ขายอะไรดี! ทาสหมา ทาสแมว ธุรกิจสัตว์เลี้ยง มูลค่า 7.5 หมื่นล้านบาท

ธุรกิจสัตว์เลี้ยง ได้รับการคาดการณ์หมายว่าจะเป็นหนึ่งในธุรกิจดาวรุ่งพุ่งแรงของปี 2567 และก็ดูว่าจะแรงจริงๆ ถ้าดูตัวเลขจะพบว่า

  • ปี 2566 ตลาดสัตว์เลี้ยงมีมูลค่าประมาณ 56,000 ล้านบาท เติบโต 12% เมื่อเทียบกับปี 2565
  • ปี 2566 มีการจัดตั้งธุรกิจรวม 494 รายเพิ่มขึ้นร้อยละ 32 และอัตรากำไรเพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่าจากปี 2565
  • ปี 2567 คาดว่าตลาดสัตว์เลี้ยงมีมูลค่าประมาณ 7.5 หมื่นล้านบาท ปรับเพิ่มขึ้น 12.4% จากปี 2566

ถ้าแยกย่อยตัวเลขลงไปอีกจะพบว่าเฉพาะสินค้าที่เกี่ยวกับ “สัตว์เลี้ยง” ยังมีมูลค่ากว่า 20,000 ล้านบาท ในด้านอาหารสัตว์เลี้ยงก็มีอัตราการเติบโตถึง 20 % ซึ่งตัวเลขด้านการส่งออกก็ร้อนแรงไม่แพ้กัน ข้อมูลจากสมาคมการค้าอาหารสัตว์เลี้ยงไทย (TPFA) ระบุว่า ประเทศไทยกลายเป็นผู้ส่งออกอาหารสัตว์เลี้ยงรายใหญ่อันดับ 3 ของโลกในปี 2021 ด้วยมูลค่าส่งออกกว่า 21,000 ล้านบาท

ซึ่งก็ไม่น่าเชื่อว่าธุรกิจสัตว์เลี้ยงจะเติบโตแบบเฟื่องฟูได้มากขนาดนี้ และแนวโน้ม Pet Humanization ก็ไม่ได้เป็นเพียงแค่กระแสในช่วงเวลาสั้นๆ เพราะมีหลายปัจจัยที่ทำให้มั่นใจว่าธุรกิจนี้ยังไปได้อีกยาวไกลนัก ได้แก่

  • สังคมไทยเป็น Pet Humanization มากขึ้นคนมีลูกน้อยลงหันไปเน้นการมีสัตว์เลี้ยงเป็นสมาชิกในครอบครัวมากขึ้น
  • กระแส Petfluencer หรือการนำเสนอความน่ารักสัตว์เลี้ยงผ่านการเล่าเรื่องหรือการสร้าง Content ในโซเชี่ยลมีเดีย
  • ไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ ที่ไม่นิยมการยึดติดและผูกมัดรวมถึงความต้องการมีอิสระมากขึ้น ต้องแค่ความสุขเล็กๆ
  • ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ(Aging Society) ซึ่งสัตว์เลี้ยงจะช่วยคลายเหงาและทำให้คนเลี้ยงมีชีวิตชีวามากขึ้น
  • การเติบโตของแพลตฟอร์มออนไลน์ที่ทำให้หาอุปกรณ์ , อาหาร , ข้อมูลการเลี้ยงได้ง่ายขึ้น สั่งซื้อสินค้าก็ง่ายขึ้นด้วย

ในกรณีที่วิเคราะห์ลึกลงไปอีกจะยิ่งเห็นมูลค่าของตลาดสัตว์เลี้ยงที่ชัดเจน อันเนื่องจาก 70% ของผู้เลี้ยงสัตว์ในปัจจุบันให้ความสำคัญกับสัตว์เลี้ยง ของตัวเองเสมือนสมาชิกในครอบครัว และอีก 66% ของผู้เลี้ยงมีความรักความผูกพันกับสัตว์เลี้ยงของตนมาก ในจำนวนนี้ 47% ของผู้เลี้ยงยังมองสัตว์เลี้ยงของตนเป็นเสมือนลูกอีกด้วย

ถ้าลองไปดูตัวเลขเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายจะพบว่า

  • กรณีเลี้ยงสุนัขต้องมีเงินอย่างน้อย 600 – 10,000 บาท/เดือน/ตัว
  • กรณีเลี้ยงแมวควรมีเงินอย่างน้อย 350 – 2,600 บาท/เดือน/ตัว
  • ค่าใช้จ่ายของสุนัชและแมวต่อการเข้ารับบริการในโรงพยาบาลสัตว์ 1,000 – 2,000 บาท/ครั้ง
  • ประเมินค่าใช้จ่ายสำหรับคนรักสัตว์เลี้ยงเฉลี่ยประมาณ 41,100 บาทต่อตัวต่อปี

ไม่ใช่แค่นี้คาดการณ์ว่าภายในปี 2030 ประมาณ 65% ของกลุ่มคนอายุ 18 – 34 ปี มีความคิดต้องการเลี้ยงสัตว์เพิ่ม

มีธุรกิจที่เกี่ยวข้องที่น่าลงทุนหลายกลุ่มได้แก่

1.กลุ่มอาหารสัตว์เลี้ยง

เป็นกลุ่มที่ได้รับการเติบโตจากกระแสรูปแบบการดูแลสัตว์เลี้ยงเสมือนสมาชิกในครอบครัว (Pet Humanization) ที่มากขึ้นในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา ถ้าดูเฉพาะมูลค่าตลาดอาหารสัตว์เลี้ยงในปี 2567 มีมูลค่าแตะ 46 พันล้านบาท และมักเป็นอาหารเกรดพรีเมี่ยมมีราคาสูง

2.บริการรักษาสัตว์

ธุรกิจสัตว์เลี้ยง

มูลค่าบริการรักษาสัตว์มีอัตราการเติบโตที่ต่อเนื่องมูลค่าปี 2567 ประมาณ 6.64 พันล้านบาท สอดคล้องกับบริการรักษาสัตว์ที่มูลค่าตลาดเพิ่มขึ้นจากความตระหนักในการดูแลสุขภาพสัตว์เลี้ยง และต้องรักษาพยาบาลยามเจ็บป่วยของสัตว์เลี้ยงที่ประหนึ่งเป็นสมาชิกในครอบครัว ค่าเฉลี่ยในการพาสัตว์เลี้ยงไปหาหมอแต่ละครั้งประมาณ 1,000 บาทขึ้นไปโดย ขึ้นอยู่กับชนิดของสัตว์เลี้ยงและรูปแบบที่รับบริการ

3.อุปกรณ์เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงและบริการดูแลสัตว์เลี้ยง

ธุรกิจสัตว์เลี้ยง

ในกลุ่มนี้ตลาดมีมูลค่าประมาณ 2.29 หมื่นล้านบาท และ 0.66 พันล้านบาท ตามลำดับ รวมถึงมีการพัฒนาด้านนวัตกรรมที่สินค้าหลายอย่างดูมีความน่าสนใจและทำให้เจ้าของอยากซื้อมาให้กับสัตว์เลี้ยงของตัวเองมากขึ้น

4.บริการทำประกันเฉพาะสุนัขและแมว

ธุรกิจสัตว์เลี้ยง

กลุ่มบริษัทประกันก็เอาใจคนรักสุนัขและแมวหลายค่ายเปิดให้ทำประกันมีการให้เลือกได้ทั้งแบบฝังไมโครชิฟและไม่มีการฝังไมโครชิพ เบี้ยประกันก็แตกต่างกันไป เริ่มตั้งแต่หลักพันไปจนถึงหลักหมื่น ความคุ้มครองเช่นไปทางอุบัติเหตุและการเจ็บป่วย เป็นหลัก

5.ธุรกิจแบบ Pet-Friendly

ธุรกิจสัตว์เลี้ยง

หลายธุรกิจก็เตรียมรองรับกระแสของ “ทาสหมา-ทาสแมว” (Petriarchy) อย่างกลุ่มเซ็นทรัลเปิดพื้นที่ Pet-Friendly เอาใจทาสหมา แมว กำลังซื้อสูง  มีร้านอาหารกว่า 17 ร้าน ที่เปิดให้สัตว์เลี้ยงเข้าไปทานได้ หรือแม้แต่ในโรงพยาบาลสัตว์เลี้ยงเองก็มี Grooming เปิดพื้นที่ชั้นดาดฟ้าให้เจ้าของและสัตว์เลี้ยงได้มีพื้นที่ในการใช้เวลาร่วมกัน เป็นต้น

สำหรับคนที่มีใจรักในสัตว์เลี้ยง ธุรกิจที่เกี่ยวข้องเหล่านี้จึงน่าจะเป็นอีกการลงทุนที่น่าสนใจ แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนจะทำแล้วประสบความสำเร็จ เพราะต้องเข้าใจภาพรวมก่อนว่าตลาดนี้มีทั้งคนที่ใจรักจริงหรือเข้ามาแล้วก็หายไปตามกระแส การจะโฟกัสกลุ่มเป้าต้องเลือกกลุ่มคนที่เขารักสัตว์เลี้ยงจริงๆ กลุ่มนี้จะยินดีในการจ่าย เหนือสิ่งอื่นใด คุณภาพสินค้าและบริการที่ดีก็เป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นมากด้วย

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด