ตำนานคนดัง! ไอแซค เมอร์ริตต์ ซิงเกอร์ ผู้ประดิษฐ์จักรเย็บผ้าคันแรกของโลก

เชื่อหรือไม่ว่ายี่ห้อสินค้า SINGER อยู่คู่กับสังคมไทยมานานกว่า 120 ปีแล้ว แต่ก็คงจะไม่สามารถยืนหยัดอยู่มาได้จนถึงทุกวันนี้ หากเมื่อ 160 ปีที่ผ่านมา ไม่มีชายที่ชื่อ “ไอแซค เมอร์ริตต์ ซิงเกอร์” (Isaac Merritt Singer)

ชายผู้ปฏิวัติโฉมหน้าของวงการอุตสาหกรรมการตัดเย็บเสื้อผ้าทั่วโลก ด้วยการประดิษฐ์จักรเย็บผ้าคันแรกของโลกขึ้นที่ประเทศสหรัฐอเมริกา หลังจากนั้นจักรเย็บผ้าที่มีประสิทธิภาพสูงในชื่อยี่ห้อ “ซิงเกอร์” ก็เป็นที่นิยมแพร่หลายไปทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยด้วย

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะพาคุณไปเจาะลึกเรื่องราวต่างๆ ของ “ไอแซค เมอร์ริตต์ ซิงเกอร์” ชายนักประดิษฐ์ที่ถือเป็นตำนานคนดัง! แห่งวงการอุตสาหกรรมการตัดเย็บเสื้อผ้าของโลก

ชีวิตในวัยเยาว์

ตำนานคนดัง

ภาพจาก goo.gl/eEFyAe

ไอแซค ซิงเกอร์ เกิดที่เมืองพิตส์ทาวน์ นิวยอร์ก เป็นบุตรของแอดัม ซิงเกอร์ ผู้อพยพชาวแซกซอน เชื้อสายยิว ซิงเกอร์เข้าเป็นนักแสดงในคณะละครเร่ ทำให้เขามีรายได้ทั้งจากการเป็นนักแสดงและการเป็นช่าง และได้แต่งงานกับ แคทรีน มาเรีย ฮาเลย์เมื่อ พ.ศ. 2373

ปี พ.ศ. 2378 ซิงเกอร์พร้อมครอบครัวได้ย้ายไปอยู่นครนิวยอร์ก และเข้าทำงานในโรงงานแห่งหนึ่งและในปี พ.ศ. 2379 เขาได้ออกเดินทางในฐานะตัวแทนล่วงหน้าคณะนักแสดง ผ่านไปถึงบัลติมอร์ได้พบ และขอแต่งงานกับแมรี แอนน์ สปอนส์เลอร์ ซิงเกอร์ ได้กลับนิวยอร์กและมีบุตรสาวชื่อลิเลียนเมื่อ พ.ศ. 2380

แมรี แอนน์ ได้มานิวยอร์กและพบว่าซิงเกอร์เป็นชายที่แต่งงานแล้ว แต่เธอกับซิงเกอร์ ก็ได้กลับไปบัลติมอร์อีกในฐานะคู่สมรสและมีบุตรชายด้วยกันชื่อไอแซค

ชีวิตในวัยทำงาน

l7

ในปี พ.ศ. 2382 ซิงเกอร์ได้จดทะเบียนลิขสิทธิ์เครื่องเจาะหิน และขายลิขสิทธิ์เป็นเงิน 2,000 เหรียญซึ่งเป็นจำนวนเงินมากมายกว่าทุกครั้งที่เขาเคยมีรายได้ และด้วยความสำเร็จด้านการเงิน ซิงเกอร์จึงหันกลับไปยึดอาชีพนักแสดงอย่างเต็มตัว

เขาตั้งคณะละครเร่ชื่อ “เมอร์ริตต์นักแสดง” ออกเดินทางเร่แสดง และใช้ชื่อตนในฐานะนักแสดงว่า “ไอแซก เมอร์ริตต์” และมีแมรี แอนน์ ร่วมแสดงด้วยโดยใช้ชื่อว่า “นางเมอร์ริตต์” งานเร่แสดงเป็นไปเป็นเวลาประมาณ 5 ปี

ในปี พ.ศ. 2387 ซิงเกอร์หันกลับมาทำงานด้านช่างอีกในโอไฮโอ และย้ายไปอยู่ที่พิตส์เบิร์กในปี พ.ศ. 2389 และตั้งโรงงานช่างไม้ทำตัวหนังสือและป้ายไม้ และที่นี่เองที่ได้ประดิษฐ์และจดลิขสิทธิ์ “เครื่องแกะสลักไม้และโลหะ” เมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2392

จุดเริ่มต้นเครื่องจักรเย็บผ้า

l6

ภาพจาก goo.gl/F4qgRc

เมื่ออายุ 38 ปี ซิงเกอร์พร้อมภรรยา 2 คนและลูกๆ 8 คน อพยพกลับไปอยู่นิวยอร์กอีกครั้งหนึ่ง เพื่อเริ่มจัดจำหน่ายเครื่องมือที่เขาประดิษฐ์ขึ้น และด้วยการหาเงินลงทุนล่วงหน้าได้ก้อนหนึ่ง เขาก็ได้เริ่มสร้างเครื่องมือต้นแบบและยังได้รับข้อเสนอให้ไปสร้างโรงงานผลิตเครื่องมือที่บอสตัน ในปี พ.ศ. 2393 ซิงเกอร์ไปตั้งเครื่องแกะสลักของเขาที่โรงงานของออร์สัน ซี เฟลพ์

เป็นที่ผลิตเครื่องเย็บผ้าลีโลว์และบลอดเจตต์ ในขณะที่ยังไม่มีใบสั่งซื่อเครื่องแกะสลักไม้ เฟลพ์เจ้าของโรงงานจึงขอให้ซิงเกอร์ช่วยดูเครื่องเย็บผ้าดังกล่าวที่ผลิตอยู่ นอกจากจะใช้งานยากแล้วยังผลิตยากอีกด้วย ซิงเกอร์ได้แนะว่าเครื่องเย็บจะทำงานได้ดีขึ้นหากทำให้กระสวยเดินเป็นเส้นตรง แทนที่จะเดินเป็นวงโดยใช้เข็มตรงแทนที่เข็มรูปโค้ง

ซิงเกอร์ได้รับเงินทุนอีกครั้งหนึ่งจากจอร์จ บี ซีเบอร์ ซึ่งได้ร่วมเป็นหุ้นส่วนกันรวมทั้งเฟลพ์ด้วยและตั้งชื่อเครื่องว่า “จักรเย็บผ้าเจนนี ลินด์” ตามชื่อนักร้องสาวชาวสวีเด็นที่โด่งดังในยุคนั้น
จักรเย็บผ้าต้นแบบของซิงเกอร์ นับเป็นจักรตัวแรกของโลก ที่ทำการเย็บได้จริงและได้รับการจดลิขสิทธิ์เมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2394 และเมื่อเริ่มจำหน่ายชื่อจักรที่ตั้งว่า “เจนนี ลินด์” กลับไม่มีคนเรียกแต่ไปเรียกกันแพร่หลายทั่วไปว่า “จักรซิงเกอร์”

สงครามแย่งลิขสิทธิ์จักรเย็บผ้า

l5

ภาพจาก goo.gl/VP8uWa

ซิงเกอร์ไม่ได้เป็นผู้ประดิษฐ์จักรเย็บผ้า และเขาก็ไม่เคยอ้างตนเป็นผู้ประดิษฐ์ เมื่อเขาเห็นจักรครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2393 นั้นก็เป็นการประดิษฐ์คิดค้นครั้งที่ 4 แล้ว จักรเย็บผ้าตัวก่อนของวอลเตอร์ ฮันท์ ใช้วิธีเย็บแบบลูกโซ่ มีข้อเสียที่ด้ายมักยุ่งพันกัน

จักรของฮันท์ใช้การเย็บวิธีจับยึดเช่นเดียวกับของลีโรว์และบลอดเจตต์ ที่ซิงเกอร์ได้ทำการปรับปรุงแก้ไขที่โรงงานของเฟลพ์ เอลีแอส โฮว์ ได้ประดิษฐ์จักรเย็บผ้าโดยอิสสระ ซึ่งได้จดลิขสิทธิ์เมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2389 ไว้เช่นกัน

กระทั่งต่อมาได้เกิดสงครามแย่งชิงลิขสิทธิ์จักรเย็บผ้าขึ้น ระหว่างซิงเกอร์และโฮว์ ซิงเกอร์ได้พบว่าการปรับปรุงของโฮว์เป็นการใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่ก่อนแล้ว โดยการพบจักรตัวเก่าของโฮว์ ซึ่งที่จริงเป็นการใช้กระสวยแบบจับยึด

ส่วนฮันท์ที่ยื่นขอจดลิขสิทธิ์ในปี พ.ศ. 2396 ได้อ้างว่าได้ลิขสิทธิ์ก่อนโฮว์ 7 ปี การฟ้องร้องคดี “ฮันท์และโฮว์” ขึ้นศาลในปี พ.ศ. 2397 โดยโฮว์เป็นผู้ชนะคดีและได้หันมาฟ้องศาลขอให้ยับยั้งซิงเกอร์ในการจำหน่ายจักรซิงเกอร์

กำเนิดบริษัท ไอ เอ็ม ซิงเกอร์

l4

ภาพจาก goo.gl/abvVb6

ในปี พ.ศ. 2399 ผู้ผลิตทั้งหลาย คือ โกรเวอร์, เบเกอร์, ซิงเกอร์, วีลเลอร์และวิลสัน ต่างฟ้องร้องซึ่งกันและกันว่าเป็นผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ได้มาพบกันที่แอลบานี นิวยอร์ก เพื่อติดตามคดี

โอลานโด บี พอตเตอร์ ทนายความและประธานบริษัทโกรเวอร์และเบเกอร์ ได้เสนอว่าแทนที่จะฟ้องร้องกันจนสิ้นเนื้อประดาตัวทำไมไม่เอาลิขสิทธิ์มารวมกัน ทำให้เกิด “ลิขสิทธิ์กองรวม” (Patent pool) ขึ้นเป็นครั้งแรก เป็นกระบวนการซึ่งเอื้อให้มีการพัฒนาเครื่องจักรกลที่ซับซ้อนได้ โดยไม่ต้องพะวงสงครามกฎหมายลิขสิทธิ์ ทั้งหมดตกลงและจัดตั้งบริษัทสหการจักรเย็บผ้า

แต่ก็ยังต้องเผชิญปัญหากับเอลีแอส โอว์ ผู้ซึ่งมีลิขสิทธิ์ในส่วนสำคัญของจักรอยู่ ซึ่งแปลว่าจะต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์ให้แก่โฮว์สำหรับจักรทุกตัวที่ผลิต ซึ่งโฮว์ยอมรับเงื่อนไข การผลิตจักรเย็บผ้าในปริมาณมากจึงเกิดขึ้น บริษัท ไอ เอ็ม ซิงเกอร์ ได้ผลิตจักรเย็บผ้าได้ 2,564 ตัวในปี พ.ศ. 2399 และ 13,000 ตัวในปี พ.ศ. 2403 ที่โรงงานใหม่ถนนมอตต์ นิวยอร์ก

จักรเย็บผ้าที่ผลิตในช่วงแรก เป็นจักรประเภทอุตสาหกรรมการตัดเย็บ จักรขนาดเล็กส่วนบุคคลสำหรับใช้ในงานตลาดยุโรป สร้างโรงงานในอังกฤษใกล้เมือง กลาสโกว์ นับเป็นเป็นการดำเนินธุรกิจข้ามชาติเป็นครั้งแรกของอเมริกา โดยมีตัวแทนจำหน่ายในปารีสและริโอเดอจาไนโร

ความสำเร็จทางการเงิน

l3

ภาพจาก goo.gl/xSMz44

ความสำเร็จทางการเงิน ทำให้ซิงเกอร์สามารถซื้อคฤหาสน์ที่ถนนฟิฟท์อเวนู ในปี พ.ศ. 2403 เขาหย่ากับภรรยาคนแรกในข้อหาการมีชู้และอยู่กินกับแมรี แอนน์ โดยเธอได้เห็นเขานั่งรถคู่มากับพนักงานบริษัทชื่อแมรี แมกโกนิกัลป์ ผู้ต้องสงสัยมานาน

ซิงเกอร์มีบุตรกับแมรี แมกโกนิกัลป์ 5 คน โดยใช้นามสกุลแมททิว แมรี แอนน์ ซึ่งยังเรียกตัวเองว่านางซิงเกอร์ได้แจ้งจับซิงเกอร์ในข้อหาทะเลาะวิวาท ซิงเกอร์ผู้ได้รับความอับอายได้รับการประกันตัว และหลบไปอยู่ลอนดอนพร้อมกับแมกโกนัล

หลังจากนั้นก็เกิดการอย่าร้างของครอบครัว “ไอแซค” ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง และได้แต่งงานใหม่อีกกับแมรี อีสท์วูด โดยใช้นามสกุลว่า “เมอร์ริต” ซิงเกอร์ มีลูกทั้งหมดรวม 18 คนจากภรรยา 4 คน (ปัจจุบันลูก 18 คนยังมีชีวิตอยู่)

แมรี แอนน์ พบกับไอแซกที่ลอนดอนได้ทำข้อตกลงเรียกร้องเรื่องทรัพย์สิน โดยอ้างว่าแม้ไม้ได้จดทะเบียนถูกต้อง แต่ก็ถือว่าถูกกฎหมายเนื่องจากได้อยู่กินด้วยกันเป็นเวลา 7 เดือน ในระหว่างที่ซิงเกอร์หย่าขาดจากแคทรีน ภรรยาคนแรกแล้ว

ชีวิตช่วงสุดท้ายในยุโรป

l2

ภาพจาก goo.gl/aZULkN

ในปี พ.ศ. 2406 ได้มีความเห็นร่วมกันยกเลิกบริษัทไอ เอ็ม ซิงเกอร์ และดำเนินกิจการต่อโดย “บริษัทซิงเกอร์” ตัวซิงเกอร์เองได้ลดบทบาทในงานบริหารจัดการประจำวันลง โดยทำหน้าที่เพียงเป็นกรรมการอำนวยการและผู้ถือหุ้นใหญ่

มาถึงช่วงนี้ ซิงเกอร์มีลูกกับอิซาเบลลาอีก 6 คน และเนื่องจากปัญหายอกย้อนในการมีครอบครัวในอดีต ทำให้เขาไม่สามารถกลับไปอยู่ในนิวยอร์กได้อีก ได้อพยพไปอยู่ปารีสในเวลาต่อมา และไม่ได้กลับอเมริกาอีกเลย เมื่อเกิดสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย ซิงเกอร์และครอบครัวหนีไปอยู่ในอังกฤษ และสร้างคฤหาสน์ใหญ่ที่เดวอน

กระทั่งต่อมา 9 วัน หลังงานแต่งงานของลูกสาวคนหนึ่ง ไอแซก ซิงเกอร์ ก็ได้เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและหลอดลมอักเสบและถูกฝังที่สุสานทอร์เควย์ในประเทศอังกฤษ
ทรัพย์สินและมรดก

ซิงเกอร์ ทิ้งทรัพย์สินมรดกเป็นมูลค่าประมาณ 14 ล้านเหรียญสหรัฐและพินัยกรรม 2 ฉบับ บางคนอาจไม่ได้ด้วยเหตุผลต่างๆ สร้างความวุ่นวายขึ้นในระหว่างสมาชิกครอบครัว ทำให้เกิดการฟ้องร้องกันขึ้น แมรี แอนน์อ้างสิทธิ์การเป็น “นางซิงเกอร์” ที่ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งในที่สุดศาลตัดสินให้อิซาเบลลา เป็นแม่หม้ายที่ถูกต้องตามกฎหมาย ต่อมาได้แต่งงานกับนักดนตรีชาวเบลเยี่ยมชื่อ วิกเตอร์ รูบซีท ผู้ซึ่งได้ตำแหน่งวิสคอมเต เดอ เอสเตมบอร์ก ตำแหน่งวาติกันแห่งแคมโปเซลิซ

ลูกคนที่ 18 ของซิงเกอร์แต่งงานกับเจ้าชายคนหนึ่งเมื่ออายุ 22 ปี ต่อมาหย่าขาดมาแต่งกับเจ้าชายอีกคนหนึ่งในปี พ.ศ. 2436 และเธอได้กลายเป็นผู้อุปถัมภ์คนสำคัญในดนตรีฝรั่งเศสสมัยใหม่

อิซาเบลลาฆ่าตัวตายในปี พ.ศ. 2439 บุตรชายคนหนึ่งได้เป็นผู้ให้เงินอุดหนุนมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในประเทศอังกฤษตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งต่อมาคือมหาวิทยาลัยเอกซีเตอร์ ซึ่งได้ตั้งชื่ออาคารหลังหนึ่งว่า อาคารวอชิงตัน ซิงเกอร์เพื่อเป็นเกียรติแก่เขา

จักรเย็บผ้าซิงเกอร์เข้าไทย

l1

ภาพจาก goo.gl/abvVb6

พ.ศ.2432 แต่งตั้งร้าน เคียม ฮั่ว เฮง เป็นผู้แทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์จักรเย็บผ้าซิงเกอร์ประจำสยามประเทศ เริ่มดำเนินกิจการครั้งแรกในประเทศไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

จะเห็นได้ว่า พ.ศ.2394 เป็นจุดเริ่มต้นของซิงเกอร์ เมื่อนาย ไอแซค เมอร์ริตต์ ซิงเกอร์ (Isaac Merritt Singer) ได้ปฏิรูปวงการเย็บผ้าทั่วโลกด้วยการประดิษฐ์จักรเย็บผ้าคันแรกของโลกขึ้นในร้านผลิตเครื่องจักรเล็กๆ ที่เมืองบอสตัน ประเทศสหรัฐอเมริกาโดยใช้เวลาเพียง 11 วันกับเงินลงทุนที่ยืมมา 40 เหรียญสหรัฐ

สองปีต่อมาจักรเย็บผ้าซิงเกอร์คันแรกจำหน่ายได้ราคา 100 เหรียญสหรัฐ พร้อมรางวัลชนะเลิศในงาน World Fair ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส จากนั้นเขาก็ได้ทุ่มเทเวลาทั้งหมดเพื่อการประดิษฐ์จักรเย็บผ้า จนกระทั่งเครื่องหมาย “ซิงเกอร์” ได้กลายเป็นชื่อทางการค้าที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายไปทั่วโลก


คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

01

อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://goo.gl/WsyWtZ
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี เปิดร้าน https://goo.gl/hE8USz

อ้างอิงข้อมูล

อ้างอิงจาก https://bit.ly/2T7JtQl

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช