เตรียมฟาร์มและอาหารปลากระสอบให้พร้อมต่อ 14 สัตว์น้ำมาแรงของไทย

เมื่อเร็ว ๆ นี้อาจเรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งข่าวดีของเกษตรกร เมื่อกรมประมงกำลังผลักดันสัตว์น้ำจืดเศรษฐกิจ 14 ชนิดของไทยให้มีคุณภาพมาตรฐานการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเชิงพาณิชน์และพัฒนาธุรกิจที่เกี่ยวข้องตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) จนสามารถแข่งขันในตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สำหรับใครที่กำลังมองหาลู่ทางขยับขยายอาชีพ ควรเตรียมตัวให้พร้อม ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ฟาร์ม อาหารปลากระสอบที่ได้มาตรฐาน ไปจนถึงการบริหารจัดการฟาร์ม เพื่อไม่ให้ตกขบวนการยกระดับเศรษฐกิจชุมชนครั้งใหญ่นี้

อาหารปลากระสอบ

14 สัตว์น้ำเศรษฐกิจของไทยที่กำลังมาแรง

เมื่อต้นปี 2566 กรมประมงประกาศส่งเสริมสัตว์น้ำจืดเศรษฐกิจ 14 ชนิดของไทย เพื่อให้มีคุณภาพมาตรฐานเป็นที่ต้องการของตลาดในไทยและต่างประเทศ ได้แก่ ปลานิล ปลาดุก ปลาช่อน ปลาแรด ปลาสลิด ปลาตะเพียนขาว ปลาสวาย กบนา ปลาหมอ ปลายี่สกเทศ ปลานวลจันทร์เทศ ปลากดหลวง ปลาเทโพ และปลากดเหลือง

ซึ่งขับเคลื่อนตามแผนปฏิบัติการพัฒนาสัตว์น้ำจืดที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ พ.ศ. 2565-2570 ที่พัฒนาศักยภาพกระบวนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ จนถึงปลายน้ำ ตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ไม่ว่าจะเป็นคุณภาพและปริมาณของน้ำเพื่อการเพาะเลี้ยง อาหารปลากระสอบที่ตรงตามมาตรฐาน ยาบำรุงและรักษาโรค หรือแม้แต่ระบบการขนส่งที่มีศักยภาพ ฯลฯ เพื่อให้แข่งขันในตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างความมั่นคงทางอาชีพแก่เกษตรกร รวมถึงพัฒนาการผลิตสัตว์น้ำจืดเศรษฐกิจได้อย่างยั่งยืน

นำร่องที่ “ปลานิล” ยกระดับครบวงจร

ที่ผ่านมา มีการนำร่องที่ “ปลานิล” โดยมีการบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐโดยเฉพาะอย่างยิ่งกรมประมงทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ภาคเกษตรกร และภาคเอกชน โดยมีการแต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนฯ หรือ “มิสเตอร์ปลานิล” เพื่อทำหน้าที่ส่งเสริมองค์ความรู้และประสานความร่วมมือต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเผยแพร่องค์ความรู้อย่างครบวงจร การวิจัยเทคโนโลยี และนวัตกรรมการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ทั้งการบริหารจัดการฟาร์ม การใช้อาหารปลากระสอบที่ได้คุณภาพ มาตรฐาน การแปรรูปและเพิ่มมูลค่าผลผลิตสัตว์น้ำ

ตลอดจนการประเมินสถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อวางแผนการพัฒนาการเพาะเลี้ยง ไปจนถึงการสร้างความเข้มแข็งของเกษตรกรในเชิงการตลาด ตลอดจนส่งเสริมและพัฒนาการรวมกลุ่มการเพาะเลี้ยงให้เข้มแข็ง มีการถอดบทเรียนเกษตรกรต้นแบบ และนำไปสู่การจัดตั้ง “สมาคมปลานิลไทย” (Thai Tilapia Association) เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2565 เพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงและส่งออกปลานิลให้มั่นคง

ต่อยอดก้าวหน้าด้วย “ปลาช่อน”

ต่อยอดความสำเร็จด้วยข่าวคราวความคืบหน้าการเซ็น MOU ระหว่างผู้ประกอบการฟาร์มปลาในจังหวัดสกลนคร เพื่อส่งปลาช่อนขนาด 2 ตัว/กก. จำนวน 100 ตัน หรือ 100,000 กก. ไปที่จังหวัดกวางบิงห์ ประเทศเวียดนาม ถือเป็นการยกระดับเศรษฐกิจชุมชนของไทยให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น เปลี่ยนภาพจากเดิมที่เป็นการหาปลาช่อนจากท้องนามาขาย เป็นการเพาะเลี้ยงเชิงพาณิชย์ภายใต้มาตรฐานสากล Gap (Good Agriculture Practices)

ซึ่งคือ การผลิตทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสม ให้ได้ผลผลิตมีคุณภาพดีตรงตามมาตรฐานกำหนด ทำให้เกษตรกรต้องใส่ใจตั้งแต่การผลิตลูกพันธุ์ปลา สภาพแวดล้อมบ่อเลี้ยง การใช้อาหารปลากระสอบที่ได้มาตรฐาน จนปลามีไซส์น้ำหนักตามความต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ

หนทางสู่ความยั่งยืน ด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดเชิงพาณิชย์

สำหรับผู้ที่สนใจ ไม่อยากตกขบวนการพัฒนาสัตว์น้ำจืดเศรษฐกิจของไทยคราวนี้ ควรติดตามข้อมูลข่าวสารด้านการประมงอย่างใกล้ชิด ลองติดต่อ “มิสเตอร์” สัตว์น้ำจืดในพื้นที่ของคุณ เพื่อรับคำปรึกษาที่เป็นประโยชน์ต่อพื้นที่เพาะเลี้ยง ทั้งการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด

การเลือกใช้อาหารปลากระสอบที่ตอบโจทย์การเพาะเลี้ยง ไม่ว่าจะเป็นอาหารปลากินพืช หรืออาหารปลาสำหรับไซซ์ใด และทุกกระบวนการการเพาะเลี้ยงไม่ก่อให้เกิดมลพิษ ปลอดภัยต่อเกษตรกร และได้ผลผลิตสดสะอาดปลอดภัยต่อผู้บริโภค มีความคุ้มค่าต่อการลงทุน เพื่อให้ตอบโจทย์ความยั่งยืนทางการเกษตรต่อไปในอนาคต

กองบรรณาธิการเว็บไซต์

ยินดีสนับสนุน SMEs ไทยทุกแบรนด์ ที่ต้องการสร้างความเข้มแข็ง อยากเรียนรู้ พัฒนาธุรกิจ ส่งเสริมความเข้าใจในการตลาด มีความคิดสร้างสรรค์ แบ่งปันเพื่อสังคม ต่อยอดธุรกิจ ให้ประสบความสำเร็จในอนาคต