อยู่เฉยไม่ได้! Coca-Cola ทำธุรกิจกาแฟสด Costa Coffee

ไม่ว่าผ่านไปกี่ยุคกี่สมัย “กาแฟ” ยังคงเป็น 1 ใน 3 ของเครื่องดื่มที่คนทั่วโลกดื่มมากที่สุด รองจาก น้ำเปล่า และชา และเป็นพืชเศรษฐกิจของหลายประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา และยุโรป ประชากรส่วนใหญ่นิยมดื่มกาแฟกันอย่างแพร่หลาย 

เมื่อตลาดกาแฟของโลกหอมหวนไปทั่ว แบรนด์เครื่องดื่มยักษ์ใหญ่ของโลกอย่าง “โคคา โคลา” จึงต้องทุ่มเงินกว่า 5,100 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 1.65 แสนล้านบาท ซื้อแบรนด์กาแฟชื่อดังสัญชาติอังกฤษอย่าง Costa Coffee จากเครือ Whitbread เพราะเป็นร้านกาแฟที่มีสาขาทั่วโลก โดยเฉพาะในสนามบิน

การซื้อแบรนด์กาแฟยักษ์ใหญ่ของ “โคคา โคลา” ไม่ใช่เรื่องธรรมดา หลายคนอาจสงสัยว่า โคคา โคลา ทิ้งเครื่องดื่มน้ำดำอย่าง “โค้ก” ที่เป็นคู่แข่งระดับโลกของ “เป็บซี่” แล้วเหรอ วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อมูลจะมานำเสนอให้ทราบครับ

ทุนดั้งเดิมโคคา โคลาขายกาแฟ

11

ภาพจาก bit.ly/2UCjhbd

วันนี้ “กาแฟ” ไม่ใช่เรื่องใหม่ของโคคา โคลา เพราะเมื่อช่วง 3-4 ปีก่อน โคคา โคลา ได้เปิดตัวกาแฟกระป๋องสำเร็จรูปพร้อมดื่ม ขยายตลาดไปยังประเทศญี่ปุ่นจนได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย โดยแบรนด์ Georgia Coffee ของโคคา โคลานั้น เฉพาะในเมืองแอตแลนตา สหรัฐอเมริกา มียอดขายทะลุ 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีการขยายไปประเทศอื่นๆ ในเอเชีย

ในปี 2549 โคคา โคลา ได้เปิดตัวกาแฟโซดาครั้งแรก ชื่อว่า Coca-Cola Blak หลังจากพัฒนาสูตรมาเกือบ 2 ปี หวังว่าจะสามารถเจาะตลาดกาแฟระดับพรีเมี่ยม แต่ในอีก 2 ปีถัดไปก็หยุดการผลิต

ต่อมาในปี 2560 โคคา โคลา ได้พัฒนาและเปิดตัวกาแฟ Coca-Cola Plus ในออสเตรเลีย เป็นการผสมผสานระหว่างโค้กกับกาแฟโรบัสต้าแท้ๆ ไม่ใช่แค่กลิ่นกาแฟ เพื่อให้ผู้บริโภคได้สัมผัสรสชาติของโค้กและความซ่าสดชื่น

10

ภาพจาก bit.ly/2GD8PfA

ที่มาพร้อมกับกลิ่นหอมของกาแฟ และคาเฟอีนที่มากขึ้น แต่น้ำตาลลดลง 50% ซึ่งกลุ่มเป้าหมายคือ ทำให้ผู้บริโภคได้สดชื่นในช่วงเวลาบ่ายๆ ที่เหนื่อยจากการทำงาน โดยทำให้ได้ทั้งเครื่องดื่มที่ให้ความสดชื่น และได้กาแฟไปพร้อมกัน

ทางโคคา โคลา ให้ข้อมูลว่า ตลาดน้ำอัดลม หรือ Sparkling และตลาดกาแฟ เป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่ ผู้ดื่มเป็นกลุ่มเดียวกัน แต่ดื่มกันต่างกรรมต่างวาระ

การรวม 2 เครื่องดื่มเป็น 1 และการลดปริมาณน้ำตาลลง 50% ทำให้เป็นเครื่องดื่มทางเลือกสำหรับผู้บริโภค โดยประเทศไทยเป็นประเทศที่ 4 ของโลกที่เปิดตัว ตามหลัง ญี่ปุ่น, ออสเตรเลีย และเวียดนาม

ซื้อ Costa Coffee ต่อยอดตลาดกาแฟทั่วโลก

9

ภาพจาก https://cnb.cx/2vl2L5b

กระทั่งเมื่อช่วงปี 2561 โคคา โคลา ได้ซื้อกิจการร้านกาแฟ Costa Coffee จาก Whitbread มูลค่าสูงถึง 5,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ยักษ์ใหญ่เครื่องดื่มน้ำดำเข้าสู่ตลาดร้านกาแฟอย่างเต็มรูปแบบ ถือเป็นผู้เล่นรายใหญ่อันดับ 2 รองแค่สตาร์บัคส์

Costa Coffee มีสถานะเป็นแบรนด์ร้านกาแฟอันดับ 1 ในอังกฤษ และถือเป็นเชนร้านกาแฟเบอร์ 2 ของโลก รองจากสตาร์บัคส์ แต่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ไม่ได้คาดหวังว่า Costa Coffee จะสามารถโค่นสตาร์บัคส์ได้ ซึ่งโคคา โคลา เองก็คงมองออกเช่นกัน

8

ภาพจาก bit.ly/2UCRUh0

แต่สิ่งที่ Costa Coffee ทำได้คือ การเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาดต่างประเทศได้ดีขึ้น ปัจจุบัน Costa Coffee มีจำนวนสาขากว่า 4,000 แห่งในกว่า 32 ประเทศ ซึ่งถือเป็นกลุ่มตลาดแรกที่โคคา โคลา จะใช้เป็นต้นแบบก่อนจะขยายสู่ตลาดอื่นๆ

หลังจากมีแบรนด์ร้านกาแฟสด Costa Coffee มีสาขาอยู่ทั่วโลกแล้ว โดยเฉพาะในตลาดเมืองจีน ที่ถือเป็นตลาดสำคัญของโคคา โคลา ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2562 โคคา โคลา เตรียมที่จะเปิดตัวผลิตภัณฑ์ Costa Coffee สำเร็จรูปพร้อมดื่ม

7

ภาพจาก https://cnb.cx/2vl2L5b

โดยใช้ยุโรปเป็นตลาดเป้าหมายแรกในการขายกาแฟพร้อมดื่ม ถือเป็นเข้าสู่ตลาดกาแฟอย่างจริงจัง และเต็มรูปแบบ พร้อมกันนี้ในช่วงสิ้นปี 2562 โคคา โคลา เตรียมที่จะเปิดตัว Coca-Cola Coffee ใน 25 ประเทศทั่วโลกอีกด้วย

เห็นได้ว่า โคคา โคลา พยายามอย่างจริงจังที่จะลุยในธุรกิจกาแฟเต็มรูปแบบ ทั้งร้านกาแฟสด และผลิตภัณฑ์กาแฟพร้อมดื่ม เพราะก่อนหน้านี้ โคคา โคลา เคยทดลองขายกาแฟชงอัตโนมัติในแอตแลนตา สหรัฐอเมริกา เมืองที่ตั้งสำนักงานใหญ่โคคา-โคลา แต่ก็ไม่ได้รับความนิยมนัก

ดังนั้น การเข้าสู่อุตสาหกรรมกาแฟโลกครั้งนี้ของโคคา โคลา ถือเป็นการขับเคลื่อนครั้งใหญ่ และเพิ่มความชัดเจนที่ในระยะหลังทิศทางของโคคา โคลา ต้องการเป็นบริษัทเครื่องดื่ม ที่ไม่ได้มีจุดเด่นที่ “โค้ก” อย่างเดียวเท่านั้น


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

01

อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://bit.ly/2FMrZOq
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี เปิดร้าน https://bit.ly/2Jatqq2

แหล่งข้อมูล

อ้างอิงจาก https://bit.ly/2TYMqTe

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช