Influencer vs KOL เหมือนหรือต่าง?

เมื่อเราก้าวสู่ยุคออนไลน์อย่างเต็มรูปแบบ ไม่ใช่แค่การใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป แม้แต่การตลาดก็ต้องหันมาใช้ Digital Marketing มากขึ้น ซึ่งต้องยอมรับว่าอิทธิพลของ Digital Marketing มีผลต่อการสร้างยอดขาย เพราะสามารถเข้าถึงลูกค้าได้จำนวนมาก

อย่างไรก็ดี www.ThaiSMEsCenter.com เห็นว่าในช่วงที่ผ่านมาเรารู้จักกับคำว่า “Influencers” แต่ต่อมาเราก็ได้ยินอีกคำคือ “KOL” ก็ยิ่งทำให้คนสงสัยหนักขึ้นไปอีกว่าระหว่างสองคำนี้มีความแตกต่างกันอย่างไร และหน้าที่แท้จริงระหว่าง Influencers กับ KOL คืออะไร ลองไปไขข้อสงสัยในเรื่องนี้พร้อมกัน

Influencer vs KOL เหมือนหรือต่าง?

Influencer vs KOL

Influencer คือผู้มีอิทธิพลบนสื่อโซเชียล โดยเป็นผู้ที่ทำคอนเทนต์ตามแพลตฟอร์มออนไลน์ เช่น Instagram, Facebook, YouTube แล้วมีคนสนใจจึงติดตาม โดยยิ่งมีผู้ติดตามมากเท่าใด ก็ยิ่งมีอิทธิพลมากเท่านั้น

Influencer แบ่งออกได้หลายประเภทตามจำนวนผู้ติดตาม เช่น

  • Nano influencers (1,000 – 10,000 followers)
  • Micro influencers (10,000 – 100,000 followers)
  • Macro influencers (100,000 – 1,000,000 followers)
  • Mega หรือ Celebrity Influencers (1,000,000 followers ขึ้นไป)

ซึ่งการเลือก Influencer ให้เหมาะสมกับแบรนด์ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญเพราะว่าแบรนด์จะมีชื่อเสียงมากขึ้นหรือเป็นผู้คนรับรู้เข้าใจแบรนด์ของเราก็ขึ้นอยู่กับการตลาดรวมถึงการเลือก Influencer ด้วย

Influencer vs KOL

ส่วนทางด้าน KOL (Key Opinion Leader) หมายถึง ผู้นำทางความคิด ที่สามารถชี้นำผู้คนได้ ซึ่งในทางการตลาดอาจหมายถึงกลุ่มคนที่มีบทบาทในการทำให้คนจำนวนหนึ่งไปจนถึงคนหมู่มาก เชื่อถือเเละสามารถคล้อยตามได้ KOL นั้นจะมีลักษณะทีคล้ายกับ Influencer เพียงแต่ KOL นั้นจะเป็นผู้นำทางความคิดกับผู้คนเพียงบางกลุ่มเท่านั้น

เนื่องจากมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านใดด้านหนึ่ง จึงทำให้เป็นบุคคลที่มีอิทธิพลในด้านความคิดของผู้ติดตาม ส่วนใหญ่ KOL จะเป็นกลุ่มคนในอุตสาหกรรมที่ต้องการความรู้ เช่น ด้านการแพทย์ วิทยาศาสตร์ การเงิน สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยี

แต่ในปัจจุบันนี้จะนับรวมถึงกลุ่มไลฟ์สไตล์ที่มีความเชี่ยวชาญและน่าเชื่อถือด้วย เช่น กลุ่มของความงาม ฟิตเนส อาหาร ความเป็นอยู่ ฯลฯ หรือ KOL ทำที่ทำเนื้อหาแบบเฉพาะเรื่อง เช่นเพจที่ให้ความรู้ในเรื่อง โฆษณา, การตลาด เป็นต้น

ทั้งนี้หากจะถามว่า Influencer vs KOL อาจเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลในโลกโซเชี่ยลเหมือนกันแต่ต่างกันที่ KOL จะโดดเด่นหรือเชี่ยวชาญในเรื่องเฉพาะทางมากกว่า แต่สำหรับ Influencer บางคนที่มีความรู้ก็สามารถพ่วงการเป็น KOL ได้ หรือถ้า KOL คนใดมีผู้ติดตามมากมีอิทธิพลต่อคนจำนวนมากก็เป็น Influencer ได้เช่นกัน

อยากเพิ่มยอดขายควรเลือก Influencer หรือ KOL

Influencer vs KOL

ในเมื่อความหมายอาจไม่ต่างกันมาก แต่จริงๆ แล้วคนทำธุรกิจอาจไม่ได้สนใจความหมายแต่สิ่งที่อยากรู้คือแบบไหนเหมาะสมกับการเลือกใช้เพื่อเพิ่มยอดขาย ซึ่งหากเรามีแบรนด์สินค้าและต้องเลือกใช้งานระหว่าง Influencer หรือ KOL

เราต้องรู้วัตถุประสงค์ตัวเองก่อนว่าทำเพื่ออะไร เช่น ต้องการสร้าง Brand Awareness, ต้องการสร้าง Trust หรือทำขึ้นเพื่อเพิ่ม engagement สำหรับกระตุ้นยอดขาย เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อที่ผลตอบรับจะได้ออกมาไปในทิศทางที่ดีที่สุด เพราะในความหมายที่แม้จะคล้ายแต่ขอบเขตในการทำงานของ Influencer หรือ KOL ก็มีความเฉพาะเจาะจงดังนี้

Influencer vs KOL

Influencer – จะนำเสนอคอนเทนต์เป็นไลฟ์สไตล์มีการเล่าเรื่องที่หลากหลายไม่ได้เฉพาะเจาะจงแค่เรื่องเดียวเท่านั้น ผู้คนจะติดตามคนเหล่านี้จากคอนเทนต์และความเป็นตัวของตัวเอง แบรนด์สามารถสื่อสารผ่าน Influencer ได้หลากหลายรูปแบบและสร้างความแตกต่างได้จาก Influencer ที่เลือกใช้งาน

KOL – จะมีการนำเสนอคอนเทนต์ในเรื่องบางเรื่องอย่างเฉพาะเจาะจง ทำให้มีข้อมูลเชิงลึกที่มากกว่า Influencer แต่ก็จะมีความหลากหลายน้อยกว่าเช่นกัน หากแบรนด์ที่ต้องการสื่อสารเรื่องราวแบบเฉพาะเจาะจงในบางเรื่องการใช้ KOL ก็จะมีประสิทธิภาพมากกว่า

นอกจากนี้การตลาด Digital Marketing ที่แท้จริงอาจจำเป็นต้องใช้มากกว่า Influencer หรือ KOL นั่นหมายถึงกลยุทธ์การตลาดด้านอื่น การผสมผสานการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม รวมถึงการสำรวจและมีฐานข้อมูลความต้องการของลูกค้า สิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวชี้วัความสำเร็จของการทำตลาดที่ส่งผลต่อยอดขายได้มากขึ้น

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/3XaOK4m , https://bit.ly/3Y7CYJ , https://bit.ly/3YthINR

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด