ลงทุนทำตลาดต้องเริ่มยังไง ให้ถูกใจ และถูกกฎหมาย

เดี๋ยวนี้มี ตลาดเปิดใหม่ และที่กำลังจะเปิดใหม่เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก สาเหตุที่นักลงทุนหันมาสนใจลงทุนทำตลาดก็เพราะความต้องการสินค้าของคนยุคนี้เน้นที่ของกินเป็นหลัก

นั้นทำให้ไม่ว่าใครต่อใครก็หันมาเป็นพ่อค้าแม่ค้า เมื่อปริมาณผู้ค้ามากขึ้นพื้นที่การค้าก็ย่อมจะมากขึ้นตามไปด้วย แต่ที่เราได้เห็นๆกันมา ก็คือการไม่ลงรอยกันเท่าไหร่ในบางพื้นที่ที่ตลาดอยู่ติดชุมชนหรือหมู่บ้านที่อาจเกิดปัญหาพิพาทเหมือนข่าวที่เคยได้ยินได้ฟัง

เมื่อมีปัญหาทีก็จะมีมาตรการออกมากำหนดและป้องกันแบบขอไปที พอผ่านไปสักพักก็กลับมาเป็นวังวนเดิมๆ คืออาจไม่เกิดปัญหาที่จุดนี้แต่ไปมีปัญหาในจุดอื่นแทน

ตลาดเปิดใหม่

ซึ่ง www.ThaiSMEsCenter.com เห็นว่าตลาดยังเป็นแหล่งธุรกิจที่ยังไงก็ต้องมีอยู่คู่คนไทยแต่จะทำอย่างไรให้การลงทุนทำตลาดนั้นไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับชาวบ้าน เรียกว่าจะทำตลาดอย่างไรให้ทั้งถูกใจและถูกกฎหมาย

ก่อนอื่นคงต้องทำความเข้าใจกันตั้งแต่คำนิยามตลาดแต่ละประเภทและวิธีการดำเนินการก่อตั้งตลาดที่มีกำหนดกฏเกณฑ์ชัดเจนอยู่แล้ว แค่อย่าใช้นิสัยทำตามใจ เคารพกฏเกณฑ์ที่บรรญัติไว้ปัญหาทั้งหลายก็คงไม่เกิดตามมา

ตลาดตามความหมายในพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 กำหนดว่า“เป็นสถานที่ซึ่งปกติจัดไว้ให้ผู้ค้าใช้เป็นที่ชุมนุมเพื่อจำหน่ายสินค้าประเภทสัตว์ เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ หรืออาหารอันมีสภาพเป็นของสด

ประกอบหรือปรุงแล้วหรือของเสียง่าย ทั้งนี้ไม่ว่าจะมีการจำหน่ายสินค้าประเภทอื่นด้วยหรือไม่ก็ตาม และหมายรวมถึงบริเวณซึ่งจัดไว้ให้ผู้ค้าเป็นที่ชุมนุมเพื่อจำหน่ายสินค้าประเภทดังกล่าวเป็นประจำ หรือเป็นครั้งคราวหรือตามวันที่กำหนด

g3

ส่วนคำว่า “ตลาดนัด” เรารู้จักและคุ้นเคยกับคำนี้อย่างดี เกิดจากคำว่า “ตลาด” และ “นัด” ที่รวมกันหมายถึง ชุมนุมเพื่อซื้อขายของต่างๆ ซึ่งมิได้ตั้งอยู่ประจำ จัดให้มีขึ้นเฉพาะในวันที่กำหนดเท่านั้น

ซึ่งที่ผ่านมากระทรวงสาธารณสุขได้มีความพยายามในการยกระดับตลาดให้มีมาตรฐาน เพื่อลบภาพตลาดเถื่อนหรือตลาดเสื่อมโทรมให้หมดไป ภายใต้นิยาม “ตลาดสด น่าซื้อ”

ซึ่งข้อมูลระบุว่าในประเทศไทยมีตลาดที่ผ่านเกณฑ์ดังกล่าวประมาณ 1,302 แห่ง และสำหรับการขายของในลักษณะ “ตลาดนัด” กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดให้เป็นตลาดประเภทที่ 2 คือตลาดที่ไม่มีโครงสร้างอาคาร

ถือเป็นกิจการที่ต้องควบคุมกำกับโดยราชการส่วนท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 ภายใต้กฎกระทรวงว่าด้วยสุขลักษณะของตลาด พ.ศ. 2551

g4

ซึ่งจากข้อมูลดังกล่าวนี้แสดงให้เห็นว่าภาครัฐเองก็มีความพยายามในการสร้างมาตรฐานตลาดให้อยู่ในระดับที่ดีและมีคุณภาพแม้ภาพที่เห็นส่วนใหญ่มักจะไม่เป็นไปตามที่ใจต้องการก็ตาม

นอกจากนี้ยังพบว่า ปัจจุบันมีตลาดเล็กตลาดน้อย ซึ่งไม่แน่ในว่าตลาดเหล่านี้ได้มีการดำเนินการตามขั้นตอนในการจัดตั้งเป็นตลาดหรือไม่ ซึ่งหากจะทำตลาดให้เป็นเรื่องที่ถูกกฏหมายต้องทำความเข้าใจในหลายเรื่องเช่น

1.การทำตลาดเกี่ยวข้องกับกฏหมายหลายส่วน

g5

กฏหมายที่เกี่ยวกับตลาดเช่นกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข กฎหมายว่าด้วยผังเมือง กฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดิน และกฎหมายควบคุมอาคาร

2.มีการขออนุญาติให้ถูกต้อง

g6

การประกอบกิจการตลาดมีการบัญญัติไว้โดยตรงในพ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ.2535 มาตรา 34 หลักการมีอยู่ว่า ห้ามมีการจัดตั้งตลาดเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ดังนั้นการขออนุญาตตั้งตลาดจึงเป็นเรื่องสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นตลาดประจำหรือตลาดนัด มิฉะนั้นจะมีโทษ

3.ต้องยื่นเรื่องต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น

g7

ผู้ที่ต้องการจะประกอบกิจการตลาดต้องยื่นเรื่องต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น หลังจากมีการตรวจความถูกต้องและสมบูรณ์ของเอกสารแล้ว เจ้าหน้าที่ก็จะเดินทางไปตรวจสอบสภาพของสถานที่ว่าถูกสุขลักษณะของตลาดหรือไม่ ถ้ามีข้อบกพร่องต้องปรับปรุงแก้ไข จนกว่าจะได้ใบอนุญาต

4.เจ้าหน้าที่จะตรวจสอบเข้มงวดเพื่อให้เป็นไปตามกฏหมาย

g8

ในการตรวจสอบเจ้าหน้าที่จะตรวจสอบว่าเป็นไปตามกฎกระทรวงว่าด้วยสุขลักษณะของตลาด พ.ศ.2551 ใน กทม. ก็จะมีข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ตลาด (พ.ศ.2546) เช่น พิจารณาว่าตลาดประเภทไหน มีโครงสร้างอย่างไร ลักษณะสินค้าที่ขายเป็นอย่างไร เป็นต้น

5.ในกรณีที่เป็นตลาดมีสิ่งปลูกสร้างก็ต้องขอใบอนุญาตในการก่อสร้างอาคาร

g10

เป็นไปตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ในมาตรา 21 กำหนดชัดเจน ผู้ใดจะก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเคลื่อนย้ายอาคารต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น อาคารสำหรับการพาณิชยกรรม ต้องมีมาตรฐานตามที่กำหนด เช่น มีเครื่องมือดับเพลิง มีที่ทิ้งขยะมูลฝอย เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีเรื่องของ พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 ที่กำหนดว่าที่ดินนั้นมีเพื่อวัตถุประสงค์ใด และต้องถือตามที่จดทะเบียนไว้ เช่น ใช้เป็นที่อยู่อาศัยก็ต้องเป็นที่อยู่อาศัย จะดัดแปลงเป็นอย่างอื่นไม่ได้ ไม่ว่าจะผ่านมากี่มือก็ตาม

ทั้งนี้เราจะเห็นว่าตัวกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตลาดนั้นมีมากมายบางทีดูจะมีมากเกินไปด้วยซ้ำ แต่ปัญหาที่เห็นคือหลายคนไม่ได้ทำตามกฎหมายนี้ แม้แต่เจ้าหน้าที่รัฐบางทีก็ไม่ได้เคร่งครัดเรื่องกฎหมายเท่าที่ควร มีปัญหาทีก็ค่อยมารื้อกฏหมายกันดูที

ปัญหาตลาดที่สร้างความเดือดร้อนให้ชาวบ้านมันจึงมีอยู่ต่อเนื่อง สำหรับการแก้ปัญหาไม่น่าจะใช่เรื่องของกฏหมายแต่น่าจะแก้ที่คนใช้กฏหมายและคนที่อาศัยช่องว่างของกฏหมายในการหาประโยชน์เข้าตัวเองมากกว่า


SMEs Tips

  1. การทำตลาดเกี่ยวข้องกับกฏหมายหลายส่วน
  2. มีการขออนุญาติให้ถูกต้อง
  3. ต้องยื่นเรื่องต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
  4. เจ้าหน้าที่จะตรวจสอบเข้มงวดเพื่อให้เป็นไปตามกฏหมาย
  5. ในกรณีที่เป็นตลาดมีสิ่งปลูกสร้างก็ต้องขอใบอนุญาตในการก่อสร้างอาคาร

สำหรับท่านใดที่ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจเรามีรวบรวมบทความมากมาย ติดตามได้ที่ goo.gl/Io5k2S

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด