6 ข้อผิดพลาดจากการซื้อธุรกิจแฟรนไชส์

ธุรกิจแฟรนไชส์ เป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจสำหรับคนที่อยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง เพราะเจ้าของแฟรนไชส์ได้วางระบบธุรกิจจนประสบความสำเร็จมาแล้วในระดับหนึ่ง แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าผู้ซื้อแฟรนไชส์มาบริหารจะประสบความสำเร็จเหมือนกันหมด เนื่องจากในการทำธุรกิจนั้นมีความเสี่ยงและตัวแปรที่แตกต่างกันออกไป

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com ขอนำเสนอข้อผิดพลาดจากการซื้อแฟรนไชส์ มาฝากผู้ที่กำลังมองหาธุรกิจแฟรนไชส์มาลงทุน เพื่อป้องกันความผิดพลาด และนำไปเป็นข้อมูลก่อนที่จะตัดสินใจซื้อแฟรนไชส์ครับ

1.ซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ที่ไม่ได้รับความนิยม

ธุรกิจแฟรนไชส์

(รูปภาพประกอบ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเนื้อหาแต่อย่างใด)

จุดเด่นของธุรกิจแฟรนไชส์ที่จะประสบความสำเร็จ คือ ธุรกิจเหล่านี้มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปแล้วระดับหนึ่ง ทำให้ผู้ซื้อธุรกิจแฟรนไชส์มาบริหาร หรือแฟรนไชส์ซี สามารถต่อยอดทำธุรกิจได้ง่ายขึ้น โดยมีประเภทธุรกิจให้เลือกหลายหลายรูปแบบ เช่น ร้านสะดวกซื้อ ร้านอาหาร ร้านกาแฟ โรงเรียนกวดวิชา

จำนวนเงินทุนตั้งต้นก็แตกต่างกันไป ตั้งแต่หลักหมื่น ไปจนถึงหลักล้านบาท ซึ่งปัจจุบันหลายๆ ธนาคารมักมีโครงการสินเชื่อสำหรับธุรกิจแฟรนไชส์ โดยเฉพาะผู้สนใจจึงสามารถเข้าไปขอคำปรึกษาเรื่องเงินลงทุนธุรกิจจากธนาคารได้

2.ไม่มีความพร้อมในการบริหารธุรกิจ

e2

(รูปภาพประกอบ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเนื้อหาแต่อย่างใด)

เมื่อมีเงินในการเริ่มลงทุนแล้ว สิ่งที่ตามมาคือความพร้อมในการบริหารธุรกิจ ไม่ว่าจะเลือกทำธุรกิจแฟรนไชส์หรือธุรกิจประเภทไหนก็ตาม ต้องอาศัยความมุ่งมั่น ตั้งใจ และหมั่นศึกษาหาข้อมูลอยู่เสมอ ก็จะช่วยให้สามารถประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจนั้นๆ ได้ บางคนที่เพิ่งเริ่มต้นทำธุรกิจ อาจจะมีความกังวลในข้อนี้

แต่สำหรับธุรกิจแฟรนไชส์ เจ้าของแฟรนไชส์ (Franchisor) มักมีการอบรมให้ความรู้ในการบริหารงาน และทำธุรกิจให้กับผู้ซื้อ และอาจมีการทำโฆษณา จัดโปรโมชั่นต่างๆ ให้อย่างต่อเนื่อง แต่ก็ต้องแลกกับค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมการตลาด (Marketing Fee) ที่จะต้องเสียเพิ่มเติมให้กับแฟรนไชส์ซอร์

3.ซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ที่ตัวเองไม่ได้ชอบ

e4

(รูปภาพประกอบ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเนื้อหาแต่อย่างใด)

ก่อนตัดสินใจลงทุนซื้อแฟรนไชส์ ควรจะพิจารณาปัจจัยต่างๆ และศึกษาให้รอบด้านก่อน เช่น เป็นธุรกิจประเภทที่ชอบหรือมีความสนใจหรือไม่ ยกตัวอย่าง การเลือกทำธุรกิจแฟรนไชส์ร้านกาแฟ เพราะปัจจุบันคนนิยมดื่มกาแฟกันมาก แต่ตัวเจ้าของธุรกิจเองไม่ดื่มกาแฟ กรณีแบบนี้ก็อาจจะไม่สามารถเข้าถึงความต้องการที่แท้จริงของลูกค้าได้

4.ไม่ศึกษาข้อกำหนดต่างๆ จากเจ้าของแฟรนไชส์

e3

(รูปภาพประกอบ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเนื้อหาแต่อย่างใด)

ปัญหาข้อผิดพลาดในการซื้อแฟรนไชส์ไปบริหาร ที่มักส่งผลให้ธุรกิจแฟรนไขส์ไปไม่รอด คือ การไม่ศึกษารายละเอียดและข้อกำหนดต่างๆ จากเจ้าของแฟรนไชส์ให้ดีพอ เพราะธุรกิจในระบบแฟรนไชส์มักจะมีข้อกำหนดต่างๆ จากเจ้าของแฟรนไชส์ ที่จะให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์นำไปปฏิบัติตาม

ไม่ว่าจะเป็นการจัดร้าน สูตรในการทำอาหารหรือเครื่องดื่ม รวมถึงวัตถุดิบที่อาจถูกกำหนดให้ซื้อโดยตรงจากแฟรนไชส์ซอร์ ปัจจัยเหล่านี้ทำให้ต้นทุนในการทำธุรกิจสูงขึ้นได้

5.ซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ที่ไม่มั่นคง

e5

(รูปภาพประกอบ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเนื้อหาแต่อย่างใด)

ธุรกิจแฟรนไชส์ที่ไม่มั่นคง มักจะทำได้ไม่นาน เป็นธุรกิจที่เกิดขึ้นเร็วและไปเร็ว เหมือนอย่างเช่น โรตีบอยในสมัยก่อน ทำได้ไม่กี่ปีก็ไม่ได้รับความนิยมแล้ว ตรงนี้ผู้ซื้อแฟรนไชส์มักจะผิดพลาดอยู่บ่อยครั้ง ก่อนซื้อต้องมองว่าแฟรนไชส์ที่คุณสนใจมีความมั่นคงมากน้อยแค่ไหน

เพราะแม้จะสามารถบริหารธุรกิจแฟรนไชส์ที่ซื้อมาได้ดี แต่ถ้าบริษัทแม่ต้องปิดตัวไปก็จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อธุรกิจของผู้ซื้อแฟรนไชส์ด้วย ซึ่งการพิจารณาถึงความมั่นคงของธุรกิจนั้น อาจดูได้จากระยะเวลาการดำเนินการว่าทำมานานแค่ไหน

6.ไม่ได้สำรวจตลาดและสอบถามแฟรนไชส์ซีรายอื่น ๆ

e6

(รูปภาพประกอบ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเนื้อหาแต่อย่างใด)

ถือเป็นความผิดพลาดอย่างยิ่งใหญ่ หากคิดจะซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ แล้วไม่ได้สำรวจตลาดและสอบถามผู้ซื้อแฟรนไชส์ธุรกิจเดียวกันรายอื่นๆ ว่าผลการตอบรับเป็นอย่างไรบ้าง ขายได้ไหม หรือทำไมเจ๊ง ดังนั้น ก่อนซื้อแฟรนไชส์คุณลองสอบถามเจ้าของแฟรนไชส์ว่า เคยเจอปัญหาหรืออุปสรรคอะไรมาบ้าง มีวิธีแก้ปัญหานั้นอย่างไร

รวมถึงหาข้อมูลจากผู้ที่ซื้อแฟรนไชส์ในธุรกิจนั้นมาบริหาร ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้เห็นภาพได้ว่า ธุรกิจแฟรนไชส์ที่จะเลือกลงทุนมีความมั่นคงมากน้อยแค่ไหน ที่ผ่านมาผู้ซื้อแฟรนไชส์มักจะไม่ได้สนใจข้อนี้มากนัก ทำให้พลาดในการซื้อแฟรนไชส์

ทั้งหมดเป็นข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการซื้อแฟรนไชส์ ผู้ที่คิดจะซื้อแฟรนไชส์สามารถนำข้อมูลข้างต้น ไปพิจารณาก่อนที่จะตัดสินใจซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ไปบริหาร ถ้าทำตามและหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดในการซื้อแฟรนไชส์ดังกล่าว น่าจะช่วยให้คุณประสบความสำเร็จในธุรกิจแฟรนไชส์ที่ซื้อมาครับ

อ่านบทความแฟรนไชส์อื่นๆ goo.gl/9cSMfj
สนใจซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ต่างๆ goo.gl/N1LMAj


Tips

  • ซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ที่ไม่ได้รับความนิยม
  • ไม่มีความพร้อมในการบริหารธุรกิจ
  • ซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ที่ตัวเองไม่ได้ชอบ
  • ไม่ศึกษาข้อกำหนดต่างๆ จากเจ้าของแฟรนไชส์
  • ซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ที่ไม่มั่นคง
  • ไม่ได้สำรวจตลาดและสอบถามแฟรนไชส์ซีรายอื่นๆ

 

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3l5PapB

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช