5 เทคนิค“ค้าปลีก2020” ทำแล้วรวยจริง!

สถานการณ์วงการค้าปลีกที่เกิดขึ้นทั่วโลกในตอนนี้ส่อแวววิกฤติกันในหลายๆ ประเทศ โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา และยุโรปที่มีข่าวถึงการปิดสาขาไม่เว้นแต่ละวัน บางกิจการที่ยังไม่ปิดก็แจ้งปรับลดพนักงาน หรือบางแห่งก็มีการแจ้งล้มละลายกันไปเลยทีเดียว

สิ่งต่างๆ เหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงตลาดค้าปลีกทั่วโลกที่มีการเปลี่ยนแปลง เพราะพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยน จากเดิมมีเพียงแค่ปัจจัยเรื่อง “ช้อปออนไลน์” เข้ามา กลายเป็นว่าตอนนี้มีหลายปัจจัยรอบด้านมากกว่าที่คิด

www.ThaiSMEsCenter.com เองเมื่อได้วิเคราะห์ถึงทิศทางของเศรษฐกิจในปี 2563 ที่หากไม่โลกสวยจริงๆ ต้องยอมรับว่าอาจถึงขั้นฝืดเคืองมากกว่าเดิม และแบบนี้ “ค้าปลีกเมืองไทย” จะมีวิธีไหนอย่างไรให้อยู่รอดได้บ้าง

ค้าปลีกเมืองไทย “วิกฤติ” ขนาดไหน

ค้าปลีก2020

ภาพจาก bit.ly/2PkrHVn

จากข้อมูลระบุว่าตลาดค้าปลีกไทยในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมามีการเติบโตที่ต่ำกว่าปกติมาโดยตลอดข้อสังเกตอันดับแรกก็คือตลาดค้าปลีกมีการเติบโตต่ำกว่า GDP นั่นคือผิดปกติแล้ว ซึ่งตลาดค้าปลีกควรเติบโตสูงกว่า GDP ราวๆ 1-1.5%ยกตัวอย่างถ้า GDP ประเทศเติบโต 4% ตลาดค้าปลีกต้องเติบโต 5% แต่ในปีที่ผ่านมา GDP เติบโตราว 4.0-4.2% แต่ภาคค้าปลีกมีการเติบโตเพียง 3.1% นั่นคือส่อแววไม่ปกติ ปัจจัยด้านลบที่ทำให้ค้าปลีกเมืองไทยไม่เติบโตเกิดจาก

1. โครงสร้างภาษีที่ไม่ถูกต้อง

โดยเฉพาะครงสร้างภาษีของสินค้า Luxury 30-40% ทำให้สินค้ามีราคาแพงกว่าต่างประเทศ เสียโอกาสทั้งคนไทย และนักท่องเที่ยวที่มาช้อปปิ้ง กลายเป็นว่าคนไทยที่จะซื้อสินค้าแบรนด์เนมก็หนีไปซื้อต่างประเทศ นักท่องเที่ยวก็ไม่อยากซื้อที่ไทยอีกเพราะมีราคาแพง ทำให้ไทยสูญเสียรายได้จากการช้อปปิ้งในส่วนนี้เยอะ

7

ภาพจาก bit.ly/2EfJoPw

2. เปิดให้คนไทยช้อปปิ้ง Duty Free

ในหลายๆ ประเทศได้เน้นไปที่ตลาดนักท่องเที่ยวเป็นหลัก แต่ในประเทศไทยเน้นทั้งตลาดคนไทยด้วย และนักท่องเที่ยวด้วย สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือห้างค้าปลีกที่จ่ายภาษีทั้งหมดก็เสียเปรียบห้างที่ไม่ต้องเสียภาษี เป็นสิ่งที่ทำให้ค้าปลีกไม่โตเท่าที่ควร

3. ตลาดออนไลน์ที่ไม่เสียภาษี

ถ้าพูดให้เข้าใจง่ายๆ นั้น ร้านค้าออนไลน์ที่หนีภาษีหรือร้านพรีออเดอร์ในเว็บไซต์ โซเชียลมีเดียต่างๆ ร้านค้าพวกนี้ขายสินค้าโดยที่รับมาจากต่างประเทศโดยที่ไม่ได้เสียภาษีอย่างถูกต้องแต่ทั้งหมดนี้ก็เป็นผลพวงมาจากโครงสร้างภาษีสินค้า Luxury ที่สูงเกินไป จนทำให้คนไม่อยากซื้อสินค้าที่จ่ายภาษีถูกต้อง หันไปซื้อสินค้ามีราคาถูกกว่า ส่งผลกระทบต่อวงการค้าปลีก

6

ภาพจาก bit.ly/2t90BYo

4. ไม่คุมยักษ์ใหญ่ออนไลน์ต่างชาติ

โดยภาครัฐไม่มีการจัดการเรื่องนี้เท่าที่ควร ทั้งที่บางร้านมีการขายสินค้าราคาต่ำกว่าทุน ซึ่งหากจัดการเรื่องนี้ก็จะทำให้บรรดาร้านโชห่วย หรือร้านขายของชำได้รับผลกระทบน้อยลง แต่ในความเป็นจริงคือมาตรการของภาครัฐยังไม่ชัดเจนในเรื่องเหล่านี้

นั่นคือปัญหาที่มองผ่านการวิเคราะห์ของผู้สันทัดกรณีที่หยิบเอามาเป็นตัวอย่าง แต่ในเมื่อปัญหามันเกิดไปแล้ว ก็ต้องหาทางแก้ไขกันไป ลองมาดู 5 ทางรอดค้าปลีกเมืองไทยในปี 2563 จะทำอย่างไรให้รุ่ง

1. สร้างแพลตฟอร์มเข้ากับระบบออนไลน์

10

ภาพจาก bit.ly/36MW1xw

ในเมื่อกระแสออนไลน์มาแรงและเป็นพฤติกรรมของผู้บริโภคยุคใหม่ ร้านค้าก็ต้องปรับตัวสอดรับกับเรื่องนี้ ให้ทำเหมือนร้านค้าเป็นเงาตามตัวผู้บริโภคมากขึ้น เช่น เราพูดอะไรของเรากับเพื่อนอยู่ พอเปิดเข้าไปในแพลตฟอร์มต่างๆ เราจะเห็นสินค้านั้นๆ เช่น หาเก้าอี้นั่งทำงาน, อาคารคลีน หรือเครื่องออกกำลังกายตัวใหม่ สิ่งเหล่านี้คือโอกาสและช่องทางในการเพิ่มยอดขายที่เห็นภาพชัดเจนที่สุด

2. จับคู่พันธมิตร

5

ภาพจาก bit.ly/35isFqy

ในยุคที่อยู่ตัวคนเดียวมันยาก เราคงต้องกลับมาใช้นิยามเปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า เปลี่ยนจากคู่แข่งกลายมาเป็นความร่วมมือเพื่อโอกาสในการเพิ่มยอดขายกันได้ทั้งคู่ ยกตัวอย่างเช่น SCG กับบุญถาวร ที่เป็น Retail อุปกรณ์ก่อสร้างที่แข่งกันมาตลอดหลายสิบปีได้ประกาศโมเดลใหม่ร่วมกันในชื่อ “SCG Home บุญถาวร” ลูกค้าก็ชอบ มาที่เดียวแล้วได้สองอย่างกลับไป ทั้งของสร้างบ้านและแต่งบ้าน  หรือ Louis Vuitton เป็นแบรนด์ที่หรูหรา เริ่มจับกับแบรนด์ที่มีภาพลักษณ์สดใส สนุกสนาน เช่น SUPREME หรือแม้แต่ H&M ก็ยังมาร่วมมือกับ Balmain ได้

3. ผสมผสานการใช้เทคโนโลยีเสมือนจริง (Virtual)

4

ภาพจาก bit.ly/2PHuc2F

เทคโนโลยีถ้าใช้ให้ดีก็มีประโยชน์มาก โดยเฉพาะเทคโนโลยีเสมือนจริงอย่าง Virtual Reality (VR) ที่เหมาะมากับค้าปลีกพวกความงาม ที่เหมือนกระจกให้ลูกค้าได้ส่องเลือกเครื่องสำอาง ลิปสติก แบบที่ไม่ต้องเอาหน้าตัวเองไปลองให้ยุ่งยากวุ่นวายเพิ่มโอกาสให้ลูกค้าได้เลือกซื้อสินค้า ลบข้อจำกัดความไม่แน่ใจว่าซื้อแล้วจะสวยไหม จะดีหรือเปล่าเพราะ Virtual Reality จะช่วยให้เห็นภาพเสมือนได้ใช้เองทำให้ลูกค้าตัดสินใจง่ายขึ้น ซึ่งเทคโนโลยีแบบนี้ในประเทศจีนร้านเครื่องสำอางหลายแห่งได้นำมาใช้และได้ผลพอใจมาก

4. เพิ่มยอดขายด้วย QR Code

3

ภาพจาก bit.ly/35gf5Uw

แต่ก่อน QR Code อาจแค่กำหนดราคาในร้านค้าปลีกให้พนักงานสแกนเพื่อเก็บเงินลูกค้า แต่โลกยุคใหม่ QR Code ต้องเป็นมากกว่านั้น และค้าปลีกก็ควรใช้ให้เป็น จากเดิมที่มีการโฆษณาตามสถานีรถไฟฟ้า ป้ายรถเมล์ ด้วยแบนเนอร์ธรรมดาๆ สิ่งที่ต้องเปลี่ยนไปคือการใช้รูปภาพสินค้าชัดเจนร่วมด้วย QR Code ที่สามารถสแกนซื้อสินค้าได้ทันที นี่ไม่ใช่แนวคิดเล่นๆ แต่ทำกันจริงจังในหลายประเทศ ถือว่าเป็นการพัฒนาด้านการค้าปลีกที่จะย่ำอยู่กับที่แบบเดิมไม่ได้

5. Smart Shopping

2

ภาพจาก bit.ly/2RJ8LBb

ทั้งหลายทั้งมวลถ้าวงการค้าปลีกผสานเอาทุกเทคโนโลยีเข้ามาใช้จะกลายเป็น Smart Shopping ที่เห็นผลมากซึ่งตลาดอีคอมเมิร์ซโตขึ้นทุกปีจากปี 2561 เติบโต 44% ปี 2562 เติบโต 48% และคาดว่าจะเติบโตถึง 57% ภายในปี 2566 นั่นคือจุดเปลี่ยนของค้าปลีกที่ต้องเอา Big Data , AI , AR เข้ามาใช้ รวมถึงการใช้โดรนแบบในต่างประเทศ หรือตัวอย่างที่ชัดเจนในเมืองไทย เช่น Smart Store แห่งแรกที่ ทรู ดิจิทัลพาร์ค (True Digital Park) ที่ผสมผสานเทคโนโลยีการขายยุคใหม่เอาไว้ทำให้เกิดจำนวนการขายสินค้าที่มากขึ้นด้วย

1

ระบบจดจำใบหน้าใน True Digital Park
ภาพจาก bit.ly/34jgZlU

การต่อต้านเทคโนโลยีว่าทำลายวงการค้าปลีกไม่ใช่แนวทางแก้ปัญหา ค้าปลีกต้องยอมรับตัวเองว่ายุคสมัยได้เปลี่ยนไปหากยังแข็งขืนและยึดติดกับความสำเร็จแบบเดิมๆ ไม่คิดจะก้าวตามสังคมยุคใหม่ การค้าปลีกก็มีแต่จะทุนหายกำไรหด

แม้การเปลี่ยนแปลงหลายอย่างจะหมายถึงการลงทุนที่มากในเบื้องต้นแต่จะเป็นผลดีในระยะยาวดีกว่าอยู่เฉยๆไม่ทำอะไรดูธุรกิจค่อยๆพังไปต่อหน้าต่อตา


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ goo.gl/Io5k2S

แหล่งข้อมูลบทความจาก https://bit.ly/2Ey871w

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด