10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! ห้างเมอร์รี่คิงส์ ในตำนาน

“เมอร์รี่คิง” ที่ได้ชื่อว่าเป็นห้างสรรพสินค้าระดับตำนาน เพราะในช่วง 30 ปีก่อนนี่คือห้างขวัญใจวัยรุ่น ในช่วงเวลาเดียวกันมีห้างดังอื่นอีก เช่น พันธุ์ทิพย์ ที่เริ่มเปิดในปี2527 หรือพาต้า(ปิ่นเกล้า)ที่เปิดให้บริการในปี 2525 และปี 2530 คือยุคทองของ ห้างเมอร์รี่คิงส์ อย่างชัดเจน

แต่ยุคสมัยที่เปลี่ยนไปจากห้างชื่อดังเริ่มกิจการซบเซาและสุดท้ายทุกสาขาของเมอร์รี่คิงส์ก็หายไปเหลือไว้แค่ตำนานที่ www.ThaiSMEsCenter.com คิดว่ามีหลายคนสนใจและอยากรู้ 10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! ห้างเมอรรี่คิงส์ในตำนาน

1.ตำนาน “ห้างสรรพสินค้า” เมืองไทย

ห้างเมอร์รี่คิงส์ภาพจาก https://bit.ly/42LxA16

ปี 2507 คนไทยรู้จักับ “ห้างไดมารู” ที่เข้ามาเปิดในย่านราชประสงค์ อันเป็นการปฏิวัติวงการค้าปลีกที่ยกระดับมากขึ้น นำมาสู่ห้างสรรพสินค้าอีกมากมายเช่น พาต้าสาขาอินทราประตูน้ำ (สาขาแรก)ในปี 2518 จากนั้นก็ตามมาด้วยห้างโรบินสัน , เมอร์รี่คิงส์ ไม่นับรวมรายใหญ่ที่มีอยู่แล้วอย่างเดอะมอลล์หรือเซ็นทรัลที่เริ่มขยายสาขามากขึ้นเรื่อยๆ

2.เมอร์รี่คิงเปิดสาขาแรกในปี 2527

เมอร์รี่คิงส์ เป็นอดีตศูนย์การค้าระดับตำนาน บริหารงานโดย บริษัท เมอร์รี่คิงส์ ดีพาร์ทเมนต์สโตร์ จำกัด ซึ่งเริ่มดำเนินกิจการมาตั้งแต่ พ.ศ. 2520 ต่อมาจึงเริ่มเปิดให้บริการสาขาแรกในที่ดินหัวมุมสี่แยกวังบูรพา เขตพระนคร ซึ่งเป็นที่ตั้งเดิมของโรงภาพยนตร์คิงส์ และโรงภาพยนตร์แกรนด์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527

3.เมอร์รี่คิงเคยมีทั้งหมด 6 สาขา

เมอร์รี่คิงส์หลังเปิดสาขาแรกในปี พ.ศ. 2527 ที่วังบูรพา จากนั้นเปิดสาขาที่ 2 คือสาขาสะพานควายในปี 2528 ตามมาด้วยสาขาที่ 3 คือสาขาวงเวียนใหญ่ในปี 2529 นอกจากนี้ยังมี สาขารังสิตเปิดบริการเมื่อปี 2530 , สาขาปิ่นเกล้า เปิดบริการเมื่อปี 2531 , และสาขาบางใหญ่เปิดบริการเมื่อปี 2542

4.เมอร์รี่คิงส์สาขารังสิต ฮิตที่สุดในยุคนั้น

ภาพจาก https://bit.ly/3BuW8iM

ช่วงเวลาที่เฟื่องฟูของเมอร์รี่คิง มีสาขารังสิตเป็นสาขายอดนิยมที่สุดยุคนั้นเพราะ มีรายการตลกอย่าง จี้เส้นคอนเสิร์ต (พ.ศ. 2536-2542) มาแสดงและอัดเทปที่นี่ รวมไปถึง รายการคอนเสิร์ตเลข9 (พ.ศ. 2533-2547) ที่เป็นรายการสุดฮิตในยุคนั้น นักร้องดังในช่วงเวลานั้นต่างเคยผ่านเวทีนี้มาแทบทั้งสิ้น

5.เมอร์รี่คิงส์ “มีทุกสิ่งให้เลือกสรร”

กลายเป็นสโลแกนที่ฮิตติดหูคนทั่วประเทศสำหรับ “เมอร์รี่คิงส์ มีทุกสิ่งให้เลือกสรร” ที่สะท้อนภาพความเป็นห้างสรรพสินค้าที่มีจำหน่ายสินค้าทุกอย่าง ตอบโจทย์ความต้องการของคนในยุคนั้นได้อย่างดี ซึ่งต้องยอมรับว่าเมอร์รี่คิงส์เป็นกรณีศึกษาให้อีกหลายห้างสรรพสินค้าได้นำวิธีการมาปรับใช้กับธุรกิจตัวเอง

6.ทั้ง 6 สาขาของเมอร์รี่คิงส์ ในปัจจุบัน?

ภาพจาก https://bit.ly/3W6Z6Ds

หลังจากที่เหลือไว้แค่ภาพความทรงจำลองมาดูกันว่าทั้ง 6 สาขาของเมอร์รี่คิงส์ตอนนี้เป็นอย่างไร

  • เมอร์รี่คิงส์วังบูรพา ปัจจุบันกลายเป็นเมก้า พลาซ่า สะพานเหล็ก
  • เมอร์รี่คิงส์สะพานควาย ปัจจุบันกลายเป็นโครงการเดอะ ไรซ์ บาย ศรีศุภราช อาคารสูง 26 ชั้น รูปเมล็ดข้าว
  • เมอร์รี่คิงส์วงเวียนใหญ่ ปัจจุบันอาคารยังคงอยู่และกำลังนำมาประกาศขายอีกครั้ง
  • เมอร์รี่คิงส์รังสิต ปัจจุบันคือโครงการ โบ๊เบ๊ทาวเวอร์รังสิต
  • เมอร์รี่คิงส์ปิ่นเกล้า ปัจจุบันเป็นโลตัส สาขาปิ่นเกล้า
  • เมอร์รี่คิงส์บางใหญ่ ปัจจุบันเป็นของเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี แต่ยังไม่มีการปรับปรุงอาคารแต่อย่างใด

7.เมอร์รี่คิงส์เคยถูกไฟไหม้ถึง 3 ครั้ง

ครั้งแรกที่สาขาสะพานควายในปี 2529 ครั้งที่ 2 ที่สาขารังสิตในปี 2541 และครั้งที่ 3 ก็คือที่สาขารังสิตเช่นกันในปี 2547 และครั้งที่ 3 นี้ถือว่ารุนแรงมาก เหตุเกิดจากไฟฟ้าลัดวงจรในขณะกำลังถ่ายทอดสดรายการคอนเสิร์ตเลข 9 ไฟไหม้ครั้งนั้นได้สร้างความเสียหายตัวอาคารและทรัพย์สินมูลค่าถึง 345 ล้านบาท ถือว่าเป็นความเสียหายมากที่สุดของเมอร์รี่คิงส์ ทำให้เทศบาลเมืองคูคตในสมัยนั้นสั่งปิดกิจการสาขานี้อย่างถาวร

8.ทำไม “เมอร์รี่คิงส์” ถึงหายไป

ภาพจาก https://bit.ly/3M61xlm

อ้างอิงจากแสดงฐานะการเงิน เมอร์รี่คิงส์เป็นหนี้ถึง 294,785,280.20 บาท ถ้าเทียบกับทุนจดทะเบียน ที่มีเพียง 20 ล้านบาทเมอร์รี่คิงส์จะมีหนี้สินมากกว่าทุนถึง 15 เท่า จึงอยู่ในสถานะ ล้มละลาย เหตุผลที่มีหนี้สินมากส่วนหนึ่งเกิดจากการแข่งขันที่สูงของธุรกิจและพฤติกรรมผู้บริโภคที่เริ่มเปลี่ยนไป

9.กิจการห้างสรรพสินค้า “ภาระเสี่ยง” สูง

อีกเหตุผลที่ทำให้ “เมอร์รี่คิงส์” เหลือแค่ตำนานเพราะ “ภาระเสี่ยง” นั้นสูงมาก หลังปี2530 เป็นต้นมา มีห้างสรรพสินค้าใหม่เปิดให้บริการใหม่อีกน้อยมากเมื่อเทียบกับรูปแบบศูนย์การค้าที่ปล่อยให้ผู้เช่าเข้ามาเช่าพื้นที่เพื่อขายของ ลดภาระความเสี่ยงในเรื่องค่าเช่าพื้นที่และบริหารจัดการเรื่องรายได้ที่ดีกว่า

10.เมอร์รี่คิงส์ วงเวียนใหญ่ ประกาศขายรอบใหม่ ราคา 550 ล้านบาท

ภาพจาก https://bit.ly/3W4JErC

ถือเป็นสาขาสุดท้ายของเมอร์รี่คิงส์ที่ยังคงตัวอาคารเดิมไว้และถูกนำมาประกาศอีกครั้งในรอบ 8 ปีที่ราคา 550 ล้านบาท คราวนี้จุดเด่นในเรื่องทำเลคือสิ่งที่ดึงดูดนักลงทุนได้อย่างดีด้วยสาขาวงเวียนใหญ่นี้ ตั้งอยู่ใกล้รถไฟฟ้าบีทีเอสวงเวียนใหญ่ และรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ช่วงเตาปูน-ราษฏร์บูรณะ ที่เริ่มการก่อสร้างแล้ว จึงเชื่อได้ว่าจะเป็นทำเลทองที่ดึงดูดลูกค้าจากหลายพื้นที่ได้มาก

และนี่คือ 10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! ห้างเมอรรี่คิงส์ในตำนาน ที่สามารถเป็นกรณีศึกษาให้คนทำธุรกิจได้เรียนรู้และนำข้อมูลไปปรับใช้กับการทำธุรกิจที่ต้องมีการวางแผน และก้าวตามการเปลี่ยนแปลงสังคมยุคใหม่ให้ทัน เพื่อให้เป็นธุรกิจที่สร้างกำไรแบบจับต้องได้ ไม่ใช่แค่ธุรกิจที่เหลือไว้แค่ในความทรงจำอย่างเดียว

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน

ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ www.thaifranchisecenter.com/document

รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter 

ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/3LzUH7i , https://bit.ly/3VDwT7b , https://bit.ly/42yXuEB , https://bit.ly/3B4R8RI , https://bit.ly/3LLpw8W , https://bit.ly/42xuZXR  

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187

ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

กองบรรณาธิการเว็บไซต์

ยินดีสนับสนุน SMEs ไทยทุกแบรนด์ ที่ต้องการสร้างความเข้มแข็ง อยากเรียนรู้ พัฒนาธุรกิจ ส่งเสริมความเข้าใจในการตลาด มีความคิดสร้างสรรค์ แบ่งปันเพื่อสังคม ต่อยอดธุรกิจ ให้ประสบความสำเร็จในอนาคต