นโยบายผู้ว่าฯ กทม. กับธุรกิจแฟรนไชส์ ปี 2022

นโยบายของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนใหม่ “คุณชัชชาติ สิทธิพันธุ์” ที่น่าสนใจชวนจับตามอง สำหรับผู้ประกอบการ เจ้าของธุรกิจ รวมถึงพ่อค้าแม่ค้า นั่นก็คือ นโยบายด้านเศรษฐกิจ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องปากท้อง ช่องทางทำหากิน ช่องทางทำมาค้าขาย การเข้าถึงแหล่งเงินทุนของผู้ประกอบการ รวมถึงเรื่องการส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการในแต่ละพื้นที่

นโยบายด้านเศรษฐกิจดังกล่าว มีความน่าสนใจอย่างไร วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อมูลมานำเสนอให้ทราบ ซึ่งนโยบายเหล่านี้จะมีสอดคล้องและเกื้อหนุนต่อธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทยอย่างไร มาดูกันครับ

นโยบาย…ดึงอัตลักษณ์ สร้างเศรษฐกิจ 50 ย่านทั่วกรุงเทพฯ

นโยบายผู้ว่าฯ

ภาพจาก https://bit.ly/38LzQP0

แต่ละย่านของกรุงเทพฯ มีอัตลักษณ์เฉพาะตัว คือ มีสินค้า กิจกรรม หรือบริการ ที่สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน แต่หลายๆ ย่านขาดการรวมกลุ่ม ในขณะที่บางแห่งขาดการประชาสัมพันธ์หรือกลไกจากภาครัฐสนับสนุน

กทม. จะพัฒนาการเชื่อมต่อของแต่ละย่านให้เข้าถึงได้ง่าย ควบคู่ไปกับการส่งเสริมองค์ความรู้ การประชาสัมพันธ์ การสนับสนุนรวมกลุ่มของผู้ประกอบการในพื้นที่ การช่วยประสานงานกับสถาบันทางการเงินเพื่อหาสินเชื่อต้นทุนต่ำ ช่วยส่งเสริมการจัดการกิจกรรมเพื่อดึงดูดนักลูกค้าและนักท่องเที่ยวเข้ามาใช้จ่ายที่ย่าน (เช่น การจัด one day trip การจัดถนนคนเดิน) และการเสริมกิจกรรมจนกลายเป็นย่านที่แข็งแรง ดึงดูดผู้คนเข้ามาและเกิดการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจ

แนวทางการพัฒนา ได้แก่ ย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy District), ย่านธุรกิจ-เศรษฐกิจการค้า, ย่านรับจ้างผลิต OEM (Original Equipment Manufacturer), ย่านสตรีทฟู้ด, ย่านที่เป็น Node สำคัญ, ย่านนวัตกรรม

นโยบาย…ขยายโอกาสให้ผู้ประกอบการ ผ่านการเชื่อมโยงเศรษฐกิจภายในกรุงเทพฯ

17

ภาพจาก https://bit.ly/38LzQP0

ประโยชน์ที่จะได้รับ คือ ผู้ประกอบการในกรุงเทพฯ ได้โอกาสในการเข้าถึงพื้นที่จำหน่ายสินค้าของตนเองมากขึ้น ทำให้เกิดเศรษฐกิจที่หมุนเวียนเม็ดเงินกันภายในพื้นที่รายละเอียดคร่าวๆ ของนโยบายดังกล่าว คือ ที่ผ่านมาผู้ประกอบการ SMEs มีข้อจำกัดทางข้อมูลในการเข้าถึงช่องทางการจัดจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นในมิติความรู้ความเข้าใจเทคโนโลยี มิติเครือข่ายในการค้า

ดังนั้น กทม.จะรวบรวมช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าทั้งในและต่างประเทศ เครือข่ายร้านกทม.และร้านชุมชน พร้อมกับวิธีการและแนวทางในการเข้าถึงช่องทางเหล่านี้เป็นแค็ตตาล็อก ให้กับผู้ประกอบการในพื้นที่ได้เลือกและใช้งาน ซึ่งจะสามารถช่วยต่อยอดโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ให้กับผู้ประกอบการที่สนใจ นอกจากนี้ ยังเป็นการส่งเสริมให้เกิดการหมุนเวียนของธุรกิจและเม็ดเงินระหว่างกันภายในเอกชนในพื้นที่กรุงเทพฯ

นโยบาย…ตลาดนัดชุมชน ตลาดนัดเขต

ประโยชน์ของนโยบาย คือ เพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจและช่องทางการขายสำหรับการประกอบธุรกิจของรายย่อย และเพิ่มตัวเลือกให้กับผู้บริโภค และได้สนับสนุนผู้ค้ารายย่อย ผู้ว่าฯ กทม.จะจัดหาพื้นที่พัฒนาตลาดนัดประจำชุมชนประจำเขต เพื่อให้ประชาชนได้พื้นที่ค้าขายที่ค่าเช่าต่ำ โดยพิจารณาพื้นที่ราชการของ กทม. หรือปิดถนนคนเดินบางเส้นทาง

นโยบาย…ส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (creative economy) ผลักดัน Hi-Tech และ Hi-Touch

16

ภาพจาก https://bit.ly/38EIyyE

ประโยชน์ที่จะได้รับ คือ ร้านค้าและผู้ประกอบการสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจจากความสร้างสรรค์ได้ รวมถึงผู้บริโภคสามารถเข้าถึงสินค้าและบริการที่น่าสนใจมากขึ้น

ที่ผ่านมากทม.ยังขาดการดำเนินการด้านเศรษฐกิจระดับเมืองแม้มีอำนาจและกลไกที่ใช้ได้ ซึ่งเศรษฐกิจสร้างสรรค์ คือ เศรษฐกิจที่ใช้ความคิดสรรสร้างเป็นผลผลิตและใช้เป็นเครื่องมือที่น่าสนใจในการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจในทุกระดับ

กทม.จะประสานงานกับหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สนับสนุน ตลอดจนผลักดันกรุงเทพมหานครให้เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของภูมิภาคในอนาคต รวมถึงผลักดันอุตสาหกรรมแห่งอนาคตอย่างเทคโนโลยีขั้นสูง เช่น อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ อุตสาหกรรม eSports แพลตฟอร์มช้อปปิ้งออนไลน์ ตลอดจนอุตสาหกรรมที่มีคุณค่า ภูมิปัญญาท้องถิ่น

สำหรับทางด้านการบริการ (Hi-Touch) กทม.ต้องผลักดันอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและการบริการ เช่น สปา-นวดแผนไทย อาหาร สตรีทฟู้ด ช้อปปิ้งซื้อ-ขายสินค้า (shopping destination) ตลอดจนการแสดงศิลปวัฒนธรรม และผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นที่มีอัตลักษณ์และมูลค่าสูง (value creation) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจสร้างสรรค์

กทม.จะดำเนินการอำนวยความสะดวกด้านฐานข้อมูลผลิตภัณฑ์และผู้ประกอบการ จัดนิทรรศการตลอดจนประชาสัมพันธ์งานเทศกาลของเมือง (City Event) เพื่อดึงดูดการลงทุนและนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ รวมถึงเชื่อมโยงความร่วมมือของผู้ประกอบการเอกชน และกลุ่มอุตสาหกรรมเชื่อมโยงสู่หลักสูตรของสถานศึกษาในกรุงเทพฯ และศูนย์ฝึกอาชีพ เพื่อจับคู่อาชีพทักษะขั้นสูงกับความต้องการตลาด

นโยบายผู้ว่าฯ กทม.เกื้อหนุน…แฟรนไชส์

15

ภาพจาก https://bit.ly/3GaDyxQ

หากวิเคราะห์นโยบายด้านเศรษฐกิจของผู้ว่าฯ กทม.คนใหม่ จะพบว่า มุ่งเน้นการช่วยเหลือผู้ประกอบการ SME ให้มีช่องทางทำมาหากิน ช่องทางในการค้าขาย โดยกทม.จะเป็นผู้จัดหาพื้นที่เปิดร้านค้าขายให้กับผู้ประกอบการ ซึ่งก็รวมไปถึงผู้ประกอบการแฟรนไชส์ ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มอาหาร เครื่องดื่ม สตรีทฟู้ด ค้าปลีก สปา-นวดแผนไทย ฯลฯ

โดยเฉพาะเรื่องของแฟรนไชส์อาหารไทย และสปา-นวดแผนไทย หากกทม.สามารถจัดหาทำเลในการเปิดร้านเพื่อปั้นให้เป็นย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ดึงอัตลักษณ์ สร้างเศรษฐกิจ 50 ย่านทั่วกรุงเทพฯ จะสามารถดึงดูดผู้บริโภคและนักท่องเที่ยวได้เป็นจำนวนมาก อีกทั้งสอดรับกับแทรนด์แฟรนไชส์ในปี 2022 ที่เน้นด้านความสะดวกซื้อ สะดวกทาน ซึ่งธุรกิจแฟรนไชส์เหล่านี้จะเหมาะสำหรับทำเลแนวสตรีทฟู้ด ปิดถนนคนเดิน เป็นต้น

ทั้งนี้ ปัจจุบันธุรกิจแฟรนไชส์ไทยมีมูลค่าตลาดโดยรวมกว่า 3 แสนล้านบาท มีอัตราเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 20.3 ต่อปี โดยในแต่ละปีมีผู้ประกอบการรายใหม่เข้าสู่ธุรกิจแฟรนไชส์ราวๆ 15,000 – 20,000 ราย โดยกลุ่มอาหารและเครื่องดื่มมีสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 50 รองลงมา คือ กลุ่มค้าปลีก กลุ่มธุรกิจบริการ กลุ่มธุรกิจความงามและสปา และกลุ่มธุรกิจการศึกษา

14

13

12

11

10

9

8


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

ข้อมูลจาก https://www.chadchart.com/policy/

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3Gks9vt

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช