7 กลยุทธ์การขายช่วง เศรษฐกิจฝืดเคือง

ในช่วงสถานการณ์ เศรษฐกิจตกต่ำ หลายๆ บริษัทได้พยายามหามาตรการต่างๆ มาจัดการกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจไม่ว่าจะเป็นการลดการโฆษณาประชาสัมพันธ์ การลดคน ลดเวลาทำงาน ลดเงินเดือน รวมถึงค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่ไม่จำเป็นออกไป

แต่ถึงอย่างไรธุรกิจ SMEs จำเป็นต้องเดินหน้าต่อไป พยามรักษายอดการขายไม่ให้ต่ำลง แต่จะมีวิธีการไหนบ้างที่จะช่วยสร้างยอดขายให้กับธุรกิจ SMEs ไม่ให้ตกต่ำลงไปเหมือนกับสถานการณ์เศรษฐกิจ

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีกลยุทธ์การขายในสภาวะที่ เศรษฐกิจฝืดเคือง มาฝากเจ้าของธุรกิจ รวมถึงนักขาย นักการตลาดทุกท่าน เพื่อสร้างยอดขาย และใช้เป็นแนวทางในการฟันฝ่าอุปสรรคให้ผ่านพ้นไปได้ครับ

1.หนักแน่น มองโลกในแง่ดี

เศรษฐกิจฝืดเคือง

แม้ว่าคุณจะได้ยินข่าวคราวเกี่ยวกับสภาวะเศรษฐกิจมา ไม่ว่าจะเป็นด้านดี หรือด้านไม่ดี พึงระลึกอยู่เสมอว่าปัญหาทุกอย่างมีทางออกและสามารถแก้ไขเสมอ

เศรษฐกิจในช่วงขาลงก็ไม่ได้หมายความว่าจะกระทบต่อยอดขายสินค้าของคุณ กำลังใจและความคิดของคุณเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากต่อความสำเร็จ ต้องหนักแน่น มั่นคง สนใจกับเป้าหมายที่คุณได้กำหนดไว้ตั้งแต่ต้น ค่อยๆ ฟันฝ่าอุปสรรคไปให้ได้ พยายามให้กำลังใจแก่ตัวเองเป็นดีที่สุด

2.กำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

jm2

การเหวี่ยงแหจับลูกค้าถือว่าเป็นวิธีการขายที่ไม่ค่อยดีดีนัก เพราะจะทำให้เสียเวลาไปโดยไม่จำเป็น ดังนั้นแทนที่จะโทรศัพท์หาลูกค้าหลายร้อยหลายพันคน ก็กำหนดไปเลยว่าใครเหมาะที่จะเป็นกลุ่มลูกค้าเป้าหมายหลักของคุณ

หากคุณไม่ทราบว่ากลุ่มลูกค้าเป้าหมายหลักเป็นใคร ก็ลองหันกลับไปดูกลุ่มลูกค้าที่มีอยู่ในปัจจุบัน ใครเป็นผู้ซื้อรายใหญ่ และต้องตั้งคำถามเสมอว่า ทำไมลูกค้ากลุ่มนั้นต้องซื้อสินค้าหรือทำธุรกิจร่วมกับคุณ ตรงนี้จะทำให้คุณรู้กลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้

3.ใช้สื่อโฆษณาที่หลากหลาย

เมื่อคุณกำหนดแล้วว่า ใครเป็นกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ให้เริ่มสร้างความสัมพันธ์กับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ด้วยการโฆษณาประชาสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็น การส่งอีเมล์ ไลน์ เฟสบุ๊ค โทรศัพท์ จดหมาย การจัดงานเปิดตัวสินค้า ซึ่งการโฆษณาประชาสัมพันธ์คุณจะต้องมีการวางแผนเป็นอย่างดี เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์

4.การนำเสนอขายต้องชัดเจน

jm4

เมื่อพบกับลูกค้าต้องมีการนำเสนอขายที่ชัดเจน ไม่อ้อมค้อม ตอบโจทย์ความต้องของลูกค้าให้ได้จริง ไม่ต้องไปเล่าเรื่องไร้สาระเกี่ยวกับบริษัท เช่น ใครเป็นเจ้าของ ใครเป็นหุ้นส่วน แต่ให้เน้นในส่วนที่ลูกค้าจะได้อะไรจากสินค้าหรือบริการที่เขาซื้อไป

หากสินค้าของคุณช่วยเหลือลูกค้าด้านไหน ก็บอกไปตรงๆ ถ้าช่วยลดค่าใช้จ่าย ก็บอกไปเลยว่าเท่าไหร่ ยุค เศรษฐกิจฝืดเคือง ต้องทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าเกิดความคุ้มค่ามากที่สุด เมื่อซื้อสินค้าจากคุณไป

5.ใกล้ชิดกับลูกค้า

jm3

ช่วงเศรษฐกิจไม่ค่อยดี คุณต้องยิ่งใกล้ชิดกับลูกค้าให้มากที่สุด อย่าทิ้งลูกค้าไปเฉยๆ คุณลองจรวจสอบดูว่าปัจจุบันมีลูกค้าที่อยู่กับคุณจำนวนเท่าไหร่ หาเหตุผลให้ได้ว่า ทำไมพวกเขาเหล่านั้นยังอยู่กับคุณ อาจเป็นเพราะสินค้าดี บริการดี

สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้คุณเข้าไปใกล้ชิดกับลูกค้าที่มีอยู่มากขึ้น แม้ว่าจะขายสินค้าจะขายยาก แต่คุณต้องพยายามเข้าไปช่วยแก้ปัญหาให้ลูกค้า คอยให้คำปรึกษาและคำแนะนำในเรื่องต่างๆ ให้แก่ลูกค้า จะทำให้ลูกค้ารู้สึกดีกับคุณ

6.ห้ามหยุดการประชาสัมพันธ์

jm1

แม้ว่าสภาวะเศรษฐกิจจะไม่เอื้ออำนวยต่อการทำธุรกิจ แต่คุณก็อย่าหยุดที่จะประชาสัมพันธ์สินค้าของคุณเป็นอันขาด ไม่ใช่พอเศรษฐกิจไม่ดี ก็มุดหัวรอจนกว่าเศรษฐกิจจะดี ถ้าทำแบบนี้อาจทำให้ลูกค้าลืมสินค้าของคุณไปเลยก็ได้

พยายามสร้างเครือข่ายทางธุรกิจไปเรื่อยๆ เช่น ออกงานแสดงสินค้า เป็นสปอนเซอร์งานต่างๆ ประชาสัมพันธ์บทความธุรกิจลงสื่อ ร่วมเป็นวิทยากรงานสัมมนา งานอบรม เรียกได้ว่าต้องพยายามออกงานสังคมบ่อยขึ้น อาจจะช่วยทำให้ลูกค้าจดจำคุณและซื้อสินค้าจากคุณในภายหลังก็ได้

สำหรับธุรกิจ SMEs ถ้าอยากประชาสัมพันธ์แบรนด์สินค้าผ่านสื่อ เว็บไซต์ www.ThaiSMEsCenter.com เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่น่าสนใจ สามารถเข้าดูรายละเอียดเพิ่มได้ที่ www.ThaiSMEsCenter.com

ขณะที่ธุรกิจแฟรนไชส์ ก็สามารถใช้ ThaiFranchiseCenter.com ประชาสัมพันธ์แบรนด์ธุรกิจได้ เพราะเป็นเว็บไซต์รวมรวมธุรกิจแฟรนไชส์ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีความน่าเชื่อถือ ดูเพิ่มเติมได้ที่ http://www.thaifranchisecenter.com

7.พัฒนาทักษะการขาย

jm5

ถือเป็นอีกกลยุทธ์ที่จะช่วยให้คุณขายสินค้าได้ เมื่อพฤติกรรมการซื้อของลูกค้าเปลี่ยนไป ผู้ขายจำเป็นต้องมีการฝึกฝนทักษะการขายใหม่ๆ เพื่อให้ทันลูกค้า ยิ่งเศรษฐกิจไม่ดีคุณต้องยิ่งทำงานให้หนัก ใช้ความพยายามให้มากขึ้น หาเทคนิคการขายใหม่ๆ ให้โดนใจลูกค้าให้ได้ หาอะไรที่จะทำให้ลูกค้าพอใจ รู้สึกดี คุ้มค่ามากที่สุด แล้วนำเสนอให้กับเขา

แม้ว่าสภาวะเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไร การทำธุรกิจต้องเดินหน้าต่อไป อย่าหยุดนิ่ง พยายามสร้างยอดขาย และรักษายอดการขายไม่ให้ตกต่ำให้ได้ รู้จักกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายให้ชัดเจน นำเสนอสินค้าอย่างตรงไปตรงมา สร้างความใกล้ชิดให้เกิดขึ้นกับลูกค้ามากที่สุด สิ่งสำคัญอย่ายอมแพ้ พยายามทำอย่างเต็มที่เพื่อให้ถึงเป้าหมายที่วางเอาไว้

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช