ถกไม่เถียง! ธุรกิจทำตามๆ กัน สุดท้าย…ตายเร็ว?

คิดยังไงกับธุรกิจที่เป็นกระแส คนแห่ทำตามๆ กัน เห็นเจ้าแรกๆ ทำแล้วรุ่ง ทำแล้วรวย คนหลังๆ มากเห็นเกิดการเลียนแบบ อยากทำแบบเขาบ้าง โดยไม่คิดให้ดี ไม่คำนึงถึงผลกระทบ สุดท้ายเจ๊งตามกันไป ส่วนใหญ่พวกเลียนแบบมาทีหลังคนอื่นมักตายก่อน ส่วนเจ้าแรกๆ แม้จะอยู่รอด แต่ก็เหนื่อย ไม่ปังเหมือนตอนแรก มาดูกันว่ามี ธุรกิจทำตามๆ กัน อะไรบ้างคนแห่ทำตาม เจ๊งเกือบทุกราย

1.ร้านชาเย็น 25 บาท

ย้อนกลับไปช่วง 3-4 ปี เป็นธุรกิจที่ฮิต คนแห่เปิดร้านกันเพียบ ระยะไม่เกิน 100 เมตร มี 2-3 ร้านเปิดแข่งกัน ตอนนั้นมีราวๆ 30 กว่ายี่ห้อ แต่ที่เป็นตัวจุดกระแส คือ ชาพะยอม คนแห่ซื้อแฟรนไชส์ตามกันเป็นแถว สุดท้ายทยอยปิดร้านไปตามๆ กัน แต่ละยี่ห้อเหลืออยู่ไม่กี่ร้าน เพราะคนหันไปกินชานมไข่มุกเหมือนเดิม

2.หมาล่าสายพาน

ถึงเวลาขาลงของร้าน “หมาล่าสายพาน” นักการตลาดมองว่าเป็นธุรกิจที่มีการแข่งขันกันสูงมาก ยกตัวอย่างที่เป็นข่าวครึกโครม คนจีนแห่เปิดร้านหมาล่า ชาบู ย่านห้วยขวาง ตอนนี้ทยอยปิดจนแทบจะร้างแล้ว เพราะคนกินเท่าเดิมแต่คนขายเพิ่มขึ้น ร้านที่เปิดอยู่ต่างปรับเป็นบุฟเฟต์ บริการน้ำซุป น้ำจิ้มแบบฟรีๆ อีกทั้งคนไทยรู้สึกว่ากินร้านพวกนี้แพงเกินไป สู้ร้านบุฟเฟต์แบบอื่นไม่ได้

3.โรงเรียนกวดวิชา

ภาพจาก freepik.com

อีกหนึ่งธุรกิจที่ได้รับความนิยมอย่างมากเมื่อช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา ใครที่มีความรู้พอสอนได้ก็แห่เปิดกวดวิชากันเพียบ พอโควิดระบาดช่วงปี 2564 ธุรกิจกวดวิชามูลค่ากว่าหมื่นล้านบาท ทยอยปิดกิจการมากกว่า 1,000 แห่งทั่วประเทศ ไม่เว้นแม้แต่ติวเตอร์ แบกรับต้นทุนไม่ไหว ทั้งค่าเช่า ภาษีป้าย ภาษาที่ดิน อีกทั้งเศรษฐกิจไม่ดี ผู้ปกครองไม่มีเงินส่งลูกเรียน

4.ธุรกิจสตาร์ทอัพ

ภาพจาก freepik.com

หากยังจำกันได้ราวๆ ปี 2553 ธุรกิจสตาร์ทอัพเป็นความฝันของคนรุ่นใหม่จำนวนมาก ด้วยรูปแบบธุรกิจที่เน้นนวัตกรรม เทคโนโลยีสดใหม่ ได้รับการสนับสนุนจาก Venture Capital ร่วมลงขัน ทำให้เราได้เห็นสตาร์ทอัพเกิดใหม่มากมายในช่วงที่ผ่านมา แต่หลังโควิดคลี่คลายลง ธุรกิจสตาร์ทอัพเริ่มสั่นคลอน นักลงทุนต้องการรักษาเงินสด ทำให้ธุรกิจสตาร์ทอัพเกิดใหม่หมดสิทธิได้เงินสดจากนายทุนทันที

5.หมูกระทะ

ธุรกิจทำตามๆ กัน

จะบอกว่าเหมือนโชห่วยก็ได้ เจอร้านสะดวกซื้อสมัยใหม่มาทุบถึงหน้าบ้าน กรณีร้านหมูกระทะรายเล็กๆ ริมทาง ตึกแถว ทยอยปิดกิจการจำนวนมาก แบกรับต้นทุนวัตถุดิบไม่ไหว ค่าเช่าที่แพง เศรษฐกิจซบเซา ส่วนรายใหญ่ก็เหลือไม่กี่ราย ที่ได้รับความนิยมก็อยู่บนห้าง ติดแอร์ ยังไปได้เรื่อยๆ รายเล็กเริ่มไม่เห็นกันแล้ว คนกินน้อย

6.แอปฯ เดลิเวอรี่

แม้จะเป็นที่ธุรกิจที่ได้รับความนิยม ทั้งจากร้านอาหาร คนขับ แต่จริงๆ แล้วบริษัทแอปฯ เริ่มมีน้อยแล้ว จากเมื่อ 2-3 ปี แอปฯ หน้าใหม่ๆ เกิดขึ้นในตลาดอย่างต่อเนื่อง ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ที่เหลืออยู่ในตอนนี้ก็เป็นแบรนด์หลักๆ ที่คนนิยมใช้กัน ต้องจับตาดูว่าแอปฯ จะไปได้อีกนานแค่ไหน อีกทั้งร้านค้าก็บ่นเก็บค่า GP แพง ยกเลิกบริการไปก็มีมาก

7.ร้านเกมส์ อินเตอร์เน็ตคาเฟ่

ภาพจาก freepik.com

ย้อนไปเมื่อช่วง 10-15 ปีก่อน เป็นยุคธุรกิจร้านเกมส์ อินเทอร์เน็ตคาเฟ่ คนมีทุนหน่อยแห่กันเปิดร้านเกมส์ สมัยก่อนผุดขึ้นมาราวกับดอกเห็ด แถวหน้าโรงเรียน หมู่บ้าน ย่านชุมชน ต้องเห็นร้านเกมส์เรียงราย บางทีมี 2-3 ร้านเปิดติดๆ กันให้เลือกเล่นกันได้ตามความสะดวก

8.ฟิตเนส

ภาพจาก freepik.com

อีกหนึ่งธุรกิจที่คนแห่ทำกันมาก จนมีมูลค่ากว่าหมื่นล้านบาท ทั้งดารา คนมีชื่อเสียงแห่เปิดกันเพียบ พอโควิดระบาดกระทบธุรกิจฟิตเนสโดยตรง ช่วงปี 2564 ผู้ประกอบการกว่า 2,500 ราย ทยอยปิดกิจการกันหมด จากจำนวนทั้งหมด 5,000 ราย เพราะแบกรับค่าใช้จ่ายไม่ไหว

9.แฟรนไชส์รับส่งพัสดุ

ภาพจาก freepik.com

ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เป็นธุรกิจที่ได้รับความนิยมอย่างมาก เพราะคนแห่ทำธุรกิจค้าขายออนไลน์ คนที่อยากมีรายได้เสริม ก็แห่ซื้อแฟรนไชส์จุดรับส่งพัสดุกันเป็นจำนวนมาก ใช้พื้นที่ตึกแถว หน้าบ้าน ก็สามารรถเปิดได้แล้ว มีรถไปรับพัสดุถึงหน้าบ้าน พอมาระยะหลังๆ ทางบริษัทแม่ ออกโปรโมชั่นแข่งกับร้านแฟรนไชส์เอง สุดท้ายสาขาแฟรนไชส์ไปไม่รอด

10.ร้านกาแฟสด

ธุรกิจร้านกาแฟรายเล็กแข่งขันกับรายใหญ่ไม่ไหว ต้นทุนวัตถุดิบพุ่งสูง ทยอยปิดกิจการจำนวนมาก ส่วนรายใหญ่มีเงินอยู่รอด แต่ละแบรนด์นเร่งขยายสาขา แย่งชิงทำเลพื้นที่กัน จนร้านเล็กๆ ไม่สามารถอยู่รอดได้

11.ร้านค้าราคาเดียว

ธุรกิจทำตามๆ กัน

ร้านที่เหลืออยู่ในตอนนี้ ส่วนใหญ่เป็นร้านค้าที่ขายหลายราคาตั้งแต่ 20 บาทไปจนถึงหลัก 100 บาท มีสินค้าหลากหลาย ส่วนใหญ่เป็นสินค้าข้าวของเครื่องใช้ ราคา 20 บาทแทบไม่เหลือแล้ว เพราะไม่ค่อยมีกำไร อีกทั้งยังต้องเสียค่าเช่าที่แพงอีก

12.ธุรกิจไม้ด่าง

ธุรกิจทำตามๆ กัน

ย้อนกลับไปในปี 2564 กระแสไม้ด่างเป็นที่นิยมอย่างมาก ราคาซื้อขายพุ่งสูงถึงต้นละหลักแสนไปจนถึงหลักล้าน หลายคนคิดว่าบ้ากันไปใหญ่แล้ว แต่ธุรกิจกระแสอยู่ได้ไม่นาน ราคาไม้ด่างลดลงอย่างน่าตกใจ อย่างกล้วยด่างอินโดจากราคาต้นละแสนเหลือหลักพันเอง เป็นเพราะลูกค้าจีนหายไป ส่วนคนไทยก็เห่อตามกระแสเท่านั้นเอง

สรุปก็คือ การทำธุรกิจแบบเดียวกัน ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร หรือเป็นเรื่องที่ควรหลีกเลี่ยง แต่คนที่คิดจะทำธุรกิจแนวนี้จำเป็นต้องวิเคราะห์อย่างละเอียด ทำการตลาด ค้นหาจุดแตกต่างจากเจ้าแรกในตลาดให้ได้ สร้างฐานลูกค้าใหม่ๆ อาจจะรุ่งหรืออยู่รอดได้ ส่วนเจ้าแรกๆ ที่ตายไป ไม่ได้คิดวางแผนระยะยาว เคยทำอย่างไรก็ทำอย่างนั้น ไม่พัฒนาอะไรเพิ่ม เคยบริการแบบไหนก็ใช้แบบนั้น ขายแบบเดิมๆ แต่เชื่อเถอะว่าเหนื่อยๆ แน่นอน อาจได้เปรียบในฐานะเจ้าแรกเท่านั้น

แต่จะโชคไม่ดีเลย ถ้าคู่แข่ง ทำตามแบบเราเป๊ะๆ และต่อยอดแก้ไขจุดด้อยของเรา ได้สำเร็จเมื่อไหร่ เมื่อนั้นแหละ ความซวย จะเข้ามาเยือนธุรกิจที่มีการแข่งขัน ย่อมดีทั้งสองฝ่ายทั้งผู้ประกอบการ และผู้บริโภค ผู้ประกอบการก็จะตั้งใจพัฒนาสินค้าและบริการเพื่อให้ได้ส่วนแบ่งการตลาด ผู้บริโภคก็มีทางเลือกที่จะซื้อสินค้าและบริการในราคาสมเหตุสมผล 

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช