5 แนวทางร้านค้าปลีกปรับตัว รับมือค้าออนไลน์

เชื่อหรือไม่ว่า ยิ่งการตลาดออนไลน์โตมากขึ้นเท่าไหร่ ธุรกิจค้าปลีกก็ยิ่งเติบโตน้อยลงเท่านั้น เพราะลูกค้าแห่ไปซื้อสินค้าจากร้านค้าออนไลน์แทนออฟไลน์ สะดวก รวดเร็วกว่า จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่วันนี้ร้านค้าปลีกต่างๆ ทยอยปิดสาขาจำนวนมาก

โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา เห็นได้ชัดเจนมากที่สุด กรณีห้างค้าปลีกต่างๆ ปิดสาขาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากข้อมูลพบว่าในปี 2018 ร้านค้าปลีกในสหรัฐอเมริกาปิดสาขาไปประมาณ 8,828 ร้าน รวมถึงร้านดังๆ เช่น Macy, Gap, Toys R us, Walgreen, Best buy สร้างความตื่นตระหนกในวงการธุรกิจค้าปลีกของโลกเป็นอย่างมาก

ไม่เพียงเท่านี้ ตามรายงานของ Coresight Research พบว่า ในปี 2019 มีร้านค้าปลีกในสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศปิดสาขาไปแล้วกว่า 4,810 แห่ง แม้ว่าธุรกิจค้าปลีกในไทยยังไม่ได้รับผลกระทบมากนัก แต่เราต้องเฝ้าดูกันต่อไปยาวๆ

เมื่อสถานการณ์ธุรกิจค้าปลีกทั่วโลกอยู่ในช่วงตึงเครียด จะมีวิธีการที่จะให้ธุรกิจค้าปลีกในเมืองไทย นำไปเป็นแนวทางในการปรับตัวเพื่อรับมือกับค้าปลีกออนไลน์ วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะนำเสนอแนวทางรับมือออนไลน์ให้ทราบ

1.ศึกษาพฤติกรรมลูกค้า ปรับรูปแบบการขายและบริการ

รับมือค้าออนไลน์

ภาพจาก goo.gl/images/FeFs84 , blog.sellsuki.co.th/ซื้อของออนไลน์

ปัจจุบันแม้ลูกค้าจะหันไปซื้อออนไลน์มากขึ้น แต่ก็ลูกค้านิยมซื้อจากร้านค้าออฟไลน์ก็มีจำนวนมาก ดังนั้น คุณต้องเข้าใจก่อนว่า ตอนนี้ลูกค้าที่ซื้อสินค้าหน้าร้านของคุณคือใคร และคุณจะดูแลลูกค้ากลุ่มนี้ยังไง ให้เขากลับมาซื้อซ้ำอีก

เช่น บริการหลังการขายสุดประทับใจ หรือโปรโมชั่นสุดพิเศษ เพื่อให้ลูกค้ากลับมาซื้อซ้ำ เพราะข้อดีของการซื้อสินค้าออฟไลน์ คือ ได้สัมผัสสินค้าได้ ฟังเสียงได้ ดมกลิ่นได้จริงๆ ซึ่งส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อได้ง่ายกว่าการดูแค่รูปถ่ายบนออนไลน์

2.เพิ่มช่องทางการขาย ทั้งหน้าร้านและออนไลน์

8

ภาพจาก facebook.com/coatwink.th

ธุรกิจค้าปลีกควรเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่าย หรือให้ข้อมูลแก่ลูกค้าช่องทางอื่นมากกว่าหน้าร้านอย่างเดียว เพื่อรองรับลูกค้าที่หันไปซื้อออนไลน์ ให้กลับมาใช้บริการของคุณ โดยสร้างช่องทางที่ได้ติดต่อกับลูกค้า

เช่น Facebook Fanpage, Line@ ซึ่ง 2 ช่องทางนี้ได้รับความนิยมสูงมากใน E-Commerce เพราะสามารถให้ข้อมูลสินค้ากับลูกค้าได้ตลอดเวลา เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้ใกล้ชิดและกว้างมากขึ้น

7

ภาพจาก goo.gl/images/DTg7Cd

คุณจึงไม่ควรหนีออนไลน์ รู้จักนำออนไลน์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ อย่าขายหน้าร้านอย่างเดียว เพราะขายช่องทางเดียวธุรกิจอาจจะต้องปิดตัว เพราะการที่ลูกค้าหันไปซื้อสินค้าออนไลน์ เท่ากับว่าไปเจอคู่แข่งคุณอีกร้อยพันเจ้า

ถ้าคุณไม่ชูจุดแข็งและสร้างกลยุทธ์ให้ลูกค้ากลับมา ก็ต้องยอมรับว่ามีโอกาสสูงที่จะปิดตัวลง เพราะแม้กระทั่งค้าปลีกใหญ่ระดับโลก ยังปิดกิจการหรือลดขนาดลงมาเพื่อปรับตัว คุณก็ควรจะปรับตัวเช่นกัน

3.นำเอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วยบริหารจัดการร้าน

6

ภาพจาก https://goo.gl/images/TzckwU

ในส่วนของหน้าร้านก็ต้องปรับตัวเช่นกัน จะเห็นว่าร้านอาหารดังหลายแบรนด์ใช้เทคโนโลยี เข้ามาช่วยบริการให้ลูกค้าได้รับความสะดวกสบายมากขึ้น เช่น การส่งเดลิเวอรี่ส่งอาหารถึงบ้านคุณผ่านแอพพลิเคชั่น สังเกตได้ว่ากลยุทธ์การปรับตัวทั้งหมดที่สร้างมา ก็เพื่อสร้างการบริการให้เข้าถึงลูกค้ามากขึ้นและสร้างความประทับใจในประเทศญี่ปุ่น และไต้หวัน

ถือเป็นกรณีตัวอย่างของธุรกิจค้าปลีกอย่าง 7-11 ที่สามารถเอาชนะใจผู้บริโภคในประเทศได้เป็นอย่างดี มีการนำเทคโนโลยีต่างๆ มาพัฒนาเพื่อตอบโจทย์ความต้องการลูกค้า โดยเฉพาะเทคโนโลยี AI การจัดส่งสินค้าเดลิเวอรี่ถึงบ้าน การให้ลูกค้าสามารถนั่งทำงานในร้านได้ และมีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน

4.จับมือกับธุรกิจ E-Commerce ขยายตลาด

5

ภาพจาก goo.gl/images/VULRoZ

ธุรกิจ E-Commerce กำลังเป็นที่นิยมอย่างมาก เป็นส่วนผสมของค้าปลีกออนไลน์และออฟไลน์ได้อย่างลงตัว ปัจจุบันมีการเติบโตสูงกว่า 18% ซึ่ง E-Commerce เจ้าใหญ่ในเมืองไทยคงหนีไม่พ้น Lazada และ Shopee ทั้งสองแพลตฟอร์มนี้เป็นเหมือนหน้าร้านบนโลกออนไลน์ของคุณ ที่แทบไม่เสียต้นทุน

4

ภาพจาก goo.gl/images/9W7hSM

การเปิดช่องทางการขายให้ร้านค้าของคุณ จึงเหมือนหารายได้อีกช่องทางหนึ่ง เพราะถ้าคุณไปฝากที่หน้าร้านมากเกินไป ทั้งที่ตอนนี้แนวโน้มการเติบโตน้อยลงเรื่อยๆ คงไม่ใช่ทางออกที่ดีนัก และทั้งสองแพลตฟอร์ม จะมีการเทรนด์สำหรับนักขายหน้าใหม่ ที่พึ่งเริ่มต้นเข้ามาขายออนไลน์ เป็นโอกาสดีที่คุณจะสร้างการเติบโตให้กับธุรกิจของคุณเพิ่ม

5.จัดโปรโมชั่น ใช้กลยุทธ์ราคาดึงดูด

3

ภาพจาก goo.gl/images/c7hjEo

การบริหารร้านค้าปลีกในยุคปัจจุบัน จำเป็นต้องมีโปรโมชั่นดึงดูดลูกค้าให้ซื้อสินค้าจากร้านของคุณ เช่น การเข้าไปผูกกับช่วงเวลาพิเศษ เช่น วันที่ 12.12 วันช็อปแห่งชาติรับสิ้นปี เป็นช่วงที่คนเตรียมเงินจะใช้จ่ายเยอะสุดๆ

แน่นอนว่า คุณจะต้องเป็นตัวเลือกในช่วงนั้น ธุรกิจที่ใช้กลยุทธ์ราคาเซียนที่สุด คือ ธุรกิจ E – Commerce อย่าง Lazada และ Shopee คุณสามารถศึกษาวิธีการเล่นราคาของทั้งสอง และนำมาปรับใช้กับธุรกิจค้าปลีกของคุณได้เลย เพราะทั้งคู่จะมีวิธีการขายสินค้าที่จะช่วยกระตุ้นให้ลูกค้าอยากจะสั่งซื้อสินค้าอยู่ตลอดเวลา

2

ภาพจาก goo.gl/images/wwJw3z

สรุปก็คือ ธุรกิจจำเป็นต้องปรับตัว เพื่อความอยู่รอด พร้อมทั้งรู้จักใช้ประโยชน์จากสิ่งที่จะเข้ามากระทบให้มากที่สุด อย่าหลีกหนี้ แต่ต้องรู้จักปรับเปลี่ยน โดยในอนาคตอันใกล้นี้จะได้เห็นการรวมตัวของ ธุรกิจออนไลน์และออฟไลน์ซึ่งมีการพัฒนาแล้ว

เช่นตัวอย่างของ กลุ่มธุรกิจ อาลีบาบา ( Alibaba Group ) เป็นการรวมกันของลูกค้าในรัศมีแอเรีย 20 กม. รอบๆ สาขาของแบรนด์ โดยจะได้รับโปรโมชั่นต่างๆ และมีการเก็บข้อมูลลูกค้าที่มาใช้บริการที่สาขา เพื่อนำไปโฆษณาเฉพาะลูกค้าที่สนใจในสินค้าประเภทนั้น ในแต่ละเขตพื้นที่จังหวัด อำเภอ เป็นต้น ทำให้เราประหยัดงบการโฆษณา ไม่ต้องโฆษณาแบบหว่านอีกต่อไป

และยังสามารถส่งโฆษณาโปรโมชั่นให้ลูกค้าที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงสาขานั้นๆ ได้อีกด้วย ส่งผลให้คุณสามารถเจาะจงขายสินค้าสู่ลูกค้าที่มีแนวโน้มจะซื้อสินค้าของคุณได้ ซึ่งทั้งหมดนี้คือกลยุทธ์การปรับตัวจากแบรนด์ใหญ่ ที่คุณนำมาปรับใช้กับธุรกิจได้ เพื่อสร้างโอกาสการขายและเติบโตให้กับธุรกิจตนเอง ภายใต้การแข่งขันที่สูงขึ้นเรื่อยๆ


คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

01

อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://bit.ly/2FMrZOq
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี เปิดร้าน https://bit.ly/2Jatqq2

SMEs Tips

  1. ศึกษาพฤติกรรมลูกค้า ปรับรูปแบบการขายและบริการ
  2. เพิ่มช่องทางการขาย ทั้งหน้าร้านและออนไลน์
  3. นำเอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วยบริหารจัดการร้าน
  4. จับมือกับธุรกิจ E-Commerce ขยายตลาด
  5. จัดโปรโมชั่น ใช้กลยุทธ์ราคาดึงดูด

แหล่งข้อมูล

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3dHFQrt

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช