ทุนจีนยุคใหม่ บุกเศรษฐกิจไทย แบบลุยดะ ฉะทุกวงการ

สินค้าจีนทะลักเข้าไทยแบบพายุ ทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ โหมเข้ามาทุกทิศทาง ส่วนกลุ่มทุนจีนยึดเบ็ดเสร็จทุกอุตสาหกรรมไทย ทั้งท่องเที่ยว ร้านอาหาร เครื่องดื่ม แฟรนไชส์ รถยนต์อีวี อีคอมเมิร์ซ ขนส่งพัสดุ กระทบธุรกิจท้องถิ่นของไทยจำนวนมาก

ทุนจีนฉะทุกวงการ

ทุนจีนยุคใหม่

การเข้ามาของทุนจีนส่วนใหญ่ส่งผลกระทบต่ออาชีพคนไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 9 อาชีพ ประกอบด้วย ไกด์, บริษัททัวร์รายย่อย, ผู้ประกอบการรถบัส, โรงแรมขนาดเล็ก, เรือโดยสารสปีดโบ๊ต, ร้านอาหารจีน, ร้านของฝาและร้านจิวเวลรี, ร้านนวดสปา และร้านขายผลไม้ ร้านผลไม้หลายแห่งที่ทัวร์จีนมักจะพานักท่องเที่ยวลงซื้ออยู่เป็นประจำ

เดิมทีเจ้าของเป็นคนไทยอาจมีการตกลงร่วมกัน แต่ปัจจุบันเริ่มพบว่าทุนจีนมีการขยับขยายเปิดร้านขายเอง หรืออาจจ้างคนไทยหน้าร้านเท่านั้น มีรูปแบบคล้ายๆ “ทัวร์ศูนย์เหรียญ” ที่นักธุรกิจท่องเที่ยวจีนเคยทำในไทยมาแล้ว ทำให้ผลประโยชน์และผลตอบแทนที่ได้รับจากทัวร์จีนนั้น แทบไม่เหลือตกมาถึงผู้ประกอบการไทยเลย

ร้านอาหาร

ทุนจีนยุคใหม่

ยกตัวอย่างกรณีธุรกิจร้านอาหารในย่านไชน่าทาวน์เยาวราชไปจนถึงปากคลองตลาด พบว่าส่วนใหญ่เป็นร้านอาหารของนายทุนจีน เปิดแข่งกับพ่อค้าแม่ค้าชาวไทยหลังโควิดจางลง พอรัฐบาลเปิดประเทศช่วงต้นปี 2567 พลิกฟื้นเศรษฐกิจด้วยการท่องเที่ยว ดึงนักท่องเที่ยวชาวจีนกลับมาหลังหายไป 3 ปี แต่นักธุรกิจชาวจีนเห็นโอกาสช่องทางทำหากินในไทย ดึงดูดเงินในกระเป๋าคนจีนด้วยกันเอง จึงเปิดร้านอาหาร ร้านค้าแข่งผู้ประกอบการไทย ด้วยความได้เปรียบที่เงินทุนหนากว่า

เมื่อร้านอาหารจีน มีเจ้าของเป็นคนจีนเกิดขึ้นมากมาย ส่งผลให้ค่าเช่าร้านในแต่ละย่านทั้งเยาวราช สำเพ็งแพงขึ้น 2-3 เท่าตัว จากเดิม 50,000-100,000 บาท/เดือน เป็น 200,000 บาท/เดือน ทำให้ผู้ประกอบการอยู่ไม่ได้

ทุนจีนยังขยายพื้นที่มาหากินมายังย่านห้วยขวาง เปิดธุรกิจร้านอาหารจีนหมาล่า หม้อไฟ เป็นจำนวนมาก พบว่าตัวเลขที่เป็นร้านอาหารของคนจีนแท้ๆ ราวๆ 60 ร้าน เรียงรายสองข้างถนนประชาราษฎร์บำเพ็ญ โดยคนจีนที่เปิดร้านอาหารย่านห้วยขวางส่วนใหญ่จะเป็นนักท่องเที่ยวมาก่อน บางคนร่วมหุ้นกับคนไทย เพื่อให้คนไทยออกหน้าทำธุรกรรมแทน

ธุรกิจแฟรนไชส์

ทุนจีนยุคใหม่

กลุ่มทุนจีนบุกตลาดในไทยยังมีในรูปแบบ “แฟรนไชส์” อย่าง “MIXUE” ร้านไอศกรีมและเครื่องดื่มชาจากจีน เข้ามาเปิดตลาดในไทยช่วงกลางปี 2565 ขยายสาขาไปแล้วมากกว่า 200 สาขาทั่วประเทศ และอีกแบรนด์ตามมาติดๆ คือ WEDRINK เปิดตลาดในไทยช่วงต้นปี 2567 ขยายสาขาแล้ว 6 สาขาอย่างรวดเร็ว สร้างกระแสไอศกรีมซอฟท์เสิร์ฟในไทย

ขนส่งพัสดุ

ภาพจาก เบสท์ เอ็กซ์เพรส

นอกจากนี้ ยังมีธุรกิจขนส่งพัสดุในไทยที่บริหารโดยกลุ่มทุนจีน ไม่ว่าจะเป็น เบสท์ เอ็กซ์เพรส ที่มีสาขาในไทยแล้วกว่า 848 แห่ง ล่าสุดบริษัทขนส่งพัสดุค่ายสีส้ม “เคอรี่ เอ็กซืเพรส” บริษัทขนส่งพัสดุแถวหน้าเมืองไทย ก็ถูกกลุ่มทุนจีนอย่าง “เอสเอฟ อินเตอร์เนชั่นแนล โฮลดิ้ง” เข้าเทกโอเวอร์กิจการ ซื้อหุ้น 1,200 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 70% ของกุ้นทั้งหมด ทำให้ตลาดขนส่งพัสดุในไทยน่าจับตาขึ้นมาทันที

รถยนต์ไฟฟ้า

https://citly.me/KvD7Z

กลุ่มอุตสาหกรรม EV มีกลุ่มทุนจีน 2 ค่ายบริษัท เอสเอไอซี มอเตอร์ – ซีพี จำกัด (SAIC MOTOR – CP) หรือ ผู้ผลิตรถเอ็มจี (MG) และ บริษัท ฉางอาน ออโต้ เซ้าท์อีส เอเชีย จำกัด (CHANGAN AUTO SOUTHEAST ASIA CO., LTD.) ได้ประกาศลงทุนผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในไทย ท่ามกลางกระแสข่าว “ทุนจีนทำ EV ไม่ต่างทัวร์ศูนย์เหรียญ” ทำลายเศรษฐกิจไทย

อีคอมเมิร์ซ

ภาพจาก facebook.com/alibabagroupth

อุตสาหกรรมเทคโนโลยีดิจิตัล อีคอมเมิร์ซในประเทศไทย ยังมีกลุ่มทุนจีนอย่าง “อาลีบาบา” เข้ามาลงทุนในไทย ย้อนไปเมื่อปี 2561 สมัยรัฐบาลประยุทธ์ ได้มีนักลงทุนรายใหญ่จากประเทศจีน “อาลีบาบา” เข้ามาลงทุนในไทยมูลค่า 11,000 ล้านบาท สร้างกระแสฮือฮาในตอนนั้นเป็นอย่างมาก เพราะมีทั้งคนได้ประโยชน์ และเสียประโยชน์

คนได้ประโยชน์ คือ

  1. ผู้บริโภคคนไทย คนจีน สินค้าราคาถูกจากจีน สินค้าราคาถูกจากไทยส่งออก ทำให้ผู้บริโภค 2 ประเทศ ซื้อสินค้าถูกลง
  2. การจ้างในธุรกิจอีคอมเมิร์ซเพิ่มขึ้น เช่น ขนส่งพัสดุ คลังสินค้า
  3. ผู้ผลิตเอสเอ็มอีมีช่องทางการขายมากขึ้น เข้าถึงลูกค้าหลากหลาย
  4. แพลตฟอร์มอาลีบาบา ได้ประโยชน์ในฐานตัวกลางการขาย

คนเสียประโยชน์ คือ

  1. เจ้าของร้านค้าปลีดั้งเดิมในไทย สินค้าออนไลน์มีต้นทุนต่ำกว่า
  2. พ่อค้าคนกลาง ถูกตัดออก ถ้าไม่มาขายสินค้าในอาลีบาบา
  3. ธุรกิจเอสเอ็มอี ผู้ผลิตสินค้าแบบคนจีน แข่งเรื่องต้นทุนไม่ไหว ถูกแย่งตลาดไป

สินค้าจีนทะลัก กระทบ SME ไทย

ทุนจีนยุคใหม่

สาเหตุการเข้ามาของสินค้าจีน ตลาดโลกที่สั่งซื้อสินค้าจีนมีออเดอร์ชะลอตัว บวกกับเศรษฐกิจยังไม่ฟื้น ขณะที่กำลังผลิตเท่าเดิม สินค้าจีนล้นตลาด จึงหาตลาดรองรับ ส่วนหนึ่งกระจายเข้ามาในไทย สินค้าจีนมีราคาถูก ที่ผ่านมาสินค้าจีนแย่งตลาดอยู่แล้ว

แต่ตอนนี้มีปริมาณมากขึ้น มีสินค้าหลากหลาย กระทบผู้ผลิตไทยโดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ที่สำคัญตอนนี้ขั้นตอนการขนส่งสินค้าเข้ามาในไทยง่ายมาก สั่งออนไลน์แบบ 1-2 ชิ้น ก็เข้ามาส่งได้อย่างสะดวกแล้ว

กรณีดราม่ากางเกงช้างจีนบุกตลาดไทย เป็นเรื่องความรวดเร็วทางการค้า ใครฉกฉวยก่อนได้เปรียบ เพจลุยจีน ระบุว่า กางเกงช้างจีนขายในเว็บจีนขายส่งตัวละ 6 หยวน หรือ 30 บาท พ่อค้าแม่ค้าไทยรับมาขาย อัพราคาขึ้นอีก 65 บาท 75 บาท แถมขายพ่วง 2 ตัว 150-199 บาท เมื่อสินค้าจีนผลิตออกมาถูก ผู้ผลิตไทยจะเอาอะไรไปสู้

5 กลุ่มสินค้าจีนทะลักเข้าไทยมากที่สุด

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประมาณการณ์ยอดขายค้าปลีกปี 2567 เติบโตชะลอตัวจากปีก่อน ราวๆ 3.0% คิดเป็นมูลค่าประมาณ 4.1 ล้านล้านบาทมีแรงหนุนจากการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวต่างชาติ

แม้ภาพรวมตลาดค้าปลีกในไทยจะเติบโต แต่เจอปัญหาการแข่งขันจากสินค้าจีนเข้ามาตีตลาดในไทย ทำให้ผู้ผลิตสินค้าไทยได้รับผลกระทบอยู่ในสถานการณ์ยากลำบาก ในปี 2566 ไทยนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคจากจีนมูลค่า 469.5 แสนล้านบาท เพิ่ม 2.8% หรือราว 41% ของการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคทั้งหมด

สินค้าจีนที่เข้ามาตีตลาดไทย มีทั้งของกินของใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า สัดส่วน 43.3%, ผักผลไม้และปรุงแต่ง 10%, เสื้อผ้าและรองเท้า 9.3%, เครื่องใช้ในบ้านและของตกแต่ง 9.1% และ ของใช้ในครัวเรือนและโต๊ะอาหาร 9%

การเข้ามาตีตลาดของสินค้าจากจีน กระทบผู้ผลิตสินค้าในไทย สินค้านำเข้าบางรายการจากจีนถูกกว่าไทย เช่น สินค้าแฟชั่น รองเท้า กระเป๋า ของไทยราคาชิ้นละ 499-630 ส่วนของจีน 100-260 บาท รวมถึงผักผลไม้สดและปรุงแต่งของไทยขาย 97,000 บาท/ตัน นำเข้าจีน 35,000 บาท/ตัน โดยผลกระทบที่เกิดขึ้นทำให้กำลังการผลิตสินค้าแฟชั่น รองเท้า เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย และเฟอร์นิเจอร์ ลดลงเหลือเพียง 30-45% เท่านั้น

สาเหตุสินค้าจีนบุกตลาดไทย ได้ราคาถูก

  • รัฐบาลจีนให้การสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าเข้ามาในไทย อุดหนุนค่าจัดส่งทางเรือถ้ามีการส่งปริมาณมากๆ ประมาณ 70-80% ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด ทำให้ผู้ประกอบการจีนมีค่าใช้จ่ายขนส่งถูกลง
  • ผู้ประกอบการจีนลงทุนสร้างโกดัง สต็อคสินค้าในไทย ลดปัญหาส่งของล่าช้าจากจีน
  • รัฐบาลไทยไม่จัดเก็บภาษีสินค้าที่มาจากจีนตามข้อตกลงเขตการค้าเสรี (FTA)

สมอ.ตรวจเข้มมาตรฐานสินค้าจีน

จากการนำเข้าสินค้าจากจีนมาจำหน่ายในไทยเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ที่ผ่านมาทางสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ได้ทำการตรวจเข้มงวดมาตรฐานสินค้าจากจีน ได้เชิญผู้จำหน่ายสินค้าแพลตฟอร์มออนไลน์ 300 ราย

เพื่อควบคุมสินค้าเกี่ยวกับความปลอดภัยของประชาชน โดยเฉพาะสินค้าจำพวกเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน เช่น กระทะไฟฟ้า เตาปิ้งย่าง หม้ออบลมร้อน พัดลม ไดร์เป่าผม ที่หนีบผม ปลั๊กพ่วง ยาวรถยนต์ ของเล่น หมวกกันน็อก เหล็ก วัสดุก่อสร้าง

ผลการดำเนินงานตั้งแต่ 1 ต.ค.2566 – 2 ธ.ค.2566 ได้ทำการตรวจยึดและอายัดสินค้าจากผู้ประกอบการ 50 ราย คิดเป็นมูลค่ากว่า 74.49 ล้านบาท ได้แก่ ยางล้อและยานยนต์ เหล็กและวัสดุก่อสร้าง 20 ราย มูลค่า 56.15 ล้านบาท, ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 20 ราย มูลค่า 17.43 ล้านบาท และ โภคภัณฑ์ เครื่องมือแพทย์ ยางและผลิตภัณฑ์ยาง สีและพลาสติก และเคมี 10 ราย มูลค่า 901,362 บาท
ทางออกสินค้าไทยสู้ด้วยคุณภาพ

การแก้ปัญหาสินค้าจีนทะลักเข้าไทยจำนวนมาก ผู้ที่เกี่ยวข้องหลายคนบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า คงต้องสู้ด้วยคุณภาพ เมื่อสู้ต้นทุนไม่ได้ ก็ต้องสู้ด้วยคุณภาพสินค้า แต่ต้องคุ้มราคา หาช่องทางการขายและสร้างฐานลูกค้าใหม่ๆ ถ้าผู้ประกอบไทยทำได้ดีกว่า เชื่อว่าลูกค้าจะมาหาเอง พอทุนจีนอยู่ไม่ได้ก็อาจไปเอง ในบ้านตัวเองถ้าไม่สู้ ก็รอเจ๊งอย่างเดียว

แต่เชื่อหรือไม่ว่า กรณี “ทุนจีน” หรือ “สินค้าจีน” บุกตลาดเมืองไทย ส่งผลให้ผู้ประกอบการไทยอยู่ยาก จนเป็นกระแสในตอนนี้ จะมีคนที่ได้ประโยชน์และเสียประโยชน์จำนวนมาก

แหล่งข้อมูล

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช