นวัตกรรมการตั้งราคาใหม่ ให้แบรนด์ของคุณไม่เชย

กว่าจะ ตั้งราคาขาย ได้ต้องนั่งคำนวนตัวเลขมากมายไม่รู้จบ เมื่อก่อนจะตั้งราคาทั้งทีอาจจะใช้กลยุทธ์ที่ลงท้ายด้วยเลข 9 เพื่อไม่ให้ดูแพงจนเกินไป ทำให้ลูกค้ามองว่าราคาถูก

อย่างเช่น ราคาบุฟเฟ่ต์หัวละ 199 กับ 200 บาท พอมองตัวเลขแล้ว ราคามักต่างกัน ผู้บริโภคมองว่า 199 บาทคุ้มกว่า ทั้งที่จริงห่างกันแค่เพียง 1 บาทเท่านั้น www.ThaiSMEsCenter.com มองว่าในปัจจุบันมีการตั้งราคาล้ำๆมากกว่านั้น มีอะไรบ้างไปศึกษากันเลย..

1. Pay as you wish จ่ายตามใจตามสบายหายห่วง

ตั้งราคาขาย

ภาพจาก Panasm’s Blog

การที่ให้ผู้บริโภคนำสินค้าไปใช้ก่อนได้เลย แล้วค่อยเสียเงินทีหลัง อย่างเช่น การดาวน์โหลดโปรแกรมหรือแอพพลิเคชั่น ที่เจ้าของไฟล์ยินดีให้มีการทดลองใช้หรือให้เอาไปใช้ฟรีๆก่อนได้เลย

ถ้าพอใจอยากใช้ต่อก็เชิญเสียตังได้ หรือจะเป็นร้านกาแฟ Roots Coffee Roaster ย่านสุขุมวิท ก็เคยใช้การตั้งราคาเช่นนี้ให้ดื่มก่อนแล้วค่อยมาจ่าย ปรากฏว่าดึงดูดใจลูกค้าแบบถล่มทลายขายดีมากๆ

2. Name Your Own Price อยากจ่ายเท่าไหร่ก็จ่าย

3

ภาพจาก freepik

เป็นการตั้งราคาที่คล้ายกับข้อแรกอยู่มาก แต่ไม่มีสิทธิ์ทดลองใช้ก่อน กล่าวง่ายๆคือ ให้ลูกค้าตั้งงบการซื้อสินค้ามาว่าอยากจ่ายเท่าไหร่ แล้วทางร้านหรือบริษัทจะจัดหาสินค้าในราคาที่ลูกค้าตั้งไว้มาให้

จุดสำคัญเลยคือ ลูกค้ามีอำนาจกำหนดราคาแล้ว แต่ไม่สามารถเจาะจงเลือกแบรนด์เองได้ อย่างเช่น ลูกค้ากำหนดราคาโรงแรม และสิ่งที่ต้องการมา เว็บไซต์หาที่พักก็จะหามาให้คุณตามกำหนด แต่ไม่สามารถเลือกโรงแรมได้

3. Dynamic Pricing ตั้งราคาแบบพลวัต

2

ภาพจาก bit.ly/37K4oNX

เป็นการตั้งราคาที่ขึ้นๆลงๆ แล้วแต่ของที่เหลือในสต็อก การตั้งราคาแบบนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่เป็นการตั้งราคาที่ทำกำไรให้องค์กรได้เป็นจำนวนมาก อย่างเช่น ราคาตั๋วเครื่องบิน หรือโรงแรม ที่ยิ่งเหลือที่ว่างน้อยก็ยิ่งราคาสูงขึ้นเท่าตัว

ทำให้ผู้บริโภคเข้าใจว่า ถ้าเราจองกันตั้งแต่เนิ่นๆ จะได้ราคาที่ถูก ทำให้กลยุทธ์นี้ไปได้สวย และในอนาคตอาจจะมีการตั้งราคาแบบนี้ในสินค้าอื่นๆตามมาอีกแน่นอน กล่าวสั้นๆให้เข้าใจว่า “ยิ่งของเหลือน้อย ยิ่งแพง” นั่นเอง

4. Pay It Forward จ่ายให้คนถัดไป

1

ภาพจาก bit.ly/3pev9zH

กลยุทธ์นี้เป็นการตั้งราคาของนักการตลาดชั้นเซียน ที่พลิกแพลงจนทำให้การควักเงินจ่ายของลูกค้าเป็นเรื่องสนุก เพราะถ้าคุณไปทานอาหารที่ร้าน และมีคนบอกว่ามีลูกค้าก่อนหน้าจ่ายเงินให้คุณแล้ว คุณจะรู้สึกอย่างไร? และเมื่อคุณทานเสร็จคุณจะต้องจ่ายเงินให้คนที่มาทานหลังคุณด้วย บางทีอาจจะจ่ายแพงกว่าที่คุณทานเข้าไปด้วยซ้ำ

แต่ยอมจ่ายเพราะรู้สึกดีที่มีคนจ่ายให้ก่อนหน้านี้นั่นเอง ซึ่งมีร้านอาหาร Karma Kitchen ที่ California ได้ลองตั้งราคาเช่นนี้ กลับประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม ถ้าคุณกล้าที่จะแตกต่างแบรนด์ของคุณอาจจะเป็นที่จดจำของผู้บริโภค


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

 

อ้างอิงจาก https://bit.ly/2KuOWw7