รวมกลโกงมิจฉาชีพ 2023 ดึงสติ เช็คให้ชัวร์ อย่ากด อย่าส่ง ไม่สูญเงิน

ปัจจุบันกลุ่มมิจฉาชีพมีกลโกงหลอกลวงประชาชนหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นแอบอ้างเจ้าหน้าที่หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน โทรศัพท์พูดคุยและส่งข้อความเพื่อเอาข้อมูล หรือหลอกกดลิงค์ โหลดแอปฯ ให้โอนเงิน และอื่นๆ มาดูกันว่ากลโกงของกลุ่มมิจฉาชีพที่หลายๆ คนพบเจอมาและโดนหลอกมาอยู่ในรูปแบบใดบ้าง

รวมกลโกงมิจฉาชีพ

1.กระทรวงการคลัง

แอบอ้างเป็นผู้บริหารระดับสูง ผ่านทาง Application “LINE” หลอกลวงให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นผู้ได้รับสิทธิตามโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2565 และแนะนำให้ทำธุรกรรมในลักษณะต่างๆ ซึ่งเสี่ยงต่อการสูญเสียทรัพย์สินเงินทอง หรือถูกหลอกถามข้อมูลส่วนตัวที่สำคัญ ทำให้เกิดปัญหาตามมา

2.กรมสรรพากร

กลุ่มมิจฉาชีพแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่สรรพากรโทรศัพท์หลอกลวงประชาชนผู้เสียภาษี เช่น อ้างว่าเป็นหนี้ภาษีอากรค้าง หรือกรมฯ จะคืนภาษีให้ โดยมีเงื่อนไขให้กดลิงค์ปลอมตามที่ส่งให้ทาง SMS หรือ Application Line หรือให้แจ้งรหัส OTP 6 หลัก โดยอ้างว่าจะดำเนินการให้

3.กรมสอบสวนคดีพิเศษ

แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ แจ้งผู้เสียหายมีส่วนเกี่ยวข้องกับคดีการฟอกเงิน โดยบัญชีของผู้เสียหายไปปรากฏอยู่ในคดีการฟอกเงินที่กรมฯ กำลังดำเนินคดีอยู่ ขอให้มาให้ปากคำ และยืนยันตัวตนมิฉะนั้นจะมีความผิด ถ้าไม่อยากถูกดำเนินคดี ขอให้ผู้เสียหายโอนเงินไปให้คนร้าย โดยแจ้งบัญชีและแอบอ้างชื่อปลอม

4.กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

แอบอ้างใช้น้ำเสียง และข้อมูลธุรกิจเชิงลึกสร้างความน่าเชื่อถือ หว่านล้อม หลอกให้ภาคธุรกิจและประชาชนอัพเดทข้อมูลธุรกิจหรือข้อมูลส่วนบุคคลผ่านสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ โดยอ้างชื่อและโลโก้หน่วยงานราชการทำให้ดูน่าเชื่อถือ อ้างข้อกฎหมาย หวังให้ประชาชนเกิดความกลัว ทำตามที่มิจฉาชีพหลอก รู้ตัวอีกทีเงินหมดบัญชี

รวมกลโกงมิจฉาชีพ

5.กรมที่ดิน

แอบอ้างเรื่องการสำรวจผู้เสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง หลอกลวงประชาชนที่ถือกรรมสิทธิ์ห้องชุดในพื้นที่ทั่วประเทศ โทรศัพท์หาประชาชนอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายกองทะเบียนออนไลน์ และส่งหนังสือปลอมทางไลน์ พูดจาหว่านล้อมให้ประชาชนหลงเชื่อ ให้ดาวน์โหลดหรืออัพเดตข้อมูลผ่านทางลิงค์ที่ส่งให้ จากนั้นโทรศัพท์ขึ้นข้อความ “ระหว่างทำการตรวจสอบห้ามใช้งานโทรศัพท์” ระหว่างรอ ระบบจะทำงานตามเปอร์เซ็นต์หน้าจอ ดูดเงินผู้เสียหายจนหมดบัญชี

6.กรมการขนส่งทางบก

แอบอ้างอาสาดำเนินการแทน หรือแอบอ้างว่าสามารถทำใบขับขี่ให้ได้โดยไม่ต้องติดต่อด้วยตนเอง ไม่ต้องผ่านการทดสอบใดๆ เสี่ยงต่อการสูญเสียเงินเมื่อจ่ายไปแล้วมิจฉาชีพมักเงียบหาย การสูญเสียเอกสารสำคัญ เช่น บัตรประจำตัวประชาชน ซึ่งอาจถูกนำไปแอบอ้างทำธุรกรรมที่ผิดกฎหมาย นำไปใช้ก่ออาชญากรรมร้ายแรง

7.กรมการจัดหางาน

แอบอ้างชื่อกรมการจัดหางาน ชักชวนทำงานออนไลน์ในรูปแบบดูโฆษณาเพื่อเพิ่มยอดวิว บางรายมีการ ADD LINE เพื่อใช้ติดต่อ และแสดงตัวเป็นเจ้าหน้าที่รัฐเพิ่มความน่าเชื่อถือ โดยมิจฉาชีพจะสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อนำข้อมูลดังกล่าวไปสร้างความเสียหายในรูปแบบต่างๆ หรือนำไปสวมตัวตนสมัคร Application ทางการเงิน

8.กรมการปกครอง

อ้างเป็นเจ้าหน้าที่จากแอปฯ ThaiD (ไทยดี) เป็นแอปพลิเคชั่นของกรมการปกครองในการแสดงบัตรประชาชนและ ทะเบียนบ้านออนไลน์ มิจฉาชีพจะติดต่อผู้เสียหายหลายทาง อ้างเป็นเจ้าหน้าที่กรมการปกครอง ให้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น ThaiD ปลอม หรือส่ง SMS เข้าโทรศัพท์ผู้เสียหายในชื่อ ThaiD ให้ผู้เสียหายทำการอัพเดทยืนยันตัวตน หรือ อ้างเหตุผลอื่นๆ ผ่านลิงค์ wsc.fit/62 ซึ่งเป็น LINE Account ชื่อ Thai ID ปลอม เพื่อโอนเงินออกไป

9.การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

แอบอ้างตัวเป็นเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) แจ้งดำเนินการเปลี่ยนมิเตอร์ไฟฟ้าที่หมุนเร็วผิดปกติ แอบอ้างได้รับเงินค่าประกันการใช้ไฟฟ้าคืน หลอกให้ดาวน์โหลด แอปพลิเคชั่น PEA Smart Pro หลอกให้ติดต่อผ่าน LINE : PEA 422 นำไปสู่การโอนเงินออกไป

10.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

ชวนลงทุนบนเว็บไซต์ กฟผ. ปลอม ในกองทุนพลังงานหมุนเวียน ทำให้มีผู้หลงเชื่อกรอกข้อมูลหรือสมัครสมาชิก ซึ่งอาจถูกขโมยข้อมูลส่วนตัว เช่น หมายเลขบัตรประชาชน ชื่อ นามสกุล เบอร์โทรศัพท์ รวมถึงยังมีการหลอกลวงในรูปแบบชวนลงทุนสวัสดิการของพนักงาน เพื่อจะได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงอีกด้วย

11.การประปานครหลวง

สร้างเว็บไซต์ปลอมหลอกลวงประชาชนให้บันทึกข้อมูลส่วนตัวแล้วนำไปใช้ในการโจรกรรมข้อมูลทางการเงิน ด้วยการเลียนแบบหน้าเว็บไซต์ทางการของ กปน. หลายเว็บไซต์ รวมถึงแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ กปน. แจ้งลูกค้าว่าค่าน้ำสูง ขอเข้าตรวจสอบพื้นที่ เปลี่ยนมิเตอร์น้ำ รวมถึงแจ้งทำธุรกรรมทางการเงินผ่าน SMS

12.กสทช.

แอบอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่จาก กสทช. พร้อมแจ้งว่าเบอร์โทรศัพท์ภายในชื่อของท่านมีผู้ร้องเรียนจำนวนมาก จึงจะตัดสัญญาณโทรศัพท์ภายใน 2 ชั่วโมง อยากรู้รายละเอียดให้ กด 9 ติดต่อ กสทช.

13.สำนักงานประกันสังคม

แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคม โทรศัพท์แจ้งผู้ประกันตนให้คืนเงินเกินสิทธิที่สำนักงานประกันสังคมได้โอนเข้าบัญชีผู้ประกันตน โดยบอกหมายเลขบัญชี 4 ตัวท้ายที่โอนเกิน และแจ้งเลขบัญชีให้ผู้ประกันตนโอนเงินกลับคืน ซึ่งถ้าไม่เชื่อให้ติดต่อไปยังสถานีตำรวจ โดยแอบอ้างเบอร์โทรศัพท์ปลอม

14.สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.)

แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ สคบ. ข่มขู่-ยึดสินค้า-รีดไถเงิน ซึ่งทาง สคบ. ได้แจ้งว่าการลงพื้นที่ของเจ้าหน้าที่ สคบ. ทุกครั้ง จะมีหนังสือแจ้งให้รับทราบล่วงหน้า

15.ธนาคารแห่งประเทศไทย

กลุ่มมิจฉาชีพที่แอบอ้างแบงก์ชาติ โดยใช้ชื่อแบงก์ชาติเพื่อเสนอสินเชื่อให้ประชาชน หากใครที่ได้รับ SMS แบบนี้ให้มั่นใจได้เลยว่าเป็นการหลอกลวง เพราะแบงก์ชาติไม่ทำธุรกรรมทางการเงินกับประชาชน

16.ธนาคารกรุงไทย

แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคาร โดยใช้เบอร์โทรศัพท์ที่ไม่ได้เป็นของธนาคาร สร้างความกลัว แจ้งว่า บัญชีของคุณเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด หรือ บัญชีของคุณมีความเคลื่อนไหวที่น่าสงสัย ข่มขู่ด้วยโทษ หากไม่ทำตามจะถูกดำเนินคดีในความผิดเกี่ยวกับการฟอกเงิน เมื่อหลงกล จะหลอกให้โอนเงินเพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ หรือ หลอกขอข้อมูลเพื่อเป็นการยืนยันตัวตน หรือ หลอกขอข้อมูลทางบัญชี และรหัส OTP

รวมกลโกงมิจฉาชีพ

17.ธนาคารออมสิน

สร้างเพจเฟซบุ๊กปลอมแอบอ้างเป็นธนาคารออมสิน ให้กู้เงินผ่านแอปพลิเคชั่นไลน์หรือเพจเฟซบุ๊ก โดยที่ธนาคารไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าว ธนาคารได้มีการแจ้งเตือนประชาชนอย่าได้หลงเชื่อ ไม่แอดไลน์สมัครใช้บริการ ไม่กรอกข้อมูลส่วนบุคคล และไม่แชร์ต่อ

18.ธ.ก.ส.

แอบอ้างโดยใช้ตราสัญลักษณ์และชื่อธนาคารทำการปล่อยเงินกู้นอกระบบผ่านทาง SMS โดย ธ.ก.ส. ยืนยันไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำดังกล่าวและไม่มีนโยบายปล่อยเงินกู้ผ่านทาง SMS และสื่อสังคมออนไลน์แต่อย่างใด

19.ธนาคารกสิกรไทย

กลุ่มมิจฉาชีพส่ง SMS เลียนแบบธนาคารกสิกรไทยเพื่อหลอกลวงลูกค้า ให้โอนเงิน รวมถึงมีโทรศัพท์อ้างเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคารกสิกรไทย ให้ชำระหนี้บัตรเครดิตจำนวนเท่านั้นเท่านี้

20.กรมสอบสวนคดีพิเศษ

แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ DSI หลอกลวงประชาชนให้หลงเชื่อและโอนเงินให้ โดยมีลักษณะพฤติการณ์ จะโทรศัพท์หาผู้เสียหายโดยแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่กรม DSI แจ้งว่าผู้เสียหายมีส่วนเกี่ยวข้องกับคดีการฟอกเงิน โดยบัญชีของผู้เสียหายไปปรากฏอยู่ในคดีการฟอกเงินที่กรมฯ กำลังดำเนินคดีอยู่ ขอให้มาให้ปากคำและยืนยันตัวตน มิฉะนั้นจะมีความผิด และถ้าไม่อยากถูกดำเนินคดี ขอให้ผู้เสียหายโอนเงินให้ โดยแจ้งเลขบัญชีและแอบอ้างชื่อปลอม

รวมกลโกงมิจฉาชีพ

21.ไปรษณีย์ไทย

แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ไทย และเจ้าหน้าที่ตำรวจ โทร.ติดต่อแจ้งผู้ใช้เสียหายว่าสิ่งของที่ฝากส่งเป็นสิ่งของผิดกฎหมาย พร้อมทั้งออกอุบายช่วยโอนสายไปยังผู้แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งจะเสนอตัวเป็นผู้ดำเนินการทางกฎหมายเพื่อไม่ให้มีคดีความ โดยผู้ใช้บริการจะต้องโอนเงินค่าดำเนินการเข้าบัญชีของมิจฉาชีพก่อน

22.สภากาชาดไทย

มิจฉาชีพหลอกโอนเงินบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวในต่างประเทศ เช่น ตุรกีและสาธารณรัฐอาหรับซีเรีย โดยผู้มีความประสงค์บริจาคเงินผ่านบัญชีธนาคาร ชื่อบัญชีจะต้องเป็น “สภากาชาดไทย เพื่อภัยพิบัติ” เท่านั้น มิใช่บัญชีที่ขึ้นต้นด้วยชื่อบุคคล นาย นาง นางสาว

23.ปตท.

แอบอ้างชื่อหรือตราสัญลักษณ์ของ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. เพื่อหาประโยชน์ในทางมิชอบในช่องทางการสื่อสารออนไลน์ต่างๆ เช่น การโพสต์ข้อความผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียต่างๆ ชักชวนให้ผู้เสียหายร่วมลงทุน สร้างรายได้ หรือทำธุรกรรมทางการเงิน สุดท้ายหลอกโอนเงินให้มิจฉาชีพ

24.การบินไทย

แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่สายการบินแจกตั๋วเครื่องบินฟรีในฤดูกาลท่องเที่ยว โดยให้กดลิงค์ที่แนบมากับข้อความดังกล่าวเพื่อเป็นการเพิ่มเพื่อนสายการบินทางไลน์ จากนั้นจะมีเจ้าหน้าที่โทรศัพท์ติดต่อไปยังผู้เสียหายสอบถามข้อมูลต่างๆ และหลอกลวงให้ติดตั้งแอปพลิเคชั่นของสายการบินที่ส่งให้ทางไลน์ ดูดเงินจนเกลี้ยง

รวมกลโกงมิจฉาชีพ

25.บางจาก

กลุ่มมิจฉาชีพที่หลอกลวงให้ลงทุนเทรดหุ้นบริษัทน้ำมัน โดยแอบอ้างชื่อของบางจากฯ ผ่านการโฆษณาข้อความบน Fasebook ทำให้มีผู้เสียหายโอนเงินไปยังบัญชีธนาคารของกลุ่มมิจฉาชีพจำนวนมาก

26.กลุ่มอมตะ

หลอกเหยื่อให้ร่วมลงทุนหุ้นของกลุ่มอมตะ โดยการสร้างเพจขึ้นมา มีภาพคุณวิกรม กรมดิษฐ์ กรรมการผู้จัดการและกรรมการกลุ่มบริษัทอมตะ ทำให้ดูน่าเชื่อถือ เมื่อผู้เสียหายสนใจก็จะให้ Add Line แล้วอ้างตัวเป็นโบรกเกอร์ พูดคุยชวนเปิดพอร์ตลงทุนระยะสั้น ได้ผลตอบแทนสูง จนผู้เสียหายหลงเชื่อโอนเงินเข้าบัญชีม้า

27.ซีพีออลล์

กลุ่มมิจฉาชีพหลอกลวงผู้เสียหาย แอบอ้างชื่อและตราสัญลักษณ์ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ชวนเชื่อให้ลงทุนด้วยการโอนเงินเข้าบัญชีของกลุ่มมิจฉาชีพ ซึ่งอ้างว่าได้รับผลตอบแทนสูง ทำให้มีผู้หลงเชื่อตกเป็นเหยื่อ

28.ไทยประกันชีวิต

แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ไทยประกันชีวิต ส่ง SMS เพื่อหลอกลวงให้ผู้เอาประกันภัย และคนภายนอกโดยทั่ว ให้หลงเชื่อว่าได้รับการติดต่อจากไทยประกันชีวิต มุ่งประสงค์ต่อข้อมูลส่วนบุคคลหรือทรัพย์สินของบุคคลดังกล่าว

29.ร้านอาหาร

แอบอ้างเป็นลูกค้าของร้านอาหาร และได้อ้างว่าทางร้านได้ส่งอาหารมาผิด จะขอคืนเงินทั้งหมด รวมถึงการหลอกจองโต๊ะ สั่งอาหาร สั่งไวน์แพงๆ ที่มิจฉาชีพจัดหาให้ แล้วให้ร้านอาหารโอนเงินค่ามัดจำ

รวมกลโกงมิจฉาชีพ

สรุปก็คือ กลโกงส่วนใหญ่ของกลุ่มมิจฉาชีพ มักจะแอบอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคาร, เจ้าหน้าที่รัฐ โดยที่เจอมาจะเป็น กรมสรรพากร ตำรวจ ไปรษณีย์ เพื่อให้มีความน่าเชื่อถือ โทรมาพูดคุยและส่ง Link มาให้ผ่าน SMS หรือ Line หรือ Facebook เพื่อหลอกให้กด Link เมื่อหลงกด Link จะมีการติดตั้งแอปฯ เพื่อควบคุมหน้าจอมือถือ จนดูดเงินออกเกลี้ยง

ดังนั้น เพื่อป้องกันถูกหลอกโอนเงิน ต้องดึงสติ เช็คให้ดี เช็คให้ชัวร์ เบอร์แปลกโทรมา อ้างหนี้ อ้างตำรวจ อ้างให้ส่งเอกสาร จงอย่าไว้ใจ อย่ากด อย่าส่ง อย่าทำตามเด็ดขาด

เจ้าของธุรกิจ หรือผู้สนใจทำแฟรนไชส์ สนใจรับคำปรึกษาวางระบบแฟรนไชส์ คลิก https://bit.ly/3MAqgPI
เจ้าของธุรกิจสนใจบริการจดเครื่องหมายการค้าแฟรนไชส์ คลิก https://bit.ly/3My1RtT

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช