การให้การสนับสนุนแฟรนไชส์ซี

การทำธุรกิจแฟรนไชส์ให้ประสบความสำเร็จ มี การขยายสาขา และเติบโตอย่างมั่นคง เจ้าของแฟรนไชส์หรือแฟรนไชส์ซอร์ก็ควรมีระบบให้การสนับสนุนที่ดีแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์หรือแฟรนไชส์ซีด้วย

เพราะความสำเร็จของแฟรนไชส์ซีจะทำให้ธุรกิจแฟรนไชส์ภายใต้แบรนด์ของคุณเติบโตไปด้วย อีกทั้งยังสามารถควบคุมมาตรฐานการทำงานต่างๆ ของแฟรนไชส์ซีไปด้วย

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com ขอพาผู้ประกอยการแฟรนไชส์ไปดูพร้อมกันว่า มีงานอะไรบ้างที่คุณต้องให้การสนับสนุนแก่แฟรนไชส์ซี ทั้งก่อนเปิดกิจการ และหลังเปิดกิจการ บางงานอาจให้การสนับสนุนตลอดอายุสัญญาเลยครับ

การสนับสนุนก่อนเปิดกิจการ

การขยายสาขา

1. โปรแกรมการฝึกอบรม

2. การหาทำเลสถานที่และการเจรจาเพื่อเช่า ซึ่งโดยปกติแฟรนไชส์ซอร์จะรู้ดีว่า ทำเลแบบใดเหมาะสมมากกว่าแฟรนไชส์ซีและรู้ดีว่าระดับราคาค่าเช่าที่เหมาะสมควรอยู่ที่เท่าใด

3. มีแบบแผนการก่อสร้างและตกแต่งสถานที่ที่มาตรฐานให้แก่แฟรนไชส์ซี

4. สั่งและติดตั้งอุปกรณ์ที่มีมาตรฐานเดียวกันกับที่ร้านต้นแบบ ซึ่งแฟรนไชส์ซอร์ทราบดีว่าจะจัดซื้อจัดหาได้จากแหล่งใดในราคาที่สามารถต่อรองได้

5. จัดเตรียมระบบบัญชีให้แก่แฟรนไชส์ซี

6. ให้แนวทางการปฏิบัติการสรรหาบุคลากรที่ถูกต้องแก่แฟรนไชส์ซี หรือช่วยคัดเลือกบุคลากรให้ (Recruitment and Selection)

7. วางแผนและสนับสนุนกิจกรรมในการเปิดตัว (Grand Opening) อย่างเป็นทางการ พร้อมแผนการโฆษณา ประชาสัมพันธ์

การสนับสนุนหลังเปิดกิจการ

g2

1. การเข้าประเมินร้านและตรวจสอบเป็นช่วงในระยะแรก เพื่อให้การดูแลและให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด

2. การอบรมพนักงานในขณะทำงาน (On the Job Training) และดูแลอย่างใกล้ชิด (Close Monitoring)

3. วิจัยและพัฒนาสินค้าหรือบริการ ตลอดจนโปรแกรมการตลาด และกระบวนการใหม่ๆ ทางธุรกิจ ซึ่งเป็นหน้าที่ของแฟรนไชส์ซอร์ที่จะมีแนวความคิดใหม่ๆ และทำการทดสอบความเป็นไปได้ทางการตลาดผ่านระบบแฟรนไชส์ และควรที่จะรับฟังความคิดเห็นหรือข้อมูลป้อนกลับจากแฟรนไชส์ซี เพื่อพัฒนาความคิดใหม่ๆ ทางการตลาด

4. การวางแผนโปรแกรมการจัดซื้อ สั่งสินค้า สามารถสั่งผ่านแฟรนไชส์ซอร์ หรือแฟรนไชส์ซีจะจัดซื้อเองก็ได้ ถ้ากรณีซื้อเอง ก็ควรอยู่ในเงื่อนไขคุณภาพที่แฟรนไชส์ซอร์กำหนด ซึ่งแฟรนไชส์ซอร์สามารถคัดสรรรายนามซัพพลายเออร์ที่เหมาะสมให้ได้ ตลอดจนสามารถติดต่อเจรจาการสั่งซื้อให้แก่แฟรนไชส์ซีได้

แต่ในกรณีระบบแฟรนไชส์นั้น ข้อได้เปรียบที่ดีมากก็คือ ให้ยอดสั่งซื้อรวมจากแฟรนไชส์ซีแต่ละรายมาอยู่ที่แฟรนไชส์ซอร์ จะทำให้เกิดอำนาจการต่อรองในปริมาณมาก จะได้ต้นทุนสินค้าหรือวัตถุดิบที่ราคาต่ำลง

5. การวางแผนการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ ในภาพรวมด้านการตลาดทั้งระบบธุรกิจแฟรนไชส์

6. การให้การช่วยเหลือในเรื่องอื่นๆ ตลอดจนให้คำปรึกษาอย่างต่อเนื่อง โดยทั่วไปมักเป็นเรื่องการบัญชี การบริหารจัดการและบริหารงานบุคคล

เห็นได้ว่าระบบแฟรนไชส์จะเติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง มั่นคงได้ แฟรนไชส์ซอร์จะต้องมีระบบการให้การสนับสนุนที่ดีเยี่ยมแก่แฟรนไชส์ซี ทั้งก่อนเปิดร้านและหลังเปิดร้าน เรียกได้ว่าถ้าจะให้ดี ต้องสนับสนุนตลอดอายุสัญญาแฟรนไชส์ไปเลยครับ

สนใจซื้อแฟรนไชส์ต่างๆ คลิก goo.gl/XdMIMh
อ่านบทความแฟรนไชส์อื่นๆ คลิก goo.gl/jjVIWM

 

อ้างอิงจาก https://bit.ly/2KDQTWS

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช