6 อาชีพลงทุนน้อย แต่รวยได้!

อยากรวยต้องลงทุน! สูตรสำเร็จที่เราเคยได้ยินมานาน คำถามคือว่า “เงินน้อย ทุนน้อย” แล้วจะลงทุนอะไรได้บ้าง เมื่อมีเงินน้อย สิ่งที่ต้องทำมากคือ “ตั้งใจและพยายาม” มีหลายอาชีพที่เริ่มสามารถเริ่มต้นทำได้เลย

แม้รายได้ที่ตามมาอาจจะไม่มากมายในทันทีเข้าตำรา “อย่าหมิ่นเงินน้อย อย่าคอยวาสนา” แต่ถ้าเราตั้งใจทำสะสมประสบการณ์ไปเรื่อยๆ จากธุรกิจเล็กๆอาจค่อยๆ เติบโตและกลายเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ที่ทำให้เรารวยมากขึ้นได้

ลองมาดู 6 อาชีพลงทุนน้อยแต่รวยได้ (ถ้าตั้งใจทำจริง) ที่ www.ThaiSMEsCenter.com นำมาฝากเป็นแนวทางให้คนอยากรวยได้ลองทำ

1. ขายลูกชิ้นทอด

15

ภาพจาก bit.ly/2HGQePv

ลูกชิ้นทอดเป็นอาหารว่างที่ถูกใจคนทุกเพศทุกวัยไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ สามารถทานได้ทั้งตอนเช้า กลางวันและเย็น เราจึงสามารถเลือกทำเลและเวลาขายได้ตลอดวัน เป็นอาชีพที่ลงทุนน้อยแต่ได้กำไรดี แค่หาแหล่งขายส่งลูกชิ้นรสชาติอร่อยหลายๆ ประเภทเพื่อสร้างตัวเลือกที่หลากหลายให้ลูกค้า ศึกษาสูตรการทำน้ำจิ้มรสเด็ด ขายพร้อมผัดสดสะอาด พร้อมกับหาทำเลดีๆ เพียงเท่านี้คุณก็สามารถเริ่มต้นขายลูกชิ้นทอดได้แล้ว

ถ้างบลงทุนเราไม่มาก ไม่จำเป็นต้องเปิดร้านใหญ่ วัตถุดิบครั้งแรกไม่ต้องเยอะ อาจจะเริ่มซื้อลูกชิ้นในงบประมาณ 1,000 -2,000 บาท เครื่องปรุงทำน้ำจิ้ม 500 บาท ถุงใส่ลูกชิ้น 200 บาท อาจมีผักสดสัก 200 บาท รวมค่าใช้เบ็ดเสร็จไม่เกิน 3,000 บาท ขายไม้ละ 10 บาท X 250 ไม้ = 2,500 บาท ขายสองรอบเช้าและเย็นเท่ากับได้เงิน 5,000 บาท

แต่ถ้าขายไม่ได้ถึงวันละ 250 -500 ไม้ แต่ขายได้วันละ 100 -200 ไม้ ก็จะมีรายได้ต่อวัน 1,000 – 2,000 บาท หักลบรายจ่ายน่าจะพอเหลือเก็บได้บ้าง แต่อย่าลืมว่ายิ่งเราขายทุกวัน ยิ่งมีลูกค้าประจำมากขึ้น ชื่อเสียงเราก็จะมากขึ้น และหากรู้จักทำตลาดเพิ่มช่องทางการขายโอกาสที่จะขายได้ถึงวันละ 300-500 ไม้ ก็ไม่ใช่เรื่องยาก หรือถ้าบอกว่าลงทุนเองไม่มีประสบการณ์จะลองเลือกลงทุนแบบแฟรนไชส์ก็มีหลายแบรนด์ให้เลือกเช่น

 

ป๊อกอายลูกชิ้นปลาระเบิด ใช้งบในการลงทุน 1,590 – 22,990 บาท

14

 

อู้ฟู่ ลูกชิ้นปลาเยาวราช ใช้งบในการลงทุน 2,900 – 29,900 บาท

13

 

ไจแอ้นลูกชิ้นปลาระเบิดเถิดเทิง ใช้งบในการลงทุน 2,990 – 32,900 บาท

12

ซูโม่ ลูกชิ้นปลาระเบิด 1 บาท ใช้งบในการลงทุน 1,990 – 12,990 บาท

11

2. ขายแซนด์วิช

10

ภาพจาก bit.ly/2vKRhvl

การขายแซนด์วิชก็ดูเป็นสินค้าง่ายๆ ที่ไม่จำเป็นต้องใช้ต้นทุนสูงมากนัก ในยุคนี้หาทำเลแถวหน้าโรงเรียน โรงงาน ป้ายรถเมล์ ย่านออฟฟิศ หรือจะขายออนไลน์ร่วมด้วยก็ได้ สำคัญคือ วัตถุดิบที่ใช้ต้องสะอาด ราคาไม่แพงเกินไป (วัตถุดิบ) การตั้งราคาขายคำนวณ ให้มากกว่าต้นทุนประมาณชิ้นละ 5-10 บาท

สมมติเราขายแซนด์วิชชิ้นละ 25 บาท วันหนึ่งขายเฉพาะช่วงเช้าได้วันละ 100 ชิ้น ก็ได้เงินแล้ว 2500 บาท หักต้นทุนออกไปก็ยังเหลือกำไรพอให้ชื่นใจ แต่ใครอยากขยับขยายกำไรให้มากขึ้นไปอีกก็ลองขายรอบเย็นด้วยอีกสักรอบ แต่ขอบอกก่อนว่าไม่มีอาชีพไหนที่ลงทุนน้อยแต่จะกำไรดีโดยไม่พยายาม การขายแซนด์วิชก็เช่นกันเราต้องเข้าถึงลูกค้าให้มากที่สุดถ้าหวังเรื่องยอดขายดีๆ

3. ขายหมูปิ้ง

9

ภาพจาก bit.ly/38L2la6

อุปกรณ์ในการขายหมูปิ้งหลักๆคือ เตาย่าง , โต๊ะวางหรือรถเข็น จุดเด่นของการขายหมูปิ้งคือใช้พื้นที่ในการวางของไม่เยอะ โต๊ะตัวเดียวก็เพียงพอในวางสิ่งของต่างๆ ในการขาย ถาดและตะแกรงวางหมูปิ้ง ควรเป็นถาดและตะแกรง สเเตนเลส จะได้ทำความสะอาดง่าย ถัดมาคือข้าวเหนียว แนะนำว่าควรใช้ข้าวเหนียวเขี้ยวงู จะนุ่มและขาว ทำให้ขายง่าย น่าทาน

นอกจากนี้อุปกรณ์นึ่งข้าวเหนียว เช่น หม้อนึ่งราคาประมาณ 120-200 บาท หวดนึ่งข้าวเหนียวราคาประมาณ 20-100 บาท แล้วแต่ขนาดและรุ่น กระติกเก็บข้าวเหนียว ใช้เป็นกระติกน้ำแข็งทั่วไปครับ ราคาประมาณ 400-700บาท ถุงใส่ข้าวเหนียวและหมูปิ้ง ถ้าเป็นถุงใส่ข้าวเหนียวโดยทั่วไป จะนิยมกันอยู่ 2 ขนาด คือ ขนาด 4×6 หรือ 4×7 ส่วนถุงที่ใส่หมูปิ้งขนาดประมาณ 4×8 นิ้ว และต้องมีถุงหิ้วขนาด 6×14 นิ้ว คอยใส่สินค้าทั้งหมดให้ลูกค้าด้วย

การขายหมูปิ้งถือเป็นอาชีพยอดฮิตที่เรามองไปทางไหนก็เจอ ส่วนจะขายดี มีกำไรแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับ “เทคนิคการตลาด” คุณภาพสินค้า รวมถึงทำเลในการขาย ที่สำคัญความขยันและพยายาม สำคัญมากในอาชีพนี้

4. เก็บของเก่า

8

ภาพจาก bit.ly/39PZ8qa

อย่ามองข้ามอาชีพเก็บของเก่า หากเรามีรถกระบะสักคัน อาชีพนี้เราเริ่มได้เลย ของเก่าหรือขยะเหลือใช้มีให้เห็นอยู่ทุกที่ อาชีพนี้ต้องไม่อายทำกิน ไม่กลัวสกปรก อาบเหงื่อต่างน้ำ แต่ทำไปเรื่อยๆ อาจเห็นช่องทางที่เปลี่ยนจากคนขายของเก่ามาเป็นคนรับซื้อในอนาคตได้ ปัจจุบันปริมาณขยะมีมากขึ้นเรื่อยๆ มีการคะเนคร่าวๆว่า มูลค่าของขยะโดยเฉลี่ยกิโลกรัมละ 8 บาท คนเราทิ้งขยะรีไซเคิลต่อคนวันละ 8 ขีด ถ้ารวมทุกคนทั่วประเทศคร่าวๆ 70 ล้านคน ก็เท่ากับคนไทยกำลังทิ้งเงินวันละ 400 กว่าล้าน/ปี ก็จะเทียบเท่ากับเป็นเงินแสน 6.3 หมื่นกว่าล้านบาท นั่นคือมูลค่าที่เราสามารถจัดการให้เกิดประโยชน์ได้

แต่ในความเป็นจริงคือราคาของขยะแต่ละชนิดมีการรับซื้อต่างกันเช่นกระดาษหนังสือพิมพ์ราคาอยู่ที่กิโลกรัมละเกือบ 4 บาท , กระดาษกล่องสีน้ำตาล ราคาประมาณ 4 บาท/กิโลกรัม , กระดาษที่ใช้ในสำนักงานราคาประมาณ 7 บาท/กิโลกรัม , ขวดเหล้า (ขุ่น) ประมาณ 2 บาท/ กิโลกรัม ,อะลูมิเนียม ทองแดง ทองเหลือง สเตนเลส และตะกั่ว ราคาประมาณ206 บาท/กิโลกรัม , อะลูมิเนียมกิโลละประมาณ 23 บาท เป็นต้น ลักษณะการหาของเก่าก็คือการตระเวนไปตามจุดต่างๆ หรือถ้าเราสามารถคอนแทคกับห้างร้าน บริษัท ที่เขามีวัสดุไม่ใช้เราก็สามารถเอามาขายเป็นของเก่าได้ อาชีพนี้ต้องอาศัยความอดทน หักลบค่าน้ำมันในแต่ละวันก็น่าจะมีรายได้ที่ดี

5. ร้านข้าวไข่เจียว

7

ภาพจาก bit.ly/2HGHits

เปิดร้านขายข้าวไข่เจียมเมนูที่ดูง่ายๆ แต่ขายได้แน่หากมีเทคนิคการทำตลาดที่ดีและมีทำเลในการขายที่น่าสนใจ อุปกรณ์ก็ไม่มากโต๊ะ 1 ตัว เตาแก๊ส จาน (แบบใช้แล้วทิ้ง) วัตถุดิบสำหรับผสมไข่เจียว (หมูบด , ปูอัด , หมูยอ ฯลฯ) ซึ่งเราอาจไม่ต้องมีเครื่องเคียงมากนักในช่วงแรก

และที่ลืมไม่ได้คือ ข้าว กับไข่ ข้าว 1 ถัง เอาแบบดีราคา ถังละ 450 หุงได้หลายรอบ ไข่เบอร์ 1 แผงละ 95 บาท (30 ใบ) ต้นทุนเบ็ดเสร็จพร้อมเปิดร้านประมาณ 2,000 ขายข้าวไข่เจียวจานละ 20-25 บาท แค่ 100 จานก็ได้เงิน 2,500 บาท แน่นอนว่าถ้าร้านค้าคนติดใจลูกค้าก็มากรายได้เราก็จะมากขึ้นด้วย ถึงตอนนั้นเราอาจจะเพิ่มงบลงทุนให้ร้านเรามีตัวเลือกสำหรับลูกค้ามากขึ้น ก็จะทำให้มีรายได้มากขึ้นตามไป

6. ร้านกระเพรา 20 บาท

6

ภาพจาก bit.ly/2vMZSgT

เห็นตามตลาดนัดกับร้านกระเพรา 20 บาท ที่ภายในร้านก็มีแค่กระเพราหมูสับปรุงเสร็จใส่ถาดไว้ กับไข่ดาวที่ทอดแล้วใส่ถาดไว้เช่นกัน และข้าวสวยหุงพร้อมรับประทาน ลูกค้ามาถึงก็เลือกว่าจะเอากระเพราราดข้าวแบบใส่ไข่ดาวหรือไม่ใส่ไข่ดาว ราคา กระเพราราดข้าว 20 บาท เพิ่มไข่ดาว 5 บาท จากนั้นก็มัดเป็นห่อให้ลูกค้าหิ้วกลับไปรับประทานที่บ้านหรือในหอพัก ห้องพัก ซึ่งเป็นอาหารจานด่วนที่ตอบโจทย์ให้คนยุคนี้ได้ดี จุดเด่นคือ ทานง่าย ราคาแค่ 20 บาท ก็อิ่มได้ ในภาวะเศรษฐกิจไม่ดีแบบนี้ มื้อละ 20 บาทถือว่าไม่แพงเกินไป แถมยังอร่อยและได้รสชาติที่ดีด้วย

การลงทุนขอเพียงมีทำเลเช่นตามตลาดนัด สถานที่ชุมชน ใกล้โรงงาน วัตถุดิบหลักๆ ที่ต้องซื้อคือ หมูสด ราคากิโลกรัมละประมาณ 150-160 บาท ไข่แผงละประมาณ 90-95 บาท (30 ฟอง) ใน 1 ถาด (เมนูสำเร็จ) อาจใช้หมูประมาณ 2 กิโลกรัมต้นทุนเนื้อหมูประมาณ 300 บาท ขายในราคาห่อละ 20 บาท แค่ 15 ห่อก็จะคุ้มทุนค่าหมู ที่เหลืออาจจะหักค่าไข่ ค่าแก๊ส ค่าเช่าสถานที่ ค่าอุปกรณ์จิปาถะ รวมๆ แล้ว จุดคุ้มทุนอยู่ที่ประมาณ 15-20 ห่อ ซึ่งหากเป็นทำเลที่คนพลุกพล่านการขาย 15-20 ห่อไม่ใช่เรื่องยาก เป็นอีกการลงทุนที่น่าสนใจแม้จะไม่สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำในทันทีแต่ก็พอทำให้มีเงินหมุนเวียนและเมื่อทำไปนานๆอาจมองเห็นลู่ทางที่จะขยับขยายได้มากขึ้นด้วย

อย่างไรก็ดีไม่ว่าคิดจะลงทุนทำอะไร ใช้ทุนมาก ทุนน้อย สำคัญคือการวางแผน เทคนิคการตลาด แม้เงินทุนจะเป็นสิ่งสำคัญแต่หากปราศจากความตั้งใจทำ ไม่เอาใจใส่กับสิ่งที่ทำ ไม่พัฒนาสินค้าหรือก้าวตามกระแสความต้องการ ก็อาจทำให้ธุรกิจเติบโตไม่ได้เท่าที่ควรจะเป็น


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/32bnmsg
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

อ้างอิงข้อมูล bit.ly/2TfHsO7

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด