Inside Franchise ตลาดแฟรนไชส์ในฮังการี 2022

Inside Franchise ตลาดแฟรนไชส์ ประเทศฮังการีตั้งอยู่ทางตอนกลางของทวีปยุโรป ไม่มีทางออกสู่ทะเล มีพรมแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้าน 7 ประเทศ คือ โรมาเนีย ออสเตรีย สโลวาเกีย ยูเครน เซอร์เบีย โครเอเชีย และสโลวีเนีย พื้นที่ 93,030 ตารางกิโลเมตร

ส่วนใหญ่เป็นที่ราบไปจนถึงที่ราบลูกฟูก มีภูเขาและเนินเขาเตี้ยๆ ทางเขตชายแดนด้านที่ติดกับประเทศสโลวาเกีย มีเมืองหลวง คือ บูดาเปสต์ (Budapest) เป็นศูนย์กลางทั้งทางด้านการเมืองและเศรษฐกิจของประเทศ มีจำนวนประชากร 9.8 ล้านคน (ข้อมูล 2561)

สภาพเศรษฐกิจ

Inside Franchise

ภาพจาก https://bit.ly/3AqtvBV

ในปี 2561 เศรษฐกิจของฮังการีขยายตัวที่ 4.8% ขณะที่ปี 2562 และ 2563 ความต้องการภายในประเทศคาดว่าจะถึงจุดอิ่มตัว การส่งออกไปยังยุโรปตะวันตกของฮังการีมีอัตราเติบโตลดลง ส่งผลให้การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศอยู่ที่ 3.4% และ 2.6% ตามลำดับ แต่การลดลงอย่างต่อเนื่องของอัตราส่วนหนี้ภาครัฐต่อ GDP และ ความเชื่อมั่นที่เพิ่มขึ้นในด้านนโยบายเศรษฐกิจและสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่ดีขึ้น จะสนับสนุนศักยภาพการเติบโตของ GDP ให้แข็งแกร่ง

การค้าฮังการี-เอเชีย

  • คู่ค้าหลักในการส่งออกได้แก่ จีน (1,922 ล้านยูโร) ญี่ปุ่น (599 ล้านยูโร) เกาหลีใต้(368 ล้านยูโร) ฮ่องกง (282 ล้านยูโร) และอินเดีย (235 ล้านยูโร) ไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 10 (120 ล้านยูโร)
  • คู่ค้าหลักในการนำเข้าได้แก่ จีน (9,727 ล้านยูโร) เกาหลีใต้ (2,747 ล้านยูโร) ญี่ปุ่น (1,961 ล้านยูโร) เวียดนาม (841 ล้านยูโร) และไทย (823 ล้านยูโร)

การค้าฮังการี-ไทย 2561

สินค้าส่งออกหลักของไทย ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ วงจรพิมพ์หม้อแปลงไฟฟ้า และก๊อก วาวล์และส่วนประกอบ สินค้านำเข้าหลักของไทย ได้แก่ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม และเครื่องมือเครื่องใช้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ การแพทย์

ภาพรวมธุรกิจแฟรนไชส์ในฮังการี

5

ภาพจาก https://bit.ly/3tJwbsW

ธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศฮังการี มีจุดเริ่มต้นหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในช่วงปี 2532-2534 ตลาดเปิดเสรีมากขึ้น มีการขยายสาขาธุรกิจโรงแรมชั้นนำของโลกเข้ามาในประเทศฮังการี รวมถึงสาขาแบรนด์แฟรนไชส์ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดแมคโดนัลด์ เมื่อปี 2531 หลังจากนั้นธุรกิจแฟรนไชส์ในฮังการีขยายตัวอย่างรวดเร็ว มีทั้งการเปิดสาขาในประเทศและขยายตลาดในต่างประเทศ โดยธุรกิจแฟรนไชส์สัญชาติฮังการีที่มีชื่อเสียงในตลาดยุโรปกลาง ตะวันออก และบอลข่าน ได้แก่ ร้านเสริมสวย ร้านค้าปลีกสินค้าแฟชั่น ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ

จำนวนธุรกิจแฟรนไชส์ในฮังการีในช่วงแรกๆ ประมาณ 350 บริษัท โดยครึ่งหนึ่งมีบริษัทแม่เป็นของต่างชาติ มีจำนวนแฟรนไชส์ซีประมาณ 20,000 ราย และมีพนักงานกว่า 100,000 ราย สร้างรายได้หลักพันล้านเหรียญสหรัฐในทุกๆ ปี

แฟรนไชส์แมคโดนัลด์ ถือว่าเป็นผู้นำในตลาดธุรกิจแฟรนไชส์กลุ่มฟาสต์ฟู้ดในฮังการี และยุโรปกลาง เพราะเป็นแฟรนไชส์ที่มีกลยุทธ์ทางการตลาดที่ประสบความสำเร็จ นอกจากนี้ ยังมีแฟรนไชส์จากต่างประเทศกว่า 100 แบรนด์ ที่ประสบความสำเร็จในฮังการี ได้แก่ KFC, เบอร์เกอร์คิง, ซับเวย์, สตาร์บัคส์, Cures, Avis, Budget และอื่นๆ

4

ภาพจาก https://bit.ly/3tM7eNt

ขณะที่ธุรกิจแฟรนไชส์สัญชาติฮังการีที่ประสบความสำเร็จนประเทศ ได้แก่ แฟรนไชส์ร้านค้าปลีก ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านทำผม เสริมสวย ไอศกรีม เบเกอรี่ ร้านขายยา ขายไวน์ อาหารเสริม และ อสังหาริมทรัพย์
กุญแจสู่ความสำเร็จในตลาดฮังการี

ผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจ มองว่า การปั้นแบรนด์เพื่อขายแฟรนไชส์ การตั้งค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ที่ไม่แพงเกินไป และการซื้อแฟรนไชส์ชื่อดังจากต่างประเทศที่ประสบความสำเร็จมาแล้ว ถือเป็นกุญแจสู่ความสำเร็จในตลาดฮังการี เนื่องจากคู่แข่งขันในตลาดมีจำนวนไม่มาก อีกทั้งมีผู้บริโภคชนชั้นกลางที่มีกำลังจ่ายเพิ่มมากขึ้น โดยธุรกิจแฟรนไชส์ที่มีโอกาสในตลาดฮังการี ได้แก่ ธุรกิจดูแลสุขภาพที่บ้าน ธุรกิจดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุ รวมถึงธุรกิจบริการยานยนต์ เป็นต้น

โอกาสแฟรนไชส์ไทย ขยายตลาดในฮังการี

3

1.ธุรกิจแฟรนไชส์อาหาร เครื่องดื่ม เช่น เมนูง่ายๆ สำหรับครอบครัว อาหารจานด่วน อาหารต่างชาติ และอาหารเพิ่มสุขภาพ ทั้งนี้ มีรายการจากกระทรวงพาณิชย์ ความนิยมการรับประทานอาหารในร้านอาหารไทย พบว่ามีเมนูยอดนิยมของลูกค้าในฮังการี เช่น ส้มตำ ต้มยำกุ้ง แกงเขียวหวาน สะเต๊ะไก่ ผัดกะเพรา ข้าวผัดสับปะรด และข้าวเหนียวมะม่วง

2

นอกจากนี้ ผู้บริโภคในฮังการียังชอบดื่มกาแฟที่นำเข้าจากประเทศไทย ล่าสุดได้รับรายงานจากสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงบูดาเปสต์ ของไทย พบว่า ชาวฮังการีส่วนใหญ่นิยมบริโภคกาแฟ ทั้งกาแฟคั่วบด กาแฟพิเศษ และบริโภคทั้งที่บ้าน ที่ทำงาน และตามร้านค้าทั่วไป ทำให้มีร้านกาแฟคุณภาพดีจำนวนมากในกรุงบูดาเปสต์ แต่ผลกระทบจากโควิด-19 ทำให้ชาวฮังการีต้องกักตัวและทำงานที่บ้านมากขึ้น แต่ก็ยังมีความต้องการบริโภคกาแฟอยู่เหมือนเดิม

1

2.ธุรกิจแฟชั่น เช่น เสื้อผ้าและของเล่นเด็ก ซึ่งมีจำหน่ายน้อยมากในฮังการี ผู้สนใจขยายธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศฮังการี จะต้องศึกษาลักษณะของตลาดท้องถิ่นและความต้องการของผู้บริโภคในพื้นที่นั้นๆ ถ้าหากใครอยากเริ่มต้นทำธุรกิจอาหาร ควรศึกษาว่าผู้บริโภคท้องถิ่นชอบรสชาติแบบไหน รักษาเอกลักษณ์และคุณภาพของแบรนด์ เพราะผู้บริโภคฮังการีชอบสินค้าที่อิงกับประเพณีท้องถิ่น และนิยมซื้อสินค้าจากแบรนด์ที่ตัวเองจดจำได้ การวางแผนการตลาดเพื่อสร้างการรับรู้ในแบรนด์ จึงเป็นกุญแจสำคัญในการขยายธุรกิจไปยังตลาดฮังการี

ในส่วนของการตั้งงบการลงทุน รวมถึงค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ และค่าสิทธิต่างๆ เป็นอีกปัจจัยสำคัญสำหรับการขยายธุรกิจไปยังตลาดฮังการี โดยธุรกิจแฟรนไชส์ที่เก็บค่าสิทธิต่ำประมาณ 1-1.5 แสนเหรียญสหรัฐ จะได้รับความสนใจจากนักลงทุนในฮังการีมากกว่าธุรกิจแฟรนไชส์ที่เก็บค่าสิทธิแพงกว่า 5 แสนเหรียญสหรัฐขึ้นไป

นั่นคือข้อมูลการลงทุนธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศฮังการีอย่างคร่าวๆ เจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์สามารถใช้เป็นแนวทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ก่อนที่จะขยายธุรกิจแฟรนไชส์ไปยังตลาดประเทศฮังการีได้ไม่มากก็น้อยครับ


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

ข้อมูลจาก https://bit.ly/3GKj5Q4 , https://bit.ly/3GXyE6M

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3KFOQfd

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช