Service Charge เรื่องต้องคิด ธุรกิจไทย

กลายเป็นเรื่องที่สังคม ต้องมีการหยิบยกมาพูดกันมากในโลกออนไลน์ สำหรับ ค่าบริการ Service Charge ในร้านอาหารตามห้างสรรพสินค้า ที่เรียกเก็บเพิ่มจากลูกค้าที่เข้าไปใช้บริการในร้าน

โดยหลังจากเฟสบุ๊คชื่อ Prasopchoke Bom Chantaramongkol ได้นำบทความของเขาจากพันทิป ที่ถูกลบไปแล้ว มาแชร์ทำนองว่า “ลูกค้ามีสิทธิที่จะไม่จ่ายค่า service charge และทางร้านไม่มีสิทธิในการเรียกเก็บ” ไม่ทันข้ามคืนกลายประเด็นร้อน ถกเถียงกันอย่างมัน ถึงพริกถึงขิง เรื่องการจ่ายค่าบริการ Service Charge ให้กับร้านอาหาร

ค่าบริการ Service Charge

ภาพจาก https://goo.gl/PBSGJP

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com อยากนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับ Service Charge ในอีกแง่มุมหนึ่ง ว่ามีความสำคัญต่อการทำธุรกิจอย่างไรบ้าง ทำไมต้องมีค่า Service Charge และถ้าไม่เรียกเก็บจะมีผลต่อธุรกิจหรือไม่ อย่างไร

Service Charge คืออะไร

53

ภาพจาก https://goo.gl/rXNsNf

  1. เป็นเงินที่เรียกเก็บค่าการบริการจากลูกค้า โดยจะมีการแจ้งแก่ผู้รับบริการก่อนทุกครั้ง ว่ามีการเรียกเก็บหรือไม่
  2. ในประเทศไทยคิดในอัตราประมาณ 10% ก่อนรวม Vat
  3. Service Charge จะถูกนำไปจ่ายให้ผู้ให้บริการทั้งหมดที่เป็นลูกจ้างประจำ มีการเซ็นสัญญาจ้างถูกต้องตามกฎหมายทั้งบริษัทหรือเฉพาะส่วนบริการ อาทิ พนง.ล้างจาน/พ่อครัว/คนล้างผัก/พนง.เสริฟ/ผจก/แคชเชียร์/พนักงานหน้าร้าน หากเป็นโรงแรม ก็คือ จะได้ตั้งแต่ Housekeeping – Bell boy ยัน MD.แต่บางโรงแรมส่วนงานออฟฟิศ จะไม่ได้ SC
  4. Service Charge จะเป็นรายได้แยกจากเงินเดือนประจำ เช่น พนง.โรงแรมมีรายได้ 8,000/เดือน + SC 5,000/เดือน
  5. Service Charge แยกจาก ทิป (TIP คือ เงินรางวัลสำหรับผู้ให้บริการในส่วนงานนั้นๆเท่านั้น รวมถึงพนง.รายวัน หรือชั่วคราวด้วย และบางที่รวมพ่อครัวและผู้อยู่ในงานครัวด้วย)

ทำไม! ต้องเรียกเก็บค่า Service Charge

57

ภาพจาก https://goo.gl/Ek8ovh

ในปัจจุบันต่างประเทศนิยมให้ทิปพนักงานบริการ ตั้งแต่ร้านอาหารทั่วไปจนถึงโรงแรมหรูนั้น ถือเป็น “ธรรมเนียมพึงปฏิบัติ” กันในประเทศสหรัฐๆ ภายใต้การรับรู้กันว่าเด็กเสิร์ฟ เด็กรับรถ หรือเด็กยกกระเป๋าเหล่านี้ ไม่ได้รับค่าแรงขั้นต่ำตามกฎหมายรัฐบาลท้องถิ่นหรือรัฐบาลกลาง เพราะกฎหมายเปิดช่องให้รับรายได้เป็นส่วนของทิปเข้ามาทดแทนได้

เพราะกฎหมายเปิดช่องให้รับรายได้เป็นส่วนของทิปเข้ามาทดแทนได้ โดยกำหนดให้ร้านต้องจ่ายค่าทิปขั้นต่ำที่ราว 2.13 เหรียญสหรัฐ/ชม. ทำให้แม้ว่าค่าแรงขั้นต่ำโดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ 7.25 เหรียญสหรัฐ/ชม. แต่อาจเป็นการจ่ายจริงเพียง 5 เหรียญสหรัฐ/ชม.เท่านั้น และปัจจุบันมีเพียงไม่ถึง 10 รัฐเท่านั้น ที่บังคับใช้กฎหมายค่าแรงขั้นต่ำอย่างเท่าเทียม

ปกติการให้ทิปแก่พนักงานจะอยู่ที่ 15-20% ตามราคาในใบเสร็จ และต้องขึ้นอยู่กับความพอใจในการบริการและพื้นที่ในแต่ละรัฐ หากลูกค้าลืมที่จะจ่ายทิป พนักงานส่วนใหญ่จะส่งสัญญาณ

ด้วยการเข้าสอบถามถึงการให้บริการ ว่าลูกค้ามีความพึงพอใจมากน้อยแค่ไหน ตรงนี้ลูกค้าจะรู้ทันทีว่า อ๋อลืมจ่ายทิปให้พนักงาน แม้ว่าจะไม่ใช่ข้อบังคับให้ต้องจ่าย แต่ในต่างประเทศถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่ใช้กันในสังคม ใครไม่จ่ายอาจถูกมองด้วยสายตาของคนอื่น

56

ภาพจาก https://goo.gl/c9WQSk

แต่ทั้งนี้ ตลอดช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ร้านอาหารจำนวนมากเริ่มปรับเปลี่ยนจากธรรมเนียมการให้ทิปไปเป็น “ค่าธรรมเนียมการให้บริการ” Service Charge ที่ระบุไว้บนเมนูหรือหน้าร้าน โดยถือเป็นค่าธรรมเนียมแบบ “มัดมือชก” เรียกเก็บในบิลตั้งแต่ 10-20% หลังจากที่เริ่มมีปัญหาเกิดขึ้นกับรายได้ของพนักงานในร้านอาหาร ที่แตกต่างกัน

วอชิงตัน โพสต์ ระบุว่า อุตสาหกรรมร้านอาหารในสหรัฐฯ เริ่มประสบปัญหาขาดแคลนพนักงานในส่วนครัวมากขึ้น โดยส่วนหนึ่งเป็นเพราะช่องว่างในเรื่องทิปและค่าแรงขั้นต่ำ โดยพนักงานส่วนหลังจะต่างจากพนักงานส่วนหน้าตรงที่ได้ค่าแรงขั้นต่ำหรือเรตที่ชัดเจน มากกว่าพนักงานส่วนหน้า

แต่จะไม่ได้ส่วนแบ่งจากค่าทิป ซึ่งจริงๆ แล้วการปฏิบัติงานในส่วนหน้าจะมีรายได้มากกว่า 3 เหรียญสหรัฐ/ชั่วโมง ทำให้ร้านอาหารส่วนมากเริ่มหันมาเรียกเก็บ Service Charge มากขึ้น

แม้ว่าการให้ทิป และ Service Charge จะเป็นธรรมเนียมปฏิบัติในธุรกิจบริการ ที่ขยายวงกว้างในหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งได้รับอิทธิพลจากสหรัฐฯ และยุโรป

แต่ก็ยังมีหลายประเทศในแถบเอเชีย ที่ส่วนใหญ่จะไม่มีธรรมเนียมปฏิบัติเรื่องการให้ทิป เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ จีน เวียดนาม แม้แต่ไทย แต่จะเป็นการคิดค่า Service Charge ตั้งแต่ 5-10% ขึ้นไป ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นกลุ่มร้านอาหาร ภัตตาคาร โรงแรม ในเขตเมืองใหญ่ และสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ

Service Charge เรื่องชินชาของคนไทย

55

ภาพจาก https://goo.gl/3ka0UU

Service Charge กับคนไทย หรือธุรกิจไทย ไม่ใช่เรื่องใหม่อะไรเลย ใครที่เคยเข้าใช้บริการร้านอาหารหรูๆ ตามห้างสรรพสินค้า ตามโรงแรมต่างๆ มักจะจ่ายค่าบริการ Service Charge ร่วมกับบิลค่าอาหารเป็นประจำ

จนเป็นเรื่องชินชาของคนไทยไปเสียแล้ว ยิ่งถ้าร้านไหนให้บริการดี บรรยากาศดี รสชาติอาหารดีเลิศ พนักงานดูแลเอาใจเป็นอย่างดี การจ่ายเพิ่มค่า Service Charge ถือเป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว ยิ่งคนมีฐานะหน่อย เขามักไม่ใส่ใจเรื่องเหล่านี้เท่าไหร่นัก

การเรียกเก็บค่าบริการส่วนนี้ ถือเป็นหลักการอย่างหนึ่งของบริษัทเอกชน “หลักการแสดงเจตนาเรื่องการใช้บริการ” ถ้าจะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายการคุ้มครองผู้บริโภค

หมายถึง ร้านอาหารต้องมีป้ายติดแสดงราคาไว้ ระบุรายละเอียดลงในเมนู หรือแจ้งให้ทราบว่าจะมีค่า Service Charge ตรงนี้ด้วย ทางผู้ประกอบการก็สามารถที่จะเรียกเก็บได้ แต่ถ้าเขาไม่ได้ระบุเอาไว้เป็นลายลักษณ์อักษร และเรียกเก็บเพิ่มจนน่าเกลียด ลูกค้าอาจไม่ต้องจ่ายก็ได้

แม้กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคในเมืองไทย จะไม่ได้พูดถึงเรื่อง “service charge” โดยตรง แต่มีกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งอยู่ในความดูแลของกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ เรียกว่า พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการพ.ศ.2542 โดยให้อำนาจคณะกรรมการออกประกาศ “เรื่องการต้องแสดงราคาสินค้าหรือบริการ”

59

ภาพจาก https://goo.gl/4inZ6i

ประกาศนี้ระบุว่า ราคาสินค้าและบริการ ต้องแสดงราคาต่อหน่วย มีตัวเลขเป็นภาษาใดก็ได้ แต่ขอให้มีอารบิกอยู่ด้วย ทั้งนี้ข้อความต้องเป็นภาษาไทย ในลักษณะที่เห็นชัดเจน เปิดเผย สามารถอ่านได้โดยง่าย

เพื่อจะแสดงให้ผู้บริโภคก่อนการตัดสินที่จะเลือกซื้อสินค้าหรือใช้บริการ สิ่งนี้คือหน้าที่ของผู้ประกอบธุรกิจในการขายสินค้า ถ้าไม่มีแสดง หรือมีแต่อ่านไม่ชัด ไม่ครบถ้วนก็มีความผิด คือโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท ประชาชนสามารถแจ้งไปที่ 1569 กรมการค้าภายในได้ทันที

พูดง่ายๆ ว่า ร้านอาหารมีหน้าที่ต้องติดป้ายแสดงทุกอย่าง ไม่ใช่แค่ราคา แต่หมายถึง “service charge” ด้วย หากไม่ชัดเจน ไม่ครบถ้วน นับว่ามีความผิด “ถ้าร้านไหนไม่ติดป้ายประกาศ service charge หรือมีแล้วไม่ชัดเจนจริง ผู้บริโภคมีสิทธิปฏิเสธได้เช่นกัน ย้อนถามพนักงานเลย service charge ที่เก็บเพิ่ม 10% มาจากไหน แจ้งไว้ตรงไหน

ทั้งนี้ การเรียกเก็บค่า service charge แม้จะมีหรือไม่มี ไม่ถือว่าสำคัญมากนัก แต่หัวใจสำคัญอยู่ที่การให้บริการที่มากกว่าราคาอาหารหรือไม่ ยิ่งถ้าบริการไม่ได้เรื่อง มีทั้ง Service Charge และ VAT ด้วยแล้ว ถือเป็นการไล่ลูกค้าไปในตัว

ถ้าเป็นร้านดัง มีชื่อเสียง บริการเสริมดีเลิศ การคิดค่าบริการลักษณะแบบนี้ คงไม่น่าจะมีปัญหามากนัก เพราะลูกค้าที่เข้าไปใช้บริการมีความหวังได้รับการให้บริการที่ดีเลิศจากผู้จัดร้าน พนักงานร้าน รวมถึงได้บรรยากาศภายในร้านด้วย

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช