ผลกระทบ “การค้าไทย-เมียนมา” ในวิกฤตค่าเงินจ๊าต

กรณีวิกฤตการเงินของเมียนมา จนธนาคารกลางเมียนมาออกคำสั่งให้ธนาคารแจ้งลูกค้าระงับการจ่ายหนี้ทั้งเงินต้น และดอกเบี้ย แก่เจ้าหนี้ต่างประเทศ เพื่อรักษาปริมาณเงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่ลดลงต่อเนื่อง 

โดยที่ผ่านมาพบว่าบริษัทต่างประเทศในเมียนมา มีเงินกู้ยืมในสกุลต่างประเทศอย่างน้อย 1,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และเริ่มเห็นรัฐบาลเมียนมาเข้าควบคุมค่าเงินอย่างชัดเจนมาตั้งแต่เดือนเมษายน 2565 ที่ผ่านมา

ผลกระทบ

มาตรการดังกล่าวรัฐบาลมีคำสั่งให้ผู้ที่มีเงินต่างประเทศแปลงสกุลเงินของตนเองเป็นเงินจ๊าต โดยอัตราอ้างอิงธนาคารกลางที่ 1,850 จ๊าต/ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นมาตรการหนึ่งของรัฐบาล เพื่อป้องกันความผันผวนของสกุลเงินจ๊าต

รัฐบาลเมียนมายังห้ามนำเข้ารถยนต์ สินค้าฟุ่มเฟือย จำกัดการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันปรุงอาหาร เพื่อรักษาปริมาณเงินสำรองระหว่างประเทศ แม้ยังอนุญาตให้ใช้เงินหยวนและเงินบาทเพื่อการค้าชายแดนกับจีนและไทยอยู่ก็ตาม

5

ภาพจาก https://bit.ly/3vjCLGz

กรณีดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยอย่างไร “คุณกริช อึ้งวิฑูรสถิตย์” ประธานสภาธุรกิจไทย-เมียนมา ได้ให้ความคิดเห็นในภาพรวมว่า ประเทศเมียนมาหลังจากได้รับผลกระทบจากโควิด-19 จนกระทั้งการเปลี่ยนแปลงการปกครอง อีกทั้งปัญหาเศรษฐกิจโลกจากผลสงครามยูเครน-รัสเชีย ตามมาด้วยเหตุการณ์ในประเทศศรีลังกา ทำให้เกิดสภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกได้รับผลกระทบถ้วนหน้า

ในขณะที่ประเทศเมียนมาซึ่งมีความเปราะบางอยู่เป็นทุน ย่อมได้รับผลมากกว่าประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆ และปัญหาเศรษฐกิจในเมียนมา ที่สภาพของกระแสเงินสดในท้องตลาดที่ไม่อยู่ในสภาพที่คล่อง ส่งผลให้เงินทุนสำรองระหว่างประเทศลดน้อยลงอย่างมีนัยยะ รัฐบาลเมียนมาได้พยายามออกมาตรการต่างๆ ออกมา

4

ภาพจาก https://bit.ly/3cyyA3a

เช่น ในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2565 ได้มีการออกกฎระเบียบการห้ามนำเข้าสินค้า 6 ประเภทเข้ามาทางชายแดน เพื่อลดการขาดดุลการค้า และเมื่อได้สองเดือนก่อนหน้านี้ ก็ได้ออกมาตรการบังคับให้บริษัทต่างๆ ที่มีเงินฝากหรือเงินชำระค่าสินค้าที่เป็นเงินสกุล US$ ให้แลกเป็นเงินจ๊าดภายใน 24 ชั่วโมง เพื่อช่วยในการพยุงมิให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจ จากการดำเนินมาตรการต่างๆ ดังกล่าว ก็ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาเงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่ถดถอยน้อยลงได้

ดังนั้น เมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ทางธนาคารกลางแห่งประเทศเมียนมา จึงได้มีการออกประกาศให้ทุกภาคส่วน ระงับการชำระหนี้ที่เป็นหนี้สกุล US$ ออกไปก่อน แต่ยังคงผ่อนปรนให้มีการใช้นโยบายบาท-จ๊าตละหยวน-จ๊าตในการดำเนินการค้าชายแดนต่อไป ระเบียบการดังกล่าวอาจจะส่งผลกระทบทั้งในด้านบวกและลบต่อการค้า-การลงทุนของธุรกิจไทยอย่างแน่นอน

3

สำหรับปัจจัยที่นำไปสู่มาตรการสั่งพักชำระหนี้เป็นเงินสกุล US$ เพราะเนื่องจากผลที่ทางรัฐบาลเมียนมาได้รับผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำ อีกทั้งเพื่อปกป้องเงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่มีน้อยอยู่แล้ว มิให้เกิดปัญหาการขาดเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ อันเนื่องมาจากการขาดดุลการค้าและบริการ และการต้องชำระหนี้เงินกู้ ที่ทุกปีจะต้องมีการชำระไม่น้อย 1200 ล้านเหรียญสหรัฐ ดังนั้นการระงับชำระเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้เมียนมาสามารถยืนหยัดอยู่ได้

ประธานสภาธุรกิจไทย-เมียนมา เผยต่อว่า นโยบายดังกล่าวอาจจะทำให้เจ้าหนี้ทั่วไป มีความรู้สึกไม่สบายใจหรือเกิดความไม่เชื่อมั่นต่อประเทศเมียนมา แต่ในสถานการณ์ปัจจุบันนี้ ที่ประเทศเมียนมาเอง ก็ถูกแซงชั่นจากชาติตะวันตกอยู่แล้ว คงไม่มีทางเลือกอื่นที่ดีกว่าหยุดเลือดให้ไหลได้

แนวโน้มการค้า-ลงทุนไทย-เมียนมา

2

ด้านการค้าปัจจุบันนี้การค้าระหว่างประเทศของไทย-เมียนมา มีมูลค่า 188,000 ล้านบาทต่อปี ในขณะที่ 5 เดือนที่ผ่านมา ไทยเรามียอดการค้าระหว่างประเทศกับเมียนมาอยู่ที่ 108,959.55 ล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 38.12% ไม่นับรวมการค้าที่ไปโดยไม่ได้บันทึก อีกทั้งเป็นการค้าชายแดนเสีย 91.64% เป็นการค้าทางเรือหรือที่เรียกว่าการค้าระหว่างประเทศทั่วไป(Normal Trade) อยู่ที่ 8.36% และทางรัฐบาลเมียนมายังผ่อนปรนให้ใช้นโยบายบาท-จ๊าตอยู่

ดังนั้น จึงไม่ส่งผลต่อการค้าเลย อาจจะเป็นผลดีสำหรับการค้าด้วยซ้ำ หากผู้ประกอบการรู้จักใช้นโยบายดังกล่าวนี้ให้เป็นประโยชน์และถูกกฎหมาย อีกทั้งยังเป็นกำแพงที่ไม่ใช่ภาษี( Non-tariff barrier) ให้กับสินค้าไทยด้วยซ้ำ

ถ้าเราเปรียบเทียบการค้าระหว่างประเทศของไทย-เมียนมา และระหว่างประเทศไทยกับประเทศอื่นๆ จะเห็นว่าประเทศไทยมีแต้มต่อมากกว่าประเทศอื่นๆ มาก เพราะประเทศอื่นๆ ไม่มีพรมแดนติดกับประเทศเมียนมา พ่อค้าแม่ค้าและนักธุรกิจส่วนใหญ่จะทำการค้าขายโดยใช้เงินสกุลเหรียญสหรัฐ ทำให้ติดกับดักกับนโยบายดังกล่าว ดังนั้น สภาธุรกิจไทย-เมียนมาอยากขอให้นักธุรกิจขาวไทยยิ้มไว้ในใจก็พอ อย่าไปกระโตกกระตากมากจนเกินหน้าเกินตา

ไม่ล้มละลาย แต่…ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย

1

บางคนถามว่าทำไมเมียนมาถึงออกมาตรการดังกล่าว ประธานสภาธุรกิจไทย-เมียนมาได้ยกตัวอย่างให้ฟังเล่นๆ สมมุติว่ารัฐบาลประเทศเมียนมาเป็นบุคคลธรรมดาคนหนึ่ง และโลกใบนี้เป็นสังคมเดี่ยว ที่มีเงินสกุลอะไรสักอย่างหนึ่งเป็นเงินของคนทั้งโลก เอาเป็นว่าเงินดอลลาร์ เมื่อในกระเป๋าของคนๆ นั้น เงินเริ่มที่จะลดลง มากกว่าหนี้ที่จะต้องชำระ และมองว่าหากชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ไปแล้ว เงินจะหมดกระเป๋า

เป็นธรรมชาติที่คนๆ นั้นก็จะต้องบอกเจ้าหนี้ว่า ขอผมหายใจหายคอสักระยะหนึ่งได้มั้ย ขอผ่อนชำระน้อยหน่อย หรือหยุดชำระหนี้ก่อนได้มั้ย รอเงินในกระเป๋าผมมีมากพอที่จะชำระหนี้ได้ แล้วผมจะจ่ายให้ ก็เข้าตำรา “ไม่มี ไม่หนี้ ไม่จ่าย” หรืออีกนัยยะหนึ่ง คือการขอประนอมหนี้ แล้วเข้าสู่กระบวนการปรับโครงสร้างหนี้ แล้วอย่างนี้เขายังไม่ได้ล้มละลาย เราจะไปว่าเขาได้หรือไม่? แม้แต่ศาลแพ่งของเรา ก็ยังมีกระบวนการนี้เลย

สำหรับธุรกิจและกลุ่มสินค้าของประเทศไทยที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบบ้างเล็กน้อยจากมาตรการของรัฐบาลเมียนมา ได้แก่ กลุ่มวัสดุก่อสร้าง ที่ส่งออกไปเมียนมา เช่น ปูนซีเมนต์ กระเบื้อง เซรามิต และสินค้าวัสดุอื่นๆ รวมไปถึงกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง, กลุ่มเครื่องดื่ม, กลุ่มพลังงาน และ กลุ่มชิ้นส่วน


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

 

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3Bs0zvX

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช