เสิร์ฟถึงโต๊ะทำงาน “เต่าบิน” ลงตู้ให้ฟรี! ออฟฟิศที่มีพนักงาน 300 คนขึ้นไป

กระแสของตู้ “เต่าบิน” คาเฟ่อัตโนมัติ 24 ชั่วโมง ที่มีการเสิร์ฟเครื่องดื่มกาแฟ ชา นม และอื่นๆ กว่า 170 เมนูในตู้เดียวยังแรงไม่มีหยุด จึงไม่แปลกที่จะมีคนสนใจอยากติดตั้งตู้เต่าบิน หรืออยากให้ตู้เต่าบินไปหาถึงที่เป็นจำนวนมาก วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อมูลเรื่องราวและช่องทางการร่วมทำธุรกิจกับ “เต่าบิน” มาอัพเดทให้ทราบ

“เต่าบิน” ลงตู้ให้ฟรี !!

ลงตู้ให้ฟรี

ปัจจุบัน “เต่าบิน” ยังไม่มีการขายตู้ และยังไม่เปิดขายเฟรนไชส์ (เช่าพื้นที่ติดตั้ง) แต่นักลงทุนหรือผู้สนใจสามารถร่วมธุรกิจกับเต่าบินได้หากเป็น “เจ้าของพื้นที่” เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้า พนักงาน หรือสร้างภาพลักษณ์ที่ทันสมัยให้กับพื้นที่ เช่น บริษัท โรงงาน โรงพยาบาล โรงแรม คอนโด มหาวิทยาลัย ฯ หรือออฟฟิศมีพนักงาน 300-400 คน ทางบริษัทฯ พร้อมติดตั้งและดูแลตู้ให้ฟรีโดยไม่มีค่าใช้จ่าย (ยอดขายขั้นต่ำ 85 แก้ว/วัน หากต่ำกว่า บริษัทฯ ขอพิจารณาเรื่องยกกลับ) ทั้งนี้ พื้นที่นั้นๆ ต้องผ่านการประเมินจากบริษัทฯ ก่อน และผู้สนใจสร้างรายได้กับเต่าบินต้องเป็นเจ้าของพื้นที่จริงๆ เท่านั้น

#สนใจให้เต่าบินไปหาถึงที่ คลิก https://www.tao-bin.com/contact เดี๋ยวจะมีเจ้าหน้าที่ติดต่อไปให้ข้อมูลภายใน 3 – 5 วันทำการ

จุดเริ่มต้น “เต่าบิน”

31

เต่าบิน หรือคาเฟ่อัตโนมัติ 24 ชั่วโมง มีจุดเริ่มต้นมาจากความต้องการของผู้บริหารบริษัทฯ ฟอร์ท คอร์ปอเรชั่น ที่จะเข้าสู่ธุรกิจอาหาร และเครื่องดื่ม ซึ่งเป็นธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงช้าต่างจากธุรกิจเทคโนโลยี ตู้เต่าบินถูกคิดค้นและพัฒนาเทคโนโลยีโดยทีมงานคนไทย 100% เพื่อให้เข้ากับไลฟ์สไตล์คนสมัยใหม่ เร่งรีบ ทำให้ทุกคนสามารถสั่งเครื่องดื่มได้สะดวกสบาย

สำหรับชื่อเต่าบินนั้น คนตั้งชื่อ คือ “คุณตอง-วทันยา อมตานนท์” ลูกสาวของคุณพงษ์ชัย อมตานนท์ ผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการบริหาร บมจ.ฟอร์ท คอร์ปอเรชั่น คำว่า “เต่า” คือชื่อเล่นของคุณพงษชัย ส่วน “บิน” เป็นกิจกรรมอดิเรกที่คุณพงษชัยชื่นชอบนั่นเอง

32

สำหรับเมนูเครื่องดื่มต่างๆ ในตู้เต่าบิน ทางผู้บริหารฯ ได้จ้างบาริสต้ามาปรุงสูตรโดยเฉพาะ กาแฟของเต่าบิน จะชงสด-บดใหม่ทุกแก้ว ใช้เมล็ดกาแฟอาราบิก้าและโรบัสต้าพันธุ์ดี ที่คัดสรรโดยบาริสต้าระดับมือรางวัล ทำให้รสชาติถูกใจคอกาแฟ

นอกจากนี้ “เต่าบิน” ยังพร้อมเสิร์ฟเครื่องดื่มแก้วโปรดของคนไทย เช่น ชาเย็น นมเย็น ชามะนาว แดงมะนาวโซดา รวมถึงน้ำอัดลมใส่น้ำแข็งเย็นซ่าด้วย ที่สำคัญลูกค้าสามารถเลือกความหวานได้ถึง 5 ระดับ เหมาะสำหรับผู้ที่รักสุขภาพต้องการควบคุมน้ำตาล และยังสามารถเปลี่ยนเป็นน้ำผึ้งได้ ซ้ำยังเลือกท็อปปิ้งเพิ่มเติม หรือทำเป็นเมนูน้ำปั่นก็ยังได้

หลายคนอาจสงสัยว่า “ตู้เต่าบิน” ทำไมเสิร์ฟเมนูได้มากกว่า 170 เมนู เพราะในตู้เต่าบินจะมีชิ้นส่วนกว่า 7,000 ชิ้น ถ้านับวงจรอิเล็กทรอนิกส์อีกหลายพันรวมแล้วนับหมื่นชิ้นส่วน ทั้งหมดพัฒนา และผลิตโดยคนไทยและโรงงานในไทย 100%

34

ปัจจุบันตู้เต่าบินมีจำนวนมากกว่า 2,500 ตู้ กระจายตามสถานที่ต่างๆ ย่านสำนักงานออฟฟิศ ห้างสรรพสินค้า บีทีเอส และแหล่งคนพลุกพล่าน โดยมีบริษัท ฟอร์ท เวนดิ้ง จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัท ฟอร์ท สมาร์ท เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ FSMART เป็นผู้ดูแลและบริหารจัดการ โดยแต่ละวันตู้เต่าบินทำยอดขายได้มากกว่า 60,000 แก้ว/วัน ตั้งเป้าสิ้นปี 2565 ติดตั้งครบ 5,000 ตู้ และในปี 2568 ตั้งเป้า 20,000 ตู้ พร้อมกับยอดขาย 1,000,000 แก้ว/วัน


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

ข้อมูลจาก https://bit.ly/3RZPuHt , https://bit.ly/3RKdDCe

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3ddRdKo


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช