แนวโน้มธุรกิจแฟรนไชส์ 2560 เทรนด์และโอกาสสินค้าใหม่ๆ

กระแสธุรกิจ แฟรนไชส์ที่กำลังได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น ด้วยแรงสนับสนุนจากทั้งภาครัฐและเอกชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อกระตุ้นการลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์ รวมถึงการสนับสนุนและพัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ไทย ให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดอาเซียน ก่อนที่จะพัฒนาศักยภาพธุรกิจของตัวเองก้าวไกลสู่ตลาดโลก

โดยปัจจัยที่ทำธุรกิจแฟรนไชส์ได้รับความนิยมในการลงทุน เพราะเป็นธุรกิจที่ได้ผ่านการลองผิดลองถูกในการทำธุรกิจมาแล้ว จนสามารถประสบความสำเร็จได้ในวันนี้ ทำให้ผู้ลงทุนไม่ต้องใช้เวลาในการสร้างธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ เปรียบเสมือนว่าเป็น “การเลียนลัด” ของนักลงทุนหรือผู้ซื้อแฟรนไชส์ นั่นเอง

รายงานโดยสมาคมแฟรนไชส์ไทย ระบุว่า ธุรกิจแฟรนไชส์ไทยมีประวัติความเป็นมานานกว่า 20 ปี ปัจจุบันมีแฟรนไชส์กว่า 90,000 ราย เกิดใหม่วันละ 20 แห่ง และจากการศึกษาของ สสว.และฐานข้อมูลเอสเอ็มอี คาดว่าจะมีจำนวนผู้ประกอบการธุรกิจแฟรนไชส์เพิ่มเป็น 850 บริษัท และตลาดแฟรนไชส์จะมีมูลค่าประมาณ 200,000 ล้านบาท ในปี 2560

ดังนั้น ธุรกิจแฟรนไชส์ จึงเป็นธุรกิจที่น่าจับตามอง ว่าสามารถทำให้คนธรรมดาเป็นเจ้าของธุรกิจส่วนตัว ช่วยสร้างงาน สร้างอาชีพ ขยายตัวและส่งเสริม GDP ให้กับประเทศได้อีกทางหนึ่ง

แนวโน้มธุรกิจแฟรนไชส์

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com ได้มีโอกาสสัมภาษณ์ “คุณกวิน กิตติบุญญา” กรรมการผู้จัดการ บริษัท กวิน อินเตอร์เทรด จำกัด ผู้จัดงานแสดงแฟรนไชส์นานาชาติใหญ่ที่สุดในอาเซียน อาทิ Thai Franchise & SME Expo, งาน Thailand Coffee, Tea & Drinks, งานThailand Bakery & Ice Cream, งานท่องไทยท่องโลก

งานThailand Bike & Vehicle, งาน TFBO – Thailand Franchise & Business Opportunities และงาน TRAFS – Thailand Retail, Food & Hospitality Service ในเรื่องแนวโน้มธุรกิจแฟรนไชส์ 2560 เทรนด์และโอกาสของธุรกิจแฟรนไชส์ใหม่ๆ ซึ่งได้ข้อมูลที่น่าสนใจอย่างมาก มาฝากผู้ที่เกี่ยวข้องในระบบธุรกิจแฟรนไชส์ทุกๆ คน

ภาพรวมการเติบโตธุรกิจแฟรนไชส์ ปี 2559

oi2

oi3

ภาพรวมการเติบโตของธุรกิจแฟรนไชส์ตลอดปี 2559 คุณกวิน บอกว่า สามารถแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงต้นปี และช่วงปลายปี โดยช่วงต้นปี 2559 มองว่า การเติบโตของธุรกิจแฟรนไชส์

ในแง่ของการขยายสาขาของผู้ลงทุนหรือผู้ซื้อแฟรนไชส์ในประเทศก็ยังมีการขยายสาขาอยู่ แต่อาจจะไม่ถึงเป้าหมายที่ผู้ประกอบการแฟรนไชส์คาดหวังเอาไว้

oi4

oi5

ส่วนครึ่งหลังของปี 2559 โดยเฉพาะช่วงไตรมาสสุดท้าย ดูเหมือนว่าการเติบโตของธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศจะชะลอตัวลง โดยมีสาเหตุหรือปัจจัยมาจาก อารมณ์และความรู้สึกเศร้าโศกเสียใจของนักลงทุน ต่อการสวรรคตขององค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 นี่คือภาพรวมของการเติบโตของธุรกิจแฟนไชส์ในส่วนของผู้ลงทุนซื้อแฟรนไชส์

สำหรับบริษัทหรือเจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ในการขายแฟรนไชส์ เข้าใจว่า การขายธุรกิจแฟรนไชส์น่าจะชะลอตัวลง เหตุผลเพราะว่ากำลังซื้อที่ถดถอยของผู้บริโภค นักลงทุน อันมาจากการชะลอการลงทุนของภาครัฐ เอกชน

ทำให้เกิดการชะลอการใช้จ่ายและการลงทุนตามไปด้วย เพื่อรอดูสถานการณ์เศรษฐกิจ และนโยบายของรัฐบาล เห็นได้ว่าการจับจ่ายใช้สอย การออกมาซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคของประชาชนในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2559 ลดน้อยลง

oi6

oi7

อย่างไรก็ตาม ภาพรวมของการเติบโตธุรกิจแฟรนไชส์ตลอดทั้งปี 2559 มาเฉลี่ยกัน ตนมองว่า ภาพรวมของธุรกิจแฟรนไชส์ยังมีการเติบโตต่อเนื่อง แต่เป็นการเติบโตในอัตราที่น้อยกว่าเป้าหมายที่ผู้ประกอบการธุรกิจแฟรนไชส์คาดหวังเอาไว้

โดยมีสาเหตุมาจากปัจจัยหลัก คือ ภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศที่ชะลอตัวลง ทำให้ผู้บริโภคภายในประเทศไม่ค่อยมีอารมณ์ในการออกมาจับจ่ายใช้สอยมากนัก

อีกทั้งนักลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์อาจจะชะลอการลงทุน เพราะต้องรอดูสถานการณ์เศรษฐกิจ และนโยบายด้านการลงทุนของภาครัฐ รวมถึงยังไม่มีธุรกิจแฟรนไชส์ที่ยังน่าสนใจลงทุนในตอนนั้น

แฟรนไชส์ที่แข็งแกร่งยังขยายสาขาได้ตามเป้าหมาย

oi8

oi9

คุณกวิน ยังมองว่าธุรกิจแฟรนไชส์ที่มีพร้อมในทุกๆ ด้าน ก็มีความพร้อมในการขยายสาขาออกไปต่างประเทศได้อยู่ บางธุรกิจแฟรนไชส์อาจขยายสาขาในต่างประเทศได้ตามเป้าหมาย

บางธุรกิจแฟรนไชส์อาจขยายสาขาไม่ได้ตามเป้าหมาย แต่ภาพรวมโดยเฉลี่ยเท่าที่ได้พูดคุยกับผู้ประกอบการ ก็ยังสามารถขยายสาขาในต่างประเทศได้ตามเป้าหมาย

oi10

oi11

โดยเฉพาะแบรนด์ดังๆ ใหญ่ๆ อย่างกลุ่มไมเนอร์ฯ หรือแบรนด์ไทยอย่าง N&B ก็ยังมีการขยายสาขาในต่างประเทศได้ ตามเป้าหมาย เพราะแบรนด์ธุรกิจแฟรนไชส์เหล่านี้มีความพร้อมในหลายๆ ด้าน อีกทั้งนักลงทุนต่างชาติให้ความนิยมสนใจ

สำหรับแบรนด์ธุรกิจแฟรนไชส์ต่างประเทศที่เข้ามาลงทุนในเมืองไทยตลอดปี 2559 ก็ยังมีการขยายสาขาการลงทุนในเมืองไทยเพิ่มขึ้นบ้าง แต่การเข้ามาลงทุนของแฟรนไชส์ต่างประเทศไม่ได้มาแบบฉาบฉวย แต่เป็นการเข้ามาลงทุนในระยะยาว ส่วนใหญ่ที่เห็นจะเป็นแบรนด์แฟรนไชส์กลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม แต่อาจจะขยายสาขาไม่มกนักในช่วงปีที่ผ่านมา

แนวโน้มธุรกิจแฟรนไชส์ ปี 2560

iu1

iu2

สำหรับแนวโน้มการเติบโตของธุรกิจแฟรนไชส์ในปี 2560 คุณกวินยังมีความเชื่อว่า ธุรกิจแฟรนไชส์ยังเป็นทางเลือกหนึ่งของการลงทุนของคนหลายกลุ่ม และมีความเชื่อว่าทิศทางการเติบโตของการลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์ยังสดใสอยู่ โดยมีปัจจัยสำคัญ ดังนี้

  1. สถานการณ์ทางการเมืองนิ่ง อย่างน้อยๆ ก็ไปอีก 1 ปีก่อนที่จะมีการเลือกตั้งรัฐบาล
  2. การส่งออกในปี 2560 น่าจะดีขึ้น โดยเฉพาะสินค้าเกษตรที่เริ่มมีสัญญารบวกเข้ามา
  3. การท่องเที่ยวน่าจะเป็นรายได้หลักของประเทศ
  4. การลงทุนภาครัฐในโครงการใหญ่ๆ เริ่มมีมากขึ้น

iu3

iu4

ดังนั้น 4 เครื่องยนต์ใหญ่ๆ ที่กล่าวไปนั้น น่าจะเป็นตัวขับเคลื่อนประเทศ และสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด ผลที่เกิดขึ้นจะส่งผลให้ความมั่นใจในการลงทุนของนักลงทุนกลับมาเหมือนเดิม

ดอกเบี้ยเงินฝากต่ำ ดึงนักลงทุนซื้อแฟรนไชส์

iu5

iu6

สำหรับแบรนด์ธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศ น่าจะมีโอกาสในการขยายธุรกิจของตัวเองได้อย่างราบรื่น เพราะอัตราดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารยังต่ำมาก ไม่ถึง 2% ตรงนี้จะทำให้คนที่มีเงินออมได้มองหาทางเลือกของการลงทุนใหม่ๆ

ซึ่งเชื่อว่าธุรกิจแฟรนไชส์ก็เป็นหนึ่งในทางเลือกของคนเหล่านั้น ประกอบกับคนรุ่นใหม่ที่จบการศึกษามาก็อยากจะเป็นเจ้าของธุรกิจกันมากขึ้น ดังนั้น การไปซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ที่ประสบความสำเร็จมาแล้ว ก็น่าจะส่งผลให้ธุรกิจแฟรนไชส์มีเติบโตในปี 2560

หน่วยงานรัฐสนับสนุนให้เกิดผู้ประกอบการแฟรนไชส์ใหม่

iu8

iu9

ขณะเดียวกัน กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ รวมถึงหน่วยงานอื่นๆ ของภาครัฐ ได้ให้ความสำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนการลงทุนธุรกิจแฟรนไชส์ มีการพัฒนาผู้ประกอบการ มีการอบรมผู้ประกอบการอย่างต่อเนื่อง สิ่งเหล่านี้จะเป็นช่องทางในการเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการธุรกิจแฟรนไชส์ใหม่ๆ เข้ามาสู่วงการแฟรนไชส์

ขณะที่ผู้ประกอบการธุรกิจแฟรนไชส์ที่มีรายชื่ออยู่แล้ว ก็จะได้มีโอกาสในการพัฒนาระบบธุรกิจแฟรนไชส์ของตัวเองให้ดียิ่งขึ้น เพื่อที่ก้าวไปสู่เป้าหมายในแง่ของการขยายธุรกิจ ขยายสาขาให้มากยิ่งขึ้น

ปี 2560 โอกาสทองแฟรนไชส์ขยายธุรกิจได้มากขึ้น

iu10

a12

คุณกวิน ได้มองตลาดแฟรนไชส์ต่างประเทศด้วยว่า สามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1.แบรนด์ไทยที่จะไปต่างประเทศ โดยส่วนใหญ่เป็นแบรนด์ที่แข็งแรงและไปต่างประเทศอยู่แล้ว ก็คงมองหาโอกาสใหม่ๆ ในการขยายการลงทุนในต่างประเทศ

เนื่องจากทิศทางของเศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัวกลับขึ้นมา ก็จะทำให้ผู้ประกอบการแฟรนไชส์ที่มีความพร้อม มีโอกาสไปปักธงสาขาแฟรนไชส์ในประเทศใหม่ๆ รวมทั้งการขยายสาขาในตลาดเดิมๆ ที่ทำกันอยู่แล้วได้

a1

a2

2.ส่วนแบรนด์ไทยที่มีความพร้อม เชื่อว่ายังสามารถที่จะขยายธุรกิจออกไปต่างประเทศได้ น่าเป็นโอกาสที่แบรนด์แฟรนไชส์เหล่านี้จะได้ไปลองชิมรางในการขยายสาขาธุรกิจของตัวเองในต่างประเทศ แต่ทั้งนี้ก็ต้องกลับมามองว่าแบรนด์ธุรกิจแฟรนไชส์เหล่านี้มีความพร้อมมากน้อยแค่ไหน

a14

a15

“จากปัญหาเหล่านี้ ในฐานะผู้งานฯ ก็ยังมองเห็นโอกาสของการเติบโตธุรกิจแฟรนไชส์ไทยในต่างประเทศ โดยในปี 2560 ได้มีแผนงานที่จะไปจัดงานแฟรนไชส์นานาติที่ครบวงจร ที่ประเทศเมียนมาร์ ในเดือนกันยายน 2560 เพราะเราต้องการให้ผู้ประกอบการธุรกิจแฟรนไชส์ของไทยแต่ละแบรนด์ มีโอกาสไปเปิดตลาดใหม่ๆ กับเรา”

ไทยยังเนื้อหอมของแบรนด์แฟรนไชส์ต่างชาติ

a13

a19

สำหรับแบรนด์ธุรกิจแฟรนไชส์ต่างชาติที่ต้องการเข้ามาลงทุนในเมืองไทย คุณกวินยังเชื่อมั่นว่า ในปี 2560 ไทยเป็นประเทศที่หลายๆ ประเทศทั่วโลกจับตามองในด้านของการเข้ามาลงทุนทำธุรกิจ หลายๆ แบรนด์ต้องการมาเปิดตลาดในเมืองไทย ตามพื้นที่ที่เคยมากันแล้วกว่า 100 แบรนด์

a17

a20

โดยธุรกิจแฟรนไชส์หลักๆ ที่คาดว่าจะเข้ามาขยายการลงทุนในเมืองไทยมากขึ้น น่าจะเป็นกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม และกลุ่มไลฟ์สไตล์ ที่สำคัญการเปลี่ยนแปลงของตลาดในยุคดิจิตอล 4.0 ก็จะทำให้ผู้ประกอบการต้องปรับตัวให้ทันต่อสถานการณ์ตลาด และพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป

นั่นเป็นมองความคิดว่าในปี 2560 การเติบโตของธุรกิจแฟรนไชส์โดยรวม น่าจะมีทิศทางดีขึ้นมากกว่าปี 2559 ที่ภาพรวมของการเติบโตธุรกิจแฟรนไชส์ชะลอตัวลงในไตรมาสสุดท้าย

โอกาสของธุรกิจหรือสินค้าแฟรนไชส์ใหม่ๆ

a9

a10

ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ยังคงเป็นกิจการที่ได้รับการตอบสนองมากที่สุดอยู่เช่นเดิม แต่แฟรนไชส์ธุรกิจอาหารยังมีช่องว่างอยู่มาก เพราะธุรกิจแฟรนไชส์อาหารที่ขายอยู่นั้น ส่วนใหญ่จะอยู่ในประเภท ร้านกาแฟ ร้านชานม ร้านก๋วยเตี๋ยว ร้านลูกชิ้น ร้านเล็กๆ หรือ เป็นร้านพิซซ่า คือ เป็นอาหารที่ยังไม่ตรงใจของผู้ลงทุนนัก

ดังนั้น ธุรกิจร้านอาหารไทย ควรที่จะได้รับการแต่งตัว สร้างเอกลักษณ์ แต่งร้านให้มีคอนเซ็ปท์ ใส่ระบบงานที่มีมาตรฐานเข้าไป ก็จะกลายเป็นแฟรนไชส์ที่จะได้รับการตอบรับจากนักลงทุนได้เร็วขึ้น

“ผู้ประกอบการ-ผู้ลงลงทุน-ภาครัฐ” ต้องร่วมพัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ให้แข็งแกร่ง

a3
a4
เมื่อถามว่า สิ่งที่อยากให้เกิดขึ้นในวงการธุรกิจแฟรนไชส์เมืองไทย ในปี 2560 คุณกวิน บอกว่า อยากเห็น 3 ข้อเกิดขึ้น คือ

1.อยากฝากให้ผู้ประกอบการธุรกิจแฟรนไชส์ พัฒนาธุรกิจของตัวเองให้พร้อมในระบบของตัวเอง ถามตัวเองก่อนว่าพร้อมหรือไม่ ที่จะรับคนอื่นเข้ามาเป็นสมาชิกในครอบครัว

เพราะหัวใจของระบบแฟรนไชส์ ก็คือ การขายระบบที่ผ่านการลองผิดลองถูกมาแล้ว จนประสบความสำเร็จ และมีสาขาของตัวเองที่เพียงพอ แต่ถ้ายังไม่พร้อมอย่าพึ่งขายแฟรนไชส์ เพราะจะทำให้นักลงทุนหรือผู้ที่จะมาซื้อระบบแฟรนไชส์จากคุณผิดหวังจากระบบแฟรนไชส์

a5

a6

2.นักลงทุน อยากฝากว่าในการเลือกซื้อธุรกิจแฟรนไชส์นั้น ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อให้ศึกษาระบบแฟรนไชส์ การทำธุรกิจแฟรนไชส์ รวมถึงเจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ที่กำลังสนใจว่าเขามีความพร้อมมากน้อยแค่ไหน ระบบแฟรนไชส์เขานิ่งแค่ไหน มีสาขามากน้อยแค่ไหน เปิดสาขามานานแล้วแค่ไหน อย่างไร

เพื่อที่จะตรวจสอบว่าเจ้าของแฟรนไชส์เหล่านั้น ได้ทำการลองผิดลองถูกมาหรือยัง อย่ามองแค่ปัจจัยตัวล่อที่ผู้ขายแฟรนไชส์เสนอมา ขณะเดียวกัน ถ้าต้องการซื้อแฟรนไชส์จริงๆ ก็ต้องยอมรับในกฎ กติกาของผู้ขายแฟรนไชส์ด้วย ไม่ใช่เข้าไปแล้วฝ่าฝืนกฎ พอยอดขายไม่เป็นไปตามเป้าเริ่มตีรวน นี่คือสิ่งที่ต้องคุยกันพอเริ่มมีปัญหา

a7

a8

3.ภาครัฐ อยากให้ดูในเรื่องให้หารสนับสนุน การพัฒนาระบบผู้ประกอบการแฟรนไชส์ไทยที่มีอยู่ เพื่อให้ผู้ประกอบการแฟรนไชส์มีความแข็งแรง เพราะธุรกิจแฟรนไชส์เป็นธุรกิจที่จะสามารถต่อยอดให้เกิดการจ้างงาน การใช้วัตถุดิบและสินค้าภายในประเทศ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยในระยะยาว 5-10 ปี ถ้าระบบแฟรนไชส์ของไทยนิ่ง

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3jjTy3D

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช