เพาะเห็ดในตะกร้า รายได้ครึ่งแสน

ราคาเห็ดฟางอ้างอิงจากตลาดใหญ่อย่างสี่มุมเมืองหรือตลาดไท ราคากิโลกรัมละประมาณ 100 บาท กระแสการเพาะเห็ดเคยบูมขึ้นมาพักหนึ่งจนแล้วจนรอดคนที่เพาะเห็ดเป็นจริงเป็นจังก็อาจจะเป็นคนกลุ่มเดิมที่มี Know how มากพอ

ซึ่งหากวิเคราะห์เจาะลึกแล้ว การเพาะเห็ดมีตลาดที่รองรับมากมายทั้งการขายสดตามตลาด ร้านอาหาร หรือเอามาแปรรูปเพิ่มมูลค่าเอง อีกทั้งวิธีการเพาะทุกวันนี้ก็มีหลายแบบให้เลือก

www.ThaiSMEsCenter.com มองว่าหากเราสนใจและใส่ใจเรื่องการเพาะเห็ดแบบจริงจัง จะสร้างรายได้ให้เราได้ดีไม่แพ้ทำงานประจำด้วยซ้ำไป

หนึ่งในวิธีการที่ง่ายแสนง่ายคือการ “เพาะเห็ดในตะกร้า” เป็นวิธีการเพาะเห็ดฟางที่ประยุกต์ขึ้นมา โดยสามารถใช้ตะกร้าซักผ้า ตะกร้าใส่ผลไม้ ตะกร้าใส่ปลา คือไม่สูงมากประมาณ 1 ฟุต รอบ ๆ ตะกร้าจะมีตามีช่องด้านบนเห็ดก็สามารถออกได้ และสามารถนำตะกร้าซ้อนกันได้หลายชั้น เป็นลักษณะของการเพิ่มพื้นที่การออกดอกของดอกเห็ด

จากการคำนวณจุดคุ้มทุนพบว่าเราสามารถวางได้ถึง 9 ตะกร้า ในชั้นเดียวเมื่อ 1 ตารางเมตร วางได้ถึง 9 ตะกร้า จะได้เห็ดไม่ต่ำกว่า 1 กิโลกรัม ต่อ 1 ตะกร้า เพราะฉะนั้น 1 ตารางเมตร ได้อย่างน้อย 9 กิโลกรัม เปรียบเทียบ กับการเพาะแบบกองทั่วไปที่ได้เห็ดฟางเพียงแค่ 3 กิโลกรัมเท่านั้น

วัสดุที่ต้องใช้ในการเพาะเห็ดฟางตะกร้า

เพาะเห็ดในตะกร้า

วัสดุที่เพาะเห็ดฟางนั่นมีอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น ฟางข้าว ถั่ว หรือเปลือกถั่วได้ทุกชนิด เปลือกมันสำปะหลัง ต้นข้าวโพดแห้ง (นำมาสับ และนำไปแช่น้ำก็สามารถนำมาเพาะได้เช่นกัน ) ผักตบชวา ต้นกล้วยหั่นตากแห้ง ทะลายปาล์ม

หรือผลปาล์ม ขี้เลื่อยไม้เนื้ออ่อนทุกชนิด แม้แต่กระดาษก็สามารถนำมาเพาะเห็ดฟางได้ แต่ส่วนใหญ่จะนิยมนำกระสอบป่านเก่าๆ ผ่านการแช่น้ำมาแล้ว มาใช้เป็นวัสดุได้เช่นกัน เรียกได้ว่า อะไรที่มาจากธรรมชาติ และเก็บความชื้นได้ดี ก็สามารถนำมาเป็นวัสดุในการเพาะเห็ดฟางได้ทั้งสิ้น

ทั้งนี้ ในแต่ละพื้นที่ก็อาจจะมีวัสดุที่แตกต่างกันไป แต่ที่ได้รับความนิยมในภาคใต้ ก็จะเป็นพวก ขุยมะพร้าว โดยขุยมะพร้าว 2 ส่วน นำมาผสมกับขี้วัว 1 ส่วน ซึ่งข้อดีของการใช้ขุยมะพร้าวกับขี้วัว ก็คือ เราจะได้ความชื้นและมีอาหารจากขี้วัว มาช่วยบำรุงให้เห็ดนั้นเติบโตได้เร็วขึ้น

ขั้นตอนการเพาะเห็ดฟาง

4

  1. นำวัสดุเพาะใส่ลงตะกร้าสูงจากตะกร้าประมาณ 2-3 นิ้ว กดด้วยไม้ให้พอแน่น ให้ชิดขอบตะกร้าให้มากที่สุด
  2. นำอาหารเสริมผักตบชวา โรยบนขี้เลื่อยให้ชิดตะกร้า กว้าง 2-3 นิ้ว สูง 1 นิ้ว
  3. นำเชื้อเห็ดฟางฉีกเป็นชิ้นขนาด 1-2 ซม. คลุกกับแป้งสาลี แบ่งเชื้อเป็น 3 ส่วนเท่าๆ กัน นำส่วนที่ 1 วางเป็นจุดๆ ห่างกันประมาณ 5-10 ซม. ทำเช่นนี้จำนวน 3 ชั้น
  4. ชั้นที่ 4 วางอาหารเสริมให้เต็มพื้นที่ของตะกร้า โรยเชื้อเห็ดให้เต็มพื้นที่เช่นกัน โรยขี้เลื่อยให้เต็มตะกร้า
  5. นำน้ำประมาณ 2 ลิตร ลดลงด้านบนให้ชุ่ม วางตะกร้าในโรงเรือน หรือกระโจมที่เตรียมไว้
  6. วางตะกร้าซ้อนกันได้ไม่เกิน 4 ใบ นำพลาสติกมาคลุมกระโจม หรือโครงไม้ไผ่จากบนลงล่าง คลุมให้มิด ด้านล่างควรใช้อิฐหรือไม้ทับเพื่อป้องกันพลาสติกเปิดออก ช่วงวันที่ 1-4 วันแรก อุณหภูมิจะอยู่ในระดับ 37-40 องศาเซลเซียส
  7. วันที่ 4 ให้เปิดพลาสติกคลุมออก เพื่อให้มีการถ่ายเทอากาศ หากวัสดุเพาะแห้งให้รดน้ำได้ แต่เพียงเล็กน้อย วันที่ 5-8 ต้องควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ระหว่าง 28-32 องศาเซลเซียส
  8. การเก็บเกี่ยววันที่ 8-9 เห็ดฟางเริ่มให้ดอกขนาดโตขึ้นจนสามารถเก็บได้ โดยใช้นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้จับดอกแล้วหมุนเล็กน้อยยกขึ้น ไม่ควรใช้มีดตัดเพาะส่วนที่เหลือจะเน่าเสียลุกลามไปยังดอกอื่น เก็บเสร็จให้รีบปิดพลาสติกหรือโรงเรือนตามเดิม

ค่าใช้จ่ายในการเพาะเห็ดฟางในตะกร้า

3

  1. ตะกร้าพลาสติกขนาดสูง 11 นิ้ว ปากตะกร้ากว้างประมาณ 18 นิ้ว มีตาห่างกันประมาณ 1 นิ้ว ตะกร้าใบหนึ่งใช้ได้หลายครั้ง อาจใช้ได้นานเกิน 20 ครั้งขึ้นไป ราคาใบละประมาณ 30 บาท
  2. ชั้นโครงเหล็ก ใช้เหล็กแป๊ปสี่เหลี่ยมขนาด 6 หุน มาทำเป็นโครงเหล็กให้ได้ขนาดกว้างประมาณ 1 เมตร สูง 2 เมตร ยาง 2 เมตร ซึ่งโครงเหล็กมี 4 ชั้น สามารถวางตะกร้าเพาะได้ 40 ใบ ราคาโครงเหล็กประมาณ 705 บาท
  3. แผ่นพลาสติกสำหรับคลุมชั้นโครงเหล็ก ใช้แผ่นพลาสติกใสขนาดกว้าง 4 เมตร ยาว 6 เมตร ราคาประมาณ 60 บาท
  4. โรงเรือน ซึ่งโรงเรือนเป็นไม้ลักษณะของโรงเรือน คือนำไม้มาประกอบกันซึ่งสร้างให้มีขนาดใหญ่ จนสามารถครอบชั้นโครงเหล็กได้ ราคาโรงเรือนทั้งหมดประมาณ 900 – 1,000 บาท
  5. วัสดุเพาะ อาจใช้ฟางหรือก้อนขี้เลื่อยที่ผ่านการเพาะเห็ดถุงมาแล้ว ใช้ 9 ก้อนต่อ 1 ตะกร้า ราคาเฉลี่ยประมาณก้อนละ50 สตางค์ รวมเป็นเงินต่อตะกร้าประมาณ 4 – 5 บาท
  6. อาหารเสริม เราอาจใช้ผักตบชวาหั่นประมาณ 1 ลิตรต่อตะกร้าคิดเป็นเงินรวมตะกร้าละไม่ถึง 1 บาท
  7. ค่าเชื้อเห็ดฟางแบบอีแปะถุงละประมาณ 2 บาท
  8. ค่าจ้างแรงงานทั่วไป

2

โดยสรุปค่าใช้จ่ายเบื้องต้นประมาณ 2,000 กว่าบาท หากไม่รวมราคาโรงเรือนที่ลงทุนครั้งเดียวต้นทุนต่อตะกร้าประมาณ 50 บาท 1 ตะกร้าเราจะเก็บเห็ดได้ประมาณ 1 กิโลกรัม ถ้ามี 10 ตะกร้าเราจะเก็บเห็ดได้ 100 กิโลกรัม ราคาขายกิโลกรัมละประมาณ 100 บาท (ถ้ามีระบบพ่อค้าคนกลางมารับซื้ออีกทีราคาอาจไม่ถึง 100 บาท)

เท่ากับรายได้เห็ดต่อหนึ่งตะกร้าประมาณ 10,000 บาท และหากใน 1 เดือนเราสามารถเก็บเห็ดได้ 2-3 ครั้งรายได้ก็หลายหมื่นบาท ทั้งนี้ความสามารถในการงอกของเห็ดก็ขึ้นอยู่กับเชื้อที่เรานำมาเพาะและการดูแลของเราที่ต้องถูกวิธีด้วย


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

01

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ bit.ly/2ZvO0u6

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3iSmIY0

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด