้วยน้ำมือของ Robert Louis-Dreyfus ในปี 1993 เขาซื้อกิจการทั้งหมดของ Adidas มาด้วยเงินกว่า 4.485 พันล้านฟรังก์ และเริ่มโฟกัสไปที่การขยายตลาด และควบรวมกิจการกับบริษัทผลิตสินค้ากีฬาอีกหลายแห่ง

ในปี 2006 หลังจากการเจรจาซื้อขาย Reebok แบรนด์คู่แข่งทางการค้าจากอังกฤษเป็นอันเสร็จสิ้น ยอดขายของ Adidas ก็พุ่งสูงจนใกล้เคียงกับ Nike และกลายเป็นหนึ่งในแบรนด์รองเท้าที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดในโลกอีกด้วย

15. CBS

u8

ภาพจาก goo.gl/images/2txgjZ

เริ่มก่อตั้งในปี 1927 จากการเป็นสถานีวิทยุ ก่อนจะค่อย ๆ เติบโต และผงาดขึ้นมาเป็น 1 ใน 3 เครือข่ายโทรทัศน์ยักษ์ใหญ่ของอเมริการ่วมกับ NBC และ ABC โดยได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงยุค 50s-60s

เพราะมีชื่อเสียงด้านการนำเสนอที่ทันสมัย แต่ไม่ซับซ้อน แต่แล้วเรตติ้งก็เริ่มซบเซาลงในยุค 80s ที่ความสนใจของผู้คนเปลี่ยนไปในรูปแบบอื่น ท่ามกลางสภาวะที่ตกต่ำลงเรื่อย ๆ ในที่สุด CBS ก็ต้องขายกิจการให้แก่ Westinghouse ไปในราคา 5,400 ล้านเหรียญ

ในปี 1995 Leslie Moonves ที่ก้าวเข้ามาเป็น CEO ให้กับ CBS เริ่มปรับปรุงภาพลักษณ์ของช่องโดยการโฟกัสไปที่คุณภาพของรายการ เมื่อเข้าสู่ช่วงศตวรรษที่ 21 ธุรกิจเริ่มได้กำไรจากการบริหาร และนำมาพัฒนารายการโทรทัศน์ให้มีความหลากหลายมากขึ้น

ในที่สุดภายใต้การบริหารของ Leslie Moonves สถานีโทรทัศน์ CBS กลายเป็นเครือข่ายที่มีคนดูมากที่สุดในสหรัฐอเมริกา โดยมียอดเฉลี่ยผู้ชมรายสัปดาห์กว่า 10 ล้านคน อ้างอิงจากรายงาน Vulture report ประจำปี 2015

การทำธุรกิจไม่มีคำว่าง่าย และไม่มีคำว่าหยุดนิ่ง คนที่ประสบความสำเร็จไม่ใช่คนที่มีทุนหนา แต่คือคนที่แก้ปัญหาเป็น ประสบการณ์คือสิ่งสำคัญที่สอนกันไม่ได้ต้องเรียนรู้และเจอด้วยตัวเองถ้าผ่านไปได้ธุรกิจเราก็แข็งแกร่งเพิ่มขึ้นได้เช่นกัน


คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

01

อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ goo.gl/ffV5CC
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี แบรนด์อื่นๆ เปิดร้าน goo.gl/rgqLDr

ขอบคุณข้อมูล goo.gl/hpijhm

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด