7 คุณสมบัติแบรนด์ที่ดี! คุณมีครบแล้วหรือยัง

เราเชื่อว่าทุกคนที่คิดจะ ผลิตสินค้า ย่อมต้องมีความมั่นใจอันเปี่ยมล้น หลายบริษัทรวมถึงผู้ประกอบการรายย่อยทั้งหลายด้วย ก่อนผลิตสินค้าแต่ละชิ้นก็ต้องทำวิจัยทางการตลาด หารูปแบบสินค้าที่เหมาะสมกับความต้องการ นั้นคือกระบวนการเบื้องต้นที่เขาสอนว่าจะนำพาเราไปสู่ความสำเร็จด้านยอดขายได้

แต่ทั้งนี้ www.ThaiSMEsCenter.com ได้หาข้อมูลเกี่ยวกับคุณสมบัติของแบรนด์ที่ดีเอามาไว้เป็นแนวทางให้ผู้ประกอบการได้พิจารณากันอีกสักครั้งว่า แท้ที่จริงแล้วแบรนด์ของเราหรือสินค้าที่มีนั้นมีคุณสมบัติ 7 ประการตามนี้แล้วหรือยัง

ผลิตสินค้า

1. มีเสถียรภาพด้านยอดขายและรายได้ให้กับธุรกิจในระยะยาว

ตัวอย่างของแบรนด์ซึ่งมีคุณสมบัติข้อนี้คือ Coke และกางเกงยีนส์Levi’s แบรนด์สองตัวนี้อยู่มาร้อยกว่าปีแล้วแต่ก็ยังสามารถขายได้อยู่เรื่อยๆ โดยถ้าเรายกประเด็นของ Coke มาแจกแจงจะพบว่าในไตรมาสแรกของปี 2017

นั้นรายได้ของ Coke มีอยู่ประมาณ 9,100 ล้านดอลลาร์ และมีพนักงานทั่วโลกไม่ต่ำกว่า 100,000 คน รวมถึงการที่แบรนด์นี้ยังเป็นเบอร์หนึ่งในตลาดน้ำอัดลมหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งถือว่าเป็นแบรนด์ที่แข็งแกร่งและน่าสนใจมากทีเดียว

2. สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าได้มากกว่าแบรนด์อื่นๆ

มูลค่าเพิ่มของสินค้าที่ว่านี้ให้เทียบเคียงกับสินค้าที่อยู่ในประเภทเดียวกัน โดยตัวอย่างที่ชัดเจนให้ดูบริษัทอย่างฮิตาชิของญี่ปุ่น โดยเมื่อเกือบสามสิบปีที่แล้วบริษัทฮิตาชิของญี่ปุ่นกับบริษัทจีอีของอเมริกา

ร่วมกันลงทุนสร้างโรงงานผลิตทีวีในประเทศอังกฤษ พอผลิตออกมาแล้วแต่ละฝ่ายก็เอายี่ห้องของตัวเองมาติด ตั้งราคาได้เองตามใจชอบ ปรากฏว่า ทีวีที่ติดยี่ห้อฮิตาชิตั้งราคาได้สูงกว่าจีอีถึงเจ็ดสิบห้าเหรียญแถมยังขายได้มากกว่าสองเท่า นั้นแสดงว่าแบรนด์ฮิตาชินั้นเป็นแบรนด์ที่ดีกว่าจีอีตามหลักการในทฤษฏีนี้

ds5

3. แบรนด์ที่ดีจะต้องมีภูมิต้านทานการโจมตีของคู่แข่ง

ในตลาดธุรกิจเรื่องการแข่งขันเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แบรนด์ของคู่แข่งเองก็ต้องการแย่งชิงพื้นที่การตลาดให้มากที่สุด ไม่ต้องดูอะไรมากศึกน้ำดำของค่ายยักษ์ใหญ่ หรือสงครามชาเขียว รวมถึงกลยุทธ์แสตมป์ของร้านสะดวกซื้อทั้งหลาย ต่างก็เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนมาก

การจะเป็นแบรนด์ที่ดีเมื่อเจอภาวะที่คู่แข่งงัดโปรโมชั่น ลดแลกแจกแถมออกมาใช้ หากแบรนด์เรามียอดขายตกฮวบก็ให้ระลึกไว้ก่อนเลยว่าแบรนด์เรายังไม่แข็งแกร่งพอแต่หากแข็งแกร่งมากพอและมีภูมิคุ้มกันดีแคมเปญลดแลกแจกแถมที่คู่แข่งชอบงัดมาใช้หากเราไม่สะเทือนแล้วสุดท้ายไม้นี้ก็จะย้อนให้คู่แข่งต้องเจ็บตัวจากการลดแลกแจกแถมของตัวเองโดยปริยาย

4. สามารถสวนกระแสตลาดได้

หากจะยกตัวอย่างสินค้าในข้อนี้ ก็นึกถึงบุหรี่ยี่ห้อมาร์ลโบโรซึ่งมีคุณสมบัติข้อนี้อยู่เต็มพิกัด ซึ่งช่วงหนึ่ง ธุรกิจบุหรี่ในอเมริกาอยู่ในภาวะตกต่ำ ยอดขายรวมของทั้งอุตสาหกรรมลดลงเฉลี่ยปีละสองเปอร์เซ็นต์

แต่ยอดขายของมาร์ลโบโรกลับเพิ่มขึ้นปีละสามเปอร์เซ็นต์ สวนกับตลาดไปคนละทางนั้นหมายถึงกระแสนิยมที่คนยังศรัทธาในแบรนด์และเลือกจะใช้สินค้าแม้อยู่ในภาวะที่จำเป็นต้องเลือกรัดเข็มขัดในการใช้จ่ายก็ตาม

ds1

5. สามารถรุกเข้าไปในตลาดใหม่ได้ง่าย

เช่นการทำธุรกิจผลไม้แห้ง หากแบรนด์ของเราดีจริง เราต้องสามารถเอาแบรนด์นี้ไปใช้กับสินค้าอื่นๆ ซึ่งใกล้เคียงกับธุรกิจเดิมของเรา เช่น ผลไม้กระป๋อง น้ำผลไม้ โดยไม่ต้องเริ่มนับหนี่งใหม่แต่ข้อควรระวังก็คือ แบรนด์ทุกตัวมีข้อจำกัดในการขยายตลาด

ไม่มีแบรนด์ไหนสามารถทำตลาดได้แบบครอบจักรวาล ให้นึกถึงภาพรถยนตร์ยี่ห้อเบนซ์อาจจะดูขลังสำหรับรถยนต์ แต่ถ้าเอาโลโก้เบนซ์ไปแปะไว้หน้าซองบะหมี่สำเร็จรูป คิดหรือว่าเบนซ์จะสู้กับมาม่าได้ ไม่มีทางเลยงานนี้

6. เป็นที่ชื่นชอบของเจ้าของร้าน

มีสินค้าไม่กี่ตัวที่จะมีร้านเป็นของตัวเอง สินค้าส่วนใหญ่ต้องอาศัยพื้นที่ของร้านขายของ แต่ละร้านมักจะมีสินค้าประเภทเดียวกันหลายยี่ห้อวางขายให้ลูกค้าได้เลือกซื้อ หากเจ้าของร้านเลือกเอาสินค้าของเราไปวางไว้ให้เด่นกว่าสินค้าของคู่แข่ง

พอของใกล้หมดก็รีบสั่งใหม่ แสดงว่าสินค้าของเราเป็นที่ชื่นชอบของลูกค้า เมื่อไหร่เจ้าของร้านเริ่มเล่นตัว ของหมดก็ไม่โทรมาสั่ง สั่งแต่ละทีไม่มากเหมือนเมื่อก่อน เอาไปวางไว้แบบขอไปที สิ่งเหล่านี้เป็นสัญญาณบอกเราแล้วว่าแบรนด์ของเรากำลังมีปัญหา ถ้านึกไม่ออกว่าเป็นเพราะอะไรก็ลองถามเจ้าของร้านดู จะได้รู้ว่าอะไรเป็นปัญหากันแน่

ds2

7. แบรนด์ที่ดีต้องสามารถซื้อเวลาได้

ธุรกิจเป็นเรื่องไม่แน่นอน ปัญหาซึ่งเกิดขึ้นในแต่ละช่วงเวลามีความแตกต่างกันออกไป บางช่วงเกิดปัญหาเกี่ยวกับการผลิต เงินทองกำลังคนส่วนใหญ่ก็ทุ่มไปกับการแก้ปัญหาด้านนี้จนแทบไม่ได้สนใจแบรนด์ หรืออาจจะเป็นเพราะกำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนแปลงผู้บริหาร

ไม่มีนโยบายการทำตลาดชัดเจน ทีมงานก็เลยไม่รู้จะทำอะไร นั่งเฉยๆ รอความชัดเจนจากผู้บริหารคนใหม่ สิ่งเหล่านี้ย่อมส่งผลต่อผลประกอบการของบริษัทในภาพรวม แบรนด์ที่ดีจะต้องช่วยประคับประกอบบริษัทให้ผ่านวิกฤติการณ์เหล่านี้ไปได้ ถึงแม้ว่าจะไม่มีใครมาสนใจดูแลแบรนด์ในช่วงเวลานั้นก็ตาม

แต่อย่างไรก็ตามในโลกนี้ไม่มีแบรนด์ตัวไหนมีคุณสมบัติสมบูรณ์พร้อมทั้ง 7 ข้อ หลักเกณฑ์เหล่านี้เป็นดัชนี้ชี้วัดว่าจุดยืนของเราตอนนี้เป็นอย่างไร มีจุดแข็งจุดอ่อนด้านไหน จะได้รู้จักปรับกลยุทธ์ของตัวเองได้ถูกต้อง ลองประเมินดูบ่อยๆ ว่าตอนนี้ในแต่ละด้านของเราดีขึ้นกว่าเดิมหรือเปล่า

ถ้าส่วนใหญ่ดีขึ้นก็แสดงว่าแบรนด์ของเราก็ดีขึ้นแล้วในภาพรวม หากบางข้อดีขึ้น บางข้อแย่ลง จนดูแล้วบอกไม่ได้ว่าตอนนี้เราเป็นยังไงก็เป็นสัญญาณเตือนเราแล้วว่าต้องทำอะไรสักอย่างเพื่อแก้ข้อบกพร่องเหล่านี้

สำหรับท่านใดที่ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจเรามีรวบรวมบทความมากมายไว้ให้ทุกท่านพิจารณากันตามความเหมาะสม ดูรายละเอียด goo.gl/Io5k2S

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด