เปิดแฟรนไชส์ร้านขายยา ฟาสซิโน ใช้เงินลงทุนเท่าไหร่ รายได้ดีแค่ไหน คุ้มหรือไม่คุ้ม

ใครที่อยากทำธุรกิจร้านขายยามาดูกันครับว่า เปิดแฟรนไชส์ร้านขายยา ฟาสซิโน 1 ร้าน จะใช้เงินลงทุนเท่าไหร่ เงินลงทุนที่จะใช้เปิดร้านขายยาฟาสซิโนประกอบด้วย

  • ค่าแฟรนไชส์ 1.5 ล้านบาท
  • ค่าสินค้าเปิดร้าน 2 ล้านบาท
  • อุปกรณ์ภายในร้าน 5 แสนบาท
  • การตกแต่งร้าน 1 ล้านบาท
  • เงินมัดจำ 5.4 แสนบาท
  • เงินทุนหมุนเวียน 1 แสนบาท
  • เงินประกัน 3 แสนบาท
  • ค่าจดทะเบียนบริษํท 1.2 หมื่นบาท

ถามว่าทำไมต้องจดบริษัทด้วย ก็เพราะคนที่จะซื้อแฟรนไชส์ร้านขายยาฟาสซิโน จะต้องมีการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลก่อน

เปิดแฟรนไชส์ร้านขายยา

ภาพจาก https://www.facebook.com/fascinohealthcarethailand/

เงินลงทุนเปิดร้านขายยาฟสซิโนโดยรวมแล้วจะอยู่ที่ 6,452,000 บาท

มาดูต่อว่า เงื่อนไขในสัญญาแฟรนไชส์ร้านขายยามีอะไรบ้าง

  • ระยะเวลาสัญญา 10 ปี (5 + 5 ปี)
  • ROyalty Fee 2% ของยอดขายต่อเดือน
  • Marketing Fee 1% ของยอดขายต่อเดือน รวมกันแล้วเราจะมีต้นทุนเพิ่มขึ้น 3% ที่จะนำเอาไปหักจากยอดขายต่อเดือน

เปิดแฟรนไชส์ร้านขายยา

ภาพจาก https://www.facebook.com/fascinohealthcarethailand/

และสิ่งที่เราจะได้รับการสนับสนุนจากฟาสซิโน ก่อนเปิดขายยาก็คือ

  • การวิเคราะห์ทำเล การออกแบบตกแต่งร้าน การคัดเลือกสินค้า การจัดวางสินค้าสำหรับเปิดร้านใหม่
  • ระบบการขายสินค้าหน้าร้าน (Point of Sale)
  • ระบบการวิเคราะห์การขาย
  • ระบบบริหารคลังสินค้า จัดหาและจัดส่งสินค้า
  • ระบบบริการลูกค้าสัมพันธ์
  • โปรแกรมส่งเสริมการตลาดต่างๆ ที่จะช่วยให้เราขายได้ง่ายขึ้น
  • หลักสูตรอบรมเจ้าของธุรกิจ เภสัชกร ผู้จัดการร้าน และพนักงานขาย

ต่อไปเราจะมาดูกันว่าร้านขายยาฟาสซิโน ขายยาและมีผลิตภัณฑ์อะไรในร้านบ้าง ก็จะมียาแผนโบราณ/ยาสามัญประจำบ้าน, เตียงผู้ป่วยและที่นอนผู้ป่วย, รถเข็นผู้ป่วย / รถเข็นผู้สูงอายุ, อุปกรณ์ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน, อุปกรณ์เพื่อสุขภาพ, ผลิตภัณฑ์สำหรับแม่และเด็ก, ซัพพอร์ตและพยุงกล้ามเนื้อ, ไม้เท้าและอุปกรณ์ช่วยเดิน, ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร, อาหารทางการแพทย์, ผลิตภัณฑ์บำรุงและดูแลผิว และผลิตภัณฑ์อื่นๆ

เปิดแฟรนไชส์ร้านขายยา

ภาพจาก https://www.facebook.com/fascinohealthcarethailand/

ก่อนที่เราจะไปดูรายได้ของร้านขายยา ผมจะพาทุกคนไปดูตลาดร้านขายยาในบ้านรากันก่อน มูลค่าตลาดยาในปี 65 อยู่ที่ 200,000 ล้านบาท จำนวนร้านขายยาตอนนี้ มีราวๆ 16,000 แห่ง แบ่งเป็นเชนร้านขายยารายใหญ่ๆ แบรนด์นึงจะมีหลายสาขา ซึ่งร้านขายยากลุ่มนี้มีจำนวน 1,400 แห่ง คิดเป็น 9% และอีก 14,600 แห่งเป็นร้านขายยาแบบเดี่ยวๆ ตามตึกคูหาต่างๆ ซึ่งจะเป็นของผู้ประกอบการรายย่อย

และรู้หรือไม่ว่า ผลวิจัยยังพบว่าทางเลือกแรกของคนไทยที่เจ็บป่วยไม่รุนแรง คือ ไปร้านขายยา 32% ไปโรงพยาบาลเอกชน 25% และไปโรงพยาบาลรัฐ 16% และคนไทยยังซื้อยาในร้านขายยาเฉลี่ยแล้วครั้งละ 150-200 บาทอีกด้วย ลำดับต่อไปเราลองมาประมาณการรายได้ของการเปิดร้านขายยา 1 ร้านกันว่าจะได้มากน้อยแค่ไหน

เปิดแฟรนไชส์ร้านขายยา

ภาพจาก https://www.facebook.com/fascinohealthcarethailand/

ผมจะตั้งสมมติฐานว่า มีจำลูกค้าเข้าใช้บริการ 100 คนต่อวัน

  • ค่าใช้จ่ายต่อหัวเฉลี่ยอยู่ที่ 500 บาทต่อคน
  • จะทำให้เรามียอดขายอยู่ที่ 50,000 บาทต่อวัน
  • ถ้าคิดเป็นรายเดือนจะมียอดขายที่ 1,500,000 บาท
  • กำไรของร้านขายยามีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 30%
  • จะทำให้เรามีรายได้โดยที่ยังไม่ได้หักค่าใช้จ่ายต่างๆ ออกไปที่ 450,000 บาท

ต่อมาเรามาดูในส่วนของค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้น ก่อนที่จะนำเอาไปหักออกจากรายได้ 450,000 บาท ครับ

  1. ค่าเช่าตึก 90,000 บาทต่อเดือน
  2. ค่าเภสัชกรในกรณีนี้จะใช้เภสัชกร 2 คน มีค่าข้างอยู่ที่ 80,000 บาทต่อเดือน
  3. พนักงานผู้ช่วยในร้าน 2 คน ค่าจ้างอยู่ที่ 35,000 บาทต่อเดือน
  4. ค่า Royalty Fee 2% จากยอดขาย 1,500,000 บาท = 30,000 บาท
  5. ค่า Marketing Fee 1% จากยอดขาย 1,500,000 บาท = 15,000 บาท
  6. น้ำ + ไฟ อินเทอร์เน็ต ประมาณการอยู่ที่ 20,000 บาทต่อเดือน
  7. ค่าซ่อมบำรุงรักษาร้าน 3,000 บาทต่อเดือน

รวมทั้งหมดแล้วเปิดร้านขายยา 1 ร้าน เราจะมีค่าใช้จ่ายโดยรวมอยู่ที่ 273,000 บาท เมื่อนำไปหักจากรายได้ 450,000 บาท จะทำให้เราเหลือกำไรสุทธิ 177,000 บาทต่อเดือน เมื่อนำมาหารกับกำไรสุทธิ 177,000 บาท จะทำเราคืนทุน 6,452,000 บาท ในระยะเวลาราวๆ 36 เดือน หรือภายใน 3 ปี

มาดูปัจจัยสำเร็จของการทำธุรกิจร้านขายยากันต่อครับ

การเปิดร้านขายให้ประสบความสำเร็จ ไม่ใช่ว่าใครๆ ก็ทำกันได้นะครับ เพราะถ้าไม่มีความรู้เรื่องยา และไม่มีเภสัชกรประจำร้านก็เปิดไม่ได้ อีกทั้งการเปิดร้านขายยาหนึ่งร้านใช้เงินลงทุนสูง ไหนจะค่าตกแต่งร้าน ค่าบริหารจัดการร้าน ค่าสต็อกสินค้า ค่าจ้างเภสัชกร ค่าจ้างพนักงาน ค่าเช่าพื้นที่ เหล่านี้ล้วนต้องอาศัยเงินทุนแทบทั้งสิ้น คนที่จะเปิดร้านขายยาจะต้องมีทำเลที่ดีด้วย ทำเลทองของร้านขายยา จะเป็นแหล่งชุมชนที่มีคนพลุกพล่าน เปิดร้านแล้วมีโอกาสประสบความสำเร็จสูง

แต่อีกหนึ่งทำเลนึงที่ไม่ควรมองข้าม ก็คือ ทำเลที่อยู่ใกล้โรงพยาบาลครับ เพราะคนไข้หลายๆ คน ก็มักจะมาหาซื้อยาจากร้านขายยาภายนอกที่มีราคาถูกกว่าโรงพยาบาล นอกจากการหาทำเลทองเปิดร้านแล้ว ก็ควรสำรวจด้วยว่า ในละแวกนั้นมีร้านขายยาอยู่กี่ร้าน แต่ละร้านมีจุดเด่น จุดด้อยอะไรบ้าง แล้วนำเอาข้อมูลเหล่านั้นมาปรับปรุงพัฒนาร้านขายยาของเรา ถึงจะมีโอกาสเอาชนะคู่แข่งได้ครับ

เปิดแฟรนไชส์ร้านขายยา ภาพจาก https://www.facebook.com/fascinohealthcarethailand/

คิดเห็นกันยังไงบ้างครับกับการเปิดร้านขายยา ใครทำธุรกิจร้านขายยาอยู่ แชร์ประสบการณ์เข้ามาแบ่งปันกันได้นะครับ

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ www.thaifranchisecenter.com/document

รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187

ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช