หรือจะถึงยุค Quantum Marketing

การตลาดเปลี่ยนไปอย่างมหาศาลในช่วงไม่กี่ปีมานี้…..การตลาดกลายเป็นงานที่ต้องใช้ข้อมูลเป็นตัวขับเคลื่อนมากขึ้น และหลายอย่างเกิดขึ้นแบบเรียลไทม์ (Realtime) Sunil Gupta : the Edward W. Carter Professor of Business Administration and Chair of the General Management Program at Harvard Business School.

หลายท่านที่ทำงานด้านการตลาด อาจจะคิดว่ามีอะไรกันนักกันหนาอีกกับการตลาด ในเวลานี้ก็ทำ Digital Marketing (ซึ่งควรจะเรียกว่า Digital Media Marketing มากกว่า), Online Marketing, Content Marketing, Story Marketing (มีการสร้างเรื่องราวให้กับแบรนด์ (Storytelling)) กันอยู่แล้ว ทำไมยังต้องมาเรียนรู้อะไรทางการตลาดเพิ่มขึ้นอีก ดังที่ Sunil Gupta ได้กล่าวไว้ว่าการตลาดเปลี่ยนไปมหาศาล ทำให้การทำงานด้านการตลาดนั้นมีการเปลี่ยนแปลงทั้งวิธีคิดและวิธีปฏิบัติ

Quantum Marketing

ผมยังมีความเชื่อในพื้นฐานของกลยุทธ์การตลาดที่ว่าด้วยเรื่องของการกำหนดตลาดเป้าหมาย (Targeting), การวางตำแหน่งทางการตลาด (Positioning) และการใช้กลวิธี (Tactic) ทางการตลาดที่เป็นเรื่องของ 4P´s และ 7P´s ในส่วนของ Digital (Media) Marketing นั้นเป็นการเลือกช่องทางในการสื่อสาร (Communicate) การตลาด การสื่อสารการตลาดนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อการแจ้งข่าว (Inform) เพื่อการโน้มน้าว, ชักชวน (Persuade) และเพื่อการย้าเตือน (Remind) ด้วยการเลือกใช้สาร (Message) และสื่อดิจิทัลต่างๆ นั่นเอง

20

หลักคิดสำคัญของการสื่อสารการตลาดก็คือ ต้องรู้ก่อนว่าผู้รับสาร (Receiver) เป็นใคร หมายถึงผู้รับสารเป้าหมาย (Target Audience) เนื้อหาหรือสาร (Content, Message) ที่ตั้งใจจะให้เขาได้รับคืออะไร โดยใช้อารมณ์และความรู้สึก (Mood and Tone) เป็นอย่างไร และควรให้เขาได้รับสารที่เราต้องการสื่อออกไปนั้นผ่านช่องทางใด ด้วยความถี่เท่าไร

ซึ่งเรื่องเหล่านี้ไม่ใช่การใช้สามัญสำนึก หรือสัญชาตญาณ หรือคิดเองเออเอง แต่ต้องอาศัยกระบวนการคิด วิเคราะห์ และแยกแยะ จากการเก็บรวบรวมข้อมูล (Data) ของผู้บริโภค, ลูกค้า เช่น เขาคิดและรู้สึกอย่างไร ได้ยินอะไร มองเห็นอะไร พูดและทำอะไรบ้าง ปัญหาของเขาคืออะไร เขาต้องการอะไร ทัศนคติต่อแบรนด์เป็นเช่นไร พฤติกรรมการซื้อการใช้เป็นอย่างไร ความชื่นชอบ รูปแบบการใช้จ่าย

เทคโนโลยีหลากหลายอย่างที่ช่วยนักการตลาดให้สามารถนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาได้ไปใช้เพื่อการวางแผนงานการตลาดต่างๆ ดังนั้นผู้บริหารหรือเจ้าของกิจการควรต้องหาความรู้ในเรื่องของ Marketing Technology (MarTech) เพื่อให้สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่อย่างมากมายนั้นให้ได้เหมาะสม ตรงตามความต้องการของเป้าหมายการตลาด ด้วยราคาที่สมควร และเกิดประสิทธิภาพ

ต้นปี 2021 Philip Kotler และคณะ ได้สร้างความฮือฮาในแวดวงการตลาดด้วยการออกหนังสือ Marketing 5.0 ในหนังสือนี้ Kotler ได้แนะนำให้นักการตลาดประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับมนุษย์ เพื่อสร้าง สื่อสาร ส่งมอบ และเพิ่มคุณค่าใน Customer Journey และได้แสดงส่วนประกอบของการตลาด 5.0 Kotler ได้เสนอว่าการนำการตลาด 5.0 มาใช้ต้องทำการขับเคลื่อนการตลาดด้วยข้อมูล (data driven) ด้วยการสร้างนิเวศของข้อมูล (data ecosystem) แล้วนักการตลาดต้องพยากรณ์ด้วยการประมาณผลตอบแทนจากการ

ลงทุนด้านการตลาด นักการตลาดต้องเข้าใจบริบทที่เฉพาะเจาะจงของลูกค้า ณ จุดขาย มีเทคโนโลยีที่ตอบสนองลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งต้องจัดรูปองค์กรที่คล่องตัวสามารถปรับตัวได้ตามสถาการณ์การตลาดที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้ทันท่วงที

19

ภาพจาก https://bit.ly/3NujJ7V

หนังสือนี้เป็นการขยายภูมิทัศน์การตลาดดิจิทัลต่อจากหนังสือ Marketing 4.0 ที่กล่าวถึงเส้นทางลูกค้า (Customer Path) การบูรณาการการตลาดแบบดั้งเดิม (Traditional Marketing) กับ การตลาดดิจิทัล (Digital Marketing)

ขณะเดียวกัน Kotler ได้ร่วมมือกับ Waldemar Pfoertsch และ Uwe Sponholz ซึ่งเป็นศาสตราจารย์ด้านการบริหาร ออกหนังสือ H2H Marketing: The Genesis of Human-to-Human Marketing ซึ่งแนวคิด H2H Marketing นี้ได้รับอิทธิพลมาจาก ความคิดการออกแบบ (Design Thinking), Service- Dominant Logic (ซึ่งเกี่ยวกับวิทยาการบริการ (Service Science) และระบบบริการ (Service System) แนวคิดของ Service Dominant Logic มองการบริการเป็นธุรกิจเอก ส่วนสินค้ากายภาพเป็นตัวสนับสนุน) และ Digitalization Kotler เป็นนักวิชาการคนแรกๆ ที่พูดถึงความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจมากว่า 40 – 50 ปีที่แล้ว

ขณะเดียวกันเขาก็ได้เน้นย้าความเป็นมนุษย์ของผู้บริโภค, ลูกค้า ซึ่งจะพบได้ในหนังสือ Marketing 3.0 ของเขา (Human-centricity) ไม่ว่ากิจกรรมการตลาดใด แม้ใน Digital Media ก็ต้องคานึงด้วยว่าผู้รับสารก็มีความเป็นมนุษย์ มีความรู้สึก ความนึกคิด อารมณ์ และอยู่รวมกันเป็นสังคมมนุษย์ แม้ในหนังสือ Marketing 5.0 เขาก็ได้กล่าวว่าการนำ Marketing 5.0 มาใช้นั้นนักการตลาดต้องประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับมนุษย์

18

ภาพจาก https://bit.ly/3DlsQDf

ทั้ง Kotler และผู้แต่งหนังสือร่วมท่านอื่นๆ เป็นนักวิชาการมากกว่าการเป็นนักการตลาดที่เป็นผู้ปฏิบัติงานอยู่ในตลาดจริง ในปีที่แล้วเช่นกัน Raja Rajamanar (Chief Marketing & Communications Officer and President, Healthcare Business, Mastercard.) Raja CMO ของ Mastercard ซี่งได้เริ่มทำงานด้านการตลาดตั้งแต่เรียนจบปริญญาโทจากสถาบันการจัดการแห่งอินเดียในบังกาลอร์ เขาคลุกคลีกับงานด้านการตลาดมากว่า 25 ปี ตั้งแต่ยุคการตลาดแบบดั้งเดิมจนเปลี่ยนผ่านมาสู่ยุคดิจิทัล จากประสบการณ์และด้วยความเป็นนักคิดและนักปฏิบัติ

เขาจึงได้เขียนหนังสือ Quantum Marketing เพื่อช่วยชี้แนวทางให้นักการตลาดรุ่นเก่าได้เห็นว่าการตลาดจะเดินทางไปในทิศทางใด ซึ่งถ้านักการตลาดรุ่นเก่าไม่ปรับตัวตามบริบทที่เปลี่ยนไปงานการตลาดของพวกเขานั้นก็จะล้มเหลว และ Raja ได้เสนอแนวทางเพื่อการปรับตัวให้ด้วย สำหรับนักการตลาดรุ่นหลังรวมทั้งนักศึกษาการตลาดที่กำลังจะเรียนจบสามารถใช้แนวทางที่เขาคิดไว้ในหนังสือเพื่อพัฒนางานการตลาดให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นได้ และบรรลุเป้าหมาย

ก่อนจะเข้าเรื่องราวของ Quantum Marketing เขาก็ได้แบ่งการตลาดเป็น 5 ยุค ทำนองเดียวกับที่ Kotler ทำในหนังสือ Marketing 5.0 (แต่มีการใช้หลักเกณฑ์ที่แตกต่างกัน) การแบ่งการตลาดเป็นยุคต่างๆ นั้นเป็นการทำให้นักการตลาดรุ่นเก่ามองเห็นภาพพัฒนาการของตลาดและงานด้านการตลาดที่เปลี่ยนไป พวกเขาจะได้เข้าใจบริบทของแต่ละยุคและเห็นถึงว่ามีปัจจัยอะไรที่ทำให้ตลาดเปลี่ยนไปจนทำให้งานการตลาดก็ต้องเปลี่ยนตามไป

ด้วย สำหรับนักการตลาดรุ่นหลังและนักศึกษาจะได้เข้าใจความเป็นมาของแนวคิดทางการตลาดเพื่อต่อยอดแนวคิดในการทำงานการตลาดให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

(ในหนังสือหลายเล่มของ Kotler (ถ้าได้ติดตามงานของเขา) จะพบว่าเขาคิดว่าคาว่า marketing ควรเขียนว่า market-ing เช่นล่าสุดในบทที่ 2 ของหนังสือ Marketing 4.0 เขาอธิบายว่าที่เสนอให้เขียนเช่นนี้เพราะการเขียนใหม่นี้เป็นการเตือนให้รู้ว่าการตลาดเป็นการทำงานเกี่ยวกับตลาดที่มักจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เพื่อให้เข้าใจการตลาดที่ล้าสมัย (cutting-edge) จึงควรเข้าใจพัฒนำการของตลาดว่ามีอะไรที่เกี่ยวข้องหรือเปลี่ยนแปลงในช่วง 2 – 3 ปีนี้บ้าง)

ยุคที่ 1

17

เป็นการเน้นที่ผลิตภัณฑ์โดยเน้นย้ำคุณลักษณะต่างๆ ที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญ จึงต้องนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่เหนือกว่าและดีกว่าของคู่แข่ง ยุคนี้เชื่อกันว่า ผู้บริโภค, ลูกค้าซื้ออย่างมีเหุตผลและใช้ตรรกะ

ยุคที่ 2

นักการตลาดเชื่อว่าผู้บริโภค, ลูกค้า ซื้อด้วยอารมณ์ล้วนๆ มีการนำเสนอประสบการณ์ที่นอกเหนือจากตัวผลิตภัณฑ์ตรงๆ มีการเชื่อมโยงอารมณ์ให้เข้ากับผลิตภัณฑ์ นักการตลาดจะขุดกับดักอารมณ์ให้ลูกค้าตกลงไป ดังนั้นนักการตลาดจึงต้องเข้าใจวิธีคิด แรงจูงใจ ทัศนคติ และพฤติกรรมของผู้บริโภคด้วย เพื่อใช้ในการทำงานด้านการตลาด ในยุคนี้การตลาดได้เริ่มมีการวิจัยผู้บริโภคโดยวัดจากทัศนคติ และหลักจิตวิทยาอื่นๆ ด้วย มีการใช้คนดังเพื่อการอ้างอิงแบรนด์

ยุคที่ 3

16

การเกิดขึ้นของอินเทอร์เน็ต และการตลาดเชิงข้อมูล มีการใช้ข้อมูลที่ทำให้การตลาดสามารถกำหนดเป้าหมายได้ชัดเจนกว่าเดิม มีการทำคลังข้อมูล (Data Warehouse) เพื่อนำไปใช้กับการทำเหมืองข้อมูล (Data Mining) โดยการพิจารณาความเชื่อมโยง และความสัมพันธ์ของตัวแปรต่างๆ ของผู้บริโภค เพื่อตอบโจทย์ทางการตลาดที่ตั้งไว้ ในยุคนี้ยังไม่ได้มีการใช้ดิจิทัลอย่างเต็มตัว มีการใช้ Direct mail การตลาดแบบหนึ่งต่อหนึ่ง (One-to-one Marketing) มีการใช้ข้อมูลลูกค้าเพื่อการสร้างความสัมพันธ์ (Customer Relation Management) จนลูกค้ารู้สึกว่าตนเองถูกล่วงล้าความเป็นส่วนตัวมากเกินไปแล้ว

การวัดผลการตลาดมีการขยับจากการวัดผลการโฆษณามาเป็นการวัดผลจากการเข้าถึงเว็บไซต์ เขาใช้เวลาในการเยี่ยมชมเว็บไซต์อยู่นานเท่าไร สนใจในส่วนใดของเว็บไซต์นั้น และไปที่เว็บไซต์ใดต่อไปจากการกดลิงก์หรือไม่ ทำให้นักการตลาดรู้ถึง พฤติกรรม ความชื่นชอบ และรูปแบบการใช้จ่ายของลูกค้า

ในยุคนี้ข้อมูลช่วยให้นักการตลาสามารถคานวณมูลค่าตลอดช่วงชีวิตของลูกค้า (Customer Lifetime Value) ได้ ทำให้นักการตลาดสามารถตอบ CFO ได้ว่าการลงทุนในงานการตลาดแล้วควรจะได้ผลตอบแทนเท่าไร และมีการนำข้อมูลทางการตลาดไปใช้ร่วมกับหลักของ 4P´s , 7P´s ด้วย

ยุคที่ 4

15

Facebook, Social Media และ iPhone ได้เปลี่ยนภาพรวมของผู้บริโภคอย่างสมบูรณ์ โทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์เคลื่อนที่อื่นๆ กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตมนุษย์จนแทบจะเป็นส่วนหนึ่งของร่างการมนุษย์ทีเดียว

องค์ประกอบพื้นฐานที่นำไปสู่ยุคที่ 4 คือ การประมวลผลมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ อุปกรณ์และชิ้นส่วนต่างๆ มีขนาดเล็กลง มีการใช้อินเทอร์เน็ตกันอย่างแพร่หลาย มีแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่างๆ ในยุคนี้มีการใช้งานโซเชียลมีเดียอยู่เสมอๆ และทำให้ผู้ใช้งานนั้นเสียสมาธิจากเรื่องอื่นๆ ได้ ทำให้ไม่มีช่วงเวลาทอง (Primetime) อีกแล้ว

เพราะต่างคนต่างสามารถเปิดและใช้งานอุปกรณ์ได้ตลอดเวลาที่ตนต้องการ โซเชียลมีเดียให้ผลได้ทั้งด้านบวกเมื่อผู้ชมเห็นดีเห็นงามกับสารที่ได้สื่อออกมา หรือแสดงผลในด้านลบเมื่อโซเชียลมีเดียออกมาในลักษณะขัดแย้งหรือสร้างความรู้สึกขัดแย้งขึ้นในสังคม กิจกรรมแบบเรียลไทม์ (Realtime) ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ยุคที่ 3 มีผลกระทบต่อการตลาดอย่างมหาศาล เพราะมันเป็นช่วงเวลาแห่งความจริง (Moment of Truth) ความชำนาญด้านข้อมูลกลายเป็นคุณสมบัติที่ต้องมีอยู่ในตัวของผู้บริหารการตลาด

การตลาดเป็นเรื่องของศาสตร์มากกว่าความเป็นศิลป์ในยุคนี้ การวางแผนสื่อเป็นไปโดยอัตโนมัติ มีการประเมินว่าโฆษณาดิจิทัลกว่า 65% ในปี 2019 มีการซื้อและให้บริการโดยอัลกอริทึม สิ่งนี้ทำให้ผู้บริโภคมีความกังวลในความเป็นส่วนตัวของข้อมูลของตนจนมีการออกกฎหมายเพื่อการคุ้มครองข้อมูลของผู้บริโภค

ยุคที่ 5

14

การตลาดควอนตัม Raja ได้ให้ความหมายของควอนตัมทางวิทยาศาสตร์ทั่วไปว่า

  1. ผลกระทบที่ไม่อาจอธิบายด้วยแนวทางแบบเดิมๆ
  2. การพัฒนาด้วยความรวดเร็ว หรือในปริมาณที่มิอาจวัดได้

การตลาดควอนตัมคือกรอบการทำงานใหม่สำหรับโลกแห่งอนาคต เพราะโลกกำลังเปลี่ยนแปลงด้วยความเร็วและมีการพลิกผันอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ทำให้ทฤษฎี กลยุทธ์ และแนวปฏิบัติด้านการตลาดแบบคลาสสิกจะใช้ไม่ได้อีกต่อไป เป็นการใช้วิธีการและเครื่องมือใหม่ๆ ที่ขัดแย้งกับข้อจำกัดที่เรารู้จักและมีอยู่เดิม

ภาพรวมของสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น

1. โลกทุกวันนี้มีข้อมูลอยู่จำนวนมาก มีเซนเซอร์ที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตของผู้บริโภค เครื่องใช้ต่างๆ มีการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต เช่น เครื่องใช้ในบ้าน (การควบคุมอุณหภูมิในบ้าน เครื่องล้างจาน เครื่องซักผ้า ตู้เย็น ฯ) อุปกรณ์สวมใส่ (นาฬิกา สายรัดข้อมือเพื่อสุขภาพ) รถที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต หรือรถไร้คนขับ เซนเซอร์เหล่านี้เก็บข้อมูลทุกการกระทำของผู้บริโภคอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน นักการตลาดที่รู้จักนำข้อมูลควอนตัมนี้ไปใช้อย่างไร ก็จะเข้าใจลูกค้าจนสามารถมีแผนการตลาดที่มีประสิทธิภาพ และสามารถกระตุ้นการมีส่วนร่วมของผู้บริโภคได้อย่างมาก

13

2. ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI คือเครื่องจักร (machine) ที่มีฟังก์ชันที่มีความสามารถในการทำความเข้าใจ เรียนรู้องค์ความรู้ต่างๆ เช่น การรับรู้ การเรียนรู้ การให้เหตุผล และการแก้ปัญหาต่างๆ) AI สามารถอ่านข้อมูลทุกประเภทที่เข้ามาอย่างไม่จำกัดจากแหล่งที่มาต่างๆ และทำความเข้าใจ แล้วสร้างข้อมูลเชิงลึกที่เป็นประโยขน์เพื่อให้นักการตลาดนำไปใช้อย่างที่ไม่มีสิ่งใดทาได้มาก่อน

นอกจากนี้ AI สร้างข้อมูลได้แบบเรียลไทม์ นักการตลาดจึงลงมือทำงานได้ทันทีโดยไม่ต้องรอหรือแทบไม่ต้องรอ (Agile Marketing คือหลักการที่จะช่วยให้ออกแคมเปญการตลาดได้รวดเร็ว และนำผลตอบรับจากผู้บริโภคไปปรับปรุงแคมเปญให้ตรงใจลูกค้า

มากขึ้น อีกทั้งออกแคมเปญได้ในเวลาที่เหมาะสมทันต่อเหตุการณ์ ซึ่งจะช่วยสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ หรือหาทางแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้แบบเรียลไทม์) เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด อีกทั้ง AI วัดผลการทำงานการตลาดได้แบบเรียลไทม์ AI ทำการวิเคราะห์เชิงคาดการณ์ที่ซับซ้อน ทำให้นักการตลาดทำการตลาดแบบ Predictive (Predictive Marketing : คือการทำการตลาดแบบคาดการณ์พฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายได้ล่วงหน้า

โดยใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่มีอยู่ เพื่อปรับธุรกิจ ทำการตลาดและตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายให้ได้อย่างดีที่สุด นอกจากนี้ ยังสามารถวิเคราะห์แนวโน้มทางการตลาดว่าทางไหนจะสำเร็จ ทางไหนจะล้มเหลว) ได้อย่างดี การใช้ประโยชน์จึงเกิดขึ้นแบบเรียลไทม์ นี่คือ Quantum Marketing

12

3. Blockchain (บล็อกเชน: คือเทคโนโลยีตัวช่วยด้านความปลอดภัย (Security) และความน่าเชื่อถือ (Trust) ในการทำธุรกรรมการเงินโดยไม่ต้องอาศัยคนกลาง) ห่วงโซ่คุณค่าทางการตลาดก็คือลาดับของกระบวนการหรือกิจกรรมทางการตลาดที่เพิ่มคุณค่าเข้าไปในแต่ละขั้น ในการลงโฆษณาในพื้นที่ดิจิทัลของนักการตลาด จะมีบุคคลที่เข้ามาเกี่ยวข้องมากมาย มีทั้งบริษัทเทคโนโลยีและบริษัทเกี่ยวกับโฆษณา ซึ่งงบประมาณด้านการตลาดต้องถูกจ่ายให้กับคนกลางเหล่านี้

นักการตลาดต้องการรู้ว่าเงินที่จ่ายไปนั้นได้ถูกนำไปใช้อย่างจริงจังไม่ถูกฉ้อโกงหรือเบียดบังเพื่อทำให้โฆษณานั้นเกิดประโยชน์สูงสุด บล็อกเชนจะเข้ามาช่วยในเรื่องเหล่านี้ คนกลางที่ไม่จำเป็นจะหายไป เป็นการทำสัญญาดิจิทัลโดยตรงระหว่างผู้ลงโฆษณากับสิ่งที่เผยแพร่โฆษณา ไม่มีใครแอบแก้ไขข้อมูลได้ ข้อมูลจะอัปเดตโดยอัตโนมัติตามเงื่อนไขที่กาหนดว่าโฆษณานั้นจะเผยแพร่อย่างไร ที่ไหน เมื่อไร ในรูปแบบใด บล็อกเชนช่วยยืนยันว่าผลิตภัณฑ์เป็นของแท้ช่วยป้องกันของปลอมหรือของเลียนแบบได้

11

4. เครือข่าย 5G ช่วยในการขับเคลื่อนการทำงานของเทคโนโลยีต่างๆ เช่นเครื่องใช้ที่ต่ออินเทอร์เน็ต ยานยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ ซึ่ง 5G นี้จะช่วยทำให้นักการตลาดจะใช้ VR (Visual Reality: คือการจำลองสภาพแวดล้อมจริงเข้าไปให้เสมือนจริง โดยผ่านการรับรู้จากการมองเห็น เสียง สัมผัส แม้กระทั่งกลิ่น โดยจะตัดขาดเราออกจากสภาพแวดล้อมปัจจุบันเพื่อเข้าไปสู่ภาพที่จำลองขึ้นมา

ตัวอย่างเช่น การจำลองสถานที่ google street view) หรือประสบการณ์ในรูปแบบ 3 มิติกับผลิตภัณฑ์และบริการของตนจากระยะไกลแบบเรียลไทม์ นักการตลาดจับสัญญาณและประมวลผลสัญญาณต่างๆ จากเซนเซอร์รวมถึงกิจกรรมของผู้บริโภคแล้วนำมาวิเคราะห์และเลือกใช้เทคนิคที่เหมาะสมได้ทันที มีเทคโนโลยีอีกจำนวนมากที่จะเป็นไปได้ในเครือข่าย 5G

เทคโนโลยีที่จะเกิดขึ้น

10

Augmented reality หรือ AR คือ การรวม สภาพแวดล้อมจริง กับ วัตถุเสมือน เข้าด้วยกันในเวลาเดียวกัน โดยวัตถุเสมือนที่ว่านั้น อาจจะเป็น ภาพ, วิดิโอ, เสียง, ข้อมูลต่างๆที่ประมวลผลมาจากคอมพิวเตอร์, มือถือ, เทปเล็ต, หรืออุปกรณ์สวมใส่ขนาดเล็กต่างๆ และทำให้เราสามารถตอบสนองกับสิ่งที่จำลองนั้นได้

ตัวอย่างของการใช้งาน AR ก็คือ เกม Pokemon Go ถือเป็นปรากฎการณ์ครั้งสำคัญของนักเล่นเกมทั่วโลก

Virtual reality หรือ VR (ความเป็นจริงเสมือน) เป็นเทคโนโลยีที่คอมพิวเตอร์จำลองสภาพแวดล้อมเสมือนขึ้นโดยส่วนมากจะเกี่ยวข้องกับการมองเห็น แสดงทั้งบนจอคอมพิวเตอร์ หรือ อุปกรณ์แสดงผลสามมิติ โดยผู้ใช้

สามารถโต้ตอบกับสิ่งแวดล้อมเสมือนได้ทั้งการใช้อุปกรณ์นำเข้ามาตรฐานเช่น แป้นพิมพ์ หรือ เมาส์ สภาพแวดล้อมจำลองยังสามารถทำให้คล้ายกับโลกจริงได้ เช่น การจำลองสำหรับการฝึกนักบิน

3D Printing การพิมพ์ 3 มิติ ทำให้สามารถผลิตชิ้นงาน ณ จุดที่ต้องการใช้ จะมีพัฒนาการให้สมบูรณ์มากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเทคโนโลยีนี้อาจเปลี่ยนระบบห่วงโซ่อุปทาน และระบบการจัดจำหน่าย

รถยนต์อัตโนมัติ และรถยนต์เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต ทำให้ผู้บริโภคใช้เวลาที่มีมากขึ้นจากการที่ไม่ต้องขับรถเองในการหาประสบการณ์จากอุปกรณ์ที่ต่ออินเทอร์เน็ตทั้งที่มีติดตั้งอยู่ในรถหรือแบบพกพาขณะเดินทาง

9

Internet of Things: IOT Master Card กล่าว่าอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตทุกชิ้นคืออุปกรณ์การขาย และ Raja ขยายความว่าอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตคืออุปกรณ์การตลาด ในไม่ช้าผู้บริโภคจะพูดกับอุปกรณ์ในบ้าน เช่น ตู้เย็น เครื่องซักผ้า เครื่องล้างจาน เครื่องควบคุมอุณภูมิ และอื่นๆ แล้วอุปกรณ์เหล่านั้นจะตอบกลับได้ด้วย นี่คือสื่อใหม่ที่นักการตลาดนำไปใช้ประโยชน์ได้

ลำโพงอัจฉริยะ แม้ว่าอุปกรณ์นี้ใช้ IOT แต่ที่แยกออกมาเพราะในอเมริกาได้มีการใช้อุปกรณ์ทำนองเดียวกันนี้ผ่านการพูด เพื่อการค้นหาข้อมูล, ข่าวสาร และสิ่งบันเทิง เพื่อการสอบถาม การตั้งปลุก การเตือน และการสั่งซื้อสิ่งของ นักการตลาดจึงต้องนำเสนอแบรนด์ของตนผ่านอุปกรณ์ไร้ภาพนี้ (เป็นการสร้าง Sonic Brand)

Wearables (อุปกรณ์สวมใส่) เหล่านี้อาจเป็นการติดตามสุขภาพ วัดภาวะอารมณ์ ฯ จึงเป็นเครื่องมือสำหรับนักการตลาดในการเก็บรวบรวมข้อมูลและสื่อสารข้อมูล

Robot & Drone ในอเมริกามีการใช้หุ่นยนต์ในโรงแรมหรือร้านอาหาร ซึ่งในประเทศไทยก็เริ่มมีร้านอาหารหลายแห่งใช้หุ่นยนต์ในการเสิร์ฟอาหาร Amazon ก็ใช้โดรนในการจัดส่งพัสดุ ซึ่งเทคโนโลยีทั้ง 2 นี้จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อระบบการจัดจำหน่ายและการจัดส่งสินค้า

การเปลี่ยนแปลงในเทคโนโลยี ข้อมูลที่มีปริมาณมหาศาล กระบวนการตัดสินใจซื้อที่เปลี่ยนไป โอกาสหรือภัยของการกระทำแบบเรียลไทม์ ทำให้นักการตลาดควอนตัมต้องปรับตัวอย่างแรง แบรนด์ต้องสร้างความตื่นเต้น ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมและแรงบันดาลใจสำหรับผลิตภัณฑ์และบริการของตนด้วยเทคโนโลยีใหม่ สื่อใหม่ กรอบความคิดใหม่ และความเข้าใจใหม่

พันธกิจของนักการตลาดควอนตัม

8

แต่เดิมนักการตลาดจำนวนมากเข้าใจว่าการทำการโฆษณาคือการทำการตลาด การส่งเสริมการขาย (Sale Promotion: เป็นกิจกรรมทางการตลาดที่สามารถกระตุ้นผู้บริโภคให้เกิดการซื้อ ผลิตภัณฑ์ สินค้าหรือบริการได้ทันทีทันใด โดยอาจจัดหาสิ่งจูงใจพิเศษ หรือคุณค่าพิเศษของผลิตภัณฑ์สินค้าหรือบริการ) คือการทำการตลาด เมื่อเข้าสู่ยุคดิจิทัลเขาก็ยังเข้าว่า Digital (media) Marketing คือการทำการตลาด แท้จริงแล้วสิ่งต่างๆ ที่กล่าวมาเป็นเพียงบางส่วนของการตลาด ใน Quantum Marketing ได้กำหนดพันธกิจของนักการตลาดไว้ 4 ประการ คือ

1. การสร้างแบรนด์ แบรนด์เป็นการสร้างความแตกต่าง และการรับรู้คุณค่า เป็นข้อได้เปรียบในการแข่งขัน การสร้างแบรนด์ให้ยิ่งใหญ่สำคัญมากต่อสภาวะของบริษัททั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว นักการตลาดคือผู้ดูแลปกป้องแบรนด์ และจำเป็นต้องสร้างแบรนด์เพื่ออนาคต

2. การดูแลชื่อเสียง เวลามีโพสต์ใน Social Media อาจส่งผลในการสร้างสรรค์หรือไม่ก็เป็นการทำลายแบรนด์ นักการตลาดจำเป็นต้องมีแผนการปกป้องแบรนด์และรักษาชื่อเสียงของตนไว้ไม่ให้ความไว้วางใจของผู้บริโภคสั่นคลอน ซึ่งเป็นงานหลักของนักการตลาดควอนตัมในการบริหารจัดการแบรนด์

3. การขับเคลื่อนการเติบโตของธุรกิจ หน้าที่รับผิดชอบสำคัญของการตลาด คือต้องช่วยขับเคลื่อนการเติบโตของบริษัทให้มีกำไร องค์กรส่วนใหญ่ไม่ได้ขับเคลื่อนด้วยการตลาด การสร้างแบรนด์ให้ยิ่งใหญ่ จะไม่มีประโยชน์อะไรเลยถ้าหากว่าการตลาดไม่ช่วยขับเคลื่อนการเติบโตของธุรกิจและสร้างผลกำไร

4. การสร้างแพลตฟอร์มต่างๆ เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันที่ยั่งยืน การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันที่ยั่งยืนด้วยแพลตฟอร์มต่างๆ รวมถึงหุ้นส่วนธุรกิจ ทรัพย์สินทางปัญญา เป็นบทบาทหน้าที่ที่สำคัญ และมีความหมายอย่างมากของนักการตลาดควอนตัม นักการตลาดสร้างแพลตฟอร์มจากการใช้ประโยชน์ของทรัพย์สิน ทรัพย์สินทางปัญญา เครื่องมือการตลาดต่างๆ เพื่อสร้างความแตกต่างของแบรนด์ และการรักษาความแตกต่างนั้นไว้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน รวมทั้งการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการเพื่อแก้ปัญหาให้กับลูกค้า

7

บริษัทจำเป็นต้องมีนักการตลาดที่มีส่วนผสมที่ดีและเหมาะสมทั้งประเภทนักการตลาดยุคคลาสสิก นักการตลาดยุคใหม่ นักการตลาดเชิงผลประกอบการ และนวัตกรที่มีจิตวิญญาณของนักการตลาด คนเหล่านี้ต้องได้รับการบ่มเพาะ และฝึกฝนความถนัดข้ามประเภท เพื่อให้เกิดทั้งการตลาดเชิงคุณภาพ การตลาดเชิงปริมาณ การตลาดเชิงผลประกอบการ การบริหารจัดการกระบวนการทางการตลาด หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการตลาด

นักการตลาดควอนตัมต้องเป็นผู้จัดการทั่วไปที่มีความชำนาญรอบด้าน ต้องมีความเข้าใจเรื่องข้อมูล เทคโนโลยีดิจิทัล การเงินของบริษัท กลไกขับเคลื่อนการเติบโต และต้องมีความรู้ลึกรู้จริงด้านการตลาด มีจิตวิญญาณของผู้บริหารธุรกิจ ต้องสร้างแรงดลใจให้ทีมคิดใหญ่ และคิดนอกกรอบ ชี้แนะแนวทางให้กับทีมงานได้เมื่อจำเป็น

การเปลี่ยนแปลงเชิงควอนตัมครั้งใหญ่ใกล้จะมาถึงแล้ว นักการตลาดจำเป็นต้องเปิดใจให้กว้าง และตามทันเทคโนโลยี ต้องทำความเข้าใจเทคโนโลยี และการประยุกต์การใช้งานได้อย่างช่ำชอง ถ้าไม่เตรียมตัวให้ดี คลื่นการแข่งขันและพลังการตลาดที่ถาโถมเข้ามาอาจทำให้งานการตลาดและบริษัทล้มได้

จุดมุ่งหมายของข้อเขียนนี้ผมต้องการกระตุ้นให้ SME´s ได้ตระหนักว่าเทคโนโลยี และข้อมูลมีความสำคัญต่อธุรกิจมากขึ้นเรื่อยๆ สิ่งที่ต้องการคือให้ผู้ประกอบการรู้ว่ามีความจำเป็นที่ต้องศึกษาเทคโนโลยีเพิ่มขึ้น และนำมาใช้เท่าที่เหมำะสมกับกิจการของตนในเวลานี้ บางหัวข้ออาจดูลึกซึ้ง ซับซ้อน หรือยังไกลตัวเกินกว่าธุรกิจของเราในขณะนี้ แต่อย่างไรมันต้องมาในเร็ววันนี้อย่างแน่นอน ได้มีเตรียมการล่วงหน้าหรือยัง

สำหรับท่านที่มีธุรกิจและอยากสร้างระบบแฟรนไชส์ หรือต้องการปรึกษาเรื่องการพัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ให้เติบโตมากยิ่งขึ้น

คลิกรายละเอียดเพิ่มเติมที่ https://bit.ly/33k6nZE
โทร.02-1019187

วิทยากร : อ.สุชาติ กิติเฉลิมเกียรติ

 

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3Dr2e3Q

กองบรรณาธิการเว็บไซต์

ยินดีสนับสนุน SMEs ไทยทุกแบรนด์ ที่ต้องการสร้างความเข้มแข็ง อยากเรียนรู้ พัฒนาธุรกิจ ส่งเสริมความเข้าใจในการตลาด มีความคิดสร้างสรรค์ แบ่งปันเพื่อสังคม ต่อยอดธุรกิจ ให้ประสบความสำเร็จในอนาคต