สินค้าราคา “หลัก10” ขายแบบไหนกำไร “หลักล้าน”

ลงทุนมากก็ได้มาก คือหลักการเบื้องต้นของธุรกิจ ถ้าคิดตามหลักการนี้อยากมีเงินล้าน “เราต้องลงทุนเท่าไหร่?” ในมุมของคนทุนน้อยแสดงว่าชาตินี้หมดโอกาสได้เห็นเงินล้านใช่ไหม? คำตอบคือ “ไม่ใช่” การพลิกชีวิตลงทุนน้อยแต่ได้มากมีอยู่จริงเพียงแต่ขึ้นอยู่กับไอเดีย ความขยัน และตั้งใจทำจริง ลองไปดูกันว่ามีวิธีไหนที่คนทุนน้อยอย่างเราจะเอามาใช้ได้บ้าง

งบน้อย ทุนน้อย อย่าคาดหวังความสำเร็จในทันที

สินค้าราคา “หลัก10” ขายแบบไหนกำไร “หลักล้าน”

“กรุงโรมไม่ได้สร้างเสร็จในวันเดียว” คือสำนวนที่ทำให้มองเห็นภาพได้ชัดเจนที่สุด นั่นคือถ้ามีงบน้อยลงทุนร้านเล็กๆ อย่าคาดหวังว่า กำไรหลักล้านที่เราอยากเห็นจะมาในเร็ววัน ต้องอาศัยความขยัน หาไอเดียในการขาย สร้างช่องทางในการขาย ต่อยอดจากวันแรกให้ดียิ่งขึ้นไป

กำไรครั้งแรกอาจจะแทบไม่มี หรือขาดทุน แต่ถ้าไม่ย่อท้อและมีแนวคิดที่ดี ก็ไม่ต่างจากขึ้นบันได้ทีละขั้น สักวันก็ต้องไปถึงเป้าหมายได้ และอาจใช้แนวคิดที่ดีและมีประโยชน์อีกหลายอย่างเข้ามาร่วมได้แก่

1.เน้นขายถูกแต่ต้องขายให้ได้เยอะๆ

สินค้าราคา “หลัก10” ขายแบบไหนกำไร “หลักล้าน”

เป็นวิธีพื้นฐานที่ง่ายแต่ต้องอาศัยความอดทนมาก ถ้าเราไม่มีเงินทุนมากพอจะซื้อสินค้าจำนวนมากก็ต้องเริ่มจากน้อยๆ แม่ค้าหลายคนเคยใช้วิธีการซื้อของมือ 2 นำมาขายต่อ ทุนน้อยสินค้าที่ได้มาอาจน้อย แต่ถ้าเรามีช่องทางการขายที่น่าสนใจก็มีโอกาสขายได้มาก มีคำพูดหนึ่งที่น่าสนใจได้กล่าวว่า “ถ้าเราอยากขายของกำไร 1 บาทให้ได้กำไรหลักล้านก็ต้องเข้าถึงคนให้ได้อย่างน้อย 1 ล้านคน” ดังนั้นการขายถูกแต่อยากมีกำไรมากเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ ไอเดียการขายจึงสำคัญที่สุด

2.การตลาดเจาะกลุ่มเป้าหมาย

สินค้าราคา “หลัก10” ขายแบบไหนกำไร “หลักล้าน”

ว่ากันว่าลงทุนผิดที่ 10 ปีก็ไม่รวย คำพูดนี้ก็ใช้ได้กับการลงทุนน้อย ถ้ามัวไปขายแบบเหวี่ยงแห โอกาสสำเร็จก็ยิ่งน้อย วิธีที่ดีกว่าคือการ โฟกัสไปที่กลุ่มลูกค้าของเราเป็นหลัก เช่นถ้าเราขายทิชชู่ ราคาหลัก 10 ก็ควรเน้นการวางขายไปที่ร้านสินค้าราคาเดียว หรือการฝากขายตามร้านค้าทั่วไปที่อยู่ใกล้โรงเรียน โรงงาน ย่านออฟฟิศ เป็นต้น ซึ่งวิธีการเข้าถึกลุ่มเป้าหมายต้องรู้ก่อนว่าสินค้าเราใครคือกลุ่มเป้าหมาย จะเพิ่มโอกาสขายได้มากขึ้น

3.เอากำไรต่อชิ้นน้อย เพื่อให้ขายได้มาก

สินค้าราคา “หลัก10” ขายแบบไหนกำไร “หลักล้าน”

ในยุคที่คนจำกัดเรื่องการใช้จ่าย วิธีขายแบบกำไรต่อชิ้นน้อย แต่ขายได้มากจึงน่าจะตอบโจทย์ได้มากกว่า แต่ปัญหาก็คือเราจะไปหาสินค้าที่ราคาถูกใจคนซื้อเพื่อมาขายได้อย่างไร สิ่งที่เจอคือรับมาแพงก็ต้องขายแพง ถ้าขายถูกก็ขาดทุน นี่ก็คือโจทย์ที่เราต้องตีให้แตกและพยายามหาแหล่งสินค้าราคาประหยัดที่เราอาจต้องซื้อในปริมาณมากเพื่อให้ต้นทุนต่อหน่วยลดลง และนำมาขายในราคาไม่แพง แต่ต้องขยันและใส่ไอเดียในการขายร่วมด้วย

ตัวอย่างความสำเร็จขายสินค้าราคา หลักสิบ แต่มีกำไรเกิน “ร้อยล้าน”

ภาพจาก facebook.com/LoboFanpage

เริ่มจาก “Lobo” ผงปรุงรสอาหารภายใต้บริษัท โกลโบ ฟู้ดส์ จำกัด ราคาขายต่อซองประมาณ 20 บาท แต่ในปี 2562 มีรายได้ถึง 1,670 ล้านบาท อย่ามองว่านี่คือบริษัทใหญ่มีกำลังการตลาดมาก แต่ให้มองวิธีขายว่าเขาทำอย่างไร สิ่งที่เน้นคือสินค้ามีความหลากหลายงเครื่องปรุงรสอาหารคาว อาหารหวาน เช่น ผงปรุงข้าวผัด ผัดไทย ผงพะโล้ , ผงทำน้ำเกรวี ,ผงวุ้น เป็นต้น และเน้นการตลาดที่เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้ง่าย และมีการพัฒนาสินค้าให้ตอบโจทย์แบบฉีกซองให้ได้ทันที ก็ทำให้ขายได้ปริมาณมาก ในราคาไม่แพง

ภาพจาก facebook.com/MamaloverFanPage

และถ้ายังมองไม่เห็นภาพลองไปดู “มาม่า” โดยมาม่ารสชาติแรกที่ออกวางจำหน่ายคือ รสซุปไก่ โดยเริ่มวางจำหน่ายในปี 2516 ในราคาซองละ 2 บาทเท่านั้น แต่ที่ทำให้ขายดี ในปริมาณมากมีส่วนแบ่งการตลาดกว่า 45% เพราะเน้นรูปแบบสินค้าที่หลากหลาย ที่สำคัญมีการทำตลาดที่สร้างให้ลูกค้าจดจำภาพลักษณ์ของแบรนด์ได้อย่างดี

ทั้งนี้สำหรับคนงบน้อยทุนน้อย อาจเริ่มจากการหาสินค้าทั่วไปและยิ่งรู้ว่าสินค้าไหนคนต้องการและหามาขายได้ จะได้การตอบรับที่ดีมาก สำคัญคือแหล่งสินค้าที่เราหามายิ่งได้ราคาถูกก็จะมีโอกาสขายในราคาไม่แพง แต่ทำให้คนติดใจและอยากกลับมาซื้อซ้ำ แต่ต้องอดทนและตั้งใจทำจริง ต้องรู้จักแก้ปัญหาในระหว่างที่ทำ รายได้อาจไม่มากในทันทีแต่ก็มีโอกาสประสบความสำเร็จได้ในอนาคต

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด