7 เทคนิคในการเลือก CO-FOUNDER สำหรับ Start Up

เราไม่อาจปฏิเสธได้ว่า ความก้าวหน้า ทางด้านเทคโนโลยี ต่างๆ ได้เข้ามาอยู่ภายในบ้านของพวกเราไปแล้ว อะไรที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจต่างๆ ต่างได้รับอานิสงค์ มีการเติบโตค่อนข้างสูงมาก

ไม่เฉพาะด้านอินเทอร์เน็ต และแอพพลิเคชั่นต่างๆ บนมือถือเท่านั้น ยังมีอุปกรณ์และช่องทางสื่อสารต่างๆ เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นมากมาย

จากเทคโนโลยีด้านการสื่อสารที่มีความก้าวหน้ามากขึ้น จึงทำให้มีกิจการลักษณะ Start Up เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และหลายๆ ธุรกิจที่เริ่มต้นได้ดี ล้วนแต่ประสบความสำเร็จ จนทำให้มีคนอยากเป็นเถ้าแก่ Start Up อย่างมากมาย แต่การเริ่มต้นกิจการ Start Up อาจไม่ใช่เรื่องง่ายมากนัก โดยเฉพาะการหาผู้ร่วมก่อตั้ง หรือ Co-Founders ที่มีความสำคัญพิเศษ

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com อยากขอแชร์เทคนิคในการคัดเลือกหรือเฟ้นหาผู้ร่วมก่อตั้ง หรือ Co-Founders สำหรับกิจการ Start Up ให้กับนักธุรกิจรุ่นใหม่ รวมถึงผู้ที่กำลังเริ่มต้นธุรกิจด้วยการเป็น Start Up โดยอ้างอิงข้อมูลบางส่วนจากเว็บไซต์ entrepreneur.com มาเฟ้นหาผู้ร่วมก่อตั้งพร้อมๆ กันเลยครับว่า จะทำอย่างไรกัน

1.มีวิสัยทัศน์ที่เหมือนกันหรือใกล้เคียงกัน

ทางด้านเทคโนโลยี

Co-founder จะต้องมีความเข้าใจในตัวธุรกิจพอๆ กัน และมองเห็นอนาคตของกิจการเหมือนกัน เพราะถ้าเข้าใจเหมือนกัน ก็จะมีความอินในธุรกิจ ซึ่งความอินจะนำมาสู่ความทุ่มเทและการอุทิศตัวเองเพื่อกิจการ

2.มองเห็นขนาดของกิจการที่อยากให้เป็นเหมือนๆ กัน

f2

ไม่ใช่ทุกคนที่อยากสร้างกิจการให้มีขนาดใหญ่โต แต่บางคนก็อยากมีกิจการที่มีขนาดพอเหมาะกับกำลังของตัวเอง อาจจะทำเพื่อความสนุก สามารถทำงานแบบสบายๆ ได้ ไม่กังวลกับมันมากนัก ถ้า Co-founder มองเรื่องนี้ไม่เหมือนกัน ระดับความทุ่มเทและการอุทิศตัวเอง เพื่อกิจการก็จะต่างกัน และมีโอกาสที่จะนำไปสู่การแยกทางกันในที่สุด

3.การอุทิศตัวเองเพื่อกิจการ

f1

Co-founder ทุกคน ควรจะมี Commitment อยู่ในระดับเดียวกัน มีความทุ่มเทเพื่อกิจการ พอๆ กัน ซึ่งเป็นเรื่องที่สืบเนื่องต่อมาจากข้อ 1 กับข้อ 2 รวมกับภาระหน้าที่ในชีวิตที่มีอยู่ของแต่ละคน

ถ้า Co-founder คนหนึ่ง มองกิจการสำคัญที่สุดเหนือสิ่งอื่นใด พร้อมจะทุ่มเทชีวิตเพื่อกิจการนี้ ในขณะที่ Co-founder อีกคนมีครอบครัว มีภาระที่ต้องดูแลสมาชิกในครอบครัว ต้องการชีวิตแบบ Work Life Balance อาจทำให้เกิดปัญหาในการทำงานได้

หรือถ้าคนหนึ่งต้องการสร้างมูลค่าของกิจการให้เติบโตอย่างรวดเร็วแล้วขายทิ้งใน 1-3 ปี ในขณะที่อีกคน ต้องการสร้างกิจการให้เป็นธุรกิจที่สร้างรายได้อย่างยั่งยืน อยู่ได้ด้วยตัวเองไปอีกสิบๆ ปี ก็อาจทำให้มีการอุทิศตัวเองในระดับที่แตกต่างกันได้

ถ้าทุกคนมีระดับความทุ่มเทและการอุทิศตัวเองเพื่อกิจการที่แตกต่างกัน อาจทำให้เกิดปัญหาขึ้นภายหลัง และจะเกิดอารมณ์ประมาณว่าเราทำเต็มที่ แต่คนอื่นทำไมไม่เต็มที่เหมือนที่เราทำ และนำไปสู่การแยกทางกันได้เช่นกัน

4.มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่แตกต่างกัน

f5

Co-founder ควรมีทักษะความสามารถที่ส่งเสริมเติมเต็มกัน เพื่อช่วยเหลือกิจการในสิ่งที่ขาด เช่น เมื่อกิจการมีคนที่เก่งเรื่องการสร้าง Product ก็ควรต้องมีคนที่ทำการตลาดและการขายอยู่ด้วย ถึงจะเป็นทีมที่ลงตัว เหมาะกับการสร้างกิจการ

5.สไตล์การทำงานของแต่ละคน

 

f8

Co-founder บางคนมีสไตล์การทำงานที่ชอบลงรายละเอียด ลงมาบริหารจัดการด้วยตัวเองทุกเรื่อง ในขณะที่บางคนอาจไม่ใส่ใจในรายละเอียดเลย แต่สามารถมองภาพกว้าง มีความคิดทางธุรกิจกว้างไกลและเฉียบคม ซึ่งธุรกิจจะประสบความสำเร็จได้ จะต้องมีคนทั้งสองแบบอยู่ในทีมผู้ร่วมก่อตั้ง

6.มุมมองที่แตกต่างหลากหลายจากประสบการณ์และอาชีพ

f6

มุมมองที่แตกต่างและหลากหลายของแต่ละคน จะช่วยสร้างมุมมองที่แปลกใหม่ให้ธุรกิจได้ เช่น ถ้าทีมงานมีคนที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องศิลปะ วิศวกรรม การขาย อยู่ด้วยกัน ย่อมดีกว่าการมีแต่คนประเภทเดียวกันอยู่ในทีม เช่น เป็นวิศวกรทั้งหมด หรือเป็นฝ่ายการผลิตทั้งหมด เพราะมุมมองความคิดจะเหมือนกัน มักจะมีความเห็นไปในทิศทางเดียวกัน

ตรงนี้อาจจะไม่ใช่ทิศทางที่ถูกต้องในการดำเนินธุรกิจให้เติบโต ดังนั้น ทีมงานผู้ร่วมก่อตั้งที่ดี ควรเป็นส่วนผสมที่แตกต่างและหลากหลายในเรื่องของประสบการณ์ที่เคยทำมา เพราะจะช่วยประคับประคองธุรกิจให้ก้าวเดินไปได้ดีกว่า

7.อย่าเลือก Co-founder เพราะเขาเป็นคนให้เงินมาทำกิจการ

f7

ธุรกิจต้องขับเคลื่อนด้วยคนทำงาน และคนทำงานเท่านั้นที่คู่ควรมีอำนาจตัดสินใจในการบริหารกิจการ ถ้าให้อำนาจการบริหารกิจการกับคนให้เงินมากเกินไป คุณอาจจะต้องยอมเขาด้วยเหตุผลว่าเขาให้เงิน

ไปจนถึงการมีบุญคุณต่อกัน ทำให้กิจการอาจจะไม่เติบโตไปในแนวทางที่ทีมผู้ก่อตั้งต้องการ และอาจจะเจ๊งในที่สุด ควรจำกัดหน้าที่ของคนให้เงินทุน ให้มีเพียงการกำกับการใช้จ่ายเงินอย่างระมัดระวังเท่านั้น เพราะการใช้เงินให้เป็น เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากกับกิจการ Startup

ทั้งหมดเป็น 7 เทคนิคในการคัดเลือกผู้ร่วมก่อตั้งกิจการ หรือ Co-Founder สำหรับกิจการ Start Up ใครที่กำลังมองหาธุรกิจใหม่ๆ กิจการ Start Up ดีๆ แต่ยังไม่มีผู้ร่วมก่อตั้งธุรกิจ ก็ลองนำเอาแนวทางคัดเลือก Co-Founder

จากข้างต้นไปเป็นแนวทางในการสรรหาผู้ร่วมก่อตั้งธุรกิจ ไม่แน่อาจจะได้ Co-Founder ที่ดี นำพาธุรกิจประสบความสำเร็จได้เร็วขึ้นครับ

อ่านบทความธุรกิจ SMEs ค้าขาย แฟรนไชส์ และอื่นๆ คลิก goo.gl/Ftx1H4


Tips

  1. มีวิสัยทัศน์ที่เหมือนกันหรือใกล้เคียงกัน
  2. มองเห็นขนาดของกิจการที่อยากให้เป็นเหมือนๆ กัน
  3. การอุทิศตัวเองเพื่อกิจการ
  4. มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่แตกต่างกัน
  5. สไตล์การทำงานของแต่ละคน
  6. มุมมองที่แตกต่างหลากหลายจากประสบการณ์และอาชีพ
  7. อย่าเลือก Co-founder เพราะเขาเป็นคนให้เงินมาทำกิจการ

อ้างอิงข้อมูล goo.gl/byC6AJ

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช