สถานการณ์ “ค้าปลีกโลก” ไม่ล่มสลาย ก็ต้องมนต์สะกด

การเติบโตของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อเชนค้าปลีกทั่วโลก โดยเฉพาะเชนค้าปลีกในสหรัฐอเมริกา ทยอยปิดกิจการและสาขาอย่างต่อเนื่องในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เรียกได้ว่าเป็นวิกฤตค้าปลีกโลกที่ถือเป็นประวัติการณ์ แต่พอก้าวสู่ต้นปี 2563 เชนค้าปลีกทั่วโลกก็ยิ่งระส่ำอย่างหนัก จากการระบาดของไวรัสคาวิด-19 ที่มีศูนย์กลางการระบาดจากประเทศจีน 

ทิศทางของธุรกิจค้าปลีกทั่วโลกจะเป็นอย่างไร ท่ามกลางวิดฤตโควิด-19 วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อมูลจะมานำเสนอให้ทราบ เพื่อเป็นแนวทางในการเตรียมความรับมือและปรับตัวให้เข้ากับปรากฏการณ์ในวันข้างหน้า

ค้าปลีกอเมริกา…ยอดขายลด ยื่นล้มละลาย

ค้าปลีกโลก

ภาพจาก bit.ly/3eriq8d

ก่อนจะมีการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ค้าปลีกทั่วโลกได้รับผลกระทบจากการสั่งซื้อทางออนไลน์เพิ่มขึ้น จนทำให้ร้านค้าปลีกและห้างสรรพสินต่างๆ ในสหรัฐอเมริกา ต่างทยอยปิดกิจการและสาขาอย่างต่อเนื่อง แต่พอเกิดวิกฤตโควิด-19 พบว่าการซื้อเครื่องแต่งกายและอื่นๆ ทางออนไลน์ในสหรัฐอเมริกาลดลง แต่การซื้ออาหารและอาหารสดเพิ่มขึ้นแทน ซึ่งเป็นเหมือนกันทั่วโลก เพราะผู้บริโภคส่วนใหญ่กักตัวและทำงานจากที่บ้าน จึงทำให้การสั่งซื้ออาหารออนไลน์เพิ่มขึ้น

ตัวเลขยอดค้าปลีกในสหรัฐอเมริกาในเดือนมีนาคม 2563 พบว่า ธุรกิจค้าปลีกมียอดขายลดลงเป็นประวัติการณ์ นับตั้งแต่เริ่มมีการบันทึกยอดขายในปี 2535 โดยลดลง 8.7% เนื่องจากประชากรสหรัฐมีคำสั่งกักตัวอยู่ในบ้านป้องกันการแพร่โควิด-19

สำหรับหมวดค้าปลีกในสหรัฐฯ ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ ยอดขายรถยนต์ลดลง 25.6% และยอดขายสถานีบริการน้ำมันลดลง 17.2% โดยได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่ลดลง และการใช้ยวดยานพาหนะบนถนนลดลง ขณะที่ ร้านอาหารและบาร์ ส่วนใหญ่ถูกบังคับให้หยุดกิจการชั่วคราว หรือเปิดให้บริการเฉพาะซื้อกลับไปทานบ้าน และเดลิเวอรี่ มีรายได้ลดลง 26.5%

ยอดขายเครื่องแต่งกายลดลง 50.5% และยอดขายเครื่องใช้ไฟฟ้าและเครื่องใช้ไฟฟ้าลดลง 15.1% ในขณะที่ร้านขายของชำมียอดขายเพิ่มขึ้น 26.9% และร้านขายยาเพิ่มขึ้น 4.3% ยอดขายของร้านค้าปลีกออนไลน์ เช่น Amazon เพิ่มขึ้น 3.1%

นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่า การใช้จ่ายของผู้บริโภคสหรัฐ ซึ่งเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการค้าปลีกที่จะหดตัวที่อัตราร้อยละ 17 ต่อปีในไตรมาสแรกของปี 2563 ซึ่งจะเป็นตัวเลขที่เลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่เริ่มมีการบันทึกในปี 2490 ไม่เพียงเท่านี้ ร้านค้าปลีกหลายๆ แบรนด์ในสหรัฐอเมริกากำลังอยู่ในขั้นตอนการยื่นล้มละลายในปี 2563 เช่นเดียวกัน

ปิดเมือง…ค้าปลีกขาดทุนในอังกฤษ

26

ภาพจาก bit.ly/3ahpv8j

ในสหราชอาณาจักรช่วง 2 สัปดาห์แรกของการปิดเมือง ส่งผลให้ยอดค้าปลีกลดลง 27% จากข้อมูลที่รวบรวมโดย British Retail Consortium พบว่า ชาวอังกฤษส่วนใหญ่ถูกห้ามออกจากบ้าน และซื้อสินค้าในร้านค้าปลีกอื่น นอกเหนือจากซูเปอร์มาร์เก็ตและร้านขายยาตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม 2563 รวมเป็นเวลา 14 วัน

คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจของอังกฤษ จะลดลง 35% ในไตรมาสแรกของเดือนมิถุนายน 2563 ตามรายงานของสำนักงานความรับผิดชอบด้านงบประมาณของอังกฤษ แม้ว่าผลผลิตประจำปีของประเทศจะฟื้นตัวหลังจากการปิดตัวลง แต่การลดลงของการเติบโตทางเศรษฐกิจ 13% ต่อปีจะยิ่งใหญ่ที่สุดในช่วง 300 ปีมานี้

วิกฤตโควิด-19 ได้สร้างความเสียหายให้กลุ่มค้าปลีกที่ดิ้นรนมาก่อนหน้านี้ รวมถึง Debenhams และห้างเครื่องแต่งกาย Warehouse, Oasis, Cath Kidston และ Laura Ashley ก็เจอมรสุมในครั้งนี้ แต่มีรายงานข้อมูลเชิงบวกเพียงอย่างเดียวในอังกฤษ คือ ยอดขายสินค้าออนไลน์ นอกเหนือจากอาหาร ได้เพิ่มขึ้น 18.8% ในเดือนมีนาคม 2563

โดยพบว่ายอดขายคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เสริม, เกมกระดานและอุปกรณ์ออกกำลังกายเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการปรับเปลี่ยนเรียนที่บ้านและทำงานจากที่บ้าน ในทางตรงกันข้ามยอดขายสินค้าแฟชั่นลดลงอย่างมีนัยสำคัญในเวลาเดียวกัน และมีรายงานว่า ยอดขายร้านค้าปลีกแบบหน้าร้านของอังกฤษ ลดลงร้อยละ 83.1 ในช่วงเทศกาลอีสเตอร์ เมื่อเทียบกับช่วงวันหยุดเดียวกันของปีที่แล้ว

ค้าปลีกฝรั่งเศส ยอดขายจมดิ่ง

25

ภาพจาก bit.ly/2VemtgH

สำหรับยอดค้าปลีกในประเทศฝรั่งเศสลดลง 24% ในเดือนมีนาคม 2563 เมื่อกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เนื่องจากการปิดเมืองทั่วประเทศ โดยตัวเลขจากธนาคารกลางของประเทศ ได้แสดงยอดขายของค้าปลีกในไตรมาสแรกเดือนมีนาคมลดลง 7.2% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า พบว่า ยอดขายของห้างสรรพสินค้าลดลง 19.3% ร้านค้าปลีกขนาดเล็กลดลง 9.6% ในขณะที่ซูเปอร์มาร์เก็ตเพิ่มขึ้น 7.4% เนื่องจากความตื่นตระหนกในการซื้อก่อนปิดเมือง

ค้าปลีกเอเชีย ระส่ำไปตามกัน

24

ภาพจาก bit.ly/2VvTML6

สมาคมผู้ค้าปลีกมาเลเซียประเมินว่า ยอดค้าปลีกทั้งปีจะลดลง 5.5% หากยกเลิกการเดินทางของประชาชนในสิ้นเดือนเมษายน หลังจากมีการขยายออกไปอีกตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคมถึง 28 เมษายน 2563 ขณะที่ ยอดค้าปลีกเดือนกุมภาพันธ์ของฮ่องกงลดลง 44% และสิงคโปร์ลดลง 10% (ไม่รวมยานยนต์) ยอดค้าปลีกของอินโดนีเซียลดลงเพียงเล็กน้อยร้อยละ 0.8

สำหรับมูลค่าตลาดค้าปลีกในประเทศไทยปี 2563 EIC วิเคราะห์ว่าจะหดตัวราว 14% หรือคิดเป็นเม็ดเงินที่หายไปราว 5 แสนล้านบาท จากมูลค่าตลาดค้าปลีกปี 2562 ที่อยู่ที่ราว 3.5 ล้านล้านบาท ภายใต้สมมุติฐานว่าธุรกิจค้าปลีกปิดดำเนินการประมาณ 2 เดือน และสถานการณ์การติดเชื้อเริ่มคลี่คลายจนสามารถกลับมาเปิดดำเนินการได้ตามปกติในไตรมาส 3

จากความกังวลจากสถานการณ์การดังกล่าวสิ่งที่เห็นตามมาคือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้บริโภค ผู้บริโภคเริ่มพฤติกรรม panic buy ในสินค้าจำเป็นบางหมวด ขณะที่ความต้องการสินค้าไม่จำเป็นจะปรับตัวลดลงอย่างรุนแรง

โดยแนวโน้มการที่ผู้บริโภคหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมนอกบ้าน ส่งให้ผู้บริโภคมีแนวโน้มหันมาซื้อสินค้าออนไลน์และทำกิจกรรมเพื่อความบันเทิงต่างๆ ภายในบ้านมากขึ้น ขณะเดียวกันยังมีความต้องการสินค้าบางประเภทมากขึ้น

โดยเฉพาะอุปกรณ์ป้องกันเชื้อโรค และแม้ว่าธุรกิจค้าปลีกโดยรวมจะได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก แต่ยังมีบาง segment ที่ยังสามารถเติบโตได้ในช่วงวิกฤต อาทิ ร้านสะดวกซื้อและอีคอมเมิร์ซ

กลยุทธ์ค้าปลีกรับมือโควิด-19

23

ภาพจาก pixabay.com

  1. เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการสินค้าและโลจิสติกส์
  2. เน้นขายออนไลน์และเพิ่ม customer engagement ผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น โดยที่ผู้ที่ยังไม่เคยขายผ่านช่องทางออนไลน์ อาจต้องเริ่มหาลู่ทางการขายออนไลน์ หรือ ผู้ที่มีช่องทางอยู่แล้ว อาจต้องเตรียมรับมือกับการเพิ่มขึ้นของยอดขายอย่างฉับพลัน โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าจำเป็น
  3. ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของผู้บริโภคและพนักงานเป็นอันดับแรก เน้นปรับปรุงการบริการต่างๆ เพื่อแสดงออกถึงความเอาใจใส่ และห่วงใยต่อทั้งผู้บริโภคและพนักงาน ทั้งนี้ ผู้ประกอบการอาจปรับเวลาทำการของร้านค้า เสริมสร้างภาพลักษณ์ของร้านค้า เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นและความประทับใจจากผู้บริโภค โดยอาจนำเอาบริการต่างๆ ที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยง
  4. เตรียมความพร้อมสำหรับการให้บริการภายหลังจากที่สถานการณ์คลี่คลาย ผู้ประกอบการควรเตรียมความพร้อมทั้งในส่วนของการบริหารจัดการสต็อกสินค้าและ supply chain เพื่อตอบสนองความต้องการที่จะกลับมาฟื้นตัวภายหลังวิกฤต

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

อ้างอิงข้อมูล
https://bit.ly/2wQm22O , https://bit.ly/2wLwx7o

อ่านบทความเพิ่มเติม https://bit.ly/3ao5OM6

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช