มาดูกัน! 6 วิธีการ บริหารเงิน ให้รวย ด้วยตัวคุณเอง

ไม่ว่าคุณจะเป็นมนุษย์เงินเดือน เจ้าของกิจการ หรืออาชีพอื่นๆ ก็สามารถที่จะ บริหารเงิน ได้ด้วยตัวเองแบบง่ายๆ เพื่อเพิ่มสภาพคล่อง มีเงินเก็บ มีเงินออม หรือมีเงินลงทุน เพื่อสร้างความมั่งคั่งให้ตัวเอง และมีไว้ใช้เป็นค่าใช้จ่ายในยามจำเป็น หรือไว้ใช้ในวัยเกษียณ

ที่ส่วนใหญ่จะนิยมในเรื่องของการเดินทางท่องเที่ยว และการรักษาสุขภาพร่างกาย ไม่แน่ถ้าหากคุณรู้จักวางแผนการเงินดีๆ อาจมีเงินช่วงวัยเกษียณหลักสิบล้านหรือหลักร้อยล้านบาทด้วยซ้ำไป

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีเคล็ดลับการบริหารเงินด้วยตัวคุณเองแบบง่ายๆ เพื่อจะได้มีเงินเก็บ เงินออม จนเหลือนำไปลงทุน เพื่อสร้างความมั่งคั่งให้กับตัวเองได้ในอนาคต มาดูกันเลยว่าจะเริ่มต้นอย่างไรครับ

บริหารเงิน

ภาพจาก : https://goo.gl/xshI39

1.แบ่งเงินไว้สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน

เงินในส่วนนี้คุณจะต้องแบ่งเอาไว้ประมาณ 55% ของรายได้ทั้งหมดที่คุณหามาได้ ถือเป็นเงินที่จะถูกแบ่งไว้เพื่อใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็น ค่าอาหาร ค่าเดินทาง ค่าสินค้าอุปโภคบริโภค หรือรายจ่ายที่ต้องจ่ายทุกเดือน อย่างค่าบ้าน ค่าที่พักอาศัย ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าน้ำมันรถ และหนี้สินต่างๆ โดยเงินในส่วนนี้จะเป็นเงินที่ใช้จ่ายแล้วไม่ก่อให้เกิดรายได้ใดๆ ตามมา

2.แบ่งเงินไว้สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายส่วนตัวตามใจชอบ (เดินทางท่องเที่ยว)

เงินในส่วนนี้คุณจะต้องแบ่งเอาไว้ประมาณ 10% ของรายได้ทั้งหมด ซึ่งจะเป็นเงินที่นำไปใช้จ่ายส่วนตัวตามใจชอบ ถือเป็นรางวัลให้กับชีวิต หลังจากเหนื่อยยากจากการทำงานแต่ละเดือน เป็นเงินที่คุณจะสามารถใช้ได้อย่างอิสระ เช่น เดินทางท่องเที่ยว หรืออื่นๆ โดยไม่ต้องพะวงหน้าพะวงหลัง ซึ่งเงินจำนวนนี้ถ้าหากคุณไม่มีความจำเป็นต้องใช้ คุณอาจนำไปเก็บเป็นออม หรือฝากธนาคารก็ได้

3.แบ่งเงินไว้สำหรับการลงทุน เพื่อสร้างความมั่งคั่ง

ถือเป็นเงินอีก 10% ของรายได้ทั้งหมด ที่คุณจะต้องแบ่งเอาไว้เพื่อนำไปสร้างความมั่งคั่ง เพราะนอกเหนือจากการเก็บออมเงินในรูปแบบต่างๆแล้ว การลงทุนเพื่อสร้างความมั่งคั่งเป็นเรื่องสำคัญ

ดังนั้น การแบ่งเงินเพื่อใช้ในการลงทุนจึงเป็นเรื่องที่ขาดไม่ได้ อาจเป็นเงินที่มีไว้ใช้ในวัยเกษียณ โดยการลงทุนนี้ไม่จำเป็นต้องอยู่ในรูปแบบของกองทุนหรือหุ้นเท่านั้น แต่ยังสามารถใช้ไปในการทำประกันแบบสะสมทรัพย์ เงินฝากดอกเบี้ยสูง สลากออมสิน หรือการซื้อสินทรัพย์เพื่อเก็งกำไร

i21

ภาพจาก : https://goo.gl/0cwVm2

4.แบ่งเงินไว้สำหรับเป็นค่าการศึกษาหาความรู้ หรือเพิ่มทักษะ และความชำนาญ

คุณควรแบ่งเงินเอาไว้ประมาณ 10% ของรายได้ที่รับมา เพื่อไว้สำหรับเพิ่มความรู้ให้กับตัวเอง เพราะคนเราไม่มีคำว่าแก่เกินไปสำหรับการเรียนรู้ ดังนั้น เงินส่วนนี้จึงกลายเป็นเงินเพื่อการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม ซึ่งไม่จำเป็นต้องจำกัดอยู่ที่การสมัครเรียนเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการซื้อหนังสือ การอบรมสัมมนา การเข้าคอร์สเรียนอาชีพ และการเข้าเวิร์กช็อปต่างๆ

5.แบ่งเงินไว้สำหรับการเก็บออมระยะยาว เพื่อค่าใช้จ่ายในโอกาสต่างๆ

คุณอาจจะเก็บเงินประมาณ 10% ของรายได้ทั้งหมด ไว้สำหรับเป็นเงินออมระยาว อาจจะฝากไว้ในธนาคารหรือเก็บไว้ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายบางอย่างที่อาจจะมีกำหนดจ่ายห่างกันนานๆ

อย่างเช่น เบี้ยประกันชีวิต ต่อประกันรถยนต์ จ่ายค่าภาษีรถยนต์ หรือแม้แต่การเก็บเงินเพื่อการแต่งงาน การซื้อบ้าน ค่าใช้จ่ายของลูก การแบ่งเงินในส่วนนี้เอาไว้จะช่วยทำให้คุณเก็บเงินได้อย่างสม่ำเสมอ เมื่อถึงเวลาที่จะต้องจ่ายจะได้มีกำลังในการจ่าย ไม่ต้องไปหยิบยืมให้เป็นหนี้คนอื่น

6.แบ่งเงินไว้สำหรับให้บิดา-มาดา หรือผู้มีพระคุณ

เงินในส่วนนี้ 5% ของรายได้ทั้งหมด อาจจะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ที่ไม่เหมือนกันก็ได้นะครับ ผมถ้าใครที่ยังมีบิดา-มารดา หรือผู้มีพระคุณต่อตัวคุณ จำเป็นต้องแบ่งเงินในส่วนนี้เอาไว้ให้บิดา-มารดา หรือผู้มีพระคุณนะครับ เพราะเป็นตอบแทนบุคคลที่ได้ช่วยเหลือคุณมาตลอด

คุณจะได้เจริญในหน้าที่งาน มิหนำซ้ำเงินที่คุณให้พ่อแม่คุณไปอาจจะเป็นเงินออมของคุณด้วยก็ได้ เพราะส่วนใหญ่พ่อแม่จะไม่กล้าใช้เงินที่ลูกส่งให้ หรือถ้าใช้ก็จะใช้ในสิ่งที่จำเป็นเท่านั้น

i22

ภาพจา : https://goo.gl/FLB98Q

ทั้งหมดเป็นวิธีการบริหารเงินแบบง่ายๆ แต่ถ้าไม่มีระเบียบวินัยในการออมเงิน หรือการจัดสรรค่าใช้จ่ายต่างๆ รวมถึงไม่ลงมือทำอย่างจริงจัง ต่อเนื่อง ก็ไม่อาจจะสร้างนิสัยที่ดีในเรื่องการเงินได้ ผลก็คือไม่สามารถจะสร้างความมั่งคั่งได้

ดังนั้น ขอบอกกับทุกคนว่าเรื่องเงินเป็นเรื่องสำคัญของชีวิต เก็บออมก่อนแล้วค่อยใช้จ่ายจะดีที่สุด เท่านี้ชีวิตของคุณก็ไม่อับจนเป็นแน่ ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านในการสร้างความมั่งคั่งให้กับตัวเองนะครับ

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช