#รีวิวหนังสือ อย่าปล่อยให้สิ่งของยึดโต๊ะทำงานคุณ

สิ่งที่จะได้รับใน รีวิวหนังสือ อย่าปล่อย ให้สิ่งของยึดครองโต๊ะทำงานคุณ เล่มนี้ความลับของการจัดโต๊ะ ที่คนทำงานเก่งต้องรู้! ทำไมโต๊ะของคนที่ไม่เคยทำงานเกินเวลาถึงโล่ง สะอาด.. เพราะคนเหล่านี้รู้จักความลับของโต๊ะทำงานนั่นเอง

โดยการจัดสิ่งของบนโต๊ะทำงานให้เหลือน้อยที่สุด (minimal) เช่น ลดจำนวนเครื่องเขียน ไม่เพิ่มพื้นที่เก็บของ หรือแยกพื้นที่ระหว่างสิ่งของที่ใช้ กับของที่ซื้อมาสำรอง เป็นต้น

รีวิวหนังสือ อย่าปล่อย

เรากำลังพูดถึงการจัดโต๊ะทำงานให้ “มีสิ่งของน้อย แต่ช่วยให้ทำงานได้ดีขึ้น” หลายคนอาจแย้งว่า โต๊ะทำงานรกๆ นี่แหละที่ช่วยกระตุ้นไอเดียเจ๋งๆ นั่นอาจเป็นกรณีเฉพาะสำหรับบางคนแต่ถ้าโต๊ะยังรกโดยที่ผลงานไม่ได้ดีไปด้วย ก็อาจเป็นสัญญาว่าถึงเวลาสะสางเอกสารที่กองสุมเป็นภูเขา คัดเลือกอุปกรณ์ทำงานที่ไม่จำเป็น (แต่ยังเก็บไว้เพราะคิดว่าสักวันคงได้ใช้) แล้วทิ้งหรือจัดการให้อยู่ถูกที่ถูกทาง คงจะดีไม่น้อยถ้าสิ่งของเหล่านั้นกลายเป็น “ตัวช่วย” ให้เราทำงานได้สะดวกขึ้น แทนที่จะเป็น “ภาระ” อย่างที่เราเคยคิดมาตลอด

“ทซึจิฮะชิ ทะดะชิ” ผู้เชี่ยวชาญเรื่องอุปกรณ์เครื่องเขียน เปิดเผยความลับการจัดโต๊ะทำงานให้เป็นระเบียบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานดังนี้ แยก “การนำมาใช้” กับ “การจัดเก็บ” ออกจากกันอย่างชัดเจน, ใช้อุปกรณ์ที่ไม่ต้องสับเปลี่ยนภายในหัว, สมุดแพลนเนอร์แบบรายเดือนที่ตามหามานาน, สรุปรายการสิ่งที่ต้องทำทั้งหมดให้เหลือเพียงอย่างเดียว เคล็ดลับใน รีวิวหนังสือ เล่มนี้จะช่วยปลดพันธนาการคุณออกจากสิ่งของและกองเอกสารทั้งปวง เริ่มตั้งแต่วันนี้ แล้วคุณจะตกใจกับผลลัพธ์จนไม่อยากเชื่อเลยแหละ!

7

ผู้เขียน : Tsuchihashi Tadashi (ทซึจิฮะชิ ทะดะชิ)
ผู้แปล : นพัฒน์ หัทยานันท์

หนังสือ : 195 บาท
จำนวนหน้า : 166 หน้า 

รีวิวหนังสือ หมวด : ไลฟสไตล์ (Life Style)


บทที่ 1 สร้างระบบไหลเวียนกระดาษ เช่น เอกสาร สมุดโน้ต และนามบัตร

6

การจัดการเอกสาร

แยกเอกสารเป็น 4 กลุ่ม

  1. เอกสารที่ใช้งานจริง
  2. เอกสารสำหรับสแกน
  3. เอกสารสำหรับเก็บ
  4. เอกสารที่จะนำไปทิ้ง

คอลัมน์จดหมายเป็นลายลักษณ์อักษร

  • การจัดการสมุดโน้ต
  • แยกชิ้นส่วนสมุดโน้ตอย่างง่าย
  • สแกนอย่างรวดเร็ว
  • เช็กข้อมูลได้ด้วยความรู้สึกที่เหมือนพลิกหน้ากระดาษอยู่จริงๆ
  • การจัดการนามบัตร
  • สแกนอย่างรวดเร็ว
  • การจัดหนังสือและนิตยสาร
  • สร้างระบบการไหลเวียนให้กับหนังสือ
  • วิธีจัดการกับนิตยสาร
  • หนังสือและนิตยสารที่จัดการไม่ได้
  • ทิ้งสิ่งของได้อย่างง่ายดาย

บทที่ 2 มินิมัลลิสต์บนโต๊ะทำงาน

5

  • เปลี่ยนมาลดจำนวนอุปกรณ์ทำงานลง
  • เปลี่ยนออฟฟิศให้มินิมัล
  • ไม่เพิ่มพื้นที่ให้เก็บของ
  • คอลัมน์ เปลี่ยนหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้มีแต่เอกสารเหมือนกับโต๊ะทำงาน
  • แยก การนำมาใช้ กับ การจัดเก็บ ออกจากกันอย่างชัดเจน
  • หยิบกระดาษโน้ตได้ทันที
  • เปลี่ยนโต๊ะทำงานให้เป็นที่นั่งประจำการ
  • คอลัมน์ ตรวจเช็คโต๊ะทำงาน
  • สร้างออฟฟิศด้วยอุปกรณ์จากอิเกีย
  • ประยุกต์พื้นที่แคบๆ ให้ดูกว้างขึ้น
  • เปลี่ยนเก้าอี้ไปตามลักษณะงาน
  • เมื่อซื้อสิ่งของมาแล้วต้องรับผิดชอบต่อของชิ้นนั้นด้วย
  • ฟังก์ชันเดี่ยว ที่ช่วยขัดเกลาตัวเอง
  • สิ่งของฟังก์ชันเดี่ยว ช่วยให้จดจ่อกับสิ่งตรงหน้าได้
  • สมุดโน้ต&ปากกา อุปกรณ์สำหรับคิดงาน
  • หน้ากระดาษที่ปลดปล่อยความคิดได้อย่างอิสระ
  • พื้นที่แนวนอนช่วยขยายความคิดให้กว้างขึ้น
  • ใช้ปากกาหัวแหลมขนาด 0.7 มิลลิเมตรที่มีเส้นหนาเล็กน้อยเวลาคิดงาน
  • แสดงความรู้สึก

บทที่ 3 บริหารเวลาแบบมินิมัลลิสต์

4

  • ใช้อุปกรณ์ที่ไม่ต้องสับเปลี่ยนภายในหัว
  • อุปกรณ์จัดตารางเวลาของผม
  • สมุดแพลนเนอร์แบบรายเดือนที่ตามหามานาน
  • รับรู้ได้ถึงเวลาที่มีอย่างจำกัด
  • ประยุทธ์ใช้สมุดแพลนเนอร์แบบรายเดือนให้เกิดประโยชน์สูงสุด
  • ไม่กลัวพื้นที่ว่างอีกต่อไป
  • สรุปรายการสิ่งที่ต้องทำทั้งหมดให้เหลือเพียงอย่างเดียว
  • วิธีใช้งานของคุณทซึจิฮะ ทะดะชิ
  • ความรู้สึกอุ่นใจจากการรวบรวมสิ่งต่างๆไว้ในที่เดียว
  • สถานที่เก็บรักษาสมุดรวบรวมรายการสิ่งที่ต้องทำ
  • รับมือกับงานชิ้นใหญ่แสนยุ่งยากได้ง่ายขึ้น
  • แยกขั้นตอนการทำงานทำงานทีละขั้นตอนอย่างละเอียดเท่าที่จะทำได้

7 ขั้นตอน เขียนต้นฉบับให้เสร็จ

  1. สรุปประเด็นหลัก
  2. เขียนแบบร่าง (ด้วยมือ)
  3. พิมพ์ออกมาเป็นตัวหนังสือ
  4. เกลาเนื้อหาครั้งที่ 1
  5. เกลาเนื้อหาครั้งที่ 2
  6. เสร็จสมบูรณ์
  7. ส่ง

ยอมรับความไม่สมบูรณ์แบบ เหลือจำนวนรายการสิ่งที่ต้องทำในหนึ่งวันน้อยลง ความแตกต่างระหว่างโน้ต แบบทำรายการ กับ แบบหน้าปัดนาฬิกา ความรู้สึกอุ่นใจที่ได้ทำสิ่งนี้ในตอนนี้

วิธีใช้ของผม คอลัมน์มดกับตั๊กแตนที่อยู่ข้างในตัวเรา ตารางงานในตำแหน่งงานที่คงที่คอลัมน์ คิดถึงเรื่อง การคิด


บทที่ 4 ชีวิตส่วนตัวสไตล์มินิมัลลิสต์

3

จะให้ความสำคัญกับช่วงเวลาไม่ Input และไม่ Output สร้างความว่างเปล่าในหัว จดบันทึกลงสมุดแม้ในเวลาเป็นส่วนตัวสมุดบันทึกจิ๋ว ฟังก์ชันแจ๋ว ไม่กลับมาอ่านอย่างที่คิดไว้

  • บันทึกฉุกเฉิน
  • ไปดื่มคนเดียว
  • อ่านหนังสือทีละ 1 เล่ม

รีวิวหนังสือ โดย : คุณปิยาพัชร ปกครอง (ปาร์มี่)

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3n3JqOI