พ่อค้าหน้าใหม่! จะรับมือกับ พ่อค้าเจ้าถิ่น เก่าได้อย่างไร

คำว่า พ่อค้าเจ้าถิ่น ดูเหมือนจะเป็นเรื่องรุนแรงแต่ที่จริงแล้วหมายถึงบรรดาพ่อค้าแม่ค้ารายเก่าแก่ที่เคยค้าขายในตลาดนั้นๆมาก่อนส่วนพวกพ่อค้าหน้าใหม่อาจไม่ได้ไร้ประสบการณ์ซะทีเดียวเพียงแต่เพิ่งย้ายมาขายที่ตลาดซึ่งไม่คุ้นเคย แน่นอนว่าต้องมีหลายอย่างที่ควรปรับตัวเพื่อให้การค้าขายทำรายได้สมกับที่ตั้งใจไว้

www.ThaiSMEsCenter.com ขอนำเสนอวิธีการที่จะทำให้การขายของในตลาดแห่งใหม่ที่ไม่คุ้นเคยกลายเป็นเรื่องที่ทำแล้วสบายใจมากขึ้น แน่นอนว่าเรื่องของการศึกษาปัจจัยแวดล้อมจะทำให้เราเข้าใจสถานการณ์ของตลาดและพร้อมทำตัวให้คล้อยตามเพื่อการค้าขายที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ตลาดเปิดใหม่ครั้งแรก

พ่อค้าเจ้าถิ่น

สำหรับตลาดใหม่ ที่เหมือนจะเริ่มต้นกันใหม่ทุกคน แต่อย่าพึ่งสบายใจกันไป เพราะปกติแล้วผู้จัดตลาดนัด จะมีกลุ่ม พ่อค้า แม่ค้า เก่าที่ตามจากตลาดอื่นๆ ของผู้จัดตลาดมาด้วย หรือถึงแม้จะไปตลาดนัดที่มีผู้จัดตลาดเริ่มจัดใหม่ๆ ที่ไหนเป็นตลาดที่ทำเล น่าสนใจเราก็จะต้องเผชิญกับกลุ่ม พ่อค้า แม่ค้า ที่รวมตัวกันมาจองล็อค และเลือกทำเล วางสินค้าที่ดี

โดยวิธีการแล้วผู้จัดตลาดเมื่อคิดเปิดตลาดใหม่มักใช้การประชาสัมพันธ์ไปยังพ่อค้าที่อยู่ในตลาดเก่าของตัวเอง ก่อนที่จะแจกใบปลิวไปตามสถานที่ต่างๆ รวมถึงการออกสื่อโฆษณาต่างๆ สิ่งสำคัญที่เราต้องทำคือ

hu8

  1. ต้องทำความรู้จักกับพ่อค้าแม่ค้ามืออาชีพเอาไว้บ้าง เพื่อที่เวลามีข่าวสารของตลาดใหม่ที่ไหนจะได้เข้าถึงข้อมูลได้เร็วขึ้น
  2. ข้อดีของการมีพันธมิตเป็นพ่อค้าแม่ค้ามืออาชีพนอกจากได้ข่าวเร็วเขาอาจช่วยจองล็อค หรือจองโควตาขายสินค้า ในตลาดแห่งใหม่ได้อีกด้วย

แต่ถ้าเป็นผู้จัดตลาดรายใหม่ที่ไม่เคยมีพื้นที่การขายที่ไหนมาก่อน สิ่งที่เราควรทำคือรีบติดต่อผู้จัดเพื่อสอบถามรายละเอียด ขอเข้าไปดูสถานที่ จองพื้นที่ แจ้งสินค้าที่เราจะนำไปขาย เพื่อที่จะได้สิทธิ์ ในการขายสินค้าในประเภทนั้นๆ ก่อนใครๆ

ตลาดนัดเก่า

hu7

สำหรับตลาดนัดเก่าถ้าเป็นตลาดนัดที่ขายดี ล็อคมักจะเต็ม และมีผู้ขายอยู่ก่อนแล้ว สินค้าที่ขายก็จะมีหลากหลายจนยากที่สินค้าของเราจะไม่ไปซ้ำกับของใครในตลาด ถึงแม้ว่าสินค้าที่เราต้องการขายจะยังไม่เกินโควต้าของตลาดนัดแห่งนั้น ก็ใช่ว่าเราจะสามารถเข้าไปขายได้โดยง่าย เพราะจะต้องเจอปัญหาการกีดกันจาก ผู้ขายเจ้าเก่าบางท่าน ที่มองว่าเป็นการแย่งลูกค้าของเค้า

ดังนั้นการเข้าไปสอบถามผู้ขาย เรื่องความต้องการขายสินค้าของเราโดยตรง หรือสอบถามถึงผู้จัด อาจจะไม่ใช่ทางเลือกที่ดีนัก หลายครั้งที่เรามักจะได้คำตอบว่าไม่มีพื้นที่ขายแล้ว หรืออื่นๆ ที่ทำให้เราไม่ได้รับการตอบรับที่ดีพอ

hu9

วิธีการสำคัญสำหรับการเข้าถึงตลาดแบบนี้บางครั้งก็ต้องมีการพลิกแพลงกันบ้างเพื่อให้สามารถเข้าถึงผู้จัดได้ดีขึ้นเช่น

  1. ถ้าเข้าไม่ถึงตัวผู้จัด ก็จำเป็นต้องหาข้อมูลของผู้จัดด้วยวิธีอื่นๆ เช่นเบอร์โทรจากสื่อต่างๆ หรือการสอบถามจากพ่อค้าตลาดอื่นที่ไม่ใช่คนในตลาดนั้นๆ
  2. รอจังหวะที่ผู้จัดหรือเจ้าหน้าที่ของตลาดมาเก็บค่าเช่าล็อค อาจอาศัยจังหวะนี้เข้าไปสอบถามข้อมูลการลงพื้นที่ร้านค้าที่เราต้องการได้
  3. ทางลัดที่น่าสนใจอีกอย่างคือการสอบถามร้านที่กำลังเซ้งล็อค แล้วตกลงราคาซื้อล็อคจากผู้ขายเดิม ทางผู้จัดรับรู้ และเปลี่ยนชื่อเจ้าของล็อคให้เรียบร้อยทีนี้เราก็มีสิทธิ์ในการเป็นเจ้าของล็อคอย่างถูกต้อง และสามารถทำการค้าในตลาดนั้นๆได้ทันที

hu10

ในการช่วงชิงพื้นที่การค้านั้นที่จริงแล้วต้องอาศัยความอดทนที่เป็นเลิศ และบางครั้งก็ต้องมีเทคนิคที่พลิกแพลงไปมากกว่าที่เรานำเสนอ ซึ่งถ้าพื้นที่ตลาดนั้นเป็นทำเลทองที่พร้อมทำกำไรก็เป็นความพยายามที่น่าจะคุ้มค่า

แต่สิ่งที่สำคัญกว่าคือเมื่อได้ขายสินค้าในตลาดนั้นแล้วก็ต้องรู้จักคล้อยตามเหมือนสุภาษิตเข้าเมืองตาหลิ่วต้องหลิ่วตาตาม ดูลักษณะการขายในตลาดให้ดีว่าเป็นไปในทิศทางไหนแล้วดำเนินกิจการเราให้สอดคล้อง การค้าในตลาดใหม่ก็จะเป็นหนทางสดใสได้อย่างที่ใจเราคิดไว้

และสำหรับคนที่กำลังมองหาทำเลค้าขายน่าสนใจสามารถเข้ามาแหล่งรวมทำเลค้าขายจากทั่วประเทศไทยได้ที่ goo.gl/UraBZ4

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด