#รีวิวหนังสือ ทำไมคนที่ทำงานเก่งที่สุด ถึงใช้สมุดกราฟ

รีวิวหนังสือ ทำไมคนที่ทำงานเก่งที่สุด ถึงใช้สมุดกราฟ ความสำเร็จครั้งใหญ่เริ่มต้นจากวิธีที่คุณใช้จดบันทึก เคล็ดลับที่ใช้กันในหมู่คนทำงานระดับหัวกะทิของญี่ปุ่น

  • จดจำข้อมูลได้อย่างแม่นยำ
  • คิดวิเคราะห์ได้อย่างมีเหตุผล
  • แก้ปัญหาที่ซับซ้อนได้อย่างง่ายดาย
  • นำเสนองานได้อย่างน่าสนใจ
  • เรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว

รีวิวหนังสือ

หน้า : 216 หน้า
ราคา : 220 บาท

ผู้เขียน : ทะคะฮะชิ มะซะฟุมิ
ผู้แปล : วีรวรรณ จารุโรจน์จินดา

73

บทนำ รีวิวหนังสือ : สมุดกราฟ

ทำไมคนหัวดีถึงใช้สมุดกราฟ?

เพราะการใช้สมุดกราฟช่วยให้ สมองจัดระเบียบความคิดได้ดี สมุดกราฟช่วยให้เราจดโน้ตได้เป็นระเบียบกว่าสมุดไม่มีเส้น ในระหว่างที่จด ความคิดก็จะได้รับการจัดระเบียบตามไปด้วย

Q : สมุดโน้ตที่คุณใช้อยู่ตอนนี้เป็นแบบไหน?

  • สมุดโน้ตหลากสี
  • สมุดโน้ตมอมแมม
  • สมุดโน้ตอักขระ
  • สมุดโน้ตตุ้ยนุ้ย
  • สมุดโน้ตเล่มจิ๋ว
  • สมุดโน้ตตัดแปะ
  • สมุดโน้ตแออัด

สมุดกราฟแบบต่างๆ

  • สมุดกราฟเส้นเสริม | ม.เกียวโต นิยมใช้
  • สมุดกราฟมีจุด | ม.โตเกียว นิยมใช้
  • สมุดกราฟคอร์เนล
  • สมุดกราฟเส้นเสริมสีฟ้า
  • สมุดกราฟมาตรฐาน

Q : ทำไมถึงใช้สมุดกราฟ?
A : เพราะที่ปรึกษาของแมคคินซีย์ทุกคนใช้สมุดกราฟจดโน้ตกันน่ะสิ

Q : แล้วทำไมต้องเป็นสมุดกราฟ?
A : ….

Q : ทำไม “คนเก่ง” ถึงใช้สมุดกราฟ?
A : เพราะสมุดกราฟมีเส้นแนวตั้ง และแนวนวน ทำให้วาดแผนภูมิต่างๆได้ง่าย ทำให้จดบันทึกได้เป็นระเบียบ เข้าใจง่าย ทำให้การเรียนการทำงานมีประสิทธิภาพ

74

ผลลัพธ์ของการใช้สมุดกราฟ

  • ความจำดีขึ้น
  • คิดวิเคราะห์ได้อย่างมีเหตุผล
  • แก้ปัญหาได้ดีขึ้น
  • นำเสนอได้ดีขึ้น
  • มีแรงจูงใจมากขึ้น
  • เรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้ดีขึ้น

กฎ 3 ข้อในการจดโน้ต

  1. เปลี่ยนมาใช้สมุดกราฟ
  2. ใส่หัวเรื่อง
  3. แบ่งพื้นที่หน้ากระดาษเป็น 3 ส่วน
    • ข้อเท็จจริง
    • สิ่งที่วิเคราะห์ได้
    • แนวทางปฏิบัติ

สมุดโน้ตของคนเก่งเป็นสมุดโน้ตที่ อ่านง่าย เพราะเรียบเรียงเนื้อหาอย่างเป็นระบบ แถมยังมีการวาดแผนภูมิและกราฟประกอบให้เข้าใจง่ายขึ้นด้วย

Guide 1 : ข้อแนะนำ การอ่าน สำหรับผู้อ่านแต่ละประเภท

  • คนทำงาน | บทที่ 3 | บทที่ 4 | บทที่ 5 | Guide 3
  • คนที่กำลังเตรียมสอบ | บทที่ 3 | บทที่ 4 | บทที่ 5 | Guide 3
  • คนที่ต้องนำเสนองาน | บทที่ 3 | บทที่ 4 | บทที่ 5 | Guide 3
  • คนที่มีหน้าที่ให้ความรู้ | บทที่ 3 | บทที่ 4 | บทที่ 5 | Guide 3

Guide 2 : กฎ 3 ข้อ ของสมุดโน้ต

  • กฏข้อที่ 1 ใช้ “สมุดกราฟ”
  • กฏข้อที่ 2 ใส่ “หัวเรื่อง”
  • กฏข้อที่ 3 จดโน้ตโดย “แบ่งพื้นที่ออกเป็น 3 ส่วน

7 คุณสมบัติที่ทำให้สมุดกราฟเอื้อต่อการ จดโน้ตอย่างสวยงาม

  1. เว้นพื้นที่ว่างได้อย่างสม่ำเสมอ
  2. จัดย่อหน้าได้อย่างสวยงาม
  3. เขียนตัวอักษรเท่าๆ กันได้
  4. วาดตาราง หรือ กราฟได้อย่างง่ายดาย
  5. วาดภาพประกอบด้วยมือได้
  6. จัดวางตำแหน่งแผนผังได้อย่างเหมาะสม ง่ายดาย และสวยงาม
  7. ใช้เป็นสตอรี่บอร์ดได้

บทที่ 1 : อยากเปลี่ยนชีวิต เปลี่ยนสมุดโน้ต

72

สมุดโน้ตมีอยู่ 2 ประเภท สมุดโน้ตที่เพิ่มความสามารถมีลักษณะดังนี้

  • ดูเป็นระเบียบ สะอาดตา
  • มีขนาดตั้งแต่ A4 ขึ้นไป
  • ใช้ปากกาไม่เกิน 3 สี
  • เขียน 1 เรื่องต่อ1 หน้า
  • เอาเนื้อหาบนกระดานมาเรียบเรียงใหม่
  • ไม่เขียนแบบลอกคำต่อคำ
  • มีการเว้นพื้นที่ว่าง
  • มีภาพประกอบ
  • เมื่อกลับมาอ่าน เข้าใจได้ทันที

สมุดโน้ตที่เพิ่มความสามารถมีลักษณะดังนี้

  • ดูเละเทะจนไม่อยากหยิบอ่าน
  • มีขนาดเล็กตั้งแต่ A6 ลงไป
  • ใช้ปากกามากกว่า 3 สี
  • จดหมดทุกเรื่อง ไม่จัดความสำคัญ
  • จดแบบลอกเนื้อหาบนกระดาษ
  • มีแต่ตัวหนังสือแน่น
  • ไม่ใส่แผนภูมิ รูปภาพ
  • เมื่อกลับมาอ่านแล้ว ไม่เข้าใจ

มีคนที่ใช้ สมุดโน้ตที่ฉุดรั้งความสามารถ มากถึง 99% คนเก่งๆมักเคยมีประสบการณ์เหล่านี้

  • ได้รับการสอนวิธีใช้สมุดโน้ต
  • ได้รับการตรวจแก้สมุดโน้ตด้วยปากกาแดง

หน้าที่ ที่สำคัญของสมุดโน้ตคือ ช่วยทบทวนความทรงจำ การจดสมุดโน้ตด้วยวิธีที่ผิดจะส่งผลเสียระยะยาว การใช้สมุดกราฟช่วยให้ทำสิ่งต่างๆต่อไปนี้ได้

  • จัดย่อหน้าแรกได้อย่างสวยงามเป็นระเบียบ
  • เขียนหัวข้อย่อยโดยเว้นจากย่อหน้าแรกเข้าไป 2-3 ตัวอักษร
  • เขียนเนื้อหาโดยเว้นจากหัวข้อย่อยเข้าไป 2-3 ตัวอักษร
  • เว้นบรรทัดเมื่อขึ้นหัวข้อใหม่
  • เว้นพื้นที่ว่างได้ง่ายและสามารถกำหนดพื้นที่สำหรับเรียบเรียงข้อมูลได้
    1. เว้นพื้นที่ว่างได้สวยงาม
    2. ย่อหน้าแต่ละบรรทัดเรียงกันเป็นระเบียบ
    3. เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัดได้เหมาะสม
    4. กำหนดขนาดของตัวอักษรได้
    5. อ่านง่าย
    6. วาดแผนภูมิ หรือตารางได้ง่าย
    7. วาดกราฟได้ถูกต้อง
    8. จัดวางแผนภูมิได้ถูกต้องแม่นยำ

บทที่ 2 : ความลับของ สมุดโน้ตแมคคินซีย์

71

ยิ่งมี กรอบ หรือ รูปแบบ ที่ดีเท่าไหร่ความคิดและการกระทำของเราก็จะยิ่งถูกต้องและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

  • สมุดโน้ตของนักเรียน มีหน้าที่ สั่งสม ความรู้และข้อมูล
  • สมุดโน้ตของคนทำงาน มีหน้าที่ คัดทิ้ง ข้อมูลที่ไม่จำเป็น

สมุดกราฟถือเป็นอุปกรณ์อย่างหนึ่ง บริษัทแมคคินซีย์ใช้สมุดกราฟที่มีรูปแบบเฉพาะของตัวเอง

  • จดบันทึกเรื่องคุยกันในทีม
  • เรียบเรียงประเด็นที่ได้จากการประชุม
  • จดบันทึกเวลาที่คุยกับลูกค้า
  • เรียบเรียงประเด็นสำคัญของเนื้อหาที่อยู่ในรายงาน
  • ร่างเอกสารที่จะใช้นำเสนอ
  • วิเคราะห์งาน

สมุดโน้ตของนักเรียน

  • พื้นที่จดเนื้อหา
  • พื้นที่จดประเด็นสำคัญ
  • พื้นที่เขียนสรุป

สมุดโน้ตคอร์เนล แบ่งพื้นที่ 3 ส่วน ได้แก่

  1. พื้นที่สำหรับจดเนื้อหา
  2. พื้นที่สำคัญหรับจดประเด็นสำคัญ
  3. พื้นที่สำหรับเขียนสรุป

พอยต์ชีต

  • หัวเรื่อง
  • ประเด็นสำคัญ
  • แนวทางปฏิบัติ

ฟ้า ฝน ร่ม ของบริษัทแมคคินซีย์

  • ฟ้า = ข้อเท็จจริง
  • ฝน = สิ่งที่วิเคราะห์ได้
  • ร่ม = แนวทางปฎิบัติ

สมุดโน้ตที่ดี ควรเป็น A4 ขึ้นไป เพราะเป็นขนาดมาตรฐานที่ใช้กันทั่วโลก

  • ใช้ปากกาไม่เจอ 3 สี
  • ใส่หัวเรื่อง และประเด็นสำคัญ
  • 1 เรื่องต่อ 1 หน้า
  • ปากกาที่เขียนลื่นมือ
  • พัฒนาทักษะจดโน้ตแบบก้าวกระด้วย กฎ 10,000 แผ่น
  • เขียนให้มาก แก้ให้เยอะ

บทที่ 3 : สมุดโน้ตสำหรับการเรียน

70

หน้าที่หลัก 3 ข้อ ของสมุดโน้ต

  1. สมุดโน้ตช่วยจำ การเรียน
  2. สมุดช่วยคิด การทำงาน
  3. สมุดโน้ตช่วยถ่ายทอด การนำเสนอ

สิ่งแรกที่ต้องทำคือ เลิกลอกตามทุกตัวอักษร เพราะเป็นการจดอย่างปราศจากความเข้าใจ ส่งผลให้สมองจดจำข้อมูลได้ลำบาก

เทคนิคจำใน 1 วิช่วยให้ จำได้ไม่ลืม ประเด็นสำคัญไม่ได้อยู่ที่วิธีจำ แต่อยู่ที่ วิธีมอง แค่เปลี่ยน วิธีมอง สมองส่วนที่ทำหน้าที่จดจำก็จะทำงานได้มีประสิทธิภาพขึ้น

วิธีจดโน้ตที่ถูกต้อง

กวาดสายตามองกระดาน > จำเนื้อหา > จดเนื้อหาที่จำได้ลงในสมุดโน้ตโดยไม่มองกระดาน

  • 1 หน้าคู่ ต่อ 1 หัวเรื่อง
  • คนที่จัดการกับ พื้นที่ตรงกลาง ได้ดีย่อมจัดการกับการเรียนได้ดีด้วย

คำเชื่อม เป็นเครื่องมือ ในการถ่ายทอดสิ่งที่คิดวิเคราะห์ได้ ใช้คำเชื่อม คู่กับ ลูกศร 3 ชนิด

  1. ลูกศรแตกยอด
  2. ลูกศรสรุป
  3. ลูกศรเน้นย้ำ

พื้นที่สำหรับสรุป

  • เป็นพื้นที่ ที่นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้ นั้นคือ ทักษะการตั้งคำถาม และทักษะการสรุป
    • ทักษะการทำความเข้าใจ
    • เข้าใจ ทำได้ ถ่ายทอดได้

สรุปไม่เกิน 3 ประเด็น ยิ่งสรุปประเด็นสำคัญ 3 ข้อจนเชี่ยวชาญ จะมีความคิดที่เฉียบคมขึ้น

บทที่ 4 : สมุดโน้ตสำหรับการทำงาน

สมุดโน้ตที่ใช้ตอนทำงานเป็นสมุดโน้ตที่ใช้ คัดทิ้ง ข้อมูลที่ใช้ไม่จำเป็น เพื่อหา คำตอบ หรือวิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุด

  • การถาม ถือเป็นหลักพื้นฐานของธุรกิจ
  • การถามทบทวนใน 3 นาที เพื่อให้เข้าใจตรงกัน

บทที่ 5 : สมุดโน้ตสำหรับนำเสนอ

การนำเสนอ คือ การถ่ายทอดข้อมูล ไอเดีย หรือ วิธีแก้ปัญหาให้ผู้อื่นเข้าใจ เวลาจดโน้ตอย่างเป็นคำๆ ต้องเขียนจนจบประโยค การเขียนจนจบประโยชน์ จะช่วยเรียบเรียงภาพในหัว แล้วถ่ายทอดออกมาได้ง่าย

ถามว่า ทำไม 5 ครั้ง ให้ความสำคัญกับการลงมือทำด้วย

  1. เลือก ประเด็นปัญหา ที่ควรนำมาคิดวิเคราะห์
  2. แยกข้อเท็จจริง ออกจาก ความเห็น
  3. ค้นหาต้นตอปัญหา โดยถามว่าทำไม 5 ครั้ง
  4. เขียน แนวทางปฏิบัติ
  5. เขียนข้อสรุป

 

รีวิวหนังสือ โดย : คุณปิยาพัชร ปกครอง (ปาร์มี่)

อ้างอิงจาก https://bit.ly/38TlREk