เทคนิคทำธุรกิจ แฟรนไชส์อาหาร ให้ชนะใจในต่างแดน

ต้องยอมรับว่าธุรกิจอาหารไทยไม่น้อยหน้าชาติใดในโลก และยังเป็นที่ต้องการของตลาด โดยเฉพาะฝีมือการทำอาหารและรสชาติอาหารไทยเป็นที่ยอมรับไปทั่วโลก แต่ส่วนใหญ่ยังขาดองค์ความรู้ในการออกสู่ต่างประเทศ

ซึ่งจะเห็นได้ว่าที่ผ่านมาการขยายธุรกิจ แฟรนไชส์อาหาร ไทยและร้านอาหารไทยไปต่างประเทศยังมีน้อย อาจเป็นเพราะผู้ประกอบการขาดความรู้ด้านการบริหาร ระบบการจัดการธุรกิจ และประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจในต่างประเทศ

อย่างไรก็ตาม หลักการขยายธุรกิจแฟรนไชส์อาหารไปต่างประเทศ ต้องดูจังหวะและโอกาสที่เหมาะสม ทั้งสภาพเศรษฐกิจในแต่ละประเทศ จำนวนประชากร ค่าครองชีพ พฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคท้องถิ่น วัฒนธรรมและภาษา สิ่งเหล่านี้ถือเป็นปัจจัยสนับสนุนและเปิดโอกาสให้ธุรกิจแฟรนไชส์อาหารของไทยขยายตัวและเติบโตในตลาดต่างประเทศ

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีเทคนิคการทำธุรกิจแฟรนไชส์อาหาร ให้ชนะใจในต่างประเทศ มาฝากผู้ประกอบการธุรกิจแฟรนไชส์ ที่กำลังมองหาลู่ทางขยายแฟรนไชส์ไปในต่างประเทศ มาดูกันครับ

1.หาข้อมูลและสำรวจตลาด

แฟรนไชส์อาหาร

ก่อนที่ผู้ประกอบการแฟรนไชส์จะขยายธุรกิจในต่างประเทศ อย่างแรกต้องทำการศึกษาหาความรู้ หาข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนในประเทศนั้นๆ รวมถึงสำรวจตลาดและพฤติกรรมผู้บริโภคในต่างประเทศ

โดยเฉพาะผู้บริโภคท้องถิ่นที่เป็นเป้าหมายในการไปตั้งสาขาแฟรนไชส์ ว่าแต่ละวันเขาซื้อ เขากินอย่างไร เรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมท้องถิ่นในแต่ละพื้นที่ที่จะไปขยายสาขา เพราะจะเป็นตัวกำหนดว่าแฟรนไชส์อาหารของคุณเหมาะกับพื้นที่นั้นหรือไม่

2.วางตำแหน่งสินค้าอาหาร

ww2

ผู้ประกอบการธุรกิจแฟรนไชส์ต้องตระหนักว่า สินค้าอาหารที่จะขายในตลาดต่างประเทศ ต้องมีความแตกต่างจากสินค้าที่มีอยู่แล้วในตลาดนั้นๆ ที่สำคัญสินค้าต้องมีคุณค่าและสร้างประโยชน์ให้กับผู้บริโภคด้วย

ที่สำคัญราคาอาหารต้องอยู่ในวิสัยที่ผู้บริโภคในประเทศนั้นๆ พอที่จะจ่ายได้ ไม่แพงจนเกินไป หรือไม่ขายถูกจนธุรกิจขาดทุน ทั้งนี้ การวางตำแหน่งสินค้าอาหารในต่างประเทศ ต้องดูจากพฤติกรรมผู้บริโภค ค่าครองชีพ รายได้ของประชากรในแต่ละประเทศด้วย

3.หากลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

ww6

ในความเป็นจริงการสำรวจตลาดของผู้ประกอบการแฟรนไชส์อาหาร ไม่จำเป็นต้องใช้เงินทุนมากในการหากลุ่มลูกค้าเป้าหมายในต่างประเทศ เพราะสามารถขยายธุรกิจด้วยการให้สิทธิแฟรนไชส์ซีในประเทศนั้นๆ หาตลาดและผู้บริโภคได้

แต่ถ้าเป็นการสำรวจตลาดเอง สมมติจะเปิดร้านอาหารที่นิคมอุตสาหกรรม ต้องคิดว่าจะติดแอร์ดีไหม หรือถ้าจะขายให้กับนายช่าง ผู้จัดการ หรือขายให้กับสาวโรงงาน ถ้าจะขายให้นายช่าง อาจจะทำร้านติดแอร์

แต่ถ้าจะขายสาวโรงงาน อาจจะไม่ติดแอร์ เพราะหาเป็นคุณที่เป็นลูกค้าคนนั้น ถามตัวเองว่าอยากจะเข้าร้านลักษณะใด บางคนทำร้านเอาเท่อย่างเดียว โดยไม่คิดถึงลูกค้าเป้าหมาย หรือทำเล สุดท้ายก็ไปไม่รอด

4.ออกแบบร้านให้เหมาะกับตลาดเป้าหมาย

ww8

ร้านอาหารแต่ละประเภท เมื่อเห็นแล้วจะต้องบ่งบอกได้ว่าขายอาหารอะไร ร้านจะต้องเหมาะสมกับตลาดในแต่ละพื้นที่ ถ้าตั้งห้างสรรพสินค้า ขนาด และสภาพพื้นที่ภายในห้างว่าอยู่ตรงส่วนไหนของห้าง

ร้านอาหารจะต้องดึงดูดลูกค้าได้ดี ไม่ว่าจะเป็นร้านเปิดโล่ง ไม่มีกระจก บรรยากาศร้านเข้าไปนั่งแล้วต้องไม่เกร็ง อาจไม่ต้องเป็นส่วนตัวมากนัก พนักงานไม่ต้องแต่งตัวหรูหรา อาจทำให้ลูกค้าไม่เข้าร้าน อาจแต่งแบบสบายๆ แต่ดูดี รัดกุม มีเอกลักษณ์

5.สร้างแบรนด์ให้ผู้บริโภครู้จัก

ww4

แน่นอนว่าการขายแฟรนไชส์อาหารในต่างประเทศ ให้ชนะใจผู้บริโภคในแต่ละพื้นที่ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักของตลาดและผู้บริโภคในวงกว้าง แบรนด์ที่ดีต้องจดจำง่าย มีเอกลักษณ์เฉพาะ ไม่ซ้ำกับคนอื่น และต้องสื่อให้เห็นถึงลักษณะของธุรกิจหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำอยู่

การสร้างแบรนด์ มันไม่ใช่แค่มี “ชื่อ” หรือ “รูปสัญลักษณ์” แต่มันคือ “หลักคิด” อาจมีทั้งภาษาไทยและอังกฤษอยู่พร้อมกันในตัวโลโก้ ด้วยเหตุผลว่า ทำรองรับการไปต่างประเทศ และมีรูปอื่นๆเพื่อเป็นสัญลักษณ์ตัวแทน

ประเทศที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ ก็จดจำแบรนด์ได้ ถึงจะอ่านภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษไม่ออก แต่พอเห็นรูปสัญลักษณ์ของธุรกิจ ก็รู้ว่านี่ คือ แบรนด์แฟรนไชส์ร้านอาหารของคุณ

6.อาหารมีคุณภาพ คุ้มค่า คุ้มราคา บริการดี รสชาติอร่อย

ww5

ธุรกิจแฟรนไชส์อาหารที่จะสามารถมัดใจในต่างแดนได้ และได้รับความนิยมและเป็นที่ชื่นชอบของลูกค้า อาหารทุกอย่างที่ทำต้องมีคุณภาพมาตรฐานเดียวกันเหมือนกับเมืองไทย ไปกินที่ไหนต้องได้รสชาติอาหารอร่อยเป็นมาตรฐานเหมือนกันหมดทุกร้าน ไม่ว่าจะในประเทศหรือต่างประเทศ เรียกว่าไปทานที่ไหนรสชาติไม่เปลี่ยนแปลง

นอกจากนี้ ราคาอาหารต้องคุ้มค่ากับเงินที่ลูกค้าจ่ายไป ไม่แพงจนลูกค้าไม่กล้าเข้าร้าน หรือไม่ถูกจนร้านอาหารคุณต้องปิดกิจการ ไม่คุ้มค่ากับต้นทุน การตั้งราคาขายต้องเหมาะสมกับรายได้ของผู้บริโภคในแต่ละประเทศ แต่ละพื้นที่ เหมือนกับว่าถ้าคุณเป็นลูกค้า ราคาอาหารเท่านี้ คุณจะเข้าไปซื้อกินไหม ต้องเอาใจเขามาใส่ใจเรา ร้านอาหารถึงจะรอด

7.รู้จักคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่ดี มีความตั้งใจ

ww3

การคัดเลือกผู้ร่วมธุรกิจ หรือแฟรนไชส์ซีในต่างประเทศ คุณต้องดูจากความตั้งใจจริง ความพร้อมด้านเงินทุน และที่สำคัญมีทัศนคติที่ดีต่อธุรกิจ กล่าวคือ มีความรักและเชื่อมั่นในแบรนด์

เพราะจะทำให้เขาอยากรักษารูปแบบธุรกิจเดิมที่เป็นอยู่ ไม่ต้องการเปลี่ยนแปลงใดๆ ไม่ดิ้นรนไปหาเมนูอื่นๆ มาขายในร้าน ที่สำคัญเขาจะตั้งใจบริหารธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ

จะเห็นได้ว่าการขยายธุรกิจแฟรนไชส์ในต่างประเทศ ให้ชนะใจ ได้รับความนิยมของผู้บริโภคในแต่ละพื้นที่นั้น ไม่ง่ายและไม่ยากมากนัก หากผู้ประกอบการตั้งใจที่จะบุกต่างประเทศจริง

เบื้องต้นต้องมีความรู้ก่อน อาจหาข้อมูลพื้นฐานจากอินเทอร์เน็ต รวมถึงหน่วยงานภาครัฐ จากนั้นลงพื้นที่สำรวจตลาดจริงด้วยตัวเอง เพื่อพิจารณาถึงความเป็นไปได้ทางธุรกิจ ทั้งจำนวนลูกค้าเป้าหมาย ทำเล ฯลฯ รวมถึง ต้องดูความพร้อมของแหล่งวัตถุดิบ หรือความสามารถที่จะส่งวัตถุดิบไปได้

 

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3dpnwBT

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช