ทุน 1 แสน เปิดร้านเอง หรือ ซื้อแฟรนไชส์ดี

ทุน 1 แสน บาท แต่อยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง ควรเลือกเปิดร้านด้วยตัวเอง หรือ ลงทุนซื้อแฟรนไชส์ดี? เชื่อว่าหลายคนอาจมีความหนักใจ หรือชั่งใจว่าจะเลือกแบบไหนดีที่เหมาะกับตัวเอง และสถานการณ์ในปัจจุบัน

แต่ไม่ว่าจะเปิดร้านเอง หรือซื้อแฟรนไชส์ ก็น่าสนใจทั้งสองอย่าง เพราะหากเปิดร้านเอง แบรนด์มีชื่อเสียง สินค้าติดตลาด สามารถต่อยอดด้วยการขายแฟรนไชส์ได้ แต่ถ้าเป็นการซื้อแฟรนไชส์เจ้าดังๆ สินค้าและบริการได้รับความนิยม ก็มีสิทธิรวยได้เร็วเช่นเดียวกัน

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะนำเสนอข้อมูลเปรียบเทียบให้ดูระหว่าง เปิดร้านเอง และ ซื้อแฟรนไชส์ ภายใต้เงินลงทุน 100,000 บาท แบบไหนมีความน่าสนใจมากที่สุด และเหมาะกับตัวเรามากที่สุดครับ

1.วัสดุและอุปกรณ์ในการเปิดร้าน (ต้นทุนประมาณ 50,000 – 70,000)

ทุน 1 แสน

ภาพจาก www.facebook.com/manoith/

เปิดร้านเอง

ผู้ที่จะเปิดร้านเองจะต้องจัดเตรียมวัสดุและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องในการเปิดร้านขายสินค้าเองทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นโต๊ะ เก้าอี้ เครื่องครัว การตกแต่ง ป้ายชื่อร้าน ป้ายชื่อเมนู และอื่นๆ โดยเจ้ากิจการสามารถเลือกรูปแบบของร้านได้ตามใจชอบ แต่อาจจะมีค่าใช้จ่ายในเรื่องการจ้างช่างออกแบบตกแต่ง ค่าป้าย ทาสี ติดแอร์ ซึ่งงบประมาณอาจจะไม่คงที่ในส่วนนี้

ซื้อแฟรนไชส์

เจ้าของแฟรนไชส์จะเตรียมวัสดุและอุปกรณ์ในการขายให้ทั้งหมด รวมถึงการออกแบบตกแต่งร้านให้เหมือนกับร้านต้นแบบแฟรนไชส์ทุกอย่าง ผู้ซื้อแฟรนไชส์แทบไม่ต้องทำอะไร เจ้าของแฟรนไชส์จัดเตรียมให้ทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นคีออส ป้ายชื่อ ป้ายเมนู รวมถึงอุปกรณ์ใช้ในการผลิตสินค้าและบริการ ซึ่งจะทำให้ทราบว่าต้องใช้เงินลงทุนในส่วนนี้เท่าไหร่

2.วัตถุดิบ สินค้า และต้นทุนการผลิต (ต้นทุนประมาณ 20,000 – 30,000)

9

ภาพจาก www.facebook.com/FranchiseBamithadkrathaleng/photos

เปิดร้านเอง

ผู้ที่จะเปิดร้านเองจะต้องคิดว่าจะขายอะไร คิดเอง ทำเองทุกอย่าง รวมถึงการคิดสูตรในการผลิตสินค้าขึ้นมาเอง ปรับสูตรใหม่ ลองผิด ลองถูกด้วยเองทุกอย่าง กว่าจะได้สูตรหรือสินค้าที่ลงตัว อาจจะต้องใช้เวลายาวนาน ซึ่งไม่รู้ว่าจะนานเท่าไหร่ และต้นทุนในการซื้อวัตถุดิบอาจจะบานปลายกับการทดลองสูตรใหม่ๆ เมื่อได้สูตรที่ลงตัวแล้ว อาจจะต้องคิดราคาขายสินค้าเอง ตามต้นทุนของวัตถุดิบตามแต่ละช่วงเวลา ที่สำคัญต้องไปซื้อวัตถุดิบและสินค้ามาขายเองทุกอย่าง

ซื้อแฟรนไชส์

ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะได้รับสินค้าและวัตถุดิบที่มีคุณภาพมาฐานจากบริษัทแม่แฟรนไชส์มาขาย ไม่ต้องคิดสูตร ไม่ต้องเสียเวลาในการลองผิด ลองถูก เมื่อได้รับสิทธิแฟรนไชส์ ผ่านการอบรมการขาย การผลิตสินค้า ก็เปิดร้านขายได้ทันที ซึ่งราคาขายก็เป็นไปตามบริษัทแม่ ไม่ต้องคิดราคาขายให้ปวดหัว ที่สำคัญบริษัทแม่จะจัดส่งสินค้าและวัตถุดิบให้ ทำให้ไม่ต้องมีต้นทุนในการขนส่ง

3.การทำตลาดและโฆษณาประชาสัมพันธ์

8

ภาพจาก www.facebook.com/hereauannoodle/

เปิดร้านเอง

ผู้เปิดร้านเองจะต้องทำการตลาดและประชาสัมพันธ์ด้วยตัวเอง ซึ่งว่ากันว่าอาจจะต้องใช้เวลาประมาณ 2-3 เดือน หรือมากกว่านี้ในการทำให้สินค้าและบริการติดตลาด โดยต้นทุการทำตลาดประมาณ 10-15% ขึ้นอยู่กับว่าเจ้าของกิจการจะเลือกช่องทางการทำตลาดแบบไหน ที่สำอาจจะต้องใช้ทีมงาน หรือจ้างคนนอกให้มาช่วยทำตลาดให้ ทำให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น

ซื้อแฟรนไชส์

เจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์จะมีหน้าที่ทำการตลาดและโฆษณาประชาสัมพันธ์ ให้กับผู้ซื้อแฟรนไชส์ตลอดอายุสัญญาแฟรนไชส์ เพราะเจ้าของแฟรนไชส์ต้องการที่จะให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์เติบโตไปด้วยกัน ยิ่งผู้ซื้อแฟรนไชส์เติบโต ขายดิบขายดี บริษัทแม่ก็จะเติบโตไปด้วย ได้รับส่วนแบ่งจากยอดขายเพิ่มขึ้นด้วย (Royalty Fee) แต่บางครั้งผู้ซื้อแฟรนไชส์อาจต้องเปิดเพจโปรโมทร้านเพื่อแจ้งโปรโมชั่นให้กับร้านของตัวเอง ดึงดูดลูกค้าในละแวกใกล้เคียงให้รับทราบต่อเนื่อง

4.วิธีการขายและบริหารจัดการร้าน

7

ภาพจาก www.facebook.com/MaruChaoffice/

เปิดร้านเอง

ผู้ที่เปิดร้านเองจะต้องวางแผนการขาย คิดค้นระบบการขาย วิธีการขาย การสต็อกสินค้า บริหารต้นทุน ระบบการเงิน ฯลฯ หากเจ้ากิจการที่ไม่มีความรู้ในเรื่องเหล่านี้ อาจจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเข้าคอร์สเรียนเพิ่ม หรือจ้างคนที่มีความเชี่ยวชาญมาวางระบบในการขายและบริหารจัดการร้านให้ แน่นอนว่าต้องมีค่าใช้จ่ายต่างๆ มากมาย ที่ไม่สามารถประมาณการได้ แต่รายได้จากการขายนั้น จะรับเต็มๆ ไม่ต้องแบ่งให้กับใคร

ซื้อแฟรนไชส์

ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะได้รับคู่มือแฟรนไชส์ ซึ่งในนั้นจะรวบรวมวิธีการขาย วิธีการบริหารจัดการร้าน การสต็อกสินค้า ระบบการเงิน เรียกว่าทุกอย่างที่เกี่ยวกับขายและการบริหารจัดการร้าน ผู้ซื้อแฟรนไชส์ที่ไม่มีความรู้ก็จะได้รับการอบรมจากบริษัทแม่แฟรนไชส์จนกว่าจะรู้และปฏิบัติได้ทุกอย่าง เพียงแค่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ต้องปฏิบัติตามระบบแฟรนไชส์ที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด ส่วนรายได้จากการขายหากเป็นแฟรนไชส์อาจต้องแบ่งให้กับบริษัทแม่แฟรนไชส์ด้วย

5.งบประมาณและค่าใช้จ่ายโดยรวม

6

ภาพจาก www.facebook.com/maruwaffle/

เปิดร้านเอง

ผู้ที่เปิดร้านเองจะต้องวางแผนด้านการเงินอย่างรัดกุม เริ่มตั้งแต่การออกแบบตกแต่งร้าน วัสดุอุปกรณ์ กระบวนการผลิต การทำตลาด การขนส่ง เพราะค่าใช้จ่ายในส่วนเหล่านี้อาจจะบานปลายได้ จากงบ 1 แสน เพิ่มเป็น 2 แสน

ซื้อแฟรนไชส์

สำหรับผู้ซื้อแฟรนไชส์จะรู้ว่าจะต้องใช้เงินลงทุนจำนวนเท่าไหร่ ทำให้สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้ ไม่ว่าจะเป็นค่าแฟรนไชส์แรกเข้า หรือ ค่าตกแต่งร้าน วัสดุและอุปกรณ์ในการขาย จึงทำให้ไม่ยุ่งยาก เสียเวลาเหมือนเปิดร้านเอง จ่ายเงินครบทุกอย่างแล้วเปิดร้านขายได้ทันที ไม่ต้องทำการตลาด เพราะมีกลุ่มลูกค้ารองรับอยู่ก่อนแล้ว

ได้เห็นกันหรือยังว่ามีเงิน ทุน 1 แสน คิดจะเปิดร้านเอง หรือ ซื้อแฟรนไชส์ ใครที่กำลังอยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง ลองพิจารณาอย่างรอบคอบ ว่าเปิดร้านเอง หรือ ซื้อแฟรนไชส์ แบบไหนดีกว่ากัน

สนใจซื้อแฟรนไชส์ด้วยงบ 100,000 คลิก https://bit.ly/3kkJR6x


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

อ่านบทความเพิ่มเติม https://bit.ly/30BJq08

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช